edthai revolution(3)

ข้อเสนอต่อ คสช. และ รัฐบาล ในเรื่องการปฏิรูปการศึกษา

โดย สุทัศน์ เอกา

sutat eakaการระดมสมอง และ ปรึกษาหารือเรียนรู้ร่วมกัน Educational Brainstorming and Collaborative Online ข้อที่ 1.เพื่อนำเสนอ คสช. และรัฐบาล...

เนื่องจาก สสช. และ รัฐบาล นี้ “ได้สัญญาว่า”จะเป็นผู้วางรากฐาน อันมั่นคงในการพัฒนาประเทศชาติ สู่ความเจริญรุ่งเรือง ทันยุคสมัย และนำความอยู่เย็นเป็นสุข แก่ชาติ และประชาชนสืบไป พวกเราจึงเห็นสมควรที่จะ “นำเสนอ” แนวปฏิบัติทางการศึกษา ที่กล่าวไว้ในบทนำ และ ข้อเสนอแนะจาก “กัลยาณมิตรทางการศึกษา” ดังต่อไปนี้

การศึกษา และ การเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 หรือ การเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ของผู้เรียน เรียกว่า Experience Learning ซึ่งได้เป็นที่ยอมรับทั่วโลกแล้วว่า “เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ดีที่สุด” การเรียนรู้แบบนี้ ตั้งอยู่บนฐานความรู้ของทฤษฏีการศึกษา 3.กลุ่มคือ 1. Behaviorist Theory หรือ ทฤษฏีพฤติกรรมศาสตร์ 2. Cognitivist Theory หรือ ทฤษฏีกลุ่มปัญญานิยม และ 3. Constructivist Theory หรือ ทฤษฏีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง...

ดังนั้น ในช่วงทศวรรษที่ 2. ของการวางนโยบายการศึกษาแห่งศตวรรษที่ 21 .คือ ช่วง พ.ศ. 2554-2563 นี้ รัฐต้องวางแนวทางการจัดการศึกษา นโยบายการศึกษา การบริหารการศึกษา หลักสูตร การวัดผล วิธีการเรียนการสอน และการจัดสิ่งแวดล้อมทางการศึกษา ที่สอดคล้องต้องกัน และไปในทิศทางเดียวกัน จนตลอดช่วงเวลาที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ไม่แทรกแซง ไม่เอาครูออกจากนักเรียน ไม่ออกนโยบายการศึกษารายวัน ไม่ประเมินโรงเรียนและครูด้วยวิธีการไร้สาระและล้าหลัง ไม่ใช้ระบบการวัดผลในแบบศตวรรษก่อน ที่ไม่สามารถวัดได้ตรงกับความเป็นจริงในศตวรรษนี้. .ที่ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ทำให้การศึกษาของชาติตกต่ำลง

52270

ระบบการบริหารการศึกษา และ การเรียนการสอนที่เหมาะสมกับประเทศไทยที่สุดในช่วงเวลานี้มี 2 อย่าง ที่ต้องใช้ควบคู่กัน คือ

  1. Behavioral Constructivist Approach ใช้ในการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริม หรือ ปรับปรุง ปรับเปลี่ยน หรือ แก้ไข เกี่ยวกับเรื่องของ “พฤติกรรม Behavior” ตามหลักการของ B.F.Skinner นักจิตวิทยาการศึกษาชาวอเมริกัน และ Constructivist Theory เพราะเราเล็งเห็นแล้วว่า “การลงโทษ คุก และการประหารชีวิต” ไม่อาจเปลี่ยน “สันดาน” คนได้มากนัก มีแต่การ “เรียนรู้ด้วยตนเอง และสำนึกภายในจิตใจ” เท่านั้น ที่จะทำให้เขาเปลี่ยนพฤติกรรมส่วนบุคคล มาอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างเป็นสุข ดังนั้น Behavioral Constructivist Approach จึงเป็นการเรียนรู้ที่เหมาะสมที่สุด
  2. Cognitive Constructivist Approach เป็นการเรียนรู้ “ด้านวิชาการ หรือ Academic” โดยวิธีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง หรือ Learning by Doing จากแหล่งความรู้ หรือ Knowledge Sources ซึ่งอาจเป็น ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ และ หนังสือแบบเรียน textbook.ฯ. เหล่านี้ เป็นต้น.. และด้วยการผสมผสาน หรือ Integrated วิธีการเรียนรู้จากทฤษฏีต่างๆ เหล่านี้เข้าด้วยกัน จึงได้เกิดการออกแบบ “การเรียนรู้แบบผสมผสาน หรือ Apply learning Approach” เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ขึ้นในตัวผู้เรียนมากที่สุด

รัฐ และผู้บริหารการศึกษา ในกระทรวงศึกษาธิการ ควรทำคือ

พัฒนาวิสัยทัศน์และกรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. ให้แจ่มชัด และสามารถสรุปทักษะสำคัญๆ ที่เยาวชนควรมีได้ว่า ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม หรือ 3R และ 4C ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้

  • 3 R ได้แก่ Reading (การอ่าน), การเขียน (Writing) และ คณิตศาสตร์ (Arithmetic) และ
  • 4 C (Critical Thinking - การคิดวิเคราะห์, Communication- การสื่อสาร Collaboration-การร่วมมือ และ Creativity-ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงทักษะชีวิตและอาชีพ และทักษะด้านสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยี และการบริหารจัดการด้านการศึกษาแบบใหม่

305443

บริบทการศึกษาไทย ศตวรรษที่ 21 ทศวรรษที่ 2 ค.ศ. 2011-2020 หรือถ้านับอย่างไทย คือ การจัดการศึกษาในปี พ.ศ.2554-2563 ซึ่งประเทศไทยต้องเผชิญกับภาวะคุกคาม เงื่อนไข และโอกาส อะไรบ้าง ตัวอย่างเช่น...

  • การรวมตัวของประเทศอาเซียน (AC) หรือ ASEAN Community ประชาคมอาเซียน ปัญหาที่มองเห็น “ตำตา” คนในประชาคมอาเซียนติดต่อ พูดคุยกันด้วยภาษากลาง คือ “ภาษาอังกฤษ” แต่คนไทย และแม้เยาวชนไทยเรา เรียนหนังสือจนจบชั้น ป.6 แล้ว ยังไม่สามารถใช้ภาษาอังกฤษติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวันกับคนอาเซียนได้  รัฐบาลเดิมๆ “ไม่ส่งเสริมให้มีการแก้ไขอย่างถูกวิธี” ทั้งๆ ที่สามารถแก้ไขได้ภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี สำหรับนักเรียนในระบบทุกชั้นปี
  • ความต้องการแรงงานด้านอาชีวศึกษา ที่สวนทางกับความต้องการศึกษาในสายนี้ พ่อแม่ไม่กล้าส่งเสริมให้ลูกไปเรียนอาชีวะ “ทั้งที่รู้ทั้งรู้ว่า การอาชีวะคือหัวใจของการพัฒนาประเทศ” เพราะเหตุผลเดียวคือ นักเรียนอาชีวะยกพวก “ไล่ฆ่ากันบนท้องถนน และชุมชนทุกวัน.. ตายทุกวัน..”  รัฐบาลเดิมๆ ไม่เอาจริงเอาจังกับสถานศึกษาที่ละเลย “การฝึกหัดความเป็นคน” ทั้งๆ ที่สามารถทำได้ง่ายๆ “ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตามหลักการ Behavioral Constructivist Approach”
  • ความเป็นประเทศน่าลงทุนของประเทศไทย ยังติดอันดับน่าลงทุน 1 ใน 10 ของโลก แต่กำลังเสื่อมถอยลง.. “การท่องเที่ยวพินาศ” เนื่องจากความไม่ปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของนักท่องเทียว สิ่งเหล่านี้คือการ “ประชาสัมพันธ์ประเทศไทยในทางลบ” ..

อาชวะตกน

เรื่องทั้งหมดนี้ “รัฐบาลเดิม” ดูเหมือนว่าจะมาถูกทางในการจัดการศึกษา ที่สอดคล้องกับการ “เรียนรู้โดยประสบการณ์ Experience Learning” คือ

การจัดกลุ่มวิชาทั้ง 6 หมวดนี้คือ

  1. ภาษาและวัฒนธรรม (Language and Culture)
  2. กลุ่มสาระเรียนรู้ STEM (วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกร และคณิตศาสตร์)
  3. การดำรงชีวิตและโลกของงาน (Work Life)
  4. ทักษะสื่อและการสื่อสาร (Media Skill and Communication)
  5. สังคมและมนุษยศาสตร์ (Society and Humanity)
  6. อาเซียน ภูมิภาคและโลก (Asean Region and World)

แต่ “รัฐบาลเดิมๆ” ก็ได้แสดงออกถึงความไม่รู้จริง.. หรือ “ตัณหาของนักการเมือง” หรือ “สอพลอนรก” หรือ “วิบากของชาติ” ก็เป็นได้ ที่ทำให้ กระทรวงศึกษาธิการ “สั่งการรายวัน..สวนกระแสการเรียนรู้” ทำเอาจน คุณครู ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติการเรียนการสอน “ไปไม่เป็น”ซวนเซทั้งกระบวนการ คุณภาพการศึกษาไทยจึง “เป็นง่อย”อย่างที่เห็น...

อาชวะ10550

เพราะการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ หรือ Experience Learning นี้ มีหลักการ ที่ขอยกมาเป็นตัวอย่างคร่าวๆ เช่น

  1. การเรียนการสอน และการวัดผลเป็นกระบวนการเดียวกัน Teaching and the evaluation process is the same. ดังนั้น ข้อสอบวัดผลจากส่วนกลางทุกชนิด จึงไม่จำเป็นในการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน และข้อสอบจากส่วนกลาง “จะเป็นอุปสรรค” ต่อการเรียนการสอน อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
  2. คุณครูเปลี่ยนบทบาทไป เป็นผู้ชี้แนะ ตรวจสอบวัดผลประเมินผล ครูฝึก และอำนวยความสะดวก Teachers serve in the role of guides, monitors, coaches, tutors and facilitators. ดังนั้น การเรียกครูไปอบรมบ่อยๆในเวลาเรียน การประเมินด้วยรายงานกระดาษ “ไม่หยุดหย่อน และบ้าคลั่ง” ทำให้ครูต้องหนีชั้นเรียนมาเขียนรายงาน จึงเป็นอาชญากรรมต่อการพัฒนาการทางการศึกษา ด้วยความ “หลงผิด และ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือ Innocently” แท้ๆ
  3. ผู้เรียนสร้างความรู้จากประสบการณ์ของตนเอง ผ่านการซึมซับของสังคม และการเรียนรู้ร่วมกัน This construction takes place in individual contexts and through social negotiation, collaboration and experience.การที่จะทำเช่นนี้ได้ ครูต้อง Observation ชั้นเรียนของตนตลอดเวลา
  4. การสำรวจตรวจสอบหาข้อมูลทำให้ผู้เรียนมีอิสระในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ทำให้พวกเขาสามารถเดินไปสู่เป้าหมายที่แต่ละคนได้วางไว้ Exploration is a favoured approach in order to encourage students to seek knowledge independently and to manage the pursuit of their goals.
  5. คุณครูอาจให้ความช่วยเหลือในการ “เสริมศักยภาพ Scaffolding” ให้กับบางคนที่มีขีดความสามารถไม่พอที่จะผ่านพ้นการแก้ปัญหานั้นๆ ได้. .Scaffolding is facilitated to help students perform just beyond the limits of their ability.
  6. เรียนรู้เนื้อหาที่ปรับปรุงให้ถูกต้องกับความเป็นจริงของปัจจุบัน Provide for authentic versus academic contexts for learning
  7. เรียนรู้จากประสบการณ์ การแก้ปัญหาในโลกแห่งความเป็นจริงทุกประการ Focus on realistic approaches to solving real-world problems

การศกษาไทย

จึงเรียนมายัง คสช. และ รัฐบาล ได้โปรด “ออกนโยบายการศึกษา การบริหารการศึกษา แนวปฏิบัติ หลักสูตร เนื้อหาวิชา วิธีการเรียนการสอน การวัดผลประเมินผล และการจัดสิ่งแวดล้อมแห่งการเรียนรู้” ที่สอดคล้องต้องกันกับหลักการศึกษา การบริหารงานที่เป็นไปตามหลักวิชา การปฏิบัติงานที่เป็นเอกภาพของครู และ การมีส่วนร่วมที่รู้เท่าทันการศึกษาของประชาชน พ่อแม่ ผู้ปกครอง เช่น การทำให้ DLTV และ ETV เข้าสู่ทุกบ้านเรือน และรับชมได้โดยไม่เสียเงิน.. ก็จะนับเป็นการสร้างคุณูปการแก่ชาติบ้านเมือง ที่ใหญ่หลวงยิ่งนัก..