foto1
ความงดงามการศึกษาไทย
foto1
เพื่อ?
foto1
ไม่เข้าใจ?
foto1
วิทยากรที่กระทรวงศึกษาธิการ สปป.ลาว
foto1
ท่องทะเลทรายที่ดูไบ UAE


Friendly Links

เรียนรู้ภาษา html
isangate banner
easyhome banner
ipst banner
sakdibhornssup foundation
13 Thai free fonts
speedtest
e mil

Facebook Likebox

No. of Page View

webmaster talk

ความจริงที่แสนเจ็บปวด... แต่ไม่มีใครกล้ายอมรับความจริงนั้น...!!???

children 18การปฏิรูปการศึกษาวันนี้ สำเร็จหรือล้มเหลว หรือเป็นเพียงการสลับสับย้ายตำแหน่ง และการบริหารงบประมาณ ด้วยโครงการอภิมหาเมกกะโปรเจกต์ที่อุดมสมบูรณ์ และล้มลุกคลุกคลานมาตลอดในช่วงระยะ 4 ปีที่ผ่านมา

ผลสะท้อนทั้งหลายที่เกิดขึ้นในวันนี้ ไม่เฉพาะแค่ผู้ที่อยู่ในวงการศึกษาเท่านั้นที่รู้สึกว่าล้มเหลว (แต่อย่าถามไปที่หอคอยงาช้างเชียวนะ รู้แล้วคำตอบว่าสำเร็จดียิ่ง ถ้าเทียบกับการใช้เงินงบประมาณได้หมดทุกบาททุกสตางค์) แม้แต่พ่อ-แม่ผู้ปกครองก็รู้สึกเช่นนั้นจริงๆ เราจะวัดความสำเร็จการปฏิรูปการศึกษาที่จุดไหนดีกัน?

หนึ่งในฐานะครู ผู้ได้ลงไปคลุกคลีกับการปฏิรูปการศึกษา จากโรงเรียนนำร่องแม่ไก่ร่างหลักสูตร หนึ่งในฐานะผู้ปกครองที่มีลูกอยู่ในการเรียน ช่วงเริ่มต้นการปฏิรูปจนจบหลักสูตร ผมกล้าพูดได้เต็มปากว่า การปฏิรูปการศึกษาของเรายังคงพายเรือวนในอ่างไม่ไปไหนมาไหนเลย และดูเหมือนจะถดถอยลงด้วยซ้ำ ผมมีเหตุผลที่มาที่ไปของการบอกว่า การปฏิรูปยังเป็นแค่การลูบคลำทางการศึกษา

children 16ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ลองทดสอบเด็กที่อยู่ใกล้เคียงท่านหน่อยเป็นไรว่า การอ่านออก-เขียนได้ด้านภาษาไทยของพวกเขาเป็นอย่างไร? ไม่ต้องถามภาษาอังกฤษหรอก ถ้าไม่ใช่โรงเรียนในเขตเมืองใหญ่ๆ บอกได้เลยว่าต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานมากๆ แค่ให้เขียนตัวอักษรพิมพ์ฬหญ่พิมพ์เล็กก็ได้ไม่ครบแล้ว

เรื่องนี้ผมเคยคุยกับพี่น้องครู ที่สอนในระดับประถมศึกษา ก็มีความรู้สึกว่า น่าเห็นใจเอาการเหมือนกัน เพราะในแต่ละโรงเรียนก็ไม่ได้มีครูที่จบมาทางด้านภาษาอังกฤษกันทุกโรง ครูน้อยไม่ครบทุกสาขา แต่ต้องสอนกันทุกวิชาให้ได้แบบบูรณาการ (ซึ่งความจริงก็ผสมกันไม่ค่อยได้ ไม่รู้จะสร้างความสัมพันธ์กันได้อย่างไร?) ปัญหาทั้งหลายผมว่ามาจากกันที่เราไม่พูดแบบเปิดใจกันมากกว่า เริ่มตั้งแต่ผู้บริหารโรงเรียนก่อน มีความเข้าใจมากน้อยเพียงใด กับการบริหารหลักสูตร มาตรฐานหลักสูตร ที่สำคัญที่นักเรียนต้องผ่านเกณฑ์ ก่อนก้าวเดินผ่านรั้วโรงเรียนออกไป

เราวัดความสำเร็จของการบริหารงานกันที่ใด? นักเรียนพ้นรั้วโรงเรียนออกไปได้ 100% โดยไม่ตกซ้ำชั้น (ไม่สนใจจะอ่านออกเขียนได้ หรือมีความรู้เพียงใด ขึ้นอยู่กับปลายปากกา) รั้ว-ป้ายโรงเรียนขนาดใหญ่บดบังหญ้าที่รกอยู่ข้างใน (ทั้งหญ้าจริงๆ และหญ้าในหัวใจที่ยุ่งเหยิงกับการหาเงินมาบริหาร?) เคยได้ประชุมพูดคุยกับครูในโรงเรียน เพื่อวางแนวทางในการพัฒนามันสมองของชาติอย่างจริงจังกันหรือไม่? จบช่วงชั้นที่ 1 เด็กเราจะต้องทำอะไรได้บ้าง จบช่วงชั้นที่ 2 และ 3 เด็กควรจะทำอะไรได้เป็นอย่างน้อยจึงจะจบออกไป

ในส่วนของครูก็ต้องคุยกันอย่างเปิดใจว่า สาระวิชานี้ในช่วงชั้นไหนจะสอนอะไรถึงไหนจึงจะถือว่าผ่าน เพื่อส่งต่อไปยังช่วงชั้นต่อไป (อย่าคิดว่าธุระไม่ใช่? มันไม่ได้ ช่วงชั้นต่อไปก็ต้องไปสอนกันเอาเอง เพราะถ้าทำอย่างนั้น ในช่วงชั้นอื่นๆ ก็ไม่มีเวลามากพอที่จะสอนในบทบาทของตนเอง เพราะต้องมาย้อนเรื่องเก่าๆ ที่ไม่ผ่านมาก่อนนี่แหละ) เราคงต้องสร้างความร่วมมือกันในทุกระดับ ในหลักสูตรก็ระบุว่า สามารถหาวิทยากรภายนอกในท้องถิ่นมาช่วยเหลือได้ แต่ส่วนใหญ่ก็มักจะไม่ทำกัน อาจจะเป็นเพราะกลัวว่าคนข้างนอกจะรู้ว่า ภายในรั้วโรงเรียนเราเป็นอย่างไรล่ะหรือ? คิดใหม่กันดีกว่านะครับ ความรู้มีไว้แบ่งปันกันดีกว่า

เราทำวันนี้ให้ดีกว่าการปล่อยให้เลยผ่านไป การทำให้ผลผลิตทางการศึกษาของเราเปี่ยมด้วยคุณภาพในวันนี้ ดีกว่าผลักดันพวกเขา (ที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของหลักสูตร) ออกไปสู่สังคม แล้วกลายเป็นปัญหาต่อเนื่องให้แก้ไขกันในวันข้างหน้า ซึ่งอาจจะสูงกว่างบประมาณที่จะให้เขาเรียนซ้ำชั้นเสียอีก ด้วยการใส่ใจสักนิด เพิ่มความสำคัญในการดำเนินการจัดการเรียนการสอน ร่วมมือกันในการยกระดับคุณภาพการศึกษา ลืมเรื่องราวและวิธีการสอนในอดีต มาทำปัจจุบันกันดีกว่า โดยเฉพาะท่านศึกษานิเทศก์ (ศอ นอ ทั้งหลาย) โปรดได้ลืมทฤษฎีที่ท่านไปจำเขามา แล้วเอาความเป็นไปได้ในการจัดการเรียนการสอนมาสร้างสรรค์วิธีการใหม่ๆ กันดีไหม? ผมยังนึกถึงคำกล่าวของผู้ตรวจการศึกษาของทาง สปปล. (เมื่อหลายปีก่อน) "ถ้าบ่สอนกะบ่ฮู้ปัญหา แล้วสิไปแนะนำแก้ปัญหาเขาได้จั่งได๋น้อ ไผสิเชื่อคนบ่เคยเฮ็ดเคยเวียกงานมาก่อน แม่นเว้าได้กะสิบ่ถืกต้องกับปัญหาที่พบที่พ้อดอก" [ อ่านเรื่องเดิม ] นี่แหละของจริงของ ศอ นอ ประเทศเพื่อนบ้านเรา

thai children 02ผมไม่กล้าที่จะบอกว่า โรงเรียนที่ผมทำงานอยู่ประสบผลสำเร็จในการปฏิรูปการศึกษา แม้ภาพที่ปรากฏออกมาจะทำให้เห็นเป็นอย่างนั้น เพราะจริงๆ แล้วเพื่อนครูผมหลายๆ คนก็ยังคงเป็นแบบเดิม เคยสอนมาอย่างไรเมื่อหลายสิบปีก่อน เดี๋ยวนี้ก็ยังเป็นอย่างนั้นก็มีอยู่ ยังมีหลายคนที่กลัวเทคโนโลยี และยังไม่กล้าแม้แต่จะสัมผัสด้วยตนเองตามลำพัง (เว้นแต่ถูกบังคับให้ใช้งานในสถานการณ์ต่างๆ แม้จะพยายามเลี่ยง บรื๊อๆ...) แต่ก็โชคดีที่เรามีกำลังหลักในการพัฒนาหลายๆ ส่วนช่วยกันคิด ช่วยกันทำ คิดนอกกรอบจากหลักการเดิมๆ แสวงหาแนวทางใหม่ๆ ในการพัฒนาและจัดการเรียนการสอน

โรงเรียนนี้อาจจะโชคดีที่เรามีกลุ่มกำลังหลัก ที่เป็นวิทยากรแกนนำ (วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์) ของ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กันหลายคน บางท่านมีผลงานมากมายจนได้รับการแต่งตั้งเป็น "ผู้ทรงคุณวุฒิ" ของ สสวท. และทั้งหมดก็เข้ารับการฝึกอบรมพัฒนาวิทยายุทธกันมาโดยตลอด นำมาถ่ายทอดให้กับเพื่อนครูในโรงเรียน และโรงเรียนเครือข่ายใกล้เคียงอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งงานประกันคุณภาพ และงานหลักสูตรการเรียนการสอนที่เข้มแข็ง เป็นหัวหอกในการพัฒนาคุณภาพทางวิชาการ (แม้ครูหลายๆ คนจะไม่ค่อยชอบใจ เพราะทั้งอบ ทั้งรมกันจนจะเกรียมแล้ว)

childrenอ่านข่าวการศึกษาในสัปดาห์นี้ ก็มีแนวโน้มการปรับปรุงการจัดการศึกษาหลายเรื่อง เริ่มตั้งแต่ระบบแอดมิชชั่นปี 2550 จะไปในทิศทางใด? สำนักทดสอบทางการศึกษาจะกู้ชื่อ กู้หน้า ในการจัดการทดสอบระดับชาติให้ดีขึ้นได้อย่างไร? และที่ผมกำลังติดตามและสนใจมากคือ บทบาทของสภาการศึกษา(สกศ.) ต่อทิศทางการพัฒนาและจัดการศึกษาของชาติ เพราะตั้งแต่เกิดโกลาหลแอดมิชชั่น 2549 สำนักนี้ไม่ได้ออกมามีส่วนในการแสดงความคิด ความเห็น หาแนวทางในการจัดการเลย ก็คงจะต้องติดตามกันต่อไปว่าการศึกษาของเราในภาพรวมจะเป็นอย่างไร?

ประเด็นร้อนๆ ที่ผมเป็นห่วงและน่าติดตามอีกเรื่องหนึ่งก็คือ เรื่องการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ซึ่งปีนี้ขยายวงกว้างออกไปมาก จนหลายคนบอกว่า เป็นโครงการประชานิยมของรัฐบาล ทั้งๆ ที่การศึกษาภาคบังคับนั้น ภาครัฐสนับสนุนจัดให้มีอย่างทั่วถึงอยู่แล้ว กลัวว่านี่จะเป็นการสร้างภาระการใช้เงินอย่างขาดหลักเกณฑ์ ผลกระทบที่ตามมาแน่คือ การเรียกเก็บเงินภาษีจากประชาชนนั่นแหละมากลบหนี้ และภาษีที่ได้เต็มเม้ดเต็มหน่วยก็ภาคข้าราชการนี่แหละ มีคำถามติดต่อกันมามากมายลองติดตามได้จากเมนูข่าวข้างบนนะครับ

ปีที่แล้วทำโครงการเล็กๆ "คอมพิวเตอร์เพื่อน้องในโรงเรียนชนบท" นำครื่องที่ได้จากการบริจาคของเพื่อนๆ และครูในโรงเรียนที่เปลี่ยนเครื่องใหม่ตามสมัยนิยม (ขอเอาดื้อๆ ก็มี) ไปบริจาคให้กับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กที่ อ.น้ำยืน ได้ 6 เครื่องพร้อมเน็ตเวอร์ก ปีนี้ทำโครงการต่อเนื่อง ได้มาอีก 7 เครื่อง วันอังคารที่ 4 กรกฎาคมนี้ จะนำไปติดตั้งให้กับโรงเรียนบ้านแก้งกอก (สพท.อบ.3) พร้อมเน็ตเวอร์กเช่นเดียวกัน ใครมีเครื่องเก่าใช้งานได้แต่อยากเปลี่ยนรุ่นใหม่ๆ ก็บริจาคให้กับโรงเรียนที่ขาดแคลนก็ดีนะครับ

ครูมนตรี โคตรคันทา
บันทึกไว้เมื่อ : 30 มิถุนายน 2549

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)

Our Policy