2ways header

โดย สุทัศน์ เอกา

2ways 01กราบเรียน คุณครู-อาจารย์ทุกท่านครับ รูปแบบการเรียนรู้ และ การสอนที่แตกต่างกันนั้น ย่อมให้ผลในการเรียนรู้ “แตกต่างกัน” ไปด้วย.. ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว การเรียนการสอนก็เพื่อการ “ถ่ายทอดความรู้ และ ทักษะ Knowledge and Skills transfer” แต่ไม่ได้เน้นไปที่ “เรื่องสำคัญ” คือ “ความเจริญเติบโตของศักยภาพแต่ละบุคคลเป็นสำคัญที่สุด does not address individual growth and potential particularly well”

การเรียนรู้ในวันนี้ จะต้อง “เน้น ไปที่ความต้องการของผู้เรียน what the individual needs to learn” และหน้าที่ของพวกเราซึ่งเป็นคุณครูแห่งยุคสมัยของศตวรรษที่ 21.ควรต้องหา “วิธีเรียนรู้ที่ดีที่สุดสำหรับพวกเขา หรือ The best way in which they can learn it”.. นี่เองคือที่มาอย่างแท้จริง ของคำว่า “ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หรือ Learner Centered” ประโยคทองของทิศทางการศึกษายุคใหม่ของพวกเรา..

2ways 02

ดังนั้น จึงมีความแตกต่างกัน “ในวิธีการสอนและการเรียนรู้ Learning and Teaching Approach” ซึ่งบางคนบอกว่า “เล็กน้อย หรือ A little Different” แต่บางคนก็เห็นว่ามันแตกต่างกันมากมายจริงๆ หรือ A lot Different” ใน 2.แนวทางที่แตกต่างกัน ดังนี้

  1. การเรียนการสอนเพื่อ “การสอบ หรือ The need to pass an exam” ซึ่งเห็นได้ในโรงเรียนสอนกวดวิชาทั่วไป และ กระทรวงศึกษาธิการ “ยังผลักดันที่จะใช้ข้อสอบกลางไปวัดทั่วประเทศ รวมทั้งพวกตระกูล Net ทั้งหลายแหล่นั้นด้วย” ก็อยู่ในประเภทนี้ทั้งสิ้น..
  2. การเรียนเพื่อความเจริญเติบโตของศักยภาพแต่ละบุคคลเป็นสำคัญที่สุด หรือ Address individual growth and potential particularly well.. เป็นการเรียนรู้ที่นำสมัย “ก้าวหน้า Progress” ยึดแนวทางการสอนแบบ Learning by Doing ที่หลากหลายตามความความเหมาะสมและความเป็นจริง Multiple Perspective of Real World…

คุณครูผู้สอนรายวิชาต่างๆ ท่านผู้บริหารสถานศึกษา สพฐ. และกระทรวงศึกษาธิการ จะเอายังไงล่ะครับ “ตกลงใจให้แม่นมั่น” ว่าจะเอาการศึกษาของศตวรรษที่ 21. ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ Child Centered หรือจะถอยหลังกลับไปเอาแบบศตวรรษที่ 20. อย่างเดิม ที่ยึดหนังสือเรียนและคุณครูเป็นหลักในการเรียนการสอน

child center 04

ผู้เขียนขอเรียน “ย้ำ” อย่างหนักแน่น “ด้วยวัย หลักการสอน และประสบการณ์” ว่า การเรียนการสอน “เพื่อให้สอบได้” กับการเรียนการสอน “เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ จนเกิดเป็นปัญญา” นั้น มันเป็นคนละอย่าง คนละวิธีการ หรือ Different Approach กันนะครับ ต้องเลือก “ออกแบบการเรียนการสอน” ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และความต้องการ จึงจะได้ผล.. และขอเรียนคุณครูที่เคารพว่า “เราไม่สามารถทิ้งทางใดทางหนึ่งโดยเด็ดขาด” แต่เรา “จะใช้มันอย่างฉลาด” เมื่อถึงเวลาต้องการ...

เราทราบดีถึงความห่วงใยในมาตรฐานการศึกษา ของท่านผู้บริหารในกระทรวงศึกษาธิการ เพราะเหตุแห่งภูมิหลังการเรียนรู้ และปรัชญาการศึกษาที่ท่านยึดถือ.. แต่สิ่งเหล่านั้นได้ผ่านพ้นไปแล้ว.. จนถึงวันนี้ “ระบบการศึกษา” มีวิธีการใหม่ที่น่าเชื่อถือกว่า “การยึดข้อสอบเป็นเครื่องวัด” นั่นคือการประเมินผลไปพร้อมกับการเรียนรู้ ตามกระบวนการของ “การสร้างองค์ความรู้จากภายในของผู้เรียน ที่เรียกว่า Constructivist Learning Approach Process” ส่วนการประเมินจากภายนอกนั้นก็ใช้ “การประเมินเชิงประจักษ์ ที่เรียกว่า Empirical Assessment” คือผู้ประเมินสามารถประเมินได้จาก “ผลผลิต Product” คือ ตัวผู้เรียนโดยตรง ทุกแง่ทุกมุม ที่ต้องการเลยทีเดียว.. เช่นเรียนขับรถก็ได้เห็นกับตาว่าขับรถได้จริงๆ เรียนภาษาอังกฤษ ก็สื่อสาร พูดจาด้วยภาษาอังกฤษ อ่าน เขียนได้อย่างเต็มภูมิรู้.ฯ ดังนี้เป็นต้น...

ขอพวกเราก้าวไปให้ทันโลกเถิดครับ อย่าท้อถอย ลังเล หรือกังวลใจในขณะที่ประเทศอื่นเขาก้าวไปข้างหน้า.. เราต้องรีบก้าวกระโดดเลยทีเดียว.. จึงจะสามารถไปทันชาติอื่นเขาได้ เนื่องจากปัญหาการเมืองภายในของ ประเทศเราเอง สถาบันการศึกษาที่มี “ครูบาอาจารย์” มากมาย ควรเป็นหลักยึดของประเทศชาติและผดุงความถูกต้องยุติธรรมไว้ ในฐานะ “ครู” จึงจะเป็นการสมควรครับ...

Experiential learning is a powerful way. “It is Natural Learning”..การเรียนรู้ “ด้วยประสบการณ์” คือการเรียนรู้ที่ “ทรงพลัง”โดยธรรมชาติ..

child center 03การเรียนรู้จากประสบการณ์ นับว่าเป็นการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ในการสร้างความ “เจริญเติบโต และ ศักยภาพ Growth and Potential” ของผู้เรียนแต่ละคน ซึ่งตามปกติแล้ว ในการเรียนการสอนทุกครั้ง เรามักจะ “ยึดเนื้อหาวิชา” เป็นหลัก มากกว่าทีจะยึดความเจริญเติบโตของผู้เรียนเป็นหลัก...

ดังนั้น.. คำว่า Child Centered หรือ Learner Centered ก็คือ กระบวนการเรียนการสอน ที่ส่งเสริมความเจริญเติบโต และ ศักยภาพ Growth and Potential ของผู้เรียนแต่ละคนเป็นหลัก ซึ่งวิธีการก็คือ จัด ประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ หรือ Experiential learning นั่นเอง..นี้จึงเรียกได้ว่า เป็นวิธีการสอนเพื่อพัฒนาความเจริญงอกงาม ด้านกายภาพและ ศักยภาพของผู้เรียนทุกเพศทุกวัยอย่างแท้จริง approach to teaching and developing people of all ages.

ทุกครั้งที่เราอ่านหนังสือ แท้จริงแล้วก็คือ เราทำการสำรวจหรือการหาข้อมูล The Exploration Learning… หมายความว่า ผู้เรียนมี “ภารกิจ Mission” ในการ รวบรวมข้อมูล จัดระเบียบข้อมูล ตีความหมายของข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และการประเมินค่าข้อมูลที่ได้รับ Learner gathers, organizes, interprets, analyzes, evaluates data.. ตามแบบการเรียนของ Constructivist Learning นั้น.. ผู้เรียนจะเกิดความรู้และความจำชนิดถาวร Permanent Knowledge and Memory, เกิดความเข้าใจ Understanding, และสำคัญที่สุด การเรียนโดยวิธีนี้ จะทำให้เกิด การคิดวิเคราะห์ Critical Thinking และ เรียนรู้กระบวนการทำงาน Process ด้วยตนเองโดยธรรมชาติอีกด้วย..

child center 02

นักการศึกษาทั้งหลายต่างลงความเห็นที่สอดคล้องต้องกันว่า การเรียนรู้จากประสบการณ์ หรือ Experiential learning นี้ สามารถปรับเปลี่ยนและส่งเสริม “วิถีชีวิตของคนเรา individual style, ความชอบ preferences, จุดเด่น strengths, หรือ แนวทาง direction, การอาชีพ Career,ฯ. ได้อย่างมีประสิทธิภาพ.. ในทางจิตใจ การสอนแบบนี้สร้างความรู้สึกทางอารมณ์เป็นลักษณะ “เชิงบวก หรือ Positive Emotional Effects” เกิดความเชื่อมั่นในตนเองอย่างแน่นแฟ้น notably confidence เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง หรือ self-esteem และความรู้สึกถึงคุณค่าแห่งตนเอง and a sense of personal value. .เพิ่มเติมไปจาก “ความรู้ ความเข้าใจ และปัญญา” ที่ทำให้ผู้เรียนมี “ศักยภาพ Potential” ในการ “คิดเป็น ทำเป็น และสามารถแก้ปัญหาได้” นั่นเอง

ในทางจิตวิทยา เรารู้ว่า คนเรานั้น ต้องการปรับเปลี่ยนเรียนรู้ “ตามแบบของตนเอง Adaptable for them as Individuals” ดังนั้น การเรียนรู้จากประสบการณ์ของตัวผู้เรียนเอง ได้หาวิธีแก้ปัญหา และเอาชนะปัญหาอันเป็นอุปสรรคนั้นๆ ไปได้ นี้จึงเป็นความรู้จริงๆ ที่เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนโดยธรรมชาติ และเราเรียกวิธีการเรียนแบบนี้ว่า Learning by Doing และ คำว่า Doing นี้คือ การลงมือแก้ปัญหา หรือลงมือ “ทำ” ในประสบการณ์จริง หรือประสบการณ์จาก “กิจกรรม Activity” ที่คุณครูจัดให้ แทนสถานการณ์จริง หรือ Real Situation ก็ได้...

ดังนั้น จึงเป็นการสมควรที่ คุณครู โรงเรียน สถานศึกษา และกระทรวงศึกษาธิการ ควรจะได้จริงจัง กับกระบวนการเรียนการสอน ที่ส่งเสริมความเจริญเติบโต และ ศักยภาพ Growth and Potential ของผู้เรียนแต่ละคนเป็นหลัก คือการเรียนรู้ของศตวรรษที่ 21. ที่มุ่ง “สอนคน ให้คิดเป็น ทำเป็น และสามารถแก้ปัญหาได้” มากกว่า “สอนหนังสือ ซึ่งวัดความรู้ด้วยข้อสอบจากส่วนกลาง”..

หากท่านทั้งหลายเห็นดีเห็นงาม ในการที่จะทุ่มเท “เพื่อการเรียนการสอน” และ “เปลี่ยนแนวทางการสอนของตนเอง” สู่ยุคสมัยแห่งความเป็นจริงของศตวรรษที่ 21. ท่านก็สามารถย้อนกลับไปดูขั้นตอน “การเรียนการสอน” ในหน้าเพจของ Sutat Eaka ซึ่งได้ลงไว้ค่อนข้างมาก

child center 01

เรามาร่วมมือกัน “สร้างคุณภาพ และ ศักยภาพ”เยาวชนของเราให้ก้าวไปข้างหน้า ด้วยการวิธีการใหม่ๆ ในการสอนพวกเขาให้รู้จักหาวิธีเรียนรู้ รักที่จะเรียนรู้ และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อให้พวกเขาได้ “ก้าวทันความเจริญของโลก” อย่างสมศักดิ์ศรีของการได้เกิดบนแผ่นดินไทยด้วยเถิด...