foto1
ความงดงามการศึกษาไทย
foto1
เพื่อ?
foto1
ไม่เข้าใจ?
foto1
วิทยากรที่กระทรวงศึกษาธิการ สปป.ลาว
foto1
ท่องทะเลทรายที่ดูไบ UAE


Friendly Links

เรียนรู้ภาษา html
isangate banner
easyhome banner
ipst banner
sakdibhornssup foundation
13 Thai free fonts
speedtest
e mil

Facebook Likebox

No. of Page View

webmaster talk

มาตรฐานครูวิทย์-คณิตปี '46 คู่มือ..สู่คุณภาพ"สากล"

ปัจจุบันวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็น 2 ใน 4 วิชาหลักที่ประเทศเราต้องให้ความสำคัญเร่งด่วนในการพัฒนา เพราะเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของประเทศ ให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันในกระแสโลกที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น

สิ่งเหล่านี้จึงเป็นคำตอบว่า ทำไมประเทศไทยเราจึงต้องเร่งปฏิรูปการศึกษา ยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนในทุกพื้นที่อย่างเต็มพิกัด ยิ่งในวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นศาสตร์ของการปลูกสร้าง "คน" และ "วัฒนธรรมทางความคิด" ให้เป็นผู้รู้จักสังเกต คิดวิเคราะห์ และเชื่อถืออย่างมีเหตุมีผลด้วยแล้ว ก็ยิ่งจำเป็นต้องสร้างมาตรฐานให้กับครูและกระบวนการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้สามารถติดตามประเมินคุณภาพการศึกษาได้ ทั้งโรงเรียนใกล้หรือไกล ขนาดใหญ่หรือเล็ก

การติดตามประเมินผลครู หนังสือเรียน สื่อ อุปกรณ์การเรียนการสอนในวิชาดังกล่าวให้ได้มาตรฐานนั้น ในปัจจุบันมีสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ระบุไว้ในหมวด 6 ของ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542

เรื่องนี้ ดร.ปรีชาญ เดชศรี ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สสวท. ได้ให้รายละเอียดว่า มาตรฐานครูคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฉบับใหม่ที่เพิ่งจัดทำขึ้น ได้พัฒนาจากมาตรฐานที่ใช้อยู่ในประเทศต่างๆ โดยนำมาปรับใหม่ให้เหมาะกับประเทศไทย ซึ่งได้เริ่มจากการวิเคราะห์รายการประเมินและตัวบ่งชี้ เทียบเคียงกับกรอบการประเมินสมรรถภาพของครูที่เป็นพื้นฐานสำคัญและจำเป็นสำหรับสังคมไทย

"จุดเน้นสำคัญก็คือมุ่งให้ครูสามารถจัดการเรียนการสอนที่พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ความคิด มีทักษะกระบวนการเรียนรู้ เจตคติ คุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งค่านิยมที่ได้มาตรฐานนานาชาติ และสอดคล้องกับวัฒนธรรมสังคมไทย ซึ่งประกอบด้วย 10 มาตรฐานหลัก แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ครอบคลุมการประเมินคุณลักษณะ 3 ด้านของครู คือ ด้านความรู้ ด้านการแสดงออก และด้านความสามารถ พร้อมทั้งกำหนดตัวบ่งชี้ตามมาตรฐาน และแนวปฏิบัติในการประเมิน ซึ่งแบ่งเป็น 2 ด้านสำคัญ คือแนวปฏิบัติของสถานศึกษา และแนวปฏิบัติของผู้ประเมิน โดยเน้นให้ทำการบันทึกผลการประเมินอย่างต่อเนื่องเป็นหลักฐานทุกครั้ง"

ดร.ปรีชาญบอกว่า มาตรฐานกลางที่จัดทำขึ้นใหม่นี้จะเป็นเสมือนไม้บรรทัดที่ครูทุกคนจะใช้ตรวจสอบ และประเมินคุณภาพของตนเอง ซึ่งจะมีความยืดหยุ่นต่อสถานศึกษาที่จะนำไปใช้ และไม่เพียงแต่จะช่วยพัฒนาความรู้ ความสามารถของครูเท่านั้น แต่ยังมีผลโดยตรงกับผู้บริหารโรงเรียน ที่จะช่วยเสริมสร้างวิสัยทัศน์ในการบริหารงบประมาณการจัดหาสื่อ อุปกรณ์ กิจกรรมการเรียนการสอนในวิชาเหล่านี้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะช่วยไม่ให้กลายเป็นผู้บริหารตกยุค "ปฏิรูปการศึกษา"

มาตรฐานกลางครูคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฉบับใหม่ ที่จะเริ่มใช้ในปีการศึกษา 2546 นี้ จะเปรียบเสมือนการสร้างโอกาสในการพัฒนาวิชาชีพครูวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ และช่วยยกระดับคุณภาพสถานศึกษา ด้วยการกระตุ้นให้ทุกฝ่ายสร้างและรักษามาตรฐานให้ได้ตามเกณฑ์ที่ใช้กันอยู่ในนานาอารยประเทศ

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2546

 

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)

Our Policy