dohiruตอนที่ 2

edu japan 05าต่อให้ครบชุดครับ ในญี่ปุ่นการเรียนภาคบังคับจัดให้ประชาชนทุกคน 9 ปีเช่นเดียวกับประเทศไทย ประถมศึกษาปีที่ 1-6 และมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ตอนที่แล้วเน้นที่ระดับก่อนประถมศึกษา ที่ชาวญี่ปุ่นเขาจะเน้นทักษะชีวิตกันในช่วงนี้มากที่สุด เพราะผ้าขาวเมื่อแต้มสีจะสดติดทนนาน พอมาถึงระดับประถมเขาก็จะสร้างการเรียนรู้ที่เน้นการช่วยเหลือตัวเอง ไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่นมากนักในการใช้ชีวิตประจำวัน ตั้งแต่การตื่นนอนทำความสะอาดร่างกาย แต่งตัว รับประทานอาหาร จัดข้าวของไปโรงเรียนด้วยตนเอง (นักเรียนบ้านใกล้) เรียนรู้จากสิ่งรอบข้าง

ตอนนี้จะตรงไปสู่การเรียนในระดับมัธยมศึกษา "มัธยมต้นค้นหาตนเอง 前期中等教育(中学)" นี่เป็นสิ่งที่แตกต่างจากการเรียนในเมืองไทย ที่พ่อแม่ช่างเอาอกเอาใจ ไม่ต้องทำอะไรนอกจากเรียนหนังสือ (แต่จริงๆ แล้วจะเรียนหรือไม่ก็ไม่รู้ล่ะ) ในขณะที่ญี่ปุ่นทั้งผู้ปกครองและครู ต่างก็เข้ามาช่วยสนับสนุนในการจัดกิจกรรม ไม่ใช่ด้วยเงินหรือทรัพย์สิน แต่ด้วยใจและแรงกายเป็นหนึ่งเดียว (ในขณะที่บ้านเรา สมาคมครูและผู้ปกครอง คือแหล่งหาเงินเข้าโรงเรียนเท่านั้น ประชุมทีก็ขอบริจาคที แต่ไม่มีคำตอบที่ชัดเจนว่าเงินที่ขอไปนั้น ได้ออกดอกผลทางพุทธิปัญญาบ้างหรือไม่

 

จะเห็นได้ว่า การจัดการเรียนการสอนเน้นไปที่การค้นหาความชอบของตนเอง ทั้งในเรื่องของการเรียน การเล่นกีฬา งานอดิเรกต่างๆ เพราะนักเรียนญี่ปุ่นที่จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 แล้วจะมีเพียงประมาณ 48% เท่านั้นที่มุ่งตรงไปสู่การเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อก้าวไปสู่มหาวิทยาลัย มีบางส่วนที่ออกไปหางานทำในอาชีพต่างๆ หรือออกไปเรียนในสายวิชาชีพระยะสั้นๆ เพื่อการพัฒนาทักษะด้านอาชีพเพิ่มเติม ซึ่งต่างจากบ้านเรามาก ที่ใครๆ ก็อยากให้ลูกไปเรียนสายสามัญ ไปมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง ด้วยหวังว่าจะได้งานการที่ดี ก็คงเพราะบ้านเรายังเคารพกระดาษแผ่นเดียวที่ชื่อปริญญาบัตร แล้วยิ่งทุกวันนี้ยังมีคำถามต่อไปอีกว่า "จบมาจากที่ไหน?" เฮ้อ! แทนที่จะถามว่า ทำอะไรได้บ้าง ทำได้ดีขนาดไหน บลาๆๆๆ

edu japan 06

เมื่อจบการศึกษาภาคบังคับ บางส่วนก็เตรียมตัวสู่มหาวิทยาลัยด้วยการเข้าเรียนในระดับ "มัธยมศึกษาตอนปลาย เรียน รู้ สู่อนาคต 後期中等教育" จะมีทั้งโรงเรียนของรัฐบาลและเอกชน ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่การเรียนทางด้านภาษาที่หลากหลายขึ้น (หลายภาษา มีภาษาไทยด้วยนะ) เพื่อแสวงหาความรู้ที่หลากหลาย อาชีพที่ใช่ เราจึงเห็นคนญี่ปุ่นแม้จะเป็นเกษตรกรเขาก็มีความสุขในการทำงาน พัฒนาอาชีพของตนเองให้ได้ผลที่ดีที่สุด ลดต้นทุนเพิ่มผลผลิตเพราะการศึกษามีส่วนเสริมนั่นเอง

วิธีการสอนเเนวคิดต่างๆ ของคนญี่ปุ่น เขาสอนให้เด็กเขามีความเข้มเเข็ง ไม่ยอมเเพ้ต่ออุปสรรคต่างๆ สอนให้รู้จักปรับปรุ่งตัวให้ดีขึ้นตลอดเวลา สอนให้รู้จักมีเป้าหมายในชีวิตตั้งเเต่เด็กๆ เมื่อพ้นการศึกษาในระดับมัธยมปลาย "มหาวิทยาลัย วัยพร้อมเป็นผู้ไหญ่ 高等教育(大学)" การเรียนในระดับมหาวิทยาลัยของญี่ปุ่นนั้น นอกจากจะเรียนหนักแล้วยังต้องหางานพิเศษทำเพื่อการมีรายได้ การเพิ่มพูนความรู้ในสาขาอาชีพที่ตนเองสนใจ ตลอดจนฝึกงานกับหน่วยงานต่างๆ ในสาขาที่ตนเรียน การฝึกงานเป็นการเปิดตัวโลกอาชีพของตนเอง จะใช่ความชอบของตัวเองไหมนะ ถ้าใช่และได้ฝึกงานจนผู้ใหญ่เห็นความสามารถ นั่นหมายถึงประตูอาชีพเปิดตัวต้อนรับเราแล้ว

edu japan 08

จะเห็นได้ว่า ความเข้มข้นของการศึกษาในญี่ปุ่นนั้น เริ่มกันตั้งแต่ยังเล็กๆ เติบโตเป็นผู้ใหญ่ จากวัยเรียนอนุบาล เริ่มสร้างระเบียบวินัย การช่วยเหลือตนเอง ฝึกความแข็งแรงของร่างกาย สร้างนิสัยให้เห็นอกเห็นใจต่อผู้อื่น ค้นหาตนเองให้พบว่า รักและชอบอาชีพอะไร เรียนรู้สู่อนาคตวันข้างหน้า

เราจึงได้เห็นสังคมของคนญี่ปุ่นที่มีระเบียบวินัย อดทน แบ่งปัน ช่วยเหลือผู้อื่น อย่างในช่วงประสบภัยภิบัติตามธรรมชาติ ไม่ว่าจะเจอดินถล่ม พายุพัดกระหน่ำ แผ่นดินไหว หรือสึนามิ เราจะไม่เห็นภาพของการแก่งแย่ง ลัดคิว เบียดเสียด ในการรับความช่วยเหลือ ทุกคนเข้าแถวรออย่างเป็นระเบียบ ทำให้การจัดการให้ความช่วยเหลือเป็นไปได้ง่าย ทั่วถึง แม้ว่าทุกคนจะเดือดร้อนหิวโหยเพียงใด

edu japan 09

การพัฒนาการศึกษาในบ้านเรานั้น ต้องการปรับเปลี่ยนซึ่งแน่นอนจะใช้เวลาวันสองวัน หรือแค่ปีสองปี แต่ต้องใช้เวลามากมายหลายปี ถ้าอยากให้เกิดได้เร็วเราต้องเพาะต้นกล้าพันธุ์ใหม่ ที่ใส่ความมีระเบียบวินัย ขยัน อดทน มีน้ำใจเข้าไปให้ได้ก่อน ค่อยสั่งสอนเคล็ดวิชา ที่ต้องนอกกรอบบ้าง ให้เขาคิดอย่างนอกกรอบบนพื้นฐานที่เป็นไปได้ของบ้านเรา ทำให้ได้คนดีก่อนคนเก่ง ให้รู้จักตนเอง มีน้ำใจต่อผู้อื่นให้มากขึ้น เชื่อว่า เขาทำได้ไม่ต้องโอบอุ้มมากมายจนกลายเป็นง่อย ที่คอยอ้าปากรับการช่วยเหลืออย่างเดียว

ดูตัวอย่างการทำงานของคุณครูชาวญี่ปุ่น แล้วคุณครูจะปรับตัวอย่างไร ก็คงแล้วแต่ตัวท่านทั้งหลาย เพราะความสำเร็จจะเกิดจากความสมัครใจในการทำงานของท่านเอง การใดที่ถูกบังคับให้ทำโดยไม่เต็มใจน่าจะไม่สำเร็จแน่ เราปรับเปลี่ยนเริ่มที่ตัวเราก่อนดีที่สุดครับ

edu japan 07