|
ปรากฏการณ์ "ชู 3 นิ้ว" ของนักเรียนทั่วประเทศในครั้งนี้ เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ไม่ยาก ความอึดอัดมากมายต่างปะทุ พรั่งพรูออกมา บางเรื่องก็จริงพิสูจน์ได้ บางเรื่องก็เพราะความเข้าใจผิดที่ไม่มีใครอธิบาย หรือมีคนพยายามอธิบายแล้ว แต่ก็เป็นการเอาสีข้างเข้าถู (แถ-ลง) จนถลอกปอกเปิกก็ไม่มีใครเชื่อ แม้ใน "กลุ่มคุณครู" ด้วยกันเอง บทความที่จะนำเสนอต่อไปนี้ ไม่ได้มาเข้าข้างนักเรียน ไม่ได้มาเข้าข้างครู (เพราะเคยเป็นครู) แต่เพื่อมาทำความเข้าใจ หาเหตุผลว่าเกิดอะไรขึ้นในระบบการศึกษาของบ้านเราในวันนี้
สิ่งที่นักเรียนเรียกร้องหลายข้อนั้น แสดงให้เห็นว่า "การบริหารจัดการ การทำความเข้าใจในเรื่องหลักสูตรการเรียนในโรงเรียน ไม่กระจ่างชัดเพียงพอ จนทั้งครูและนักเรียนต่างก็ไม่เข้าใจว่า สิ่งที่ "นักวิชาการทางการศึกษา" ใส่ลงมาในหลักสูตรนั้นคืออะไรกันแน่ เพื่อประโยชน์อะไร และที่สำคัญที่สุด 'จะให้โรงเรียนและครูจัดการอย่างไร?' จึงจะได้ผลตามความต้องการที่แท้จริง" นี่คือสิ่งที่อยากอธิบายในวันนี้ ส่วนข้อเรียกร้องต่างๆ ทั้งหมดนั้น ท่านไปหาอ่านได้จากสื่อทั่วๆ ไปนะครับ มีเยอะ ส่วนที่ผมจะวิเคราะห์ให้ฟังมีเพียงด้านการจัดการเรียนการสอนเป็นหลัก
เอาตามป้ายในภาพประกอบหัวเรื่องข้างบน 3 เรื่อง คือ วิชา IS, กิจกรรมรักการอ่าน, กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ ที่พวกเขาอยากยกเลิก เพราะอะไร? ทำไม? จึงอยากยกเลิก
คุณครูควรจัดการกับเนื้อหารายวิชา โดยนำเนื้อหาวิชาที่คุณครูรับผิดชอบ มาพิจารณา ดังนี้
1. เนื้อหารายวิชาส่วนใด ที่นักเรียนมีพื้นฐานความรู้เก่า ที่สามารถต่อยอด ไปสู่ความรู้ใหม่ “ด้วยตัวของนักเรียนเอง” คุณครูก็บอกวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้.. บอกมาตรฐานการเรียนรู้ บอกจุดเน้น..บอกตัวชี้วัดความรู้ และขั้นตอน และวิธีวัดผลความรู้ (Effect) แล้วมอบหมายให้นักเรียนทำกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active learning ได้เลย
กยศ. คือ มหากาพย์ของวงการศึกษาไทยเรื่องหนึ่ง เป็นทั้งเรื่องน่ายินดีที่เปิดให้คนที่ขาดแคลน มีโอกาสได้รับการศึกษาที่สูงขึ้น เป็นความหวังของเยาวชนผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียน รวมทั้งเป็นดราม่าของคนที่ไม่รู้จักพอ กู้ยืมเพื่อสนองความต้องการของตน ในสิ่งที่มันต้องมี(แม้ไม่จำเป็น) ยืมมาละลายลงขวดเหล้าเบียร์ หมูกระทะ เรียนไม่จบ หรือจบแบบขอไปที งานไม่มีหรือมีแต่ก็ไม่ชดใช้คืนเงินกู้ จนเกิดเป็นดราม่าถูกฟ้องร้องคนค้ำต้องสูญเสียทรัพย์สิน ที่ดิน บ้านช่องดังที่เป็นข่าว
ซึมเป็นหนี้ กยศ.แค่ 1.7 หมื่น ถูกยึดบ้าน 2ล. -ขายทอดตลาด "
ไม่ว่าจะพาดหัวข่าวว่าอย่างไร ความหมายก็เหมือนเดิมคือ "เป็นหนี้ไม่ชดใช้" เป็นคดีความขึ้นศาลไกล่เกลี่ยในส่วนที่คงค้าง 17,868 บาทพร้อมดอกเบี้ย ตั้งแต่ปี 2551 แต่ก็ชักดาบเมินไม่จ่าย อ้างว่าไปทำงานอยู่ไกล ทั้งๆ ที่การชำระคืนเงินกู้ทำได้ที่สาขาธนาคารกรุงไทยได้ทั่วประเทศ ปลายปี 2561 เจ้าหนี้ กยศ. ฟ้องศาลสืบทรัพย์เพื่อขายทอดตลาดชดใช้หนี้ ลูกหนี้ชดใช้เงินเพียงบางส่วน แล้วก็ละเลยอีกครั้ง สำนักงานบังคับคดีจึงขายทอดตลาดทรัพย์ถึง 11 ครั้ง ลูกหนี้ก็ไม่มาแสดงตนดูแล/คัดค้านการขายแม้สักครั้งเดียว จนขายได้ราคาเพียง 30,000 บาท เพราะทรัพย์ติดจำนองกับเจ้าหนี้รายอื่นอยู่ รายละเอียดอื่นๆ ท่านคงหาอ่านได้จากข่าวในสื่อต่างๆ
ผมเคยบ่นเรื่องนี้ไว้ตั้งแต่ปี 2547 ว่า ปัญหาอยู่ที่การวางเงื่อนไขให้กู้ยืมเงินนั้น ครอบคลุมรอบคอบมากเพียงใด? ผมมีกรณีศึกษาครับ เอาลูกน้องผมเป็นตัวละครแทนมนุษย์เงินเดือน และเพื่อนผมเป็นตัวละครชาวบ้าน ที่มีสถานะแตกต่างกัน ลูกน้องผมเป็นลูกจ้างประจำตำแหน่งพนักงานขับรถของหน่วยงานราชการ ส่วนเพื่อนเป็นพ่อค้าขายส่งสินค้าของชำในตัวอำเภอแห่งหนึ่ง ทั้งสองมีลูกในวัยเรียนเหมือนกัน ต่างก็ยื่นเรื่องกู้เงินตามโครงการนี้เหมือนกัน แต่ผลที่ได้แตกต่างกัน
หลังจากที่ต้องเลื่อนการเปิดเทอมมานานนับเดือน 1 กรกฎาคม 2563 นี้ก็จะเริ่มการเปิดเรียนปีการศึกษา 2563 เป็นวันแรก ซึ่งมีการตระเตรียมและสั่งการจากหน่วยบังคับบัญชาเบื้องบน ในการรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่อาจจะเกิดขึ้นอีกได้ เรียกว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบในการจัดการศึกษายุคใหม่ ซึ่งมักจะเรียกกันว่า New Normal หรือเหตุการณ์อุบัติใหม่ ตั้งแต่การรักษาความสะอาด การสวมหน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่างทางสังคม รวมทั้งการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบใหม่ๆ ที่อาจจะเหมือนเดิม แต่เพิ่มเติมในเรื่องสื่อกับกรรมวิธีในการถ่ายทอดความรู้ของผู้สอน เท่าที่ติดตามดูจากในสื่อสังคมออนไลน์ที่มีเพื่อนๆ ครูได้โพสท์ถึงการเตรียมการด้านต่างๆ การประชุม-อบรม ในช่วงก่อนเปิดภาคเรียนก็ดูคึกคักกันดี แม้ว่าบางคนอาจจะหงุดหงิด วิตก กังวลกันมากอยู่ ก็ขอเป็นกำลังใจให้นะครับ
ก่อนจะพูดเรื่องการจัดการเรียนการสอน ก็ขอพูดถึงความทุกข์ของผู้ปกครองกันก่อน หลังจากที่ทุกข์ใจกับการเรียนออนไลน์ (ทดลองเรียน ท่านว่าอย่างนั้น แต่ทั้งผู้ปกครอง ครู และโรงเรียนดูจะเอาจริงจังกันมาก เห็นว่าให้มีรายงานด้วยนะ ก็รายงานทดลองไปขอรับไม่ต้องซีเรียส) ความทุกข์ตอนนี้ก็คือ เรื่องของทุนทรัพย์ในการจัดการศึกษาให้ลูก ด้วยความขัดสนจากสภาวะการตกงาน การไม่มีรายได้แบบไม่ทันตั้งตัว หลายคนโดนเลย์ออฟกระทันหัน จึงมีปัญหาในการจัดซื้อเครื่องแบบนักเรียน อุปกรณ์การเรียนให้กับลูกหลาน โดยเฉพาะคนที่ต้องเปลี่ยนระดับชั้น เปลี่ยนโรงเรียนใหม่ ต้องเปลี่ยนเครื่องแบบนักเรียนด้วยจะมีปัญหามากทีเดียว นอกจากนั้นยังต้องเตรียมตัวสำหรับความลอดภัยด้วย นับตั้งแต่หน้ากากผ้าให้นำไปใช้ได้ทุกวัน ความห่วงใยในการเดินทางที่ต้องคำนึงถึงความแออัด และการเว้นระยะห่างเพื่อป้องกันโรค
ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)