|
ผ่านปีใหม่มาแล้ว 1 เดือน ข่าวคราวด้านการศึกษาของไทยก็ยังคงหนีออกจากหลุมดำไม่ได้ ไม่ว่าจะใช้คำว่า "ปฏิรูป ปฏิวัติ" ก็ยังคงย่ำอยู่กับที่ไม่หลุดพ้นไปไหน จะเรียกว่า "วังวน" หรือ "หลุมดำ" ทางการศึกษาก็คงจะไม่ผิดนัก นโยบายที่เพียงเป็นการตอบสนองความต้องการเจ้านาย และคำหวานที่โปรยออกมาแล้วก็ทำไม่ได้ สั่งเหมือนสั่งขี้มูกยังไงยังงั้น เอาตัวอย่างมาสิจะได้ชัดเจน "การสอบวัดผลระดับชาตินั่นปะไร ให้สอบตามความสมัครใจ ใครใคร่สอบ สอบ ใครไม่อยากวัดตัวเองก็ไม่ต้องสอบ" แต่... ในความเป็นจริง เจ้านายที่สิงสถิตย์บนสำนักเขตกลับต้องการ "ตัวเลขอันสวยหรูเพื่อรายงาน" จึงสั่งการลงมายัง ผอ.(ผัวอีอ้อย) ให้ดำเนินการให้ได้ปริมาณสูงสุด โรงเรียนใดไม่ทำการตามที่สั่ง การประเมินเลื่อนขั้นย่อมมีปัญหาตามมา ไม่บอกก็รู้ใช่ไหม?
วันเวลาไม่เคยคอยใคร แล้ววันนี้การหมุนของนาฬิกาก็จะเวียนมาถึงช่วงเปลี่ยนศักราชใหม่กันอีก อายุเราก็ต้อง +1 เข้าไปกันทุกคน แต่ปัญหาการศึกษาของชาติไทยเรากลับไม่ได้ก้าวหน้าไปตามวันเวลาที่ผ่านไป ไม่ว่าจะผ่านมือผู้บริหารที่เป็นครู-อาจารย์ในรั้วสถาบันการศึกษาระดับใด ผ่านมือหมอมาก็หลายคน ผ่านนายทหารจากหลายเหล่าทัพ รวมทั้งนักการเมืองมากหน้า สุดท้ายก็ยังย่ำเท้าไม่หลุดจากวังวนคนสอพลอรอบข้างไปได้สักที ปีหน้านี้จะเห็นแสงสว่างบ้างไหมหนอ?
ยิ่งมาเจอเข้ากับสถานการณ์ยากลำบากในตลอด 2 ปีที่ผ่านมา โรงเรียนยังคงว่างเปล่า ไร้เงาความน่ารัก ร่าเริงสดใส ของลูกหลานเราในวันนี้ ส่วนใหญ่ยังต้องเรียนออนไลน์กันอย่างไม่หยุดหย่อน ได้ความรู้มากบ้าง น้อยบ้าง ตามศักยภาพของตัวผู้เรียน รวมทั้งการเข้าถึงสื่อกลางออนไลน์ต่างๆ ที่ยังคงห่างไกลกับผู้เรียนจำนวนมากของประเทศนี้ ที่เรียนกับครูกระดาษ (ใบงาน) ที่ไม่มีใครอธิบายพร่ำสอน ด้วยพ่อแม่ ผู้ปกครองก็ต้องทำมาหากินก็ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งก็ไม่สามารถอธิบายให้ความหมาย ความรู้อะไรได้ ด้วยยุคสมัยของการเล่าเรียนที่ผ่านมาแตกต่างกัน "การอ่านไม่ออก ซ้ำเขียนไม่ได้" ยังคงเป็นอุปสรรคใหญ่ของผู้เรียนใน พ.ศ. นี้ไม่เปลี่ยนแปลง
การอ่านออก เขียนได้เท่านั้น จะทลายกำแพงการศึกษาให้ประสบผลสำเร็จได้"
เกือบ 2 ปีแล้วที่มีการระบาดของไวรัสร้าย 'Covid-19' ที่ทุกๆ ประเทศในโลกนี้ต้องเผชิญกับความยากลำบาก ทั้งทางด้านสุขภาพอนามัย เศรษฐกิจ ชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้คน รวมทั้ง 'การศึกษา' ที่มีการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกแผ่นดิน จากหน้ามือไปจนถึงหลังเท้า เด็กๆ จำนวนมากทั่วโลกก็ประสบชะตากรรมเดียวกัน ไปเรียนที่โรงเรียนไม่ได้ ต้องเรียนออนไลน์ หรือเรียนผ่านช่องทางอื่นๆ ตามสถานการณ์ของแต่ละประเทศ
สำหรับประเทศไทย 'โควิด-19' ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง มีคนจำนวนมากมายต้องอยู่ในสภาพตกงาน ธุรกิจมากมายล้มระเนระนาด อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โรงแรม ที่พัก ร้านอาหารปิดกิจการจำนวนมาก ช่วงหลังๆ ธุรกิจการก่อสร้างก็กระทบเพราะการระบาดในไซต์งานจำนวนมาก ทำให้แรงงานจำนวนมากต้องหลั่งไหลกลับบ้านเกิด นั่นคือการเปลี่ยนแปลงที่เราพบเห็นอย่างจริงจัง กระทบมาถึงการศึกษา ที่ไม่สามารถเปิดการเรียนการสอนได้ตามปกติ นักเรียนนักศึกษาต้องเรียนออนไลน์ ท่ามกลางสารพัดปัญหาที่เป็นอุปสรรคในการเรียน และได้ก่อผลกระทบอีกมากมาย ทั้งการขาดอุปกรณ์การเรียนอย่างเครื่องมือสื่อสาร เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ และแม้แต่สัญญาณการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การช่วยเหลือจากภาครัฐที่กระท่อนกระแท่นไม่ทั่วถึง สำรวจซ้ำแล้วซ้ำเล่า ล่าช้า วิธีการสารพัดปัญหา 108 มาให้ครูและบุคลากรแก้ไขกันรายชั่วโมง เฮ้อ!
เห็นข่าวนี้แล้ว เพื่อนๆ ในวงการไอทีถึงกับกลั้นหัวเราะกันไม่อยู่เลยทีเดียว นี่หน่วยงานราชการไทยช่างล้าหลังเสียเหลือเกินนะ ก็มีนโยบายให้ทุกหน่วยราชการทุกหน่วยปรับตัวเป็น "รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์" มานานนับ 10 ปีแล้วไม่ใช่หรือ? เพราะฉะนั้นทุกท่านไม่ต้องแปลกใจหรอกที่เวลาหน่วยงานราชการมีอะไรที่ผิดพลาด ก็จะโยนขี้ (ความผิด) หรือโบ้ยไปให้ระบบ (คอมพิวเตอร์) ผิดพลาดมาโดยตลอด (คนป้อนข้อมูลให้ ไม่ใช่หรือ?) อย่างรายชื่อฉีดวัคซีนแนวหน้าที่ซ้ำกันเมื่อสัปดาห์ก่อน ก็มีการแถ-ลงว่า Google from ผิดพลาด จะหัวเราะหรือว่าร้องไห้กันดีครับ ยกข่าวมาให้ทราบก่อนสำหรับคนที่ไม่ค่อยได้ติดตาม เพราะมัวแต่สอนออนไลน์ หรือฟังข่าวโควิดจนมึนไปแล้ว
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบกฎหมาย สนับสนุน "รัฐบาลดิจิทัล" ภาคธุรกิจสามารถทำธุรกรรม และติดต่อกับภาครัฐผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ได้มากขึ้น โดยในการจัดทำระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2564 (ระเบียบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์) ระบุ หน่วยงานของรัฐต้องใช้อีเมลในการสื่อสารเป็นหลัก มีผลตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2564 เป็นต้นไป เพื่อต่อยอดไปใช้ในการจัดทำระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้
ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)