|
(ตอนที่ 2)
โดย สุทัศน์ เอกา
Brainstorming..การระดมความคิด.. ขั้นตอนที่ 3 ของการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21.
ใน 2 ขั้นตอนแรก คือ การเตรียมตัวครู และ การสำรวจชุมชน เพื่อหาแรงบันดาลใจนั้น คุณครู-อาจารย์ทุกท่าน ได้ไป Exploring คือ “แต่ละท่าน” ได้มีการรวบรวมข้อมูล หรือ Data gathering มากพอที่จะกำเนินการ “ระดมความคิด หรือ Brainstorming” ได้แล้ว ดังนี้
คุณครูแบ่งกันออกเป็น “กลุ่มย่อย Subgroup” ตาม “รายวิชา และ ระดับชั้น” เช่น วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้น ม.1 มีครูสอน 2 คน คุณครูสามคนนี้ก็เป็นกลุ่มย่อยๆ กลุ่มหนึ่งเพื่อ Brainstorming หรือ ถ้าเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก มีครูวิทยาศาสตร์ทุกระดับทั้งโรงเรียน เพียง 3 คน ทั้ง 3 คนนี้ ก็เป็นกลุ่ม Brainstorming… ในรายวิชาอื่นๆ ก็ทำเช่นเดียวกัน
การ Brainstorming เป็นกลุ่มย่อย ที่เรียกว่า “ Group Brainstorming” จะได้ผลดีกว่ากลุ่มใหญ่ และ ดีกว่าการทำงานคนเดียว
Group Brainstorming หรือ กลุ่มระดมความคิดนี้ จะสามารถใช้ประโยชน์จาก “ประสบการณ์ Experience” ได้อย่างเต็มรูปแบบ เพราะ “ความคิดสร้างสรรค์ creativity” ของสมาชิกคนหนึ่งๆ จะได้รับการ “ปรับปรุง Reform” และ “ต่อยอด continuing” จากความคิดสร้างสรรค์ของสมาชิกคนอื่นๆ ทำให้คนเราสามารถ “พัฒนาความคิดในเชิงลึก develop ideas in greater depth” การระดมความคิดนี้ ทำให้สมาชิกแต่ละคน “รู้สึกว่า Feel that” ตนเองมี “ส่วนร่วม” ในการแก้ปัญหา และทำให้รู้สึกว่า “คนอื่นๆ ก็มีความคิดสร้างสรรค์ที่มีคุณค่าเช่นเดียวกัน Reminds people that others have creative ideas to offer” การระดมความคิดนี้ควรเป็นไปในทาง “สนุกสนาน Brainstorming is also fun” และสามารถนำไปปรับใช่ในการพัฒนาการเรียนรู้ได้อย่างดีที่สุด
(ตอนที่ 1)
โดย สุทัศน์ เอกา
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21… The Learning Process in the 21st Century.
ขั้นที่ 1. เตรียมครู.. และ ขั้นที่ 2. การสำรวจชุมชน หาแรงบันดาลใจ......
บทบาท “ผู้นำสถานศึกษา” ก่อนการเปลี่ยนแปลง Before Changing
การเตรียมการก่อนที่จะมีการปฏิรูปการเรียนรู้ “ค่อนข้างเป็นเรื่องใหญ่และสำคัญมาก” คนสำคัญที่จะต้องตื่นตัว และเรียนรู้เรื่อง “การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21” อย่างดีที่สุด และเข้าใจ Understanding มากที่สุด ก็คือ “ตัว ผู้อำนวยการโรงเรียน หรือ ผู้บริหารสถานศึกษา” นั่นเอง เพราะ ความเข้าใจเรื่องการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อย่างดีที่สุดนี้ ทำให้มองเห็นความจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนแปลง หรือ The Need to Change.. ”วิธีสอนของครู และวีธีเรียนของนักเรียน Learning and Teaching Approach” เนื่องจากโลกแห่งความเป็นจริงเปลี่ยนแปลงไป The World of Reality Changed” ตัวการแห่งความเปลี่ยนแปลงนี้ คือ “การสื่อสารไร้พรมแดน Borderless Communication” ความรู้และสรรพวิทยาการหลั่งไหลมาจากทุกมุมโลก เข้าสูอุปกรณ์เทคโนโลยีที่ทุกคนสามารถเป็นเจ้าของได้ ทำให้คนทุกคน “เข้าถึงความรู้ได้เท่าทียมกัน Equal Access to Knowledge” การเรียนโดยรับความรู้จากที่ครูบอกให้ จึงไม่พอเพียงกับโลกแห่งความเป็นจริง Real World”
โดย ดร.สุพักตร์ พิบูลย์
วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2557 ผมได้ไปร่วมอภิปรายเรื่อง "ทิศทางการจัดการศึกษาของประเทศไทย ในศตวรรษที่ 21 (ทศวรรษที่ 2-3)" ณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กลุ่มผู้ฟังส่วนใหญ่น่าจะเป็นครู - อาจารย์ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และนักศึกษา ป.โท เอก ของ มสธ. ในการพูดคุย ผมได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับทิศทางการจัดการศึกษา (เน้นระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน) ซึ่งผมตั้งใจจะเสนอ ดังต่อไปนี้
1. บริบทการศึกษาไทย ศตวรรษที่ 21 ทศวรรษที่ 2 (พ.ศ. 2011-2020) : การจัดการศึกษาในปี 2554-2563 เราต้องเผชิญกับอะไรบ้าง มีภาวะคุกคามและเงื่อนไขโอกาส อย่างไรบ้าง
ปาฐกถาพิเศษเกี่ยวกับทิศทางการศึกษาไทยในอนาคต ของ นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี คนที่ 18 ของประเทศไทย เนื่องในโอกาสครบรอบ "๕๐ ปี โรงเรียนศรีวิกรม์" ใจความตอนหนึ่งว่า ประเทศไทยน่าสงสารมาก การศึกษาของไทยก็น่าสงสารมาก เรามีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ มีความโชคดีด้วยภูมิศาสตร์ แต่เป็นความโชคดีอย่างประหลาด ที่ประเทศไทยไม่มีภัยพิบัติร้ายแรง เหมือนหลายประเทศในโลก ไม่มีพายุทอร์นาโด ไม่มีแผ่นดินไหว อย่างมากก็น้ำท่วม แต่มองลึกๆ แล้วประเทศไทยมีกรรม เพราะ 70-80 ปีที่ผ่านมาไทยเผชิญกับภัยพิบัติที่มาจากคนไทยด้วยกันเอง
"ประเทศไทยเผชิญกับภัยพิบัติที่เกิดจากคนไทย มานานถึง 70-80 ปี คนไทยสร้างสึนามิทุกๆ วัน เพราะคนไทยไม่สนใจความจริง เชื่อข่าวลือ เล่นพระเครื่อง ไม่ว่าจะจับต้องอะไรก็ผิวเผิน ไม่มีความรู้ลึกลงไปถึงแก่สาร สาระที่สำคัญจริงๆ ส่วนหนึ่งที่คนไทยเป็นเช่นนี้ มาจากพ่อแม่ไม่ส่งเสริมสนับสนุนให้ลูกพูดความจริง พ่อแม่ไม่มีเวลาอบรมสั่งสอนลูก พ่อแม่บางคนก็ทำร้ายลูก ตบตีลูก
ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)