Learning process 21th Century(ตอนที่ 3)

โดย สุทัศน์ เอกา

The process of “Distinguish the Data”, and “Instructional Design”...

ขั้นตอนที่ 4. การวิเคราะห์และจำแนกแยกแยะข้อมูล และ ขั้นตอนที่ 5. การออกแบบการเรียนการสอน ของขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21.

brainstorming 05

หลังจากการระดมความคิด Brainstorming จนถึงขั้น Collaborative และทำสรุป แยกเป็นหมวดหมู่ เรื่องใด ระดับชั้นใด และโดยเฉพาอย่างยิ่ง “รูปแบบการเรียนการสอน Form of instruction.” ที่ได้จากการระดมความคิด ว่าเนื้อหาส่วนไหน จะเรียนรู้แบบไหน How to Learn ผู้เรียนจะได้มีส่วนร่วม หรือ Experience Participation ได้อย่างไร เพื่อจะนำไป วิเคราะห์ จำแนกแยกแยะ หรือ Distinguish the Data และ “ออกแบบการเรียนการสอน Learning and Teaching Design” ในขั้นต่อไป

ขั้นตอนที่ 4. การวิเคราะห์ จำแนกแยกแยะข้อมูล Analyzed and Distinguish Data

เนื้อหา Contents, รูปแบบการเรียนการสอน Instruction Styles, การจัดการประสบการณ์ Experience Management, การจัดการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ Management of the learning environment, การเตรียม วัสดุ และอุปกรณ์ ทางการศึกษา Preparation of Educational Materials and Equipment,.ฯ จึงต้องดำนินการดังต่อไปนี้

  1. สิ่งเหล่านี้ คุณครูต้องทำการสำรวจตรวจสอบว่า “มีอยู่หรือไม่มี เพียงพอหรือไม่ หรือต้องจัดหาเพิ่มเติมอย่างไร” มีการเกี่ยวข้องกับงบประมาณและการจัดซื้อที่ขึ้นอยู่กับ “งบประมาณกลาง” ของทั้งโรงเรียน
  2. การจัดทำ “แผนงาน” และ “งบประมาณ” เกี่ยวข้องกับ “ความพร้อมทางการเงินของโรงเรียน” จึงต้องมีการจัดทำงบประมาณด้วยการ “ประสานแผน-ตัด-เพิ่ม-ลด งบประมาณ”
  3. หาก “ไม่พอ หรือ ไม่มี” จะทำอย่างไร.. หาได้จากไหน?

brainstorming 06

ขั้นตอนที่ 5. Instructional Design การออกแบบการเรียนการสอน

นี้เป็นเรื่องสำคัญที่สุดในการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 ดังนั้น การออกแบบการเรียนการสอนจึงต้องยึดแนวทางต่อไปนี้คือ

  1. ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ หรือ Learner Centered, เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง Learning by Doing และเรียนรู้จากประสบการณ์ Experience Learning, เรียนรู้ด้วยตนเองและแก้ปัญหาเอง Self-Learning and Solve Problems “on Their Own” คุณครูเปลี่ยนบทบาทจากผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวก The Facilitator สอนเท่าที่จำเป็น Teach Less, ให้เวลาแก่ผู้เรียนในการได้แก้ปัญหาจากสถานการณ์ Situation ของการเรียนรู้ Experience Learning ให้มากที่สุด นั้นคือ ให้ผู้เรียนได้ Learn More นั่นเอง “เพราะเมื่อบอกจนหมดแล้ว ผู้เรียนก็ไม่ได้คิดเองทำเอง ไม่มีประสบการณ์ ความรู้ก็ไม่เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน นี่เป็นกฎธรรมชาติ”
  2. ยึดธรรมชาติของเนื้อหารายวิชา Contents เช่น เนื้อหาวิชาการ หรือ Academic Content มีวิธีเรียนเฉพาะอย่าง เนื้อหาที่เป็น “ทักษะ หรือ Skill” เช่น ภาษา และ พลานามัย ก็มีวิธีเรียนเฉพาะอย่าง วิชาที่เป็น “ทักษะชีวิต Life Skill” ก็มีวิธีเรียนอีกอย่างหนึ่ง.. ดังนี้เป็นต้น
  3. ยึดหลักการนำเสนอเนื้อหาและจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ หลักการเรียนการสอน 9 ประการ ของโรเบิร์ต กาเย่ (Robert Gagne) เป็นนักปรัชญาและจิตวิทยาการศึกษาชาวอเมริกา (1916-2002) ได้เสนอแนวความคิดเกี่ยวกับการสอน คือ ทฤษฎีเงื่อนไขการเรียนรู้ Condition of Learning ซึ่งทฤษฎีการเรียนรู้ของกาเย่ จัดอยู่ในกลุ่มผสมผสาน Gagne’s Eclecticism ดังนี้
    • เร่งเร้าความสนใจตลอดเวลาของการเรียนการสอน หรือ Gain Attention
    • บอกวัตถุประสงค์ของการเรียน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถกำหนดแนวทางของตนเอง Specify Objective
    • ทบทวนความรู้เดิมเพื่อเชื่อมโยงความรู้ใหม่ Activate Prior Knowledge
    • นำเสนอเนื้อหาใหม่เพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ Present New Information
    • ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ Guide Learning
    • กระตุ้นการตอบสนองบทเรียนเพื่อการตรวจสอบการเรียนรู้ Elicit Response
    • สามารถแสดงความคิดเห็นเพื่อการปรับปรุงการเรียนการสอนให้ดีขึ้น เรียกว่า Provide Feedback
    • การประเมินผลการปฏิบัติงานทั้งครูและนักเรียน ตลอดเวลาของการเรียนการสอน หรือ Assess Performance และ
    • สรุปและนำไปใช้ หรือ Review and Transfer
  1. ใช้แนวทางของหลักการ Seven Principles of Universal Instructional Design หรือ UID Instructor Guide to Teaching and Learning at Brock University ดังนี้....
    • be accessible and fair.. สามารถเข้าถึงได้และเป็นธรรม
    • be flexible, provide flexibility in use, participation and presentation มีความยืดหยุ่น คือให้มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน รวมทั้งการมีส่วนร่วม และการนำเสนอ
    • be straightforward and consistent ตรงไปตรงมาและมีความสม่ำเสมอ
    • be explicit, explicitly presented and readily perceived ความชัดเจน คือชัดเจนในการนำเสนอ และการรับรู้ได้อย่างง่ายดาย
    • be supportive, provide a supportive learning environment มีการส่งเสริมสิ่งแวดล้อมแห่งการเรียนรู้
    • minimize unnecessary physical effort or requirements พยายามลดข้อกำหนดบังคับออกเสียบ้าง
    • learning space, ensure a learning space that accommodates both students and instructional methods. มีพื้นที่แห่งการเรียนรู้ และบรรยากาศแห่งการเรียนการสอนที่เหมาะสม

brainstorming 07

  1. การออกแบบการเรียนการสอน Instructional Design ทำได้ดังนี้
    • จากข้อกำหนดต่างๆที่กล่าวมานี้ คุณครูก็นำมา Brainstorming โดยวิธี Collaborative อีกครั้งหนึ่ง โดยนำเอา เนื้อหา Contents, รูปแบบการเรียนการสอน Instruction Styles, การจัดการประสบการณ์ Experience Management,ที่ได้เป็นที่ตกลงกันแล้วนั้น มา “เป็นตัวหลัก As the Main” ในการออกแบบการเรียนการสอน Instructional Design
    • ใช้วิธี Collaborative ในกลุ่มย่อย เลือกรูปแบบ Learning by Doing รูปแบบต่างๆ เช่น PBL, ABL, Exploring Learning, Exam Learning, Practice Learning.ฯ.ที่สอดคล้องต้องกันกับเนื้อหารายวิชา เวลา และความเป็นไปได้
    • คุณครูปรึกษาหารือกัน กำหนดบทบาทผู้เรียน บทบาทครู กิจกรรมประสบการ และข้อสังเกต ที่สอดคล้องต้องกันกับบทเรียน เวลา และรูปแบบตารางของแผนการสอนแต่ละคาบการเรียนได้เองตามความเหมาะสม และทำได้ตลอดภาคการเรียน
    • คุณครูในกลุ่มปรึกษาหารือในการกำหนดตัวชี้วัด ของแต่ละบทในรายวิชานั้นๆ กำหนดวัสดุ อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในแต่ละบท
    • เวลาในการเรียนการสอน “ควรกำหนดติดกัน 2 คาบ” เพื่อความสะดวกและยืดหยุ่นในการเรียนการสอน ดังนั้นควรมีการประสานงานอย่างดีกับฝ่ายจัดตารางเรียนทั้งโรงเรียนด้วย...

ผลงานของคุณครูทุกท่านที่ได้ Brainstorming และ Collaborative ออกแบบการเรียนการสอน Instructional Design จนเป็น แผนการสอน Instructional Planning ออกมาเป็นรายวิชา ของแต่ละระดับชันนี้ เรียกว่า “นวัตกรรม Innovation” ของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ครับ

ขั้นตอนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ตอนที่ 1 | ตอนที่ 2 | ตอนที่ 3 | ตอนที่ 4