Thailand tourist destination 2024

ประเทศไทย เป็นเป้าหมายสำคัญอันดับต้นๆ ในการค้นหาของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกในปี พ.ศ. 2567 อีกปีหนึ่ง ทั้งนี้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้เปิดเผยเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2567 ว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 17 มีนาคม 2567 ประเทศไทยมีจำนวนนักท่องเที่ยวสะสมทั้งสิ้น 8,074,651 คน สร้างรายได้จากการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติแล้วประมาณ 390,906 ล้านบาท โดยจำนวนนักท่องเที่ยวสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่

โดยในสัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นการเริ่มเข้าสู่เทศกาลถือศีลอดของชาวมุสลิม ส่งผลให้นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียบางส่วนชะลอการเดินทาง และเดินทางเข้ามาลดลง 35,795 คน จากสัปดาห์ก่อนหน้า อย่างไรก็ดี นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมาเลเซียได้เข้ามาสะสมกว่า 1 ล้านแล้ว

ส่วนสถานการณ์ท่องเที่ยวในสัปดาห์นี้ คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าคงตัว แต่ยังคงมีปัจจัยส่งเสริมการเดินทาง ได้แก่ การลงนามยกเว้นวีซ่าระหว่างไทย-จีน ที่มีผลช่วยสร้างความเชื่อมั่นแก่นักท่องเที่ยว เพิ่มการอำนวยความสะดวกในการเดินทาง และกระตุ้นให้สายการบิน เพิ่มจำนวนเที่ยวบิน รวมทั้งการยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทาง หรือวีซ่าฟรี ให้แก่นักท่องเที่ยวอินเดีย ไต้หวัน และคาซัคสถาน

เทรนด์การท่องเที่ยวหลังยุคโควิดเปลี่ยนไป

หลังวิกฤตโรคระบาดโควิดคลี่คลาย เมื่อต้องพิจารณาถึงการออกเดินทาง ผู้เดินทางยังคงให้ความสำคัญกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากทริปของพวกเขามาเป็นอันดับแรก ส่งผลให้ตัวเลือกการท่องเที่ยวที่มีความยั่งยืน จะขยับขึ้นมาเป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวมากกว่าเรื่องความสะดวกสบาย เนื่องจากนักท่องเที่ยวมีความตระหนักต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมนั้นมีเพิ่มมากขึ้น โดยแยกออกได้เป็น 5 รูปแบบที่ชัดเจน ได้แก่

1. ตามหา ‘ที่พักรักษ์โลก’

เมื่อนักเดินทางสนใจเรื่องการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จากรายงานพบว่า 95% ของนักเดินทางมีความตั้งใจจะใช้บริการที่พักรักษ์โลกหรือกลุ่ม ‘โรงแรมสีเขียว’ อย่างน้อยหนึ่งครั้งในปีหน้า ด้วยเหตุผล 3 ประการ ได้แก่ 1) ความต้องการช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของตนเอง 2) ความต้องการสัมผัสวิถีชีวิตชุมชน และ 3) ความเชื่อที่ว่าที่พักกลุ่มดังกล่าวจะสามารถดูแลผู้คและชุมชนได้ดีกว่า

นักเดินทาง 26% มองว่าที่พักรักษ์โลกมีสไตล์ที่น่าสนใจและอินเทรนด์ ในขณะที่ 24% มองว่าที่พักรักษ์โลกจะมีมุมถ่ายรูปสวย ๆ สำหรับการโพสต์ลงโซเชียลมีเดีย และช่วยเติมเต็มประสบการณ์การท่องเที่ยว เช่นลดการสร้างขยะ การใช้ไฟฟ้าเกินความจำเป็นเพื่อลดการปล่อยคาร์บอน และทำให้เกิดความรู้สึกเชิงบวกเพราะได้ทำสิ่งดี ๆ เพื่อโลกและสิ่งแวดล้อม

2. เปิดใจ ‘ท่องเที่ยวเมืองรอง’

นักเดินทางมีแนวโน้มจะเปลี่ยนจุดหมายปลายทางจาก “แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยม” เป็นกระแสไปสู่ “เมืองรอง” มากขึ้น โดยนักเดินทาง 35% จะเปลี่ยนไปท่องเที่ยวเมืองรองก่อนในอันดับต้น ๆ เนื่องจากพวกเขามองว่าการเปลี่ยนจากเที่ยวเมืองหลักมาสู่เมืองรอง จะเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความยั่งยืน ในมิติการกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจไปสู่ท้องถิ่น และสร้างผลลัพธ์การเดินทางของพวกเขาให้ทั่วถึงยิ่งขึ้น

มีนักเดินทางกว่า 84% จะหลีกเลี่ยงแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นกระแส และ 42% มีจุดหมายสำรองและพร้อมเปลี่ยนแผนการเดินทาง หากพบว่า แหล่งท่องเที่ยวที่ต้องการจะเดินทางไปมีปัญหานักท่องเที่ยวล้น โดยหากมีจำนวนนักท่องเที่ยวที่มากเกินไป อาจทำให้ความต้องการที่จะสร้างความยั่งยืนทำได้ยากขึ้น เท่ากับจะมีอัตราการใช้ทรัพยาการสูงมากขึ้น และอาจทำให้การบริหารจัดการซับซ้อนกว่าเดิม

3. หลีกเลี่ยง ‘High Season’

ช่วง High Season มักมีนักท่องเที่ยวหนาแน่น ยิ่งมีจำนวนคนมากก็มักทำให้การบริหารจัดการอย่างยืน ทำได้ยากมากขึ้น และที่สำคัญทำให้ความรู้สึกอยากท่องเที่ยวลดลงอีกด้วย นักเดินทางในยุคหลังโรคระบาด จึงมีแนวโน้มจะหลีกเลี่ยงเดินทางในฤดูกาลท่องเที่ยว โดย 46% กล่าวว่าในอนาคตอาจจะเปลี่ยนไปท่องเที่ยวนอกฤดูกาลแทน

4. สัมผัส ‘วิถีชีวิตชุมชน’

โรคระบาดส่งผลให้ผู้คนโหยหาการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันมากขึ้น จากรายงานพบว่า 79% ของแผนการท่องเที่ยวในอนาคตจะเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวชุมชน สิ่งนักเดินทางคาดหวังมากที่สุดคือ การได้สัมผัสวิถีชีวิตของชุมชนอย่างแท้จริง เพราะถือเป็นการได้ออกเดินทางท่องโลก เปิดมุมมองแปลกใหม่ และสัมผัสวัฒนธรรมที่แตกต่างมากขึ้น เพื่อค้นหาความหมายและคุณค่าของชีวิต

นักเดินทางมองว่า การลงไปใกล้ชิดกับความเป็นชุมชนเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความยั่งยืน ผ่านการอนุรักษ์และนำพารายได้เข้าสู่ท้องถิ่น พวกเขาอยากเห็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ที่เดินทางไป ผ่านการสร้างความคุ้นเคยและความรู้สึกมีส่วนร่วม ซึ่งทำให้เหล่านักเดินทางกว่า 38% ยินดีที่จะใช้จ่ายอย่างเต็มที่หรือมากขึ้น เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน หากมั่นใจว่าชุมชนจะได้รับผลตอนแทน

5. เปลี่ยนแปลง ‘วิธีการเดินทาง’

นักท่องเที่ยวมีแนวโน้มให้ความสำคัญต่อรูปแบบการเดินทางขึ้น โดยเฉพาะประเด็น การปล่อยคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศ นักเดินทางที่มีเป้าหมายส่งเสริมความยั่งยืน จะลดปริมาณการใช้ยานพาหนะที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงลง ในที่นี้มี 43% มองว่าการเปลี่ยนวิธีเดินทาง คือ ‘หัวใจของความยั่งยืน’ มีนักเดินทางกว่า 54% ตอบว่ารู้สึกละอาย หากวิธีการเดินทางปล่อยมลพิษมากเกินไป เช่น การเดินทางโดยเครื่องบิน หรือรถยนต์หลายคัน

ผู้เดินทางมีความพร้อมที่จะลงมือทำด้วยตนเองมากขึ้น และแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทางของตนเอง แม้บางสิ่งบางอย่างอาจไม่สามารถหลีกเลี่ยงไป แต่การมีตัวเลือกการเดินทางที่ยั่งยืนมากกว่าจะช่วยให้ตัดสินใจได้ง่ายมากขึ้น

นี่คือผลสำรวจความคิดเห็นของนักเดินทางจากทั่วโลก เป็นเทรนด์การท่องเที่ยวที่ให้ความใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืนของชุมชน เป็นการเดินทางเพื่อการเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ บางเรื่องอาจยังไม่ค่อยสอดคล้องกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวคนไทยเรา แต่ก็เป็นรูปแบบการท่องเที่ยวที่น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว

บล็อกนี้ท่านจะได้พบกับ

  • My Experience : ประสบการณ์ในการเตรียมตัวเข้าสู่อาชีพ  การฝึกงาน การไปสมัครงานกับสายการบิน การเข้ารับการฝึกเข้าเป็นลูกเรือ ครั้งแรกกับการทำงานบนเครื่องบิน และอื่นๆ
  • Knowledge : ความรู้ในสายอาชีพบริการบนเครื่อง แอร์โฮสเทส สจ๊วต นักบิน และความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับเครื่องบิน สายการบิน และการเดินทางด้วยเครื่องบิน
  • Lifestyle : Review ประสบการณ์สมัครงานลูกเรือของสายการบินต่างๆ รวมทั้งชีวิตสนุกๆ ขำๆ น่าตื่นเต้น ตกใจ ผิดหวังไม่สวยงามดังคิด ก็มี รวมทั้งความหวานๆ ในชีวิตลูกเรือต่างแดน
  • Find Jobs : งานและประกาศรับสมัครงานของสายการบินต่างๆ รวมทั้งวิธีการเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่อาชีพนี้
  • Gallery : ภาพชีวิตของผมในช่วงเวลาต่างๆ เผื่อได้มีโอกาสพบเจอจะได้ทักทายกันนะครับ
  • Video : สำหรับกิจกรรมการเตรียมตัว การฝึกอบรมของลูกเรือ และอื่นๆ ที่น่าสนใจครับ

ถ้าสนใจในอาชีพเดียวกับผมก็ติดตามได้ที่นี่ จะมีข่าวมาบอกสม่ำเสมอ ตามเวลาว่างที่ผมพอมี และก็อย่าได้หลงเชื่อเว็บข่าวหลายๆ แห่ง ที่พาดหัวซะเว่อวังชวนให้ไปดูเพื่อเรียกยอดไลค์ ยอดแชร์ อย่าง “ไม่กำหนดความสูง ไม่ต้องสอบ TOIEC สมัครเลย!” เชื่อได้หรือครับ? พออ่านรายละเอียดไปเจอ “ต้องเอื้อมแตะที่ระยะ 212 เซนติเมตร” แต่คุณสูงเพียงแค่ 150 เซนติเมตร ถ้าไม่ใช่สวมวิญญาณแม่นาคพระโขนงไปด้วย ยังไงๆ ก็เอื้อมไม่ถึงล่ะครับ ไม่บอกว่าเอาผลสอบโทอิกแต่ใช้คำว่า Fluency in written and spoken English ถ้าขนาดนี้สอบ TOIEC ได้ 650 ยังเสียวๆ เลยว่าจะผ่านไหม?

ชีวิตคือการเดินทางท่องเที่ยว มีความสุขกับครอบครัวครับ

News! ข่าวการรับสมัครลูกเรือใหม่ในช่วงนี้

ข่าวการรับสมัครทั้งลูกเรือใหม่และลูกเรือมีประสบการณ์ ผมจะให้ลิงก์ไปยังสายการบินนั้นๆ โดยตรงนะครับ พร้อมบอกวันปิดรับสมัครไว้ (ถ้ามี) ส่วนการสมัครจะเป็นการสมัครออนไลน์ พร้อมอัพโหลดรูปภาพ/คลิป/เรซูเม่ CV ไปให้ทางสายการบินทำการคัดเลือกเบื้องต้นก่อน โดยทางสายการบินจะให้เราสมัครสมาชิกกับเว็บไซต์นั้นๆ เพื่อทำการลงทะเบียนความสนใจในงาน/อาชีพนั้น ให้ใช้อีเมล์ที่เราใช้และเช็กเป็นประจำสมัครด้วยนะ แล้วทางสายการบินจะแจ้งขั้นตอนต่อไปว่า

Loading