คุณอยู่ที่: หน้าแรก
โดย สุทัศน์ เอกา
Take Action.. ลงมือปฏิบัติ ขั้นที่ 6. ลงมือปฏิบัติ
นี้เป็นขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21.สำคัญยิ่ง เพราะเป็นการ “ลงสนามรบ The Battlefield” ในการเรียนการสอนอย่างแท้จริง ดังนี้
Take Action..ลงมือปฏิบัติการสอนจริง
มีท่านผู้อ่านหลายท่าน ได้แสดงความกังวลว่า Learning by Doing ได้ผลดีจริงหรือ เกรงว่าจะทำให้นักเรียนตกต่ำ เหลวไหล ไร้ระเบียบแบบแผนมากกว่า สู้ออกคำสั่งให้ตั้งใจฟังครูสอน บังคับให้อยู่ในระเบียบ ฟังเงียบๆ ดีกว่า และมีไม่น้อยเลยที่เห็นว่า Learning by Doing คือ การให้นักเรียนทำงานเองเงียบๆ และ “ครูว่างเกินไป” จึงขนงานจากข้างนอก และหน่วยเหนือ ซึ่ง “มิใช่หน้าที่โดยตรงของครู” มาให้ทำจนล้า และในที่สุด “งานนอกหน้าที่จึงต้องทำก่อนงานในหน้าที่ซึ่งหาเวลาแทบไม่ได้เลย” นี่เป็น ความ “ไม่เข้าใจ” และ “เข้าใจผิด” อย่างแรง.....
ที่ถูกต้อง และได้ผลดีมาก.. The best way to “DO.!” ..
คุณครู-อาจารย์ ลองดู “บรรยากาศ การเรียนการสอน แบบ Learning by Doing” ที่ถูกต้อง และได้ผลดี ลองพิจารณาดูนะครับ
อ่านเพิ่มเติม: The Learning Process in the 21st Century (4).
โดย สุทัศน์ เอกา
The process of “Distinguish the Data”, and “Instructional Design”...
ขั้นตอนที่ 4. การวิเคราะห์และจำแนกแยกแยะข้อมูล และ ขั้นตอนที่ 5. การออกแบบการเรียนการสอน ของขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21.
หลังจากการระดมความคิด Brainstorming จนถึงขั้น Collaborative และทำสรุป แยกเป็นหมวดหมู่ เรื่องใด ระดับชั้นใด และโดยเฉพาอย่างยิ่ง “รูปแบบการเรียนการสอน Form of instruction.” ที่ได้จากการระดมความคิด ว่าเนื้อหาส่วนไหน จะเรียนรู้แบบไหน How to Learn ผู้เรียนจะได้มีส่วนร่วม หรือ Experience Participation ได้อย่างไร เพื่อจะนำไป วิเคราะห์ จำแนกแยกแยะ หรือ Distinguish the Data และ “ออกแบบการเรียนการสอน Learning and Teaching Design” ในขั้นต่อไป
อ่านเพิ่มเติม: The Learning Process in the 21st Century (3).
โดย สุทัศน์ เอกา
Brainstorming..การระดมความคิด.. ขั้นตอนที่ 3 ของการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21.
ใน 2 ขั้นตอนแรก คือ การเตรียมตัวครู และ การสำรวจชุมชน เพื่อหาแรงบันดาลใจนั้น คุณครู-อาจารย์ทุกท่าน ได้ไป Exploring คือ “แต่ละท่าน” ได้มีการรวบรวมข้อมูล หรือ Data gathering มากพอที่จะกำเนินการ “ระดมความคิด หรือ Brainstorming” ได้แล้ว ดังนี้
คุณครูแบ่งกันออกเป็น “กลุ่มย่อย Subgroup” ตาม “รายวิชา และ ระดับชั้น” เช่น วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้น ม.1 มีครูสอน 2 คน คุณครูสามคนนี้ก็เป็นกลุ่มย่อยๆ กลุ่มหนึ่งเพื่อ Brainstorming หรือ ถ้าเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก มีครูวิทยาศาสตร์ทุกระดับทั้งโรงเรียน เพียง 3 คน ทั้ง 3 คนนี้ ก็เป็นกลุ่ม Brainstorming… ในรายวิชาอื่นๆ ก็ทำเช่นเดียวกัน
การ Brainstorming เป็นกลุ่มย่อย ที่เรียกว่า “ Group Brainstorming” จะได้ผลดีกว่ากลุ่มใหญ่ และ ดีกว่าการทำงานคนเดียว
Group Brainstorming หรือ กลุ่มระดมความคิดนี้ จะสามารถใช้ประโยชน์จาก “ประสบการณ์ Experience” ได้อย่างเต็มรูปแบบ เพราะ “ความคิดสร้างสรรค์ creativity” ของสมาชิกคนหนึ่งๆ จะได้รับการ “ปรับปรุง Reform” และ “ต่อยอด continuing” จากความคิดสร้างสรรค์ของสมาชิกคนอื่นๆ ทำให้คนเราสามารถ “พัฒนาความคิดในเชิงลึก develop ideas in greater depth” การระดมความคิดนี้ ทำให้สมาชิกแต่ละคน “รู้สึกว่า Feel that” ตนเองมี “ส่วนร่วม” ในการแก้ปัญหา และทำให้รู้สึกว่า “คนอื่นๆ ก็มีความคิดสร้างสรรค์ที่มีคุณค่าเช่นเดียวกัน Reminds people that others have creative ideas to offer” การระดมความคิดนี้ควรเป็นไปในทาง “สนุกสนาน Brainstorming is also fun” และสามารถนำไปปรับใช่ในการพัฒนาการเรียนรู้ได้อย่างดีที่สุด
อ่านเพิ่มเติม: The Learning Process in the 21st Century (2).
โดย สุทัศน์ เอกา
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21… The Learning Process in the 21st Century.
ขั้นที่ 1. เตรียมครู.. และ ขั้นที่ 2. การสำรวจชุมชน หาแรงบันดาลใจ......
บทบาท “ผู้นำสถานศึกษา” ก่อนการเปลี่ยนแปลง Before Changing
การเตรียมการก่อนที่จะมีการปฏิรูปการเรียนรู้ “ค่อนข้างเป็นเรื่องใหญ่และสำคัญมาก” คนสำคัญที่จะต้องตื่นตัว และเรียนรู้เรื่อง “การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21” อย่างดีที่สุด และเข้าใจ Understanding มากที่สุด ก็คือ “ตัว ผู้อำนวยการโรงเรียน หรือ ผู้บริหารสถานศึกษา” นั่นเอง เพราะ ความเข้าใจเรื่องการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อย่างดีที่สุดนี้ ทำให้มองเห็นความจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนแปลง หรือ The Need to Change.. ”วิธีสอนของครู และวีธีเรียนของนักเรียน Learning and Teaching Approach” เนื่องจากโลกแห่งความเป็นจริงเปลี่ยนแปลงไป The World of Reality Changed” ตัวการแห่งความเปลี่ยนแปลงนี้ คือ “การสื่อสารไร้พรมแดน Borderless Communication” ความรู้และสรรพวิทยาการหลั่งไหลมาจากทุกมุมโลก เข้าสูอุปกรณ์เทคโนโลยีที่ทุกคนสามารถเป็นเจ้าของได้ ทำให้คนทุกคน “เข้าถึงความรู้ได้เท่าทียมกัน Equal Access to Knowledge” การเรียนโดยรับความรู้จากที่ครูบอกให้ จึงไม่พอเพียงกับโลกแห่งความเป็นจริง Real World”
อ่านเพิ่มเติม: The Learning Process in the 21st Century (1).
โดย ดร.สุพักตร์ พิบูลย์
วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2557 ผมได้ไปร่วมอภิปรายเรื่อง "ทิศทางการจัดการศึกษาของประเทศไทย ในศตวรรษที่ 21 (ทศวรรษที่ 2-3)" ณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กลุ่มผู้ฟังส่วนใหญ่น่าจะเป็นครู - อาจารย์ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และนักศึกษา ป.โท เอก ของ มสธ. ในการพูดคุย ผมได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับทิศทางการจัดการศึกษา (เน้นระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน) ซึ่งผมตั้งใจจะเสนอ ดังต่อไปนี้
1. บริบทการศึกษาไทย ศตวรรษที่ 21 ทศวรรษที่ 2 (พ.ศ. 2011-2020) : การจัดการศึกษาในปี 2554-2563 เราต้องเผชิญกับอะไรบ้าง มีภาวะคุกคามและเงื่อนไขโอกาส อย่างไรบ้าง