foto1
ความงดงามการศึกษาไทย
foto1
เพื่อ?
foto1
ไม่เข้าใจ?
foto1
วิทยากรที่กระทรวงศึกษาธิการ สปป.ลาว
foto1
ท่องทะเลทรายที่ดูไบ UAE


Friendly Links

เรียนรู้ภาษา html
isangate banner
easyhome banner
ipst banner
sakdibhornssup foundation
13 Thai free fonts
speedtest
e mil

Facebook Likebox

No. of Page View

webmaster talk

ข้อขอประณตน้อมสักการ บูรพคณาจารย์...

wai kruวันนี้เป็น "วันครู" ก็ต้องขอกราบคารวะคุณครูทุกท่าน โดยเฉพาะท่านที่ได้ประสาทวิชาความรู้ให้กับผม ทั้งที่สอนโดยตรงและสอนโดยอ้อม จนผมมีวันนี้ที่สุขใจได้ถ่ายทอดความรู้ตามรอยท่านตลอดมา และคงจะตลอดไปครับ

ครู คือ ความหนักหนาสาหัสจริงๆ ใน พ.ศ. นี้ เพราะว่าไม่ว่าเรื่องเล็กเรื่องใหญ่ สำคัญหรือไม่สำคัญ ครูจะต้องถูกดึงกระชากลากถูเข้าไปเกี่ยวข้องมาโดยตลอดไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม การปราบปรามยาเสพติด การเลือกตั้ง (ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า) และตอนนี้คงจะฮอตฮิตกันหน่อยก็เรื่อง "ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู" ที่จะต้องดำเนินการกันให้แล้วเสร็จโดยเร่งด่วน (ข่าวมาว่าอย่างนั้น) เราจะได้ประโยชน์อะไรจากใบอนุญาตนี้ สภาการวิชาชีพครู จะช่วยเหลือพัฒนาศักยภาพของครูไทยได้เพียงใด หรือจะเป็นแค่นายหน้าหาผลประโยชน์จากครู ก็คงต้องพิสูจน์กันต่อไป

วันนี้ได้อ่านหนังสือพิมพ์หลายฉบับ ไปเจอจดหมายเพื่อนครูท่านหนึ่งเขียนถึงอาจารย์แม่ (สุนีย์ สินธุเดชะ) ถึงภาระอันหนักอึ้งของครู ในความเป็นจริงที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับที่สังคมรับรู้ ผมอ่านแล้วก็ได้แต่สะท้อนใจ เพราะมันเรื่องจริงทั้งนั้น ครูเราอ่อนการสอนจริงๆ ครับ เพราะเราถูกสั่งให้ทำงานนอกเหนือหน้าที่มากเกินไป ตั้งแต่นักจิตวิทยา นักสังคมสังเคราะห์ นักบุญ เป็นพ่อแม่ของเด็กหลายร้อยคน เป็นตำรวจตรวจหายาเสพติด เป็นหมอบำบัดคนติดยา อะไรกันนักหนาทำแล้วต้องรายงานกันอีก (นี่มันงานเลขานุการ ธุรการ เอาเข้าไป คนได้หน้าใครล่ะนี่) แล้วจะเอาเวลาไหนมาสอนเด็ก เตรียมการสอน ทำใบความรู้ ใบงาน กิจกรรมสารพัด นั่นกำลังจะมาประเมินอีกล่ะซิ (สิ่งที่ทำไม่ประเมิน จะประเมินสิ่งอื่นๆ อีก เอาเข้าไป)

aboat2เมื่อครูมีภาระงานมากขึ้นนอกเหนือจากการสอน ซึ่งเป็นหน้าที่หลักจะพบว่า ครูต้องเตรียนรับการประเมิน ทำงานธุรการ การเงิน พัสดุ ซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งที่ต้องยอมรับว่า ภาระครูที่หนักเกินกว่าจะรับได้นั้น ทำให้ครูแห่เข้า "โครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด" จำนวนมาก ทุกครั้งที่รัฐบาลเปิดโครงการ ที่สำคัญเมื่อครูออกจากระบบไปอัตราที่มีอยู่ก็ไม่ได้รับบรรจุทดแทน ทำให้ครูที่เหลืออยู่ยิ่งแบกรับภาระมากขึ้นอีกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ บรรดาผู้มีอำนาจทั้งหลายก็ได้แต่พล่ามว่า จะพัฒนาครู ช่วยเหลือครู นำระบบการเรียนการสอนใหม่ๆ มาใช้ให้มากขึ้น แต่ในความจริงแล้วทุกอย่างมีแต่ความเงียบ เหมือนไฟไหม้ฟาง เหมือนสึนามิที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ทิ้งไว้แต่ความเจ็บช้ำ ไร้การเยียวยา (ปีใหม่ผ่านมาแล้วไม่อยากพูดเรื่องนี้เลย แต่ก็อดไม่ได้ที่จะบ่นครับ)

วันนี้ได้อ่านผลสำรวจข้อมูลและความคิดเห็นของนักเรียน นิสิต นักศึกษาที่มีต่อครู ในหัวข้อ "ภาพสะท้อนครูไทยในสายตาศิษย์" ซึ่งจัดทำโดย ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เห็นว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจ อยากให้เพื่อนครูได้ตระหนักถึงความคิดเห็นของเยาวชนที่มีต่อครูในยุคปัจจุบัน การสำรวจใช้ประเด็นต่อไปนี้

  • คำเปรียบเทียบเกี่ยวกับครูที่อยู่ในใจศิษย์
  • การทำหน้าที่หลัก 4 ประการของการเป็นครู
  • การประเมินคุณค่าครูกับบุคคลในอาชีพอื่น ๆ
  • ความต้องการประกอบอาชีพครูในอนาคต
  • คุณสมบัติสำคัญที่สุดของครูที่ดี
  • สิ่งที่ครูในปัจจุบันควรปรับปรุงมากที่สุด

ผลการสำรวจ :

  1. เมื่อถามถึงคำกล่าวเปรียบเทียบ "ครู" ที่อยู่ในใจของศิษย์ พบว่า ครูคือแม่พิมพ์ของชาติ เป็นคำกล่าวเปรียบเทียบครูที่อยู่ในใจของศิษย์มากที่สุด คือร้อยละ 86.5 รองลงมาได้แก่ ครูคือปูชนียบุคคล ร้อยละ 86.3 ครูคือพ่อแม่คนที่สอง ร้อยละ 86.0 และครูคือเรือจ้าง ร้อยละ 76.3 (สำหรับผลสำรวจในใจผมนั้น พบว่านักเรียนคิดว่าครูคือผู้รับจ้างสอนมากที่สุด)
  2. สำหรับความคิดเห็นต่อการทำหน้าที่หลัก 4 ประการของครูในปัจจุบันได้แก่ 1) การให้ความรู้เชิงวิชาการเพื่อเป็นพื้นฐานในการประกอบวิชาชีพในอนาคต 2) การอบรมสั่งสอนศิษย์ให้เป็นคนดีมีศีลธรรม 3) การเป็นที่ปรึกษาพึ่งพิงในยามที่ศิษย์มีปัญหา และ 4) การประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ศิษย์นั้น พบว่า หน้าที่ในการให้ความรู้เชิงวิชาการเพื่อเป็นพื้นฐานในการประกอบวิชาชีพในอนาคต และหน้าที่ในการอบรมสั่งสอนศิษย์ให้เป็นคนดีมีศีลธรรมนั้น ศิษย์ส่วนใหญ่เห็นว่า ครูในปัจจุบันได้ทำหน้าที่ดังกล่าวมากเพียงพอแล้ว แต่สำหรับหน้าที่ในการเป็นที่ปรึกษาพึ่งพิงในยามที่ศิษย์มีปัญหา และการประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดีนั้น มีศิษย์จำนวนเกือบครึ่งหนึ่งเห็นว่า ครูยังทำหน้าที่ดังกล่าวน้อยเกินไป โดย
    • หน้าที่ให้ความรู้เชิงวิชาการเพื่อเป็นพื้นฐานในการประกอบวิชาชีพในอนาคต ร้อยละ 77.9 เห็นว่าครูทำหน้าที่ดังกล่าวได้มากเพียงพอแล้ว ร้อยละ 22.1 เห็นว่าครูยังทำหน้าที่น้อยเกินไป
    • หน้าที่อบรมสั่งสอนศิษย์ให้เป็นคนดี มีศีลธรรม ร้อยละ 73.7 เห็นว่า ครูทำหน้าที่ดังกล่าวได้มากเพียงพอแล้ว ร้อยละ 26.3 เห็นว่าครูยังทำหน้าที่น้อยเกินไป
    • หน้าที่ในการเป็นที่ปรึกษาพึ่งพิงในยามที่ศิษย์มีปัญหา ร้อยละ 57.6 เห็นว่า ครูทำหน้าที่ดังกล่าวได้มากเพียงพอแล้ว ร้อยละ 42.4 เห็นว่าครูยังทำหน้าที่น้อยเกินไป
    • หน้าที่ในการประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ศิษย์ ร้อยละ 54.0 เห็นว่า ครูทำหน้าที่ดังกล่าวได้มากเพียงพอแล้ว ร้อยละ 46.0 เห็นว่าครูยังทำหน้าที่น้อยเกินไป
  3. ในส่วนการประเมินคุณค่าของครูกับบุคคลในอาชีพอื่น ศิษย์ร้อยละ 53.9 ประเมินคุณค่าของ "ครู" สูงกว่าบุคคลในอาชีพอื่น ขณะที่ร้อยละ 41.9 ประเมินว่าเท่า ๆ กับบุคคลในอาชีพอื่น และร้อยละ 4.3 ประเมินว่าต่ำกว่าบุคคลในอาชีพอื่น
  4. เมื่อสอบถามว่าในอนาคตอยากมีอาชีพเป็นครูหรือไม่ มีเพียงร้อยละ 29.4 เท่านั้นที่อยากเป็นครู ในขณะที่ส่วนใหญ่คือ ร้อยละ 70.6 ไม่อยากเป็นครู โดยให้เหตุผลว่า เป็นอาชีพที่ทำงานหนักแต่รายได้น้อย (ร้อยละ 40.7) ไม่ก้าวหน้า ไม่ท้าทาย (ร้อยละ 25.6) ไม่มีอิสระ (ร้อยละ 21.4) ไม่ชอบเด็ก (ร้อยละ 7.0) ไม่มีความสามารถพอที่จะเป็นครู (ร้อยละ 1.6) ภาพลักษณ์ครูไม่ดี/ไม่น่าศรัทธา (ร้อยละ 0.4) และไม่ระบุเหตุผล (ร้อยละ 3.3) ส่วนเหตุผลของผู้ที่อยากเป็นครู คือ ได้ทำประโยชน์แก่สังคม (ร้อยละ 36.9) เป็นอาชีพที่มีเกียรติ (ร้อยละ 31.8) เป็นอาชีพที่มั่นคง (ร้อยละ 22.1) รายได้ดี (ร้อยละ 5.7) และอื่น ๆ (ร้อยละ 3.5)
  5. สำหรับคุณสมบัติของครูที่ดีนั้น ศิษย์ร้อยละ 29.3 เห็นว่า ความทุ่มเท และเสียสละ คือ คุณสมบัติสำคัญที่สุดของครูที่ดี รองลงมา คือ มีความสามารถถ่ายทอดวิชาความรู้ให้เข้าใจง่ายและน่าสนใจ ร้อยละ 27.9 มีความรู้ดี มีการศึกษาสูง ร้อยละ 11.6 มีเมตตา ให้อภัยและให้โอกาสแก่ศิษย์ที่ทำผิดพลาด ร้อยละ 8.7 ใจกว้าง รับฟังความคิดเห็นของศิษย์ ร้อยละ 7.9 ทันสมัย ก้าวทันโลกและเทคโนโลยีใหม่ ๆ อยู่เสมอ ร้อยละ 5.3 มีศีลธรรมและความประพฤติส่วนตัวดี ร้อยละ 5.1 มีความยุติธรรม ร้อยละ 3.3 และอื่น ๆ อีก ร้อยละ 0.8
  6. ำหรับสิ่งที่ครูในปัจจุบันควรปรับปรุงมากที่สุดนั้น ศิษย์ร้อยละ 32.4 ระบุว่า ครูควรปรับปรุงเรื่องเทคนิคการสอนให้เข้าใจง่ายและน่าสนใจเป็นอันดับแรก รองลงมาได้แก่ ปรับปรุงเรื่องความประพฤติส่วนตัว ร้อยละ 27.3 เรื่องความทุ่มเท เสียสละ ร้อยละ 17.0 ความทันยุคทันสมัย ร้อยละ 13.1 ความรู้ในเชิงวิชาการ ร้อยละ 8.4 และอื่น ๆ เช่น ความอดทน ความยุติธรรม อีกร้อยละ 1.8

ที่มา : http://research.bu.ac.th/poll/poll_list.php

childrenนึกคิดยังไงกันบ้างครับ กับผลสำรวจความคิดเห็นเหล่านี้ สำหรับผมยอมรับในความเป็นจริง และบางอย่างอาจจะมากกว่านี้ด้วยซ้ำในเรื่องความเชื่อมั่นของเด็กที่มีต่อครู เพราะเราคงเคยได้ยิน ได้เห็นกันบ่อยๆ กับพฤติกรรมของบุคคลส่วนหนึ่งที่แฝงเร้นอยู่ในวงการวิชาชีพครู ที่เป็นเหลือบหากินกับครูด้วยกันเอง (บั่นทอนกำลังใจด้วยเรื่องเงินทองและงาน ทั้งๆ ที่เป็นงานต้องทำในหน้าที่) หากินกับเด็กด้วยการทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพในโรงเรียน อยากรู้มากต้องไปเรียนพิเศษกับครู

ไหนๆ ก็วันครูเวียนมาบรรจบอีกครั้งหนึ่ง ผมก็ขอเป็นกำลังใจให้เพื่อนครูของเราที่ตั้งใจและเสียสละ อย่าพึ่งท้อแท้กันเสียก่อนนะครับ มีสุขภาพกาย สุขภาพใจ มีความสุขตลอดไป เป็นพลังในการสร้างเยาวชนเพื่อพัฒนาชาติกันต่อไป แม้เขาจะเห็นเราเป็นแค่ "เรือจ้าง" ก็ตาม...

ครูมนตรี โคตรคันทา
บันทึกไว้เมื่อ : 16 มกราคม 2548

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)

Our Policy