foto1
ความงดงามการศึกษาไทย
foto1
เพื่อ?
foto1
ไม่เข้าใจ?
foto1
วิทยากรที่กระทรวงศึกษาธิการ สปป.ลาว
foto1
ท่องทะเลทรายที่ดูไบ UAE


Friendly Links

เรียนรู้ภาษา html
isangate banner
easyhome banner
ipst banner
sakdibhornssup foundation
13 Thai free fonts
speedtest
e mil

Facebook Likebox

No. of Page View

webmaster talk

เมื่อเป้าหมายประเทศไทยอยู่ที่การเป็น e-Government & e-Citizen

ctrlaltdeleteคุณรู้จัก "3 ปุ่มมหัศจรรย์" บนคอมพิวเตอร์หรือไม่? ถ้าเป็นคนที่ใช้งานบ่อยๆ คงพอจะตอบได้ล่ะครับ ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ตอบสนอง ทำอะไรไม่ได้ นิ่งสนิท ก่อนจะถึงไม้ตายสุดท้าย (ถอดปลั๊ก) ก็จะมีการใช้ 3 ปุ่มมหัศจรรย์กันทันทีแหละนั่นคือ การกดปุ่มคอนโทรล (Ctrl) อัลติเนต (Alt) และ ดีลีท (Delete) พร้อมกัน เพื่อการรีสตาร์ทเครื่องเริ่มการทำงานใหม่ ซึ่งทั้งสามปุ่มนี้ เป็นที่รู้จักและยอมรับอย่างแพร่หลายมาตลอด 10 ปีที่คอมพิวเตอร์มีบทบาทกับชีวิตของเรา

ผู้คิดค้นโค้ดคำสั่งดังกล่าว โดยใช้เวลาเพียงแค่ 5 นาที ในการเขียนโค้ดคำสั่ง แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่า เขาได้สร้างคำสั่งที่ตรงใจผู้ใช้ และจำเป็นมากที่สุดคำสั่งหนึ่งเลยทีเดียว เขาผู้นั้นคือ เดวิด บรัดเลย์ (David Bradley) วิศวกรในทีมพัฒนายักษ์สีฟ้า ไอบีเอ็ม

เขากล่าวว่า "ผมอาจจะเป็นคนสร้างมันขึ้นมา แต่บิล เกตต์ คือคนที่ทำให้มันเป็นที่รู้จัก" ซึ่งการสรรเสริญของ บรัดเลย์ ต่อ บิล เกตต์ ครั้งนี้ ทำให้เจ้าของค่ายยักษ์ใหญ่อย่างไมโครซอฟท์ ผู้สร้างซอฟต์แวร์ Microsoft Office & Windows ชื่อดัง ถึงกับหัวเราะไม่ออกมาแล้ว เพราะอีกนัยหนึ่งก็คือ การตอกย้ำให้เห็นถึงความผิดพลาดในการทำงานของซอฟต์แวร์ของบิล เกตต์นั่นเอง

บางท่านกำลังสงสัยว่าผมจะบ่นเรื่องอะไรกันแน่?

computeruser 031เราต้องยอมรับกันโดยปริยายแล้วว่า ปัจจุบันระบบราชการได้เข้าสู่ยุคแห่งการปฏิรูป โดยใช้ "เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร" หรือ ICT มาเป็นเครื่องมือ เพื่อให้การบริหารงาน และการบริการประชาชน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้จะเห็นได้อย่างชัดเจน ในการที่รัฐบาลต้องการผลักดันให้เกิด รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Government อย่างเป็นรูปธรรม และจะนำไปสู่การทำให้ประชาชนเป็นพลเมืองอิเล็กทรอนิกส์ หริอ e-Citizen

การเริ่มต้นเข้าสู่การเป็น e-Government นั้นต้องเริ่มจาการทำงานในภาคราชการทุกหน่วย ที่จะต้องมีการเชื่อมโยงระบบการบริการทั้งหลายเข้าด้วยกัน ให้เป็นระบบเดียว (One Stop Service) ซึ่งแน่นอนว่าการดำเนินการนี้ ย่อมต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) แต่เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งที่การดำเนินงานต่างๆ ที่รัฐบาลตั้งเป้าไว้นั้นกลับต้องมาชะงักด้วยสาเหตุที่องค์ความรู้ ความสามารถของบุคลากรในองค์กรเกือบทุกหน่วยอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์

ผลการศึกษา ซึ่งเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามข้าราชการไทยจำนวน 1,900 ชุด จากหน่วยงานต่างๆ พบว่า ข้าราชการในกลุ่มผู้ใช้งานไอซีทียังมีปัญหาเกี่ยวกับความรู้ และทักษะการใช้งานไอซีที โดยจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาเกือบทุกด้าน เนื่องจากมีความรู้และทักษะอยู่ในระดับที่ต่ำกว่ามาตรฐาน มีเพียงความรู้ และทักษะการใช้งานโปรแกรมประมวลคำ (Word Processing) และทักษะการใช้ คอมพิวเตอร์ทั่วไป (General Knowledge) เท่านั้นที่อยู่ในระดับมาตรฐาน ซึ่งบุคลากรในกลุ่มนี้ควรได้รับการพัฒนาทักษะเพิ่มเติมอีกอย่างน้อย 3 ข้อ คือ

  • กลุ่มทักษะที่จำเป็นต้องใช้ในสถานที่ทำงาน (Core Workplace ICT Skills) ซึ่งเป็นกลุ่มทักษะที่มีความจำเป็นต้องพัฒนาอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะทักษะทางด้านการใช้โปรแกรมฐานข้อมูล และโปรแกรมการนำเสนองาน ทั้งนี้เพราะเป็นทักษะที่จะต้องใช้ในการปฏิบัติงานโดยตรงในการทำงานประจำวัน
  • กลุ่มทักษะด้านข้อมูลข่าวสาร (ICT Information Skills) ซึ่งจากแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการทำงานของภาครัฐ ในอนาคตจะมีผลผลักดันให้ข้าราชการใช้ไอซีทีในการทำงานมากขึ้น เพื่อสนับสนุนให้ใช้เอกสารน้อยลง เช่น การส่งใบลางานผ่านอีเมล์ เป็นต้น นอกจากนั้นยังเป็นการรองรับความต้องการ ที่จะต้องใช้คอมพิวเตอร์สื่อสารกันภายในหน่วยงานมากขึ้น
  • กลุ่มทักษะการใช้งานคอมพิวเตอร์พื้นฐาน (BASIC ICT Skills) โดยเฉพาะทักษะการแก้ปัญหา การดูแลรักษาและการรักษาความปลอดภัย ทั้งนี้เพื่อแบ่งเบาภาระและทำให้งานในหน้าที่หลักของบุคลากรไอซีทีน้อยลง

กลุ่มข้าราชการซึ่งเป็นบุคลากรด้านไอซีที ผลการศึกษาพบว่า ยังขาดความรู้ความเข้าใจและทักษะเกี่ยวกับไอซีทีในเชิงลึก จึงทำให้ลักษะการทำงานไม่แน่นอน นอกจากนั้นในบางส่วนราชการบุคลากรด้านไอซีทีเหล่านี้ยังไม่มีหน้าที่ในการทำงานที่แน่นอนด้วย คือทำงานสารพัดเรื่องเหมือนบุคลากรด้านอื่น

ลักษณะการทำงานของบุคลากรไอซีทีของหน่วยงาน เพื่อที่จะก้าวไปสู่การเป็นองค์กรที่ให้บริการกับประชาชน ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่ควรจะเป็น 3 ระดับ คือ

1. ระดับผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (CIO Level) โดยลักษณะงานที่ ต้องทำ คือ

  • การกำหนดกลยุทธ์และด้านไอซีที
  • การบริหารจัดซื้อจัดจ้างไอซีทีจากหน่วยงานภายนอก รวมถึงการกำหนดเทคโนโลยีที่ควรนำมาใช้ และตรวจสอบ ลักษณะทางเทคนิคจากผู้ใต้บังคับบัญชา
  • มีความสามารถในการประเมิน ขบวนการทำงานของหน่วยงานและมีความเข้าใจในไอซีที
  • ติดตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ปรับปรุงการทำงานขององค์กรโดยการใช้ไอซีที
  • ประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการนำไอซีที มาใช้ในเชิงความเสี่ยง ต่อการเข้าถึงข้อมูลลับเฉพาะได้
  • การบริหารโครงการและการชักชวน แนะนำผู้บริหารระดับสูงอื่นๆ รวมถึงบุคลากรในหน่วยงาน ให้เห็นประโยชน์และความจำเป็นของไอซีที

2. ระดับผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ (Management Level) มีลักษณะงานที่ต้องทำ คือ

  • การบริหารจัดการไอซีทีภายในองค์กร สื่อสารและผลักดันให้บุคลากรมีความเข้าใจ ประโยชน์การนำไอซีทีไปใช้ รวมทั้งติดตามและประ เมินผลการทำงานของบุคลากรจากการใช้ไอซีที
  • การให้คำปรึกษา และคำแนะนำเกี่ยวกับไอซีทีให้แก่ผู้วางนโยบายระดับสูงและผู้ใต้บังคับบัญชา
  • การปรับปรุงกระบวนการทำงานขององค์กร โดยทำหน้าที่บริหารจัดการ และให้คำแนะนำอย่างผู้เชี่ยวชาญ ทางด้านไอซีทีในการปรับปรุงกระบวนการทำงาน
  • การวางแผนและกลยุทธ์ระบบสารสนเทศ โดยทำหน้าที่ในการรับนโยบาย จากระดับผู้วางนโยบายและนำมากำหนดการพัฒนากลยุทธ์
  • การบริหารความเสี่ยง ซึ่งต้องทำหน้าที่วางแผน และบริหารความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ไอซีที
  • สถาปัตยกรรมทางระบบ โดยต้องทำหน้าที่กำหนดคุณลักษณะของสถาปัตยกรรมทางระบบ รวมทั้งระบุถึงองค์ประกอบต่างๆ ของไอซีที เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการขององค์กรทั้งปัจจุบันและอนาคต
  • และการวางแผนด้านระบบเครือข่ายการใช้ไอซีที

3. ระดับผู้ปฏิบัติการด้านเทคนิค (Technical Level) สามารถแบ่งลักษณะงานทางเทคนิคออกเป็น 4 กลุ่มหลัก คือ งานด้านการพัฒนา งานด้านการนำไปใช้ งานด้านการปฏิบัติการ และงานด้านการบริการสนับสนุนผู้ใช้ไอซีที

computeruser 04ที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นนี่ ผมกำลังจะดึงเพื่อนครูเหลียวกลับมามอง "องค์กร" ของพวกเราเอง เพื่อสะท้อนงานที่เรากำลังคิดและอยากจะทำ แต่ยังไม่เห็นเป้าหมายแห่งผลสำเร็จเลย เพราะอะไรหรือ?

ซึ่งจากการศึกษาพบว่า บุคลากรด้านไอซีทีของส่วนราชการ (รวมทั้งในโรงเรียนด้วย) ยังทำงานในด้านการบริการสนับสนุนผู้ใช้ไอซีที และการปฏิบัติการด้านไอซีทีทั่วไปเป็นส่วนใหญ่ ส่วนการจัดฝึกอบรมเพื่อเพิ่มพูนทักษะระยะยาวแก่ผู้ใช้งานไอซีที ยังคงมีสัดส่วนน้อยอยู่ นอกจากนั้นยังพบว่า กว่าร้อยละ 50 ของบุคลากรด้านไอซีทีทั้งหมด จะเป็นการพัฒนาโปรแกรมเบื้องต้นที่ใช้ในหน่วยงาน หรือปรับแต่งโปรแกรมที่มีอยู่เดิมตามการเปลี่ยนแปลงของเนื้องานเท่านั้น

การดำเนินการสู่เป้าหมายด้านไอซีทีของโรงเรียนจะประสบผลสำเร็จได้ จะต้องปรับกลยุทธ์ในการทำงานขององค์กรเสียใหม่ เปลี่ยนความรู้สึกและทัศนคติที่มีต่อการดำเนินงานด้านไอซีทีเสียใหม่ บางคนยังคิดว่า "ครูคอมพิวเตอร์" คือ "พนักงานพิมพ์ดีด" อยู่นะครับ

สาเหตุที่เราพัฒนางานด้านไอทีในโรงเรียนเป็นไปได้ช้า เพราะปัญหาเหล่านี้คือ

  • การขาดแคลนบุคลากร ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้ บุคลากรด้านไอซีทีในหน่วยราชการพัฒนาได้ช้า
  • ค่าตอบแทนในการทำงาน (ผลกระทบของข้อ 1) ที่ทำให้เกิดการขาดแคลนอย่างหนัก เพราะเรา (หัวหน้าหน่วยงาน) คิดว่า คนกลุ่มนี้ไม่ทำงานอะไร อยู่แต่หน้าจอคอมพิวเตอร์ เอาไปแค่นี้พอ
  • ความก้าวหน้าในการทำงาน เพราะเรามองบุคลากรกลุ่มนี้ไม่ใช่ผู้สอน ไม่มีผลงานการประเมินการสอน และไม่ได้กำหนดหน้าที่ของเขาให้ชัดเจน ก็เลยเป็นพวกทำงานใต้ฐานพระ
  • การว่าจ้างหน่วยงานภายนอก ทำงานเกี่ยวกับไอซีที ข้อนี้เป็นข้อจำกัดในเรื่องระเบียบปฏิบัติของราชการ ที่ไม่นิยมการเอาท์ซอร์ส (Out Source) จ้างงานจากภายนอก (เพราะกลัวอะไรไม่ทราบได้) จะยกตัวอย่างง่ายๆ นะครับ ถ้าเราจะพัฒนาระบบงานในองค์กรเป็นรูปแบบสำนักงานอัตโนมัติเต็มรูปแบบ ถ้าใช้ผู้รู้ในองค์กรพัฒนาคงจะสำเร็จได้ยาก และสิ้นเปลืองเวลาและแรงงานไปมาก เนื่องจากการขาดความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และมีภาระงานด้านอื่นๆ ค้ำคออยู่ (ท่านคงทราบดีอยู่แล้ว)
    แต่ถ้าเราเอาท์ซอร์สงานให้ภายนอกผลสำเร็จของงานจะเร็วกว่า และตรงวัตถุประสงค์มากกว่า แต่มันจะน่าตกใจตรงงบประมาณการจ้างซึ่งค่อนข้างสูง เนื่องจากเราเคยชินในการใช้งานคนฟรีๆ (เห็นคนราชการเป็นเครื่องจักรที่กดปุ่มสั่งได้ ทั้งๆ ที่งานบางอย่างเขาทำนอกเวลาราชการ กินเวลาส่วนตัวของครอบครัวเขาด้วยซ้ำ)

แล้วประเทศจะก้าวไปถึงเป้าหมายที่ผมจั่วหัวไว้ข้างบนหรือไม่ในระยะ 4 ปีของรัฐบาลนี้ ผมแทบจะฟันธงได้เลยด้วยซ้ำว่า คงจะก้าวไปได้ไม่ถึง 50% ด้วยซ้ำ ด้วยสาเหตุง่ายๆ คือ บุคลากรในหน่วยราชการจำเป็นต้องได้รับความรู้ การส่งเสริมและการพัฒนาทักษะด้านไอซีที จากหน่วยงานต้นสังกัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ อย่างเร่งด่วน เพื่อให้สามารถนำความเจริญก้าวหน้าของไอซีทีที่นับวันจะพัฒนาไปเรื่อยๆ มาใช้ในการบริหารงาน และให้บริการกับประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และที่สำคัญคือ ลดช่องว่างความรู้ความสามารถไม่ให้บุคลากรไอซีทีของภาคเอกชนทิ้งห่างภาคราชการมากจนเกินไป…

อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง Click!

วันนี้ผมไปร่วมการประชุมสัมมนาเรื่อง การพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ผ่านชุมชนนักปฏิบัติ โดย ศูนย์กลางความรู้แห่งชาติ (KTC) กระทรวงไอซีที ก็ได้มองเห็นช่องทาง และโอกาสในการรวมกลุ่มสร้างชุมชนออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ ที่อยากแนะนำให้เพื่อนครูได้เข้าไปศึกษา และนำมาใช้ประโยชน์กัน ดูรายละเอียดได้ที่ www.tkc.go.th แล้วจะเล่ารายละเอียดให้ฟังวันหลัง

ครูมนตรี โคตรคันทา
บันทึกไว้เมื่อ : 22 มีนาคม 2548

อ่านต่อ : e-Government & e-Citizen (2)

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)

Our Policy