foto1
ความงดงามการศึกษาไทย
foto1
เพื่อ?
foto1
ไม่เข้าใจ?
foto1
วิทยากรที่กระทรวงศึกษาธิการ สปป.ลาว
foto1
ท่องทะเลทรายที่ดูไบ UAE


Friendly Links

เรียนรู้ภาษา html
isangate banner
easyhome banner
ipst banner
sakdibhornssup foundation
13 Thai free fonts
speedtest
e mil

Facebook Likebox

No. of Page View

webmaster talk

มาตรฐาน : ที่ตั้งอยู่บนความเหลื่อมล้ำ

[] ครูแสงดาว : เล่าเรื่อง

าจารย์ใหญ่ของครูแสงดาว กำลังเตรียมการเพื่อการประเมินผลงานเป็น ผอ.คุณภาพ ถึงแม้ว่าร่าง พ.ร.บ.ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้ผ่านสภาไปแล้ว นั่นหมายถึงว่าผู้บริหารสถานศึกษาได้ทำหน้าที่เป็น ผอ.สถานศึกษาโดยตำแหน่ง

แต่ทว่า ไม่มีค่าตอบแทน 5,600 บาท เหมือน ผอ.คนอื่นๆ ซึ่งผ่านการประเมินโดยคณะกรรมการระดับจังหวัด โดยมี ผอ.ปจ. และ ผช.ผอ.ปจ. เป็นประธาน

การจัดทำผลงานเพื่อการประเมินเป็น ผอ.สถานศึกษาของผู้บริหารนั้น มักจะใช้ฐานะและตำแหน่งอำนาจบังคับบัญชา แต่งตั้งคณะครูในโรงเรียนเป็นผู้จัดทำเอกสารเพื่อรองรับการประเมิน ขณะเดียวกันก็ใช้ระบบการเป็นหนี้ผูกพันกับร้านขายวัสดุทางการศึกษาไว้ก่อน หลังจากที่โรงเรียนได้รับการจัดสรรงบประมาณรายหัวประเภทต่างๆ แล้วค่อยหักชำระกับทางร้านค้า

นี่ก็ยังถือว่าเป็นปกติธรรมดาอยู่ แต่กรณีผู้บริหารบางคนไม่เอาสินค้าหากทว่าเอาเงินสด นี่สิ / ช่างร้ายเหลือ โดยปล่อยให้โรงเรียนเป็นหนี้ผูกพันทางร้านไปเรื่อยๆ เรียกว่าปล้นรายหัวนักเรียนกันสดๆ เลยล่ะ

ความจริงแล้ว มันก็เป็นเรื่องน่าเห็นใจสำหรับโรงเรียนต่างๆ ในยุคปฏิรูปการศึกษา เพราะจะต้องวิ่งหาเงินมาพัฒนา แต่งแต้มสีสันให้กับโรงเรียนของตัวเอง จะทำผ้าป่าการศึกษาทุกปี ก็กลัวชาวบ้านจะเดินขบวนขับไล่ จะรีดเลือดจากคณะครูก็มีแต่หนี้ มีทางเดียวก็คือสร้างหนี้ผูกพันไว้ก่อน แม้สินค้าที่ได้มาจะแพงเป็นสองเท่าของร้านค้าทั่วไปก็ยังดีกว่าไม่ทำอะไรเลย

เป็นผู้บริหารทำผลงานประเมินตนเองเพื่อเป็น ผอ.คุณภาพ ใช้อำนาจหน้าที่สั่งครูในโรงเรียนให้ช่วยทำเอกสารรองรับการประเมิน ใช้เงินของโรงเรียนที่ได้รับการจัดสรร บังเบียดจากเงินรายหัวของนักเรียน ไม่ต้องใช้เงินสดของตัวเอง เสร็จแล้ว เมื่อคณะกรรมการจากระดับจังหวัดเดินทางมาประเมิน ก็เกณฑ์คณะครูมาเลี้ยงดูอย่างอิ่มหน่ำ หรือแม้กระทั่งใส่ซองให้คณะกรรมการประเมิน

ความสำเร็จก็อยู่บนโต๊ะอาหารและซองขาวนั่นแหละ "

ประกาศผลออกมาได้เป็น ผอ.คุณภาพ สมใจ รับค่าตอบแทน 5,600 บาท ในแต่ละเดือน ช่างเป็นบุญวาสนาเสียจริงๆ ผิดกับการจัดทำผลงานเพื่อการประเมินเป็น อาจารย์ 3 ของครูสายผู้สอน อย่างสิ้นเชิง และยิ่งการประเมิน อาจารย์ 3 เชิงประจักษ์แนวใหม่ ยิ่งเลวร้ายเข้าไปใหญ่

ครูสายผู้สอนที่จัดทำผลงานของตัวเองเพื่อประเมินเป็น อาจารย์ 3 นั้น จะต้องลงทุนลงแรงด้วยเงินของตัวเองทั้งหมด แฟ้มผลงานเอกสาร 61 แฟ้ม บันทึกการสอน 200 วัน นวัตกรรมอีกหลายสิบชิ้น ตกแต่งห้อง จัดบรรยากาศให้น่าเรียนเหมือนบ้าน โทรทัศน์ พัดลม ตู้เย็น ชั้นหนังสือ และเอกสารต่างๆ ปานว่าเป็นออฟฟิศเงินเดือนเป็นแสน ทำงานเลิกหกโมงเย็นหรือสองทุ่มก็มี ขนาดนี้แล้ว เด็กนักเรียนยังอ่านหนังสือไม่ออก แต่ผลงานของครูมหาศาลระดับชาติ

ทั้งหลายทั้งปวงเป็นเงินของครูทั้งนั้นแหละ บางคนหมดเงินไปเป็นแสนแล้ว ยังไม่ผ่านเป็น อาจารย์ 3 กับเขาเลย

นี่ยังไม่รวมถึงขั้นตอนการประเมินถึง 3 ชั้น แล้วยังต้องส่งนวัตกรรมไปให้คณะกรรมการส่วนกลางพิจารณาอีกทีหนึ่ง มันช่างเหลื่อมล้ำกันจริงๆ กับ การประเมิน ผอ. คุณภาพ ที่เพียงประเมินเสร็จระดับจังหวัด ก็สามารถส่งต่อระดับกรม แล้วประกาศเป็น ผู้อำนวยการคุณภาพ ได้เลย

ส่วนครูผู้สอนที่จัดทำผลงานเพื่อประเมินเป็นอาจารย์ 3 ต้องประเมินกัน 3 ครั้ง ส่งไปยังเขตพื้นที่การศึกษา แต่ก็ไม่สามารถประกาศผลการประเมินได้ ต้องส่งนวัตกรรมไปให้ส่วนกลางตรวจสอบอีกทีหนึ่ง ทั้งๆ ที่ได้มีการกระจายอำนาจการศึกษาลงมาสู่ท้องถิ่นกันแล้ว อย่างนี้เรียกว่ากระจายงานแต่ไม่กระจายเงิน ใช่ไหม? ท่านผู้เป็นใหญ่ในกระทรวง

แล้วจะหวังอะไรกับการปฏิรูปการศึกษา ? ในเมื่อทุกอย่างยังต้องฟังเสียงจากส่วนกลาง ไม่เพียงเท่านี้ดอก การวาง กรอบ และกฎเกณฑ์ต่างๆ ในการประเมินอาจารย์ 3 แบบใหม่เชิงประจักษ์ จะไม่มีทางสร้างนักวิชาการท้องถิ่นใหม่ๆ เกิดขึ้นได้เลย เพราะทุกสิ่งอย่างถูกออกแบบไว้หมดแล้ว

ครูสายผู้สอนจะต้องก้มหน้ารับชะตากรรมกันต่อไป วิทยาการที่ครูเราพากันสร้างทำขึ้นมาก็ไร้ความหมาย ถ้าไม่เป็นไปตามที่คณะกรรมการประเมินได้ออกแบบเอาไว้ อย่างนี้แล้ว มันช่างแตกต่างกันลิบลับกับการประเมิน ผอ.คุณภาพเสียจริงๆ

มันเหมือนกับว่าครูถูกหลอกให้ทำผลงาน อาจารย์ 3 เสร็จแล้วก็คาราคาซังอยู่อย่างนี้ ไม่มีใครเรียกร้องหาความเป็นธรรมที่ครูเราต้องลงทุนกู้หนี้ยืมสิน เอาเงินมาทำผลงานเพื่อความก้าวหน้าแห่งวิชาชีพครู

ที่สำคัญ ครูเราไม่มีอำนาจวาสนาไปสร้างหนี้ผูกพันกับเจ้าของห้างร้านวัสดุการศึกษาเหมือนกับ ผอ.คุณภาพทั้งหลาย

แหล่งที่มา : เนชั่นสุดสัปดาห์ ฉบับที่ 599 [หน้าที่ 15 ] ประจำวันที่ 28 พฤศจิกายน 2546

ผมนำมาให้อ่านเพราะไปอ่านเจอแล้วมันสะท้อนภาพที่ชัดเจนของความจริงอันเจ็บปวด มีหลายคนถามผมว่า ไม่ประเมินอาจารย์ 3 เชิงประจักษ์ กับเขาบ้างหรือ? คำตอบคือ ไม่ ถ้ากฎเกณฑ์ยังบ้าบอกับเอกสารและสิ่งจอมปลอมเหล่านั้นอยู่ ยิ่งไปดูคุณภาพของผู้ประเมินยิ่งแล้วไปใหญ่ อย่าให้พูดมากกว่านี้เลยครับ (ท่านได้อาจารย์ 3 มาแต่ใดมา? คำตอบทุกท่านมีอยู่ในใจแล้วนี่ครับ ผมทำให้มากับมือก็หลายคน) เพราะรู้ตื้นลึกหนาบางนี่แหละเลยไม่อยากโกหกตัวเองให้กับตัวเองอีกครั้ง เฮ้อ! เหนื่อยแทนครับ...

แด่ประเทศไทย และการศึกษาไทย ผมไม่ได้เป็นอาจารย์ 3 แต่ก็สอนอาจารย์ 3 มาหลายคนแล้วครับ
ครูมนตรี
28 พฤศจิกายน 2546
 
นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)

Our Policy