![]() เราเคยจัดฟอนต์และสีของตัวอักษรและตารางต่างๆ ด้วยคำสั่งในภาษา HTML กันมาบ้างแล้ว คราวนี้ลองนึกถึงความยุ่งยากในการทำเวบจำนวนมากกว่า 20 หน้าที่ต้องมีรูปแบบของตัวอักษรทั้งส่วนที่เป็นตัวอักษรธรรมดา และหัวข้อต่างๆ เหมือนๆ กัน แบบเดียวกันทั้งสี ขนาด และฟอนต์ ซึ่งเราจะต้องใส่แท็ก <FONT> ในทุกๆ ตำแหน่งที่จะกำหนด Font แม้ว่ามันจะซ้ำๆ กันเป็นร้อยเป็นพันครั้งก็ตาม แต่สิ่งที่ยุ่งยากยิ่งกว่านั้นก็คือการแก้ไขรูปแบบที่ทำไปแล้ว สมมุติว่า มีผู้ชมได้เปิดเว็บมาชม แล้วก็เสนอแนะกับเราว่า "ส่วนที่เป็นหัวข้อตัวอักษรเล็กไปหน่อย น่าจะใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่กว่านี้นะ" สิ่งที่เราจะต้องทำก็คือ เปิดเว็บเพจทั้ง 20 หน้านั้นมาแก้ไข ถ้ามีหน้าละ 10 หัวข้อ ก็เท่ากับว่าเราต้องทำการแก้ไขมากถึง 200 จุด แล้วถ้ามีมากกว่านั้นล่ะ คิดแล้วเหนื่อยแทนจริงๆ...
แต่โชคดีที่เรามีพระเอกมาช่วย ด้วยการใช้ CSS (Cascading Style Sheet) จำนวนครั้งที่เราจะแก้ไขจะลดลงมาเหลือเพียง 1 จุดเท่านั้นเอง แนวคิดของ CSS ก็คือ การกำหนดรูปแบบมาตรฐานไว้เป็นชนิดๆ ที่แตกต่างกันตามต้องการ สมมุติว่า เรากำหนดให้ Style A หมายถึง ฟอนต์ MS Sans Serif ขนาด 10px และมีสีน้ำเงิน ทุกๆ ตำแหน่งที่เราใช้ Style A ก็จะมีรูปแบบตัวอักษรเป็นแบบนี้ทั้งหมด ประโยชน์ที่ได้จากการใช้สไตล์ชีตในการควบคุมการแสดงผลในหน้าเว็บเพจ
โครงสร้างของการเขียนสไตล์ชีต HTML Tag {Property : Value; Property : Value; ...}
ตัวอย่าง การกำหนดการแสดงผลบนเว็บเพจด้วยคำสั่ง H1 และมีฟอนต์เป็น Angsana UPC สีแดง เราจะเขียนด้วยคำสั่งภาษา HTML และแบบสไตล์ชีตได้ดังนี้
Inline Style Sheet เป็นการกำหนดสไตล์ชีตให้กับคำสั่ง HTML โดยตรงในบรรทัด ด้วยการแทรกค่าคุณสมบติหลังคำสั่ง ดังตัวอย่าง กำหนดให้ข้อความบางส่วนเน้นขนาดและสี คำสั่ง : ย่อหน้านี้<FONT STYLE="color: red; font-size:14pt">ตัวอักษรสีแดงขนาด 14 พอยท์</FONT> ผลลัพธ์ : ย่อหน้านี้ตัวอักษรสีแดงขนาด 14 พอยท์
Embeded Style Sheet เป็นการกำหนดสไตล์ชีตไว้ภายในคำสั่ง <STYLE>...</STYLE> อยู่ระหว่างส่วนหัว (HEAD) ของไฟล์ HTML โดยมีรูปแบบการเขียนดังนี้
ตัวอย่างการกำหนดสไตล์ชีต ที่กำนหดให้ พื้นหลังของหน้าเว็บเป็นสีเขียวอ่อน หัวเรื่องสีน้ำเงินขนาด 16 พอยต์จัดกึ่งกลาง หัวเรื่องรองสีเขียวเข้มขนาด 12 พอยต์ และย่อหน้าข้อความเยื้องครึ่งนิ้ว ตัวอักษรขนาด 10 พอยต์ จัดชิดขอบซ้าย-ขวา
Linking Style Sheet เป็นการสร้างแฟ้มไฟล์สไตล์ชีตแยกออกมาจากไฟล์ HTML โดยแฟ้มนี้จะมีส่วนขยายเป็น .css ไฟล์ HTML ที่เรียกไฟล์สไตล์ชีตมาใช้งานต้องสร้างการเชื่อมโยงด้วย <LINK> ไว้ในส่วน <HEAD>...</HEAD> เพื่อเรียกใช้แฟ้มสไตล์ชีต
การแยกสไตล์ชีตออกเป็นแฟ้มต่างหาก และนำมาใช้งานนั้น มีผลดีตรงที่เราสามารถนำสไตล์ชีตไปควบคุมการทำงานของเว็บเพจจำนวนมากได้ ซึ่งอาจเป็นทั้งเว็บไซต์เลยก็ได้ มีรูปแบบการเขียนดังนี้
<LINK REL="StyleSheet" HREF="mystyle.css" TYPE="text/css">
เขียนไฟล์ตามตัวอย่างด้านล่างแล้วจัดเก็บในชื่อ mystyle.css
เราสามารถใช้ Text Editor ใดๆ ก็สามารถเขียนสไตล์ชีตได้ และโปรแกรมสร้างเว็บสำเร็จรูปบางโปรแกรมก็จะมีความสามารถในการเขียนสไตล์ชีตได้เช่น DreamWeaver, FrontPage แต่ถ้าเราใช้การเขียนภาษา HTML โดยการใช้โปรแกรม Notepad ก็สามารถเขียนได้โดยตรง หรือจะใช้โปรแกรมสำหรับเขียนสไตล์ชีตโดยเฉพาะก็ได้ เช่น TopStyle Lite 3.10 ของบริษัท Bradbury Software ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้ฟรี คลิกที่นี่ ![]()
ยังมีเทคนิคขั้นสูงที่ควรรู้เกี่ยวกับการใช้งาน Cascading Style Sheet ให้สามารถควบคุมเว็บไซต์ได้ดังใจปรารถนา ที่ควรศึกษาเพิ่มเติม
|
Author : KruMontree Kotkanta e-M@il : krumontree at gmail.com
|