foto1
ความงดงามการศึกษาไทย
foto1
เพื่อ?
foto1
ไม่เข้าใจ?
foto1
วิทยากรที่กระทรวงศึกษาธิการ สปป.ลาว
foto1
ท่องทะเลทรายที่ดูไบ UAE


happy new year 2024

สวัสดีปีใหม่ ๒๕๖๗ ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง ปลอดโรค ปลอดภัย โชคดีมีชัยตลอดไปตลอดปีครับ สิ่งใดที่ผ่านพ้นร้ายๆ ก็ขอให้จบเสียในปี ๒๕๖๖ แล้วมาตั้งจิตอธิษฐานทำความดี สิ่งใหม่ๆ อันเป็นมงคลต่อชีวิตกันเถอะ เมื่อพูดถึงวงการ "ครู" หริอ "ครุ" ที่แปลว่า หนัก ก็ขอให้ผ่อนเบาลงโดยเฉพาะ "หนี้" นะครับ ถ้าปลอดหนี้ ก็จะมีความสุขมีพลังชีวิตในการให้ความรู้ ให้การศึกษาแก่ศิษย์ มีพลังในการทำงานให้เกิดผลสำเร็จต่อไป ประเทศไทยจะก้าวหน้าได้ก็ด้วยการสร้างเยาวชนคนรุ่นใหม่ให้มี "การศึกษา" ที่ดีนี่และ

อ่านเพิ่มเติม: สวัสดีปีใหม่ ๒๕๖๗

นโยบายความเป็นส่วนตัวสำหรับ www.KruMontree.com

ท่านที่เข้าชมเว็บไซต์ "KruMontree : เพื่อนครูไทยหัวใจดอทคอม" ที่เข้าถึงได้จาก https://www.krumontree.com หนึ่งในความสำคัญหลักของเรา คือ ความเป็นส่วนตัวของผู้เยี่ยมชมทุกท่าน เอกสารนโยบายความเป็นส่วนตัวนี้ ประกอบด้วยข้อมูลประเภทต่างๆ ที่ เว็บไซต์ KruMontree.com รวบรวมและบันทึกไว้และวิธีการใช้งาน

หากคุณมีคำถามหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา โปรดอย่าลังเลที่จะติดต่อเรากับช่องทางด้านล่าง

นโยบายความเป็นส่วนตัวนี้ ใช้กับกิจกรรมออนไลน์ของเราเท่านั้น และใช้ได้สำหรับผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา เกี่ยวกับข้อมูลที่ท่านต้องการจะแบ่งปันและ / หรือรวบรวมใน KruMontree นโยบายนี้ใช้ไม่ได้กับข้อมูลใดๆ ที่รวบรวมแบบออฟไลน์ หรือผ่านช่องทางอื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์นี้

ความยินยอม

ในการเข้าใช้เว็บไซต์ของเราแสดงว่า คุณยินยอมต่อนโยบายความเป็นส่วนตัวของเราและยอมรับเงื่อนไขดังกล่าวแล้ว

ข้อมูลที่เรารวบรวมจัดเก็บ

ข้อมูลส่วนบุคคลที่ระบบร้องขอให้ระบุ และเหตุผลที่เราขอ ระบบจะแจ้งให้คุณทราบอย่างชัดเจน ณ จุดที่เราร้องขอนั้นว่า ต้องการข้อมูลใด เพื่อการใดๆ เพียงเท่านั้น

หากคุณติดต่อกับทางเว็บไซต์เราโดยตรง เราอาจได้รับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณ เช่น ชื่อ-สกุล ที่อยู่อีเมล หมายเลขโทรศัพท์ เนื้อหาของข้อความ และ / หรือไฟล์แนบที่คุณอาจส่งถึงเรา และข้อมูลอื่นๆ ที่คุณอาจเลือกส่งให้

เมื่อคุณ ลงทะเบียนในบัญชีใช้งาน (Register User) หรือแสดงความคิดเห็นต่อบทความ (Comment) เราอาจขอข้อมูลติดต่อของคุณ รวมถึงรายการต่างๆเช่น ชื่อขสกุล ชื่อ บริษัท ที่อยู่ ที่อยู่อีเมล และหมายเลขโทรศัพท์

เราจะใช้ข้อมูลของคุณอย่างไร

เราใช้ข้อมูลที่เรารวบรวมในรูปแบบต่างๆ รวมถึง :

  • จัดหาเครื่องมือ ดำเนินการ และบำรุงรักษาเว็บไซต์ของเราให้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ชม
  • ปรับปรุง ปรับแต่ง และขยายบริการเว็บไซต์ของเราให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
  • ทำความเข้าใจ และวิเคราะห์ความสนใจในเนื้อหา บทความ จุดเชื่อมโยงต่างๆ ที่ปรากฎในเว็บไซต์ ของเรา
  • พัฒนาผลิตภัณฑ์ การบริการคุณลักษณะ และฟังก์ชันการทำงานใหม่ๆ
  • สื่อสารกับคุณไม่ว่าจะโดยตรง หรือผ่านพันธมิตรรายใดรายหนึ่งของเรา รวมถึงการบริการลูกค้า เพื่อให้ข้อมูลอัปเดตและข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานะของเว็บไซต์ และเพื่อวัตถุประสงค์ทางการตลาดและการส่งเสริมการขาย
  • ส่งอีเมลถึงคุณ เพื่อการชี้แจงหรือทำความเข้าใจในเนื้อหา/บทความในว็บไซต์
  • ค้นหาและป้องกันการกระทำที่อาจเป็นอันตรายต่อเว็บไซต์ หรือชุมชนอื่นๆ

การจัดเก็บและบันทึก (Log Files)

เว็บไซต์ KruMontree จัดเก็บไฟล์เป็นไปตามขั้นตอนมาตรฐานของการใช้ล็อกไฟล์ ไฟล์เหล่านี้บันทึกผู้เยี่ยมชมเมื่อเข้าชมเว็บไซต์ เป็นส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์ของการบริการเว็บไซต์ ข้อมูลที่รวบรวมโดยล็อกไฟล์ ได้แก่ ที่อยู่อินเทอร์เน็ตโปรโตคอล (IP) ประเภทเบราว์เซอร์ (Browser) ระบบปฎิบัติการที่ใช้ (Operating System : Windows, Mac OS, Linux, iOS, Android) ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) วันที่และเวลาหน้าอ้างอิงการเข้าชม และอาจนับเป็นจำนวนครั้งทางสถิติการเข้าชม

ข้อมูลเหล่านี้จะไม่เชื่อมโยงกับข้อมูลใดๆ ที่สามารถระบุตัวบุคคลได้ วัตถุประสงค์ของข้อมูลคือ การวิเคราะห์แนวโน้มการเข้าชมเนื้อหา ความสนใจ การค้นหาข้อมูลต่างๆ ในช่วงเวลาหนึ่ง และรวบรวมข้อมูลประชากร ถิ่นที่อยู่ ประเทศของผู้เข้าชม

เช่นเดียวกับเว็บไซต์อื่นๆ เว็บไซต์ KruMontree.com ใช้ 'Cookies : คุกกี้' เพื่อจัดเก็บข้อมูลรวมถึงความชอบของผู้เยี่ยมชม และหน้าเว็บบนเว็บไซต์ที่ผู้เยี่ยมชมเข้าถึง ชอบหรือแชร์ออกไปให้ผู้อื่น ข้อมูลนี้ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพประสบการณ์ของผู้ใช้ โดยการปรับแต่งเนื้อหาหน้าเว็บของเราตามประเภทเบราว์เซอร์ของผู้เยี่ยมชมและ / หรือข้อมูลอื่นๆ

สำหรับข้อมูลทั่วไปเพิ่มเติมเกี่ยวกับคุกกี้โปรดอ่าน "คุกกี้คืออะไร"

Google เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการร่วมในไซต์ของเรา นอกจากนี้ยังใช้คุกกี้ที่เรียกว่าคุกกี้ DART เพื่อแสดงโฆษณาให้กับผู้เยี่ยมชมไซต์ของเราตามการเยี่ยมชม www.krumontree.com และไซต์อื่นๆ บนอินเทอร์เน็ต อย่างไรก็ตามผู้เยี่ยมชมสามารถเลือกที่จะปฏิเสธการใช้คุกกี้ DART ได้โดยไปที่โฆษณา Google และนโยบายความเป็นส่วนตัวของเครือข่ายเนื้อหาที่ URL ต่อไปนี้ - https: / /policies.google.com/technologies/ads

ผู้โฆษณาบางรายบนไซต์ของเรา อาจใช้คุกกี้และเว็บบีคอน แต่ละรายมีนโยบายความเป็นส่วนตัวสำหรับนโยบายเกี่ยวกับข้อมูลผู้ใช้ของตน เพื่อให้เข้าถึงได้ง่ายขึ้น พวกเขาจะได้รับที่อยู่ IP ของคุณโดยอัตโนมัติเมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้น เทคโนโลยีเหล่านี้ใช้เพื่อวัดประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณาและ / หรือเพื่อปรับแต่งเนื้อหาโฆษณาที่คุณเห็นบนเว็บไซต์ที่คุณเยี่ยมชมเท่านั้น

โปรดทราบว่า เว็บไซต์ KruMontree.com ไม่สามารถเข้าถึงหรือควบคุมคุกกี้เหล่านี้ที่ใช้โดยผู้โฆษณาร่วมกับเราได้

คุณสามารถเลือก "ปิดการใช้งานคุกกี้" ผ่านตัวเลือกในเบราว์เซอร์ที่คุณใช้งาน หากต้องการทราบข้อมูลโดยละเอียดเพิ่มเติม เกี่ยวกับการจัดการคุกกี้ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ที่เฉพาะเจาะจง สามารถดูได้ที่เว็บไซต์ของผู้ผลิตเบราว์เซอร์นั้นๆ ได้โดยตรง

หากมีข้อสงสัย ต้องการคำแนะนำ/ติชม

โปรดติดต่อเรา ผ่านทางอีเมล์ที่ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 

my story

pencil 24เมื่อผมรู้จักคอมพิวเตอร์ และอยากใช้งานมัน...

news tvที่โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช ผมยังคงทำหน้าที่เป็น ครูโสตทัศนศึกษา เหมือนเดิม (ตำแหน่งครู ส. สนับสนุนการสอน) ได้พัฒนางานโสตทัศนศึกษาของโรงเรียน จนเป็นที่ประจักษ์ของเพื่อนร่วมงาน ได้สนับสนุนกิจกรรมการท่องเที่ยว ของจังหวัดอุบลราชธานี โดยได้รับการมอบหมายจากท่านผู้ว่าราชการจังหวัด (ท่านดนัย เกตุสิริ) ในสมัยนั้น ให้ทำหน้าที่บุกเบิก ออกสำรวจ และถ่ายทำสารคดีโทรทัศน์แหล่งท่องเที่ยว Amazing Thailand ของจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อเผยแพร่ในปีท่องเที่ยวไทย

การนำภาพ Unseen ของน้ำตกแสงจันทร์ (น้ำตกรูในโฆษณาบรั่นดียี่ห้อหนึ่งที่ เบิร์ด ธงไชย ไปแสดงท่าสดชื่นนั่นแหละ) น้ำตกสร้อยสวรรค์ น้ำตกทุ่งนาเมือง แม่น้ำสองสี น้ำตกห้วยหลวง ฯลฯ ออกมาปรากฏสู่สายตาชาวโลก เมื่อปี 2531 จากการบุกป่าฝ่าดง (ระเบิด) ในบางพื้นที่เพราะความไม่รู้ของทีมงาน แต่มาเสียวสันหลังเมื่อฝ่ายทหารเล่าให้ฟังว่า บริเวณนั้นมีการฝังกับระเบิดไว้มากมายทั้งฝ่ายเขา (ผกค. ต่างชาติที่รุกล้ำอาณาเขตเรา) ฝ่ายทหาร และ ตชด. ของเราเอง เพื่อรักษาดินแดนไทยไว้ เข้าไปเพื่อการค้นหา ถ่ายทำ น้ำตกแสนสวยของจังหวัดอุบลราชธานี เช่น น้ำตกสร้อยสวรรค์ น้ำตกห้วยหลวง แก่งลำดวน ผาแต้ม แก่งตะนะ และอื่นๆ ด้วยเวลานานกว่า 6 เดือน ทุลักทุเลในการเดินทาง รถแลนด์โรเวอร์ติดหล่มต้องช่วยกันโยก ยก ผลักดัน ด้วยกำลังคนตั้งแต่นายอำเภอ จนถึงผู้ใหญ่บ้าน กำนัน อส. ชาวบ้าน ในพื้นที่ กว่าจะสำเร็จออกมาได้

waterfall ubon

pc system 8080ในช่วงนี้เองที่ "โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช" เริ่มนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้งาน และผมก็ไปด้อมๆ มองๆ เพราะอยากรู้ จนคนที่เขารับผิดชอบดูแลเริ่มตาขวางกลัวผมทำของเขาพัง (ก็ไม่รู้ด้วยกันนั่นแหละ แต่คนหนึ่งอยากรู้ อีกคนต้องรักษามันไว้ทั้งๆ ที่ไม่ค่อยรู้) ทำให้ผมต้องตัดสินใจซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรก PC 8080 จอสีเขียวด้วยเงิน 60,000 บาทในสมัยโน้นทั้งๆ ที่ผมก็ยังใช้ไม่เป็นด้วยซ้ำ ได้รับแผ่นดิสก์เก็ต 5.25 นิ้ว 3 แผ่น (MS DOS 3.3, WordStar, แผ่นเปล่า) และหนังสือภาษาอังกฤษ 2 เล่ม User Guide, DOS Operating เปิดเครื่องขึ้นมาทีไรมันก็ Bad command or file name อยู่นั่นแหละ ไม่รู้จะทำอะไรกับมันดี

ทำให้ผมต้องจำใจอ่าน คู่มือภาษาอังกฤษ อยู่นานนับอาทิตย์ เพราะตำราภาษาไทยสมัยนั้นมีน้อย และที่พอจะเป็นที่พึ่งได้ก็มีของ อาจารย์ยืน ภู่วรรวรรณ เท่านั้น แต่คำดูถูกถากถางของเพื่อนและเมียว่า "บ้าใช้ไม่เป็นยังซื้อมาอีก แถมเป็นหนี้ออมทรัพย์ ตั้งครึ่งแสน สมน้ำหน้า" ยิ่งทำให้ผมบ้าอ่านหนักกว่าเดิม จนมีวันนี้ วันที่เพื่อนๆ ยอมรับในความสามารถของผมด้านคอมพิวเตอร์ ทั้งๆ ที่ไม่เคยได้เล่าได้เรียนในระดับมหาวิทยาลัยมาก่อนเลย ด้วยความที่ไม่รู้ศึกษาด้วยตนเอง ทั้งจากการอ่านตำรา ลองฝึกปฏิบัติ ครูพักลักจำ ทำให้วันนี้ผมพร้อมที่จะถ่ายทอดให้คนอื่นได้รู้ด้วย ไม่เคยปิดบังเลย แล้วยังสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ให้กว้างไกลไปอีก

welcome friendsนปี 2537 หัวหน้างานคอมพิวเตอร์ของโรงเรียน ลาออกจากราชการ เพราะประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ไม่มีใครอาสามาทำหน้าที่นี้ ท่านผู้อำนวยการวินัย เสาหิน จึงได้มอบหมายให้ผมมาทำหน้าที่นี้ แทนจนกระทั่งลาออกจากราชการ (30 กันยายน 2555)

มันเป็นงานที่ท้าทายอย่างยิ่งสำหรับผม เพราะ... ไม่เคยร่ำเรียนมาก่อน เพียงแต่พอใช้งานได้คล่องแคล่ว ในหลายๆ โปรแกรม ก็พวกโปรแกรมสำนักงานอย่างเวิร์ดโปรเซสซิ่ง งานนำเสนอ นี่แหละ แล้วต้องมาดูแลงานใหม่ด้านไอทีของโรงเรียนทั้งหมด ตั้งแต่การวางแผนปฏิบัติการ และกรอบนโยบายด้านไอที การออกแบบ และวางแผนผังระบบเครือข่ายภายใน การจัดการเรียนการสอนให้มีทุกระดับชั้น

ipst ake pai linแล้ววันหนึ่ง! โอกาสก็มาถึง เมื่อผมได้รับการคัดเลือกเข้ารับการอบรมเป็น วิทยากรแกนนำวิชาคอมพิวเตอร์ ของ สสวท. (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) ทำให้ได้แนวความคิดที่หลากหลายในการทำงาน ทั้งจากเพื่อนๆ ทีมวิทยากร และอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ และหนึ่งในจำนวนนั้นมีอาจารย์ที่ผมเป็นลูกศิษย์จากการอ่านตำราของท่าน คือ อาจารย์ยืน ภู่วรวรรณ รวมอยู่ด้วย

จากประสบการณ์ในการทำงาน ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงจัง ผมจึงมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนางานด้านนี้อยู่มาก จึงมักจะได้รับเชิญจากทาง สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ให้เข้าร่วมในการพัฒนาหลักสูตร การเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ ช่วงชั้นที่ 1-4 การพัฒนาหนังสือแบบเรียน คู่มือครู และเอกสารประกอบการอบรมครูผู้สอน รวมทั้งเป็นวิทยากรให้ความรู้ เกี่ยวกับด้านการพัฒนาการเรียนการสอนอยู่ เนืองๆ

ipst pueng-wan 3ก่อนที่จะมาเป็นฅนทำเว็บ (เรียกให้โก้หน่อยก็ เว็บมาสเตอร์ หรือเว็บมาดเซ่อ ก็ไม่รู้) อย่างทุกวันนี้ ผมก็เหมือนกับเพื่อนคนอื่นๆ คือใช้งานเป็น ดูงานคนอื่นที่เขาทำได้ แต่ทำเว็บเองไม่เป็นหรอก สาเหตุที่ต้องเรียนรู้และกลายมาเป็นอาชีพเสริมหนึ่งของผมในตอนนี้ ก็เพราะว่า

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีโครงการช่วยเหลือทางวิชาการแก่โรงเรียนในท้องถิ่น ทางผู้อำนวยการศูนย์คอมพิวเตอร์ ก็เอ่ยปากชักชวนให้ผมทำ เว็บไซต์ของโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช ไปฝากไว้ที่เครื่องแม่ข่ายของมหาวิทยาลัย ด้วยความที่ไม่กล้าบอกว่าทำไม่เป็น (กลัวจะเสียเหลี่ยมหรือไงไม่รู้) เลยตอบกลับไปว่า "ได้เลยครับ" แล้วผมก็ลืมไปเสียสนิท

2webmastersจนกระทั่งวันหนึ่ง ผมก็ได้รับโทรศัพท์แจ้งมาจากทาง ศูนย์คอมพิวเตอร์ฯ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จมาพระราชทานปริญญาบัตร ณ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ในอีก 15 วันข้างหน้า จึงเร่งให้ผมนำเว็บไซต์ที่รับปากไว้ ไปวางในเครื่องแม่ข่าย (Server) ล่วงหน้าก่อน 7 วัน คราวนี้ก็โดนไฟลนก้นซิครับ แต่ที่หนักที่สุดทำก็ยังไม่เป็นเลยนะซิ ผมต้องเรียนรู้และทำให้ได้ภายใน 7 วันโดยไม่รู้ว่าจะถามใคร (พ.ศ. 2539) ผมตระเวนร้านขายหนังสือในอุบลฯ ทุกร้านหมดเงินไปพันกว่าบาท ได้หนังสือที่หน้าปกเขียนว่า เขียนเว็บเป็นภายใน 7 วัน หรือ เขียนเว็บเป็นเร็ว แต่สุดท้ายอ่านจนจบก็ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดี? ผ่านไปสามวันผมผ่านไปร้านหนังสือดอกหญ้า เจอหนังสือชื่อ Design Web Graphics with HTML เป็นตำราภาษาไทยครับ อ่านเข้าใจง่ายมี tag ตัวอย่าง พร้อมภาพประกอบในซีดี ผู้เขียนชื่อ เยาวภา - วิทยา สงวนวรรณ ได้ช่วยกู้หน้าให้ผมได้ภายใน 4 วันจริงๆ กับเว็บไซต์พร้อมภาพประกอบจำนวน 8 หน้า

ipst horse shoe pointเป็นเว็บไซต์ที่ผมย้อนกลับไปดูทีไรแล้ว น้ำตาแทบร่วง เพราะมันอืดอาดช้ามาก แต่งภาพก็ไม่เป็น มีเท่าไหร่ใส่เข้าไปหมด โหลดนานสุดชีวิต (ยุคนั้นเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยโมเด็ม 28.8 kbps ผ่านสายทองแดงโทรศัพท์นะครับ) และต้องแสบตาพร่าพรายกับบรรดาภาพ Gif Animation แต่เมื่อเริ่มต้นนับหนึ่งได้ ก้าวที่สอง ก้าวที่สามก็ตามมา จากการเขียนด้วยเครื่องมือมาตรฐาน คือ Notepad ใน Windows ธรรมดา มาใช้เครื่องมืออื่นๆ มากขึ้น โชคดีที่ผมมีพื้นฐานศิลปะอยู่บ้าง จากการเป็นลูกศิษย์ของ อาจารย์อารี สุทธิพันธ์ ทำให้การออกแบบตกแต่งเว็บไซต์ง่ายดายขึ้น

จากวันนั้นถึงวันนี้ ก็นับสิบปีเหมือนกัน ในการพากเพียรเรียนรู้ และศึกษาคอมพิวเตอร์ด้วยตนเอง จากไม่รู้ มาเป็นพอรู้งูงูปลาปลา แล้วค่อยสะสมประสบการณ์ ผ่านการอบรมหลายครั้ง แต่ที่สำคัญที่สุดคือความกล้าที่จะลองทำ ลองศึกษาปัญหาและหาทางแก้ไข จนถึงวันนี้ หลายคนบอกว่า "ผมเป็นเซียนคอมพิวเตอร์" แต่จริงๆ ผมมันก็แค่เซียนหมัดเมา ต่อยสะเปะสะปะ แล้วทะลึ่งโดนปลายคาง น็อคคู่ต่อสู้ได้เท่านั้นเอง ไม่ได้เก่งกาจอะไรหรอก

ipst pueng-wan 2สิ่งที่ผมได้มาจากการเคี่ยวกรำของคุณครู ตั้งแต่ระดับประถม มัธยมจนถึงอุดมศึกษาคือ การรักการอ่าน ผมอ่านได้ทุกเรื่องทุกแนว จริงจังและอ่านได้ทุกที่ ส่งผลให้โลกของผมกว้างไกลออกไป โลกของผมไม่มีความโค้ง แต่แบนแผ่ราบออกไป ที่ท้าทายให้ผมได้เสาะแสวงหาความรู้ ยิ่งเมื่อผมมาอยู่ในโลกไซเบอร์ ยิ่งทำให้การค้นหาความรู้ของผมง่ายดายดุจพลิกฝ่ามือ เพราะในโลกใบใหม่มีเรื่องท้าทายมากกว่าเดิม ในขณะที่ผมก็สามารถสร้างฐานข้อมูล ความรู้ เผยแพร่ได้ง่ายดาย ด้วยการลงทุนที่ต่ำกว่า มีความเป็นส่วนตัวและอิสระในการทำงานมากขึ้น

บทส่งท้าย... เรื่องราวของผมยังมีอีกมากทั้งทุกข์และสุข หลายๆ เรื่องก็ได้เล่าสู่กันฟังในเว็บไซต์นี่แล้ว และอีกหลายเรื่องราวคงต้องไปติดตามกันได้จากอีก 2 เว็บไซต์ของผม ซึ่งมีอายุยาวนานมาจนผ่าน 2 ทศวรรษแล้ว และกำลังก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่สามอย่างมั่นคง เชิญชมเลยนะครับที่...

  • IsanGate.com : เว็บไซต์ที่เกี่ยวกับภาษา ศิลปวัฒนธรรม ชีวิตความเป็นอยู่ของฅนอีสาน
  • Easyhome in Thailand : สาระน่ารู้หลากหลายเกี่ยวกับเทคนิคการใช้งานคอมพิวเตอร์

20th isangate com 820x140

ความภาคภูมิใจของผู้เป็นพ่อแม่ คงจะไม่มีอะไรเกินกว่าการที่ลูกเป็นคนดีและประสบผลสำเร็จในชีวิตการศึกษา การงาน และดำรงตนอยู่ในสังคมอย่างเป็นสุข ลูกผมทั้งสองคนไม่ได้ทำให้ผมผิดหวัง การตั้งใจศึกษาเล่าเรียนของเขา ทำใหครอบครัวของเราเป็นสุขมาก

 

อาชีพที่ยังวางไม่ลงหลังเกษียณอายุราชการ อ่านต่อ

search header

ช่วงหลังๆ มานี้ผมพบว่า มีลิงก์แสดงการค้นหาบทความเก่าๆ ไม่พบเยอะมาก (มีรายงานในส่วนของผู้ดูแลระบบ) แล้วผมต้องคอยแก้ไขให้ลิงก์นั้นชี้ไปยังบทความที่ผู้อ่านต้องการเยอะมากขึ้น ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น

  • การค้นหาผ่าน Google Search ซึ่งอาจจะเก็บข้อมูลเดิมนานมาแล้วไว้ในฐานข้อมูล เมื่อคลิกตามลิงก์แล้วไม่พบ เพราะผมได้แก้ไขหรือเปลี่ยนระบบเว็บเดิมจากการเขียนด้วย HTML มาเป็นการใช้ Joomla CMS แล้ว หรืออาจจะเป็นที่เลขกำกับบทความเปลี่ยนไปเพราะฐานข้อมูลที่อัพเดทใหม่ หรือย้ายหมวดหมู่บทความใหม่ เป็นต้น
  • บางท่านได้ทำ Bookmark บทความเดิมไว้ ซึ่งตอนหลังผมได้ย้ายบทความจากระบบเดิมมาเป็นระบบใหม่อย่าง "เสียงบ่นของครูมนตรีเก่าๆ" มาอยู่ในระบบใหม่แล้ว เป็นต้น (เหตุที่ต้องย้ายเพราะของเดิมเขียนไว้เป็น html ตัวอักษรเล็ก อ่านยากครับ ถ้าต้องมานั่งแก้ไขโค๊ดก็เสียเวลามาก)

ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม เพื่อให้การค้นหาบทความเก่าๆ นั้นหาอ่านได้ง่าย ก็เลยขอเสนอ "เคล็ดไม่ลับ" ในการค้นหาบทความจากในเว็บไซต์นี้ได้โดยตรง ไม่ต้องพึ่งพาเพื่อนกู (Google) ก็ทำได้ ง่ายๆ ดังนี้เลยครับ

search 01

ขั้นตอนที่ 1 บริเวณหัวเว็บฝั่งขวา (ที่วงสีแดงๆ ไว้) จะเป็นช่องค้นหา (Search) มีรูปไอค่อนแว่นขยายอยู่ ท่านสามารถป้อนข้อความลงไปเพื่อหาบทความได้เลย คำหรือข้อความนั้นจะเป็นชื่อบทความภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ หรือจะเป็นส่วนหนึ่งของประโยค เป็นคำสำคัญในบทความก็ได้ หรือจะคลิก การค้นหาได้ที่นี่ เช่น การเรียนออนไลน์, โควิด-19, 1 โรงเรียน, PDCA เป็นต้น (ระบุข้อความ หรือ คำที่ต้องการค้น อย่างน้อย 3 ตัวอักษรนะครับ) แล้วเคาะปุ่ม Enter ได้เลย ตัวอย่างเช่น ต้องการค้นหาคำว่า "ผู้บริหาร"

search 02

ขั้นตอนที่ 2 จะพบหน้าการแสดงผลการค้นหา มีบทความต่างๆ ที่มีคำว่า "ผู้บริหาร" ปรากฏขึ้น ท่านสามารถเลื่อนดูผลว่า บทความใดตรงตามที่ต้องการแล้ว ถ้ายังไม่พบที่ตรงตามต้องการ สามารถกำหนดรายละเอียดในการค้นหา ในกรอบสีเขียวเพิ่มเติมได้ เช่น เพิ่มคำที่เกี่ยวข้อง เลือกรูปแบบการค้นหา เช่น ทุกคำ หรือ บางคำ หรือ ทั้งประโยค หรือค้นหาเฉพาะใน หมวดหมู่ การติดต่อ เนื้อหา ข่าวฟีด หรือ แท็กคำสำคัญ ได้ หรือจะเติมคำประกอบลงไปให้กระชับความหมายขึ้น แล้วค้นหาซ้ำอีกที

ขั้นตอนที่ 3 เมื่อท่านพบบทความที่ต้องการ หรือตรงกับความต้องการแล้ว สามารถคลิกที่ "หัวข้อ" นั้นๆ เพื่อไปยังบทความที่ต้องการได้เลย ดังภาพ

search 03

ในบทความต่างๆ ที่ส่วนท้ายของบทความ (ด้านล่างสุด) ท่านสามารถกด Like กด Share บทความของเรา ไปให้คนอื่นที่สนใจ ผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์อย่าง Facebook ได้ทันที รวมทั้งสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมต่อบทความนั้นๆ ได้ในช่องเพิ่มความคิดเห็น (แต่ท่านก็ต้องมีบัญชีใช้งานใน Facebook ด้วยนะครับ ถ้ายังไม่ Login เข้าใช้งาน ระบบจะช่วยให้ท่านเข้าสู่ระบบก่อนการแชร์) ดังภาพ

search 05

หรือ ท่านอยากจะสื่อสารกับผู้เขียนก็สามารถทำได้ผ่านทางอีเมล์ webmaster at krumontree.com หรือทาง Facebook Fanpage : KruMontree ก็ได้ครับ ซึ่งท่านสามารถติดตามความเคลื่อนไหว ข่าวสารต่างๆ ผ่านช่องทางนี้ ฝากกด Like กด Share ด้วยนะครับผม

search 04

ขอบคุณทุกท่านครับ

สนับสนุนให้เราคงอยู่ได้ด้วย

การทำเว็บไซต์ขึ้นมาสักเว็บให้คงอยู่ในโลกอินเทอร์เน็ตได้นานๆ นอกจากคนทำรักและชอบที่จะทำแล้ว ยังต้องมีการสนับสนุนจากทางผู้ชมด้วยคำแนะนำ ติชม การมีส่วนร่วมกับกิจกรรมต่างๆ การกดไลค์ กดแชร์บทความที่ชอบ แนะนำต่อๆ กันไป การคลิกที่แบนเนอร์โฆษณาเพื่อให้ทางเว็บมีรายได้บ้างนิดหน่อย แม้จะไม่คุ้มค่าเช่าโฮสท์ ค่าต่ออายุโดเมน แต่ก็เป็นกำลังใจให้คนทำได้ชื่นใจบ้างครับ ถ้าท่านอยากสนับสนุนเราให้คงอยู่ก็ทำได้โดย

การลงโฆษณาผ่านแบนเนอร์

เรามีตำแหน่งสำหรับการติดตั้งแบนเนอร์โฆษณาในหลายตำแหน่ง ทั้ง

  • แบนเนอร์ขนาดเล็กด้านบน 300x250 pixels ตำแหน่งด้านบนแบบ Fixed เพียงเดือนละ 500 บาท
  • แบนเนอร์ด้านข้างแนวตั้ง 200x300 pixels แบบ Fixed ในตำแหน่งด้านข้างของเพจ เพียงเดือนละ 500 บาท
  • แบนเนอร์ขนาด 720x90 pixels แทรกในบทความใหม่ บทความละ 100 บาทต่อเดือน

รายละเอียดเพิ่มเติมสอบถามได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 081-8783521 (AIS), 083-4624996 (Dtac) หรือทางอีเมล์ webmaster @ krumontree.com ไม่ลงโฆษณาก็ช่วยคลิกแบนเนอร์โฆษณาวันละครั้งก็ยังดีครับ หรือท่านจะ...

การใช้บริการจัดทำเว็บไซต์ เช่าพื้นที่โฮสท์และจดโดเมนทุกชนิด

รูมนตรี ให้บริการในการรับจัดทำเว็บไซต์หน่วยงาน โรงเรียน องค์กรต่างๆ รวมทั้งเว็บไซต์ร้านค้า เว็บไซต์ส่วนตัว พร้อมบริการให้เช่าโฮสท์ รับจดโดเมนสกุลต่างๆ ดำเนินการติดตั้งระบบเว็บไซต์ ออกแบบเทมเพลต จัดทำเมนู-เนื้อหาเบื้องต้นให้ แล้วค่อยไปดำเนินการต่อกันเอง แล้วจ่ายเฉพาะค่าเช่าโฮสท์/โดเมนเป็นรายปี หรือจะให้ทางเราดูแลตลอดไปก็ตกลงกันได้ครับ

Web Hosting, Domain Register & Web Design

  • ค่าเช่าโฮสท์/จดโดเมน (.com, .net, .org) ปีละ 3,200 บาท บริการติดตั้งระบบบริหารจัดการเว็บไซต์ CMS เช่น Joomla, Wordpress, Drupal, ObecLMS ให้ฟรี (พื้นที่ 15GB/10DB/20email)
  • ค่าเช่าโฮสท์/จดโดเมน (.ac.th, .go.th, .co.th, .or.th) ปีละ 3,600 บาท บริการติดตั้งระบบบริหารจัดการเว็บไซต์ CMS เช่น Joomla, Wordpress, Drupal, ให้ฟรี (พื้นที่ 15GB/10DB/20email) ต้องใช้เอกสารประกอบการจดโดเมนที่ลงนามรับรองโดยผู้บริหารองค์กร คลิกดาวน์โหลดได้ที่นี่ เอกสารประกอบคำขอจดโดเมนโรงเรียน (.ac.th) | เอกสารประกอบการจดโดเมนหน่วยงานราชการ (.go.th) สำหรับบริษัท/ห้างร้าน ที่ต้องการจดโดเมน .go.th ต้องส่งเอกสารสำเนาหลักฐานการจัดตั้ง บริษัท/ห้างหุ้นส่วนจำกัด อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
    • ทะเบียนบริษัท (ท.ค.0401)
    • หนังสือรับรองบริษัท/ห้างหุ้นส่วนจำกัด
    • ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20)
    • ใบคำร้องขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลด้านภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.09)
    • ทะเบียนประกอบธุรกิจของบริษัทต่างด้าวในประเทศไทย (ท.ค.0506)
  • สำหรับ ท่านที่มีโดเมนอยู่แล้ว ต้องการย้ายมาใช้บริการโอสท์กับเรา จ่ายเพียง 2,600 บาท/ปี (รับบริการเช่นเดียวกันกับข้างต้น พื้นที่ 15GB/10DB/20email)
  • สนใจรายละเอียดต่างๆ สามารถติดต่อได้ทางอีเมล์ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. หรือใช้แบบฟอร์มที่เมนู Contact Us ด้านบนเลยนะครับ ยินดีไม่มีปัญหา

การชำระเงินค่าบริการต่างๆ สามารถโอนเงินเข้าบัญชี นายมนตรี โคตรคันทา

  • ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาอุบลราชธานี เลขที่บัญชี 530-2-46837-8 : Promtpay 0834624996
  • ธนาคารกรุงไทย สาขาถนนชยางกูร เลขที่บัญชี 321-1-05087-6 : Promtpay 0818783521

แจ้งรายละเอียดการโอนเงินและเอกสารทางอีเมล์ข้างต้น หรือทางโทรศัพท์...

(AIS) 081-8783521, (DTAC) 083-4624996

ที่อยู่ในการติดต่อรับ-ส่งเอกสาร
นายมนตรี โคตรคันทา
99/169 หมู่บ้านสาริน 7 ตำบลคำน้ำแซบ อำเภอวารินชำราบ
จังหวัดอุบลราชธานี 34190

บริการของเราไม่ได้บอกว่าถูกกว่าเจ้าอื่นๆ แต่เรามีดีที่คอยให้ความช่วยเหลือตลอดเวลาที่ใช้บริการกับเรา ตั้งแต่การอัพเดทระบบให้ใหม่ทันสมัยเพื่อป้องกันการโจมตีจากเหล่าผู้ไม่หวังดี อัพเดทโมดูล ปลั๊กอินต่างๆ ให้ทันสมัยกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป มีคู่มือและให้คำปรึกษาในการจัดการเนื้อหาต่างๆ

@@******************************@@

ข้อสังเกตที่อยากบอกให้รู้

ผมทำเว็บไซต์มานานเกินกว่าสิบปีมาแล้ว ทั้งเว็บไซต์ส่วนตัว และรับจ้างทำเว็บไซต์ของ หน่วยงานราชการ บริษัทห้างร้าน มาเยอะ ที่รอดอยู่ยาวนานก็มี ที่ทำไปสักปีหรือสองปีก็ล้มหายตายจากไปก็มี สิ่งที่พบอย่างหนึ่งคือ เว็บไซต์ทั้งหลายเกิดจากความอยาก... อยากมี อาจจะด้วยเหตุผลหลายอย่างของความอยาก เช่น

  • อยากผ่านเกณฑ์ ทำเพื่อรับการประเมินหน่วยงาน หรือมาตรฐานอะไรก็ตามที เว็บประเภทนี้มักอยู่ไม่นาน เพราะพอผ่านสถานการณ์นี้ไป ก็ขาดคนเหลียวแล อาจจะมีคนในองค์กรบางคนที่อยากทำ แต่ก็ไม่ได้รับการสนับสนุน ยิ่งมีการเปลี่ยนผู้บังคับบัญชา ได้คนไม่สนใจด้านไอที การจบงานก็จะมาเร็วมาก
  • อยากโฆษณาประชาสัมพันธ์องค์กร เป็นการทำเพื่อเผยแพร่ข่าวสาร กิจกรรมขององค์กร ถ้ามีคนรับผิดชอบหลักๆ งานก็เดิน และอยู่ได้นานอาจมี 5 ปีขึ้น
  • อยากมีเหมือนเพื่อน คือเห็นที่อื่นเขามี ไปประชุมสัมมนาที่ไหนเขาก็คุยว่า หน่วยงานเขามีเว็บไซต์ ก็อยากมีบ้าง แต่ไม่เข้าใจหรอกว่า การมีเว็บไซต์นั้นมันต้องมีค่าใช้จ่าย ทั้งค่าเช่าโฮสท์ จดโดเมน ค่าจัดทำ (แม้จะใช้งานให้ลูกน้องทำก็ต้องอัดฉีดกันบ้างนะ อย่าปล่อยไปตามยถากรรม มันไม่ได้กินน้ำค้างเป็นอาหารประจำวัน และใช้ความคิด มันสมองมาออกแบบปรับปรุง) ส่วนใหญ่ก็อยู่ได้ไม่นานเหมือนกัน

จึงอยากจะบอกว่า หากท่านต้องการจะจัดทำเว็บไซต์ นอกจากจะต้องเตรียมค่าใช้จ่ายในการเช่าพื้นที่โฮสท์ และจดโดเมนแล้ว ท่านจะต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนว่า ต้องการมีเว็บไซต์เพื่อประโยชน์อะไรบ้าง มีข้อมูลที่ชัดเจนในการนำเสนอ มีคนรับผิดชอบในการอัพเดทข้อมูลข่าวสารในแต่ละสัปดาห์ ยิ่งเป็นหน่วยงานอย่างสถานศึกษา มีข้อมูลมากมายที่สามารถนำเสนอได้เป็นรายวันด้วยซ้ำ

แต่ก็เห็นเว็บไซต์โรงเรียนบางแห่งมันไม่เคลื่อนไหวเลย ขนาดที่ว่า ผอ.ย้ายหรือเกษียณไปแล้วก็ยังโชว์หราอยู่นั่น สุดท้ายพอมันไม่เคลื่อนไหวนานเข้า ไปของบมาทำต่อก็เลยไม่ได้รับการอนุมัติ เสียดายจริงๆ เพราะบางที่จดโดเมนประเทศไทยเป็น .ac.th แล้วปล่อยให้มันหมดอายุไปก็น่าเสียดายครับ

อยากจะทำเว็บไซต์ให้ได้อยู่นานๆ สิ่งที่ต้องทำคือ การเตรียมทีมงานช่วยกันทำ อัพเดทข่าวสาร ให้ทันสมัย ทันเหตุการณ์ เป็นประโยชน์ต่อสังคม ต่อเพื่อนครู ต่อนักเรียนและผู้ปกครอง อย่าทำคนเดียวจะเหนื่อยและท้อ ข้อมูลไม่รอบด้าน การมีคนช่วยในลักษณะทีมงาน มอบหมายงาน ไว้วางใจกัน จะทำให้เว็บไซต์เคลื่อนไหวไปด้วยดีได้ ยิ่งมีบุคคลประเภทบ้าลุยด้วยล่ะก็แจ่มเลย

จริงอยู่ในโลกยุคข้อมูลข่าวสาร สังคมออนไลน์ (Social Network) สามารถใช้บริการฟรีๆ เหล่านั้นมาทำหน้าที่ได้ ไม่ว่าจะเป็นบล็อก แฟนเพจ แต่ "ความน่าเชื่อถือของข้อมูลข่าวสาร" ก็ยังไม่เทียบเท่าการมีชื่อโดเมนเป็นของตนเองครับ พวกแฟนเพจเป็นเพียงตัวช่วยที่จะดึงให้ผู้คนในโลกออนไลน์มายังเว็บไซต์ของเราเท่านั้นเอง

ยิ่งทุกวันนี้มีกระบวนการฉ้อฉล สร้างเพจปลอมๆ ขึ้นมาหลอกลวงได้ง่ายๆ ความน่าเชื่อถือจึงไม่มีทางจะเทียบได้กับ เว็บไซต์ที่มีโดเมนของตนเองถูกต้องชัดเจน การติดต่อกับองค์กรอื่นหรือหน่วยงานอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศด้วยอีเมล์ของโดเมนเราเอง จะได้รับความเชื่อถือมากกว่าบริการอีเมล์ฟรี อย่าง Yahoo, hotmail, gmail มากมายครับ

หลักการสำคัญที่ถูกพิสูจน์แล้ว

ในภาวะที่รัฐบาลทั่วโลก ล้วนแต่อยากเป็น "รัฐบาลดิจิตอล" (e-Government) เว็บไซต์ GovInsider สัมภาษณ์ Ben Terrett อดีตหัวหน้าฝ่ายออกแบบของ UK Government Digital Service (GDS) หน่วยงานภายใต้สำนักนายกรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักร ระบุว่า GDS ห้ามสร้างแอปมานาน

โดยเหตุผลที่ GDS ห้ามสร้างแอปคือค่าใช้จ่ายในการพัฒนาแอปนั้นสูงมาก และค่าบำรุงรักษายิ่งสูงกว่าค่าพัฒนา เมื่อมีการพัฒนาแอปกระจัดกระจายนับร้อยแอป ค่าบำรุงรักษาจะมากมายมหาศาล GDS จึงมุ่งให้บริการเฉพาะเว็บไซต์เท่านั้น โดยทุกเว็บจะต้องรองรับการทำงานบนโทรศัพท์มือถือด้วยการออกแบบแบบ responsive เพื่อให้ทำงานได้บนทุกหน้าจอบนแพลตฟอร์มเดียว (ต่างจากประเทศสยามเมืองยิ้ม ภาครัฐแม่งโคตรแอพจริงๆ งานเดียวกัน กระทรวงเดียวกันแต่มีเป็นสิบ และไม่เชื่อมโยงกัน อยากใช้บริการอะไรต้องโหลดมาติดตั้งใหม่ สมัคร กรอกข้อมูลใหม่ เรื่อยไป ประชาชนงงหมดแล้วเจ้านาย)

ทาง GDS ยังพบว่า เพื่อให้ให้บริการเข้าถึงง่ายต้องปรับปรุงบริการหลายอย่าง

  • ความต้องการของหน่วยงานรัฐที่ไม่เข้าท่ายังมีหลายอย่าง เช่น หน่วยงานจำนวนมากอยากได้ปุ่ม Share บนเว็บไซต์ แต่เอาเข้าจริงก็แทบไม่มีใครใช้ (เพราะไม่รู้จะแชร์อะไร ข่าวสารก็ล่าช้า)
  • หน่วยงานจำนวนมากยังเชื่อว่าประชาชนจะเข้าเว็บจากหน้าแรก แต่ในความเป็นจริง คนส่วนมากค้นหาสิ่งที่ต้องการจากกูเกิล (คลิกที่ลิงก์ที่ค้นหาจำนวนนับร้อยที่มีข้อมูลเหล่านี้ ไม่ได้มีที่เดียวเลย)
  • หน่วยงานมักถามคำถามที่ไม่จำเป็นตามกฎหมาย เช่น ถามสถานะการสมรสทั้งที่กฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ แบบฟอร์มไทยๆ ก็จะถาม "การนับถือศาสนา" ที่คนตอบก็ไม่รู้ว่าตัวเองเชื่อและศรัทธาศาสนาใดกันแน่ GDS พบว่า เมื่อตัดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นออกทั้งหมด หน่วยงานรัฐสามารถตัดขั้นตอนการขอเงินช่วยเหลือคนชราหรือผู้พิการออกไปได้ถึงครึ่งหนึ่ง
  • ตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกจากเว็บให้หมด รวมถึงรูปภาพ และไอคอนที่ไม่เกี่ยวข้อง (รวมทั้งรูปผู้บริหารเห่ยๆ นั่นด้วย ผลงานจะทำให้คนเขาค้นหาเองเมื่ออยากรู้ว่ะ(ครับ) อ้อ คำนำหน้า "ด็อก" ก็เอาออกได้นะ มันไม่ค่อย "เตอร์" อ๊ะ)

Terrett แนะนำว่า การสร้างบริการให้ประชาชนต้องคำนึงถึงความต้องการของประชาชนเป็นหลักก่อน ไม่ใช่รับไอเดียจากหน่วยงานต่างๆ เป็นหลัก เพื่อป้องกันไม่ให้บริการซับซ้อนโดยไม่จำเป็น

สำหรับลูกค้าของเราสามารถตรวจสอบ สถานะ วันหมดอายุของโฮสท์ และโดเมนได้จากลิงก์ข้างล่างนี้

http://www.isangate.net/

 

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)

Our Policy