foto1
ความงดงามการศึกษาไทย
foto1
เพื่อ?
foto1
ไม่เข้าใจ?
foto1
วิทยากรที่กระทรวงศึกษาธิการ สปป.ลาว
foto1
ท่องทะเลทรายที่ดูไบ UAE


Friendly Links

เรียนรู้ภาษา html
isangate banner
easyhome banner
ipst banner
sakdibhornssup foundation
13 Thai free fonts
speedtest
e mil

Facebook Likebox

No. of Page View

webmaster talk

sec2005 09ไม่ได้เข้ามาคุยเป็นเวลาเดือนหนึ่งเต็มๆ ด้วยสาเหตุที่ยังไม่มีเรื่องน่าสนใจจะคุยมากนัก (เหตุการณ์เดิมๆ ที่คุยไว้เมื่อปีที่แล้วก็วนกลับมาอีก เหมือนหนังฉายซ้ำเลย) อย่างเช่น เรื่องหาที่เรียนให้กับลูกหลาน (ม. 1 และ ม. 4) เรื่องการสอบเข้ามหาวิทยาลัยซึ่งป่านนี้ก็ยังมืดมนกันอยู่ (ต่างคนต่างเหตุต่างผล)

กอร์ปกับช่วงนี้ผมก็ยุ่งอยู่กับการเป็นวิทยากรขยายผลเรื่อง การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ให้กับเขตพื้นที่การศึกษา สนใจอยากรู้ และอยากทำ (แม้จะพึ่งเริ่มต้น) รวมทั้งตลอดสัปดาห์นี้ (25-29 เมษายน 2548) ก็จัดการอบรมครูวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (หลักสูตร สสวท.) ก็เลยไม่ออกมาแสดงความเห็นอะไรมากนัก (ออกจะเบื่อๆ กับการปะ ติ ลูบ คลำ การศึกษาไทยด้วยซิ เลยเซ็งๆ ครับ)

Thai e-Learning 2005

ขอเริ่มกันที่ข่าวฝากก่อนนะครับ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จะจัดการสัมมนาหัวข้อ "Thai e-Learning 2005" ขึ้น เพื่อเป็นสื่อกลางในการสร้างความร่วมมือกันในการพัฒนาระบบการศึกษาในเมืองไทย ให้ทันสมัยทัดเทียมนานาประเทศต่อๆ ไป ด้วยการจัดเสวนากลุ่มตามหัวข้อที่กำหนด โดยวิทยากร คณาจารย์ และผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งจากภาครัฐ เอกชน ระหว่างวันที่ 17-18 พฤษภาคม 2548 เวลา 8.30 - 16.30 น. ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต

เรื่องที่เป็นที่สนใจของพ่อแม่ผู้ปกครองอีกเรื่องหนึ่ง เรียกว่าเป็นข่าวฮอตฮิตทั้งในหน้าหนังสือพิมพ์ และโทรทัศน์กันเลยทีเดียว คือ แอดมิสชั่น หรือ เกณฑ์การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยของรัฐ ที่จะแทนที่ระบบเอนทรานซ์เดิมๆ ผมจะไม่ลงไปในรายละเอียดว่าเหมาะสม หรือไม่เหมาะสม (เพราะคงจะหาอ่านได้จากหนังสือพิมพ์ทั่วไปได้อยู่แล้ว) แต่จะขอพูดถึง "โรงเรียนและวิธีการจัดการศึกษาในโรงเรียน" ที่ผู้ปกครองน่าจะกลัวมากกว่าการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย

ผมพอจะจับประเด็นจากการกล่าวถึงของผู้ปกครองและนักเรียนจากรายการ ถึงลูกถึงคน และจากรายงานข่าวในหนังสือพิมพ์แล้ว พบว่า สิ่งที่ทุกคนกลัวไม่ใช่การกำหนดเกณฑ์ค่า GPA เป็น 40%, 50% หรือ 10% แต่กำลังกลัวเพราะ ไม่เชื่อมั่นในคุณภาพและวิธีการจัดการศึกษาของโรงเรียนมากกว่า เช่น กลัวการให้เกรดเฟ้อของบางโรงเรียน กลัวการกดเกรดของบางโรงเรียน กลัววิธีการเรียนเพื่อมุ่งทำเกรด (เสร็จโก๋ให้ครูสอนพิเศษ โรงเรียนกวดวิชาอยู่ดี) กลัววิธีการวัดและประเมินผลเพื่อหาค่ามาตรฐานกลางให้กับการศึกษาไทยว่าจะทำอย่างไร?

lotto2005 01เมื่อวิธีการจัดการศึกษาในปัจจุบันนั้น มุ่งเน้นให้โรงเรียนมีศักยภาพ และคุณภาพเท่าเทียมกัน ด้วยการลดคุณภาพลงมา อะไรจะเกิดขึ้นกับประเทศนี้ อนาคตของชาติฝากไว้กับมือน้อย (ดวง) ในการจับสลากเข้าเรียน (ถ้าไม่ได้ก็ใช้วิธีการฝากสารพัดวิธี) แทนที่จะใช้วิธีการส่งเสริมให้มีการแข่งขัน และพัฒนาทางสมองอย่างเต็มที่ ด้วยการสอบคัดเลือก เราต้องการเพชรเจียรนัยให้แวววาว ในส่วนพลอยก็ต้องใช้วิธีการเจียรนัยและสร้างคุณค่าในกรรมวิธีที่แตกต่างจากเพชร

เมื่อหนทางข้างหน้าของพวกเขาจะถูกใช้วิธีการเช่นนั้นอยู่แล้ว ณ วันนี้เราจึงได้เห็นมหาวิทยาลัยหลายๆ แห่งพยายามที่จะเปิดรับนักศึกษาโดยวิธีรับตรงกันมากขึ้น เพื่อคว้าเอาเพชรเม็ดงามไปเจียรนัย นั่นเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นว่า วันนี้ ตักศิลาเขามองโรงเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทยด้วยสายตาอย่างไร? เขาเชื่อในค่า GPA นั้นจริงหรือ? พวกเรากำลังหลงตัวเอง หรือหลอกตัวเองไปวันๆ กันแน่

การสอบคัดเลือกเข้าเรียนในทุกๆ ระดับยังมีความจำเป็นอยู่ครับ เพื่อเป็นการคัดกรองผู้เข้าเรียน และจัดกลุ่มการเรียนให้เหมาะสมกับพวกเขา แม้จะมีทฤษฎีร้อยแปดพันเก้าออกมาพล่ามว่าการให้ผู้เรียนที่มีระดับแตกต่างกันทางสมองเรียนร่วมกัน เพื่อให้ความช่วยเหลือกันมีทางสำเร็จได้ในห้องวิจัยและทดลอง แต่ในสถานการณ์จริง ที่บีบรัดของสังคมทุกวันนี้บอกได้เลยว่า ไม่มีทางเป็นไปได้

lotto2005 02ยิ่งกับในโรงเรียนที่ไม่มีกฏเกณฑ์ และการกำหนดขนาดห้องเรียนอย่างปัจจุบัน (ด้วยต้องรับเข้าตามความต้องการและการบีบบังคับของสังคม) จำนวนที่นั่งของนักเรียนในแต่ละห้อง จึงไม่ต่างจากปลากระป๋องหรือเล้าหมูที่แออัดยัดเยียด ครูอย่าได้คิดแม้แต่จะเดินไปหลังห้องเรียน (เห็นทีจะต้องส่งครูไปอบรมที่ต่างประเทศโดยเฉพาะวัดเส้าหลิน เพื่อให้ครูมีวิชาตัวเบา สามารถทะยานไปหลังห้องได้)

การลดขนาดของห้องเรียนลงให้เหมาะสม พัฒนาครูและเทคนิคการสอนให้มากขึ้น กำหนดให้ชัดเจนว่า มหาวิทยาลัยต้องการเพชร หรือพลอยที่มีเหลี่ยมคมอย่างไร ช่างเจียรนัย (ครู) ในโรงเรียนมัธยมจะได้คลำทางถูก ไม่ใช่ให้มาจัดหลักสูตรกันเองตามยถากรรม เจียรนัยได้มุมแหลม มุมป้านแตกต่างปนเปกันไปหมด ตอนนี้ก็เลยได้มรกตเขียวสไปรท์ที่เต็มไปด้วยความวิตกกังวล จนต้องออกมาเรียกร้องกันอยู่นี่แหละ (เพราะไม่มั่นใจว่าที่เรียนๆ อยู่นี่ตรงกับสเปกของมหาวิทยาลัยไหนหรือเปล่า?)

การที่จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย (ซึ่งถือว่าเป็นพี่ใหญ่) ออกมาขว้างหินถามทางว่า อาจจะรับนิสิตนักศึกษาจากการสอบคัดเลือกตรงมากกว่ารับมาจากแอดมิสชั่น ย่อมสะท้อนให้เห็นอะไรหลายๆ อย่างที่กำลังเกิดขึ้นในวงการศึกษาไทย สะท้อนถึงการปฏิรูปการศึกษาที่เป็นการปฏิรูปหน่วยงาน เพื่อการจัดสรรตำแหน่งมากกว่าการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เรื่องนี้พวกเรา (ครูทุกคน) รู้ดีอยู่แล้วจากประสบการณ์ 2-3 ปีที่ผ่านมาเราลำบาก อดทนกับการเปลี่ยนแปลง และสับสนกับการบริหารงานมามากพอแล้ว

lotto2005 03ล่าสุด... ทปอ. ยอมถอยหนึ่งก้าว ปรับลด GPA เหลือ 20% ในการใช้ระบบแอดมิสชั่นปีการศึกษา 2549 คง GPAX 10% เช่นเดิม โอเน็ตจัดสอบครั้งเดียว โดย สทศ. ทำหน้าที่ในการจัดสอบ “คุณหญิงสุมณฑา” ประธาน สทศ. เผย ข้อสอบโอเน็ตออกเนื้อหาคลุมหลักสูตร ม.ปลาย ทั้งแบบปรนัย 80-90% และอัตนัย 10-20% รับประกันความยุติธรรมและโปร่งใสได้มาตรฐานไม่ต่างโทเฟล เชื่อระบบใหม่จะลดความได้เปรียบเด็กมีเงินลง รายละเอียดคงติดตามได้จากหนังสือพิมพ์ครับ... (เชื่อหรือไม่? Believe it or Not!)

มีหลายคนบอกกับผมว่า ผมควรลาออกไปจากการเป็นครู (เพราะปากเสีย พูดตรงเกินไป) ผมไม่ได้โกรธครับแต่อยากจะบอกว่า "ผมอาจจะลาออกจากระบบราชการได้ แต่คงยากและไม่มีวันที่ผมจะลาออกจากความเป็น "ครู"เพราะนั่นคือเส้นเลือดผมมีวิญญาณครูอยู่เต็มเปี่ยม ผมยังพร้อมที่จะสอนและบอกสิ่งที่ผมรู้ให้กับผู้คนอีกต่อไป อยู่เป็นเพื่อนรู้ใจกับครูไทยทุกคน..."

จริงๆ นะครับ!!

ครูมนตรี โคตรคันทา
บันทึกไว้เมื่อ : 30 เมษายน 2548

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)

Our Policy