เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วงชั้นที่ 3

 

ซอฟต์แวร

ทรานซิสเตอร์

 

e- government
     เป็นการทำธุรกรรมระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับประชาชน โดยไม่หวังผลกำไร ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการข้อมูลข่าวสารกับประชาชน

กอดฟริค ฟอนไลน์นิช
(Gottfried Von Leibniz)

     เป็นคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้ประดิษฐ์เครื่องคำนวณที่มีขีดความสามารถในการคูณและหารได้ ในปี พ.ศ. 2237

การเข้าถึงโดยลำดับ
(Sequential Access)

     การเข้าถึงตามลำดับ การกวาดหาข้อมูลจากจุดเริ่มต้นทุกครั้ง เช่น เทปเก็บข้อมูลหรือเทปคาสเซตในเครื่องเล่นสเตอริโอของคุณ วิธีการเช่นนี้ต่างจากการเข้าถึงแบบสุ่มที่กวาดหาข้อมูลจากที่ใดก็ได้ เช่น ซีดีรอม การเข้าถึงข้อมูลตามลำดับมักจะทำงานช้ากว่าแบบสุ่ม

 

การเข้าถึงโดยสุ่ม
(Random Access)
     ความสามารถในการใช้ข้อมูลจากสื่อที่ใช้เก็บ เช่น ดิสก์ หรือ แรม แนวคิดตรงนี้คือ random access ให้ใช้ข้อมูลเก่าโดยไม่ต้องอ่านทุกสิ่งทุกอย่างที่มาก่อนหน้านั้น สิ่งที่ตรงกันข้ามกับ random access คือ sequential access ซึ่งทำงานแบบวิดีโอเทป
การประมวลผลข้อมูล
(Data Processing)
     เป็นกระบวนการที่มีกระบวนการประมวลผลย่อยหลายกระบวนการประกอบกัน ตั้งแต่ การเก็บรวบรวมข้อมูล การตรวจสอบข้อมูล การรวบรวมเป็นแฟ้มข้อมูล การจัดเรียงข้อมูล การคำนวณ การทำรายงาน การจัดเก็บ การทำสำเนา รวมถึงการแจกจ่ายและการสื่อสารข้อมูล

     การประมวลผลข้อมูลเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญ เพราะข้อมูลที่มีอยู่รอบๆ ตัวเรามีเป็นจำนวนมากในการใช้งาน จึงต้องมีการประมวลผลเพื่อให้เป็นสารสนเทศ
การประมวลผลความรอบรู้
(Knownledge Processing)

     เป็นระบบที่ช่วยเสริมการทำงานของผู้บริหาร ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร โดยมีลักษณะการรวบรวม การวิเคราะห์ การประมวลผล และนำไปใช้

 

การประมวลผลแบบกลุ่ม (Batch processing)

     การประมวลผลในเรื่องที่สนใจเป็นครั้งๆ เช่น เมื่อต้องการทราบผลสำรวจความนิยมของประชาชนต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือที่เรียกว่า โพล (poll) ก็มีการสำรวจข้อมูลโดยเก็บรวบรวมข้อมูล เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลได้แล้ว ก็นำมาป้อนเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วนำข้อมูลนั้นมาประมวลผลตามโปรแกรมที่ได้กำหนดไว้ เพื่อรายงานผล หรือสรุปผลหาคำตอบ กรณีการประมวลผลแบบกลุ่มจึงกระทำในลักษณะเป็นครั้งๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ โดยจะต้องมีการรวบรวมข้อมูลไว้ก่อน

 

การประมวลแบบเชื่อมตรง (Online processing)

     การทำงานในขณะที่ข้อมูลเดินทางไปบนสายสัญญาณเชื่อมต่อจากเครื่องปลายทาง (terminal) ไปยังฐานข้อมูลของเครื่องหลักที่ใช้ในการประมวลผล การประมวลผลแบบเชื่อมตรงจึงเป็นการประมวลผลโดยทันทีทันใด เช่น การจองตั๋วเครื่องบิน การซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้า การฝากถอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม การประมวลผลแบบเชื่อมตรงจึงเป็นวิธีการที่ใช้กันมากวิธีหนึ่ง

การประมวลผลแบบรวมศูนย์
(Centralized Computing)

     เป็นการประมวลผลที่เครื่องคอมปลายทางสามารถใช้ได้พร้อมกันหลายเครื่อง มีการนำข้อมูลผ่านเครื่องปลายทางของระบบ เครื่องปลายทางจะมีเพียงคีย์บอร์ด และจอภาพเท่านั้น โดยมีการเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่อยู่ที่สถานที่อื่น เครื่องปลายทางไม่มีหน่วยความจำ หรือหน่วยประมวลผล ดั้งนั้นจึงเก็บข้อมูลหรือประมวลผลใดๆไม่ได้ เครื่องปลายทางจะทำหน้าที่ นำเเข้าและแสดงผลข้อมูลเท่านั้น

กิกะไบต์
(Gigabyte)

     กิกะไบต์ มีค่าประมาณ 1 พันล้านไบต์

 

กิกะเฮริตซ์
(Giga Hertz)

     มีค่าประมาณ 1พันล้านเฮิรตซ์

 

ข้อมูล
(Data)

     ข้อมูลตามแบบที่เหมาะกับการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ เช่น ข้อความ ตัวเลข ภาพกราฟิก หรือ เสียงที่แทนด้วยดิจิตอล

 

ข้อมูลแบบปฏิสัมพันธ์
     ข้อมูลที่มีเกี่ยวเนื่องกัน ข้อมูลที่ต้องทำงานร่วมกัน
เขตกุญแจหลัก
(Primary Key)

     กุญแจหลัก ในระบบจัดการฐานข้อมูล ฟิลด์เดียวหรือหลายฟิลด์ที่ไม่มีข้อมูลและเป็นตัวกำหนดแถวในตารางได้ ในแถวหนึ่ง ๆ จะมีกุญแจหลักได้ตัวเดียว กุญแจหลักมีไว้สำหรับการค้นหาข้อมูลในตารางเพื่อให้ได้รวดเร็ว

 

คอมพิวเตอร์ขนาดตั้งโต๊ะ
(Desktop)

     เป็นคอมพิวเตอรแบบตั้งโต๊ะ

 

คอมพิวเตอร์แบบกริต
(Grid Computer)

     เป็นคอมพิวเตอร์หลายเครื่องบนเครือข่ายคำนวณร่วมกัน เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการคำนวณ
คอมพิวเตอร์แบบขนาน
(Massively Parallel Processor : MPP)

     โปรเซสเซอร์ขนานแบบที่มีจำนวนโปรเซสเซอร์จำนวนมาก
      ระบบคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง ซึ่งประกอบด้วยโปรเซสเซอร์จำนวนมากนำมาเชื่อมต่อให้ทำงานขนานกัน

 

เครื่องขับแผ่นบันทึก
(Disk Drive)
       อุปกรณ์จัดเก็บที่ใช้อ่านและเขียนดิสก์ทั้งแบบแม่เหล็ก และออปติคอล ช่องใส่ดิสก์ 3 แบบที่ใช้กันทั่วไป ได้แก่ ช่องใส่ ฟลอปปีดิสก์ ช่องใส่ฮาร์ดิสก์ และช่องใส่คอมแพคดิสก์

เครื่องใช้บริการ
(Client)

     ผู้ขอใช้บริการ, ซอฟต์แวร์ที่ใช้ขอเชื่อมต่อหรือขอบริการข้อมูลจากผู้ให้บริการ
     1. ในเรื่อง Lan คือ คอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมที่ขอใช้บริการข้อมูลจากตัวให้บริการ อาจจะเป็นเครื่องพีซีหรือสถานีงานบนเครือข่าย เช่นระบบงานในตัวให้บริการแฟ้ม และยังทำงานเป็นอิสระจากตัวให้บริการเครือข่ายได้โดยใช้ระบบงานที่ตัวผู้ใช้บริการ เช่น เวิร์ดโปรเซสเซอร์ที่ไม่อยู๋ในเครือข่าย โดยโปรแกรมที่อยู่บนผู้ใช้บริการนี้ไม่แบ่งข้อมูลให้ใช้กันระหว่างผู้ใช้ได้สะดวกนัก
     2. โปรแกรมบนวินโดวส์ที่รับข้อมูลผ่าน DDE


เครื่องให้บริการ
(Server)

     ตัวให้บริการ, คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมเครือข่ายทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการแฟ้ม การพิมพ์ การสื่อสาร และงานบริการอื่น ๆ คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ในเครือข่ายทุกเครื่องจะต่อเข้ามาและขอใช้ดิสก์กับเครื่องพิมพ์ที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์



โครงข่ายดิจิตทัล
     โครงข่ายที่รวมการให้บริการต่างๆ ในลักษณะของ สัญญาณดิจิตอลไว้ภายในโครงข่ายเดียวกันเพื่อให้บริการกับผู้ใช้บริการ
จอห์น มอชลี
(John Mouchly)

     จอห์น มอชลี และ เจ เพรสเปอร์ เอคเคิร์ท ได้ร่วมกันสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกมีชื่อว่า ENIAC ( Electronic Numerical Integer and Calculator ) เป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกที่ใช้หลอดสูญญากาศ

จอห์น วอน นอยแมน
(John Von Neumann)

     ได้เสนอแนวคิดใน การสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยความจำเพื่อใช้เก็บข้อมูล และโปรแกรมทำงานหรือชุดคำสั่งของคอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์จะทำงานโดยเรียกชุดคำสั่งที่เก็บไว้ในหน่วย
ความจำมาทำงาน หลักการนี้เป็นหลักการที่ใช้มาจนถึง ปัจจุบัน การเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์ในยุคนี้มีการพัฒนาหน่วยความจำถาวรที่เก็บข้อมูลได้จำนวนมาก

 

จานแม่เหล็ก
(Magnetic Disk)
      เป็นสื่อกลางในการนำข้อมูลเข้าหรือแสดงข้อมูลออก มีลักษณะเป็นแผ่นโลหะบางกลมคล้ายแผ่นเสียง ส่วนใหญ่ทำด้วยพลาสติกฉาบด้วย ออกไซด์ของเหล็ก ซึ่งสามารถเหนี่ยวนำให้เป็นสารแม่เหล็กไฟฟ้าได้ โดยจุดที่เหนี่ยวนำให้มีสภาพเป็นแม่เหล็ก จะใส่รหัสเป็น 1 ถ้าไม่มีอำนาจแม่เหล็กจะใส่รหัสเป็น 0 ซึ่งจะสามารถ
นำ 2 สภาวะนี้มาผสมกันเป็นรหัสข้อมูลชนิดต่างๆ ได้
เจ เพรสเปอร์ เอ็คเคิร์ท
(J.Presper Eckert)

    เจ เพรสเปอร์ เอคเคิร์ท และจอห์น มอชลี ได้ร่วมกันสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกมีชื่อว่า ENIAC ( Electronic Numerical Integer and Calculator ) เป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกที่ใช้หลอดสูญญากาศ

ชาร์ลส์ แบบเบจ
(Charles Babbage)

    นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2343 เขาประสบผล สำเร็จในการสร้างเครื่องคำนวณที่เรียกว่า ดิฟเฟอเรนซ์เอนจิน
(Difference engine)
ต่อมาในปี พ.ศ. 2354 เขาเริ่มต้นโครงงานในการพัฒนาเครื่องคำนวณแบบใหม่ที่เรียกว่า
แอนาไลติคอลเอนจิน (Analytical engine) ที่มีลักษณะคล้ายกับเครื่องคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ คือมีหน่วยความจำ หน่วยคำนวณ และวิธีการที่จะให้เครื่องทำงานตามคำสั่งจนได้ผลลัพธ์ออกมา เขาต้องใช้เวลาและทุ่มแรงงานจำนวนมากในการประดิษฐ์ แต่
เนื่องจากเครื่องแอนาไลติคอลเอนจิน ต้องใช้กลไกจำนวนมากและต้องใช้ชิ้นส่วนที่มีความละเอียดสูง ซึ่งเทคโนโลยีในขณะนั้นไม่สามารถรองรับการผลิตชิ้นส่วนเหล่านั้นได้ทำให้เครื่องจักรที่เขาผลิตขึ้นมานั้นไม่สามารถใช้งานได้ และได้รับการยกย่องว่า " เป็นบิดาแห่งวงการคอมพิวเตอร์ "


ซอฟต์แวร์
(Software)

       โปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเภทใดก็ได้ ตั้งแต่ระบบปฏิบัติการ เช่น ดอส โปรแกรมอำนวยประโยชน์ ระบบงาน จนกระทั่งโปรแกรมที่เก็บอยู่ในรอม



ซี พี ยู,หน่วยประมวลผลกลาง
(Central Processing Unit :CPU)

       หน่วยประมวลผลกลาง, ชิปเล็กๆ ในเครื่องพีซีที่ควบคุมคอมพิวเตอร์ทั้งหมด บางครั้งเรียกว่า “สมอง” ของคอมพิวเตอร์ เพราะทำการคำนวณขั้นพื้นฐาน

ซี อาร์ ที
(Cathode Ray Tube)
       หลอดรังสีคาโธด, อุปกรณ์แสดงผลถึงที่ใช้ในจอคอมพิวเตอร์และจอโทรทัศน์ ส่วนแสดงผล CRT ประกอบด้วยหลอดแก้วสุญญากาศที่มีปืนยิงอิเล็กตรอน 1 สีสำหรับจอภาพแบบสีเดียว หรือ 3 สีสำหรับจอแสดงผลแบบหลายสี ลำแสงอิเล็กตรอนจากปืนเหล่านี้จะกวาดไปมาอย่างรวดเร็วภายในจอภาพ จากมุมซ้ายบนมายังมุมขวาล่างของจอภาพภายในจอภาพจะฉาบด้วยจุดเรืองแสงนับพันที่จะสว่างขึ้นมาเมื่อมีลำแสงอิเล็กตรอนมากระทบ การที่จะไม่ทำให้ภาพเลือนหายไปเสียก่อน ลำแสงต้องกวาดไปได้ที่อัตรา 43 และ 87 ครั้งต่อวินาที ขึ้นความคงทนของความเรืองแสง ผนวกกับภาวะการกวาดจอภาพที่ใช้ว่าเป็น interiaced หรือ non – interiaced ซึ่งรู้จักกันในนามว่าอัตราการกระตุ้นที่มีหน่วยเป็นเฮิรตซ์ ข้อแนะนำจาก The Video Electronics Standards Association (VESA) ให้มีอัตราการกระตุ้นในแนวตั้งที่ 72 เฮิรตซ์ แบบ non – interiaced ที่ความละเอียด 800 x 600 พิกเซล
ซีเอไอ
(Computer – Assistect Instruction : CAI )

       โปรแกรมช่วยสอน, โปรแกรมบทเรียนช่วยสอน, การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการสอน

ไซลินเดอร์
(Cylinder)

    ฮาร์ดดิสก์ที่มีแพลตเตอร์ (platter) ตั้งแต่ 2 อันขึ้นไป แต่ละอันมี 2 ด้าน แต่ละด้านแบ่งออกเป็นวงย่อยๆ ตามแนวศูนย์กลางเรียกว่า แทร็ก และทุกแทร็กที่อยู่ในตำแหน่งวงเดียวกันบนดิสก์เรียกว่า ไซลินเดอร์




ดรัมแม่เหล็ก 
( Magnetic Drum)

     วัสดุรูปทรงกระบอกที่หมุนรอบแกนด้วยความเร็ว ที่ผิวนอก ฉาบด้วยสารแม่เหล็ก ในการบันทึกข้อมูลลงบนพื้นผิวของดรัม จะบันทึกผ่านหัวบันทึก (write head) และอ่านข้อความออกโดยหัวอ่าน (read head) ดรัมจึงเป็นได้ทั้งหน่วยรับข้อมูล (input) และหน่วยแสดงผล (output) มีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลน้อยกว่าแถบบันทึก (tape) แต่ยังช้ากว่าจานบันทึก (disk)

 
ดอส
(Disk Operating System)

       1. ระบบปฏิบัติการที่ต้องมีแม้จะใช้วินโดวส์ก็ตาม เดิมไมโครซอฟท์พัฒนาให้ไอบีเอ็มพีซี ดอสมี 2 รุ่นที่คล้ายกันมาก คือ เอ็มเอสดอสที่ไมโครซอฟท์พัฒนาและจัดจำหน่ายให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบไอบีเอ็ม และพีซีดอสที่ไอบีเอ็มให้ขายและให้บริการกับเครื่องที่ไอบีเอ็มผลิตเท่านั้น ดอสอีกรุ่นหนึ่งพัฒนาโดยดิจิตอลรีเซิร์ชเรียกว่า (DR DOS) แต่ตอนนี้โนเวลล์เป็นเจ้าของไปแล้ว จึงมีชื่อว่าโนเวลล์ดอส (Novell DOS)
     2. คำสั่ง ดอสใน CONFIG.SYS ที่บรรจุระบบปฏิบัติการเข้าไปไว้ในหน่วยความจำปกติ หน่วยความจำเพิ่ม หรือกลุ่มหน่วยความจำที่อยู่สูงกว่าโดยอยู่ในคอมพิวเตอร์ที่ใช้โปรเซสเซอร์อินเทล 80386 ขึ้นไป คุณต้องบรรจุดีไวซ์ไดรเวอร์ HIMEM.SYS เข้าหน่วยความจำก่อนด้วยคำสั่ง DEVICE ใน CONFIG. SYS ก่อนที่จะใช้คำสั่ง DOS ได้


ดาวเทียม
(Satellite)

     เป็นสถานีรับส่งสัญญาณไมโครเวฟที่มีจานรับและจานส่งคลื่นความถี่ขนาดใหญ่ เวลาทำงานจะลอยอยู่บนอวกาศ  สถานีดังกล่าวจะทำการติดต่อสื่อสารกับสถานีความพื้นดินที่มีจานรับส่งสัญญาณไมโครเวฟเหมือนกัน

 

ดิฟเฟอเรนซ์เอนจิน
(Difference Engine)

     เป็นต้นกำเนิดของเครื่องจักรวิเคราะห์ของ ชาร์ลส์ แบบเบจ ซึ่งถือเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลก ถูกสร้างในปี 1821 มีส่วนประกอบที่ทำด้วยมือประมาณ 2,000 ชิ้น และองค์ประกอบอื่นๆ อีกประมาณ 25,000 ชิ้น มีน้ำหนักประมาณ 3 ตัน แต่สร้างไม่สมบูรณ์


โดเมน
(Domain)

     กลุ่มของคอมพิวเตอร์ กลยุทธ์การจัดองค์ประกอบในฐานข้อมูล แต่มักจะเป็นรายชื่อคอมพิวเตอร์บนอินเทอร์เน็ต

     โดเมนที่นิยมใช้กันมีหลายโดเมนดังนี้

โดเมน ประเภทของระบบคอมพิวเตอร์
com  บริษัท ธุรกิจ ผู้ค้า
edu   สถาบันการศึกษา
gov   หน่วยงานราชการของสหรัฐฯ (ที่ไม่ใช่ทหาร)
int     องค์กรระหว่างประเทศ
mil    หน่วยงานทหารของสหรัฐฯ โดยเฉพาะ
org   องค์กรต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ที่กล่าวมา
net    เครือข่าย ทรัพยากรบนเครือข่าย

 
ทรานซิสเตอร์
(Transistor)

     อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ที่แทนหลอดสุญญากาศมีสามขา คือ Collector, Base, Emitter, องค์ประกอบของสารกึ่งตัวนำซึ่งทำหน้าที่คล้ายสวิตซ์คอยควบคุมทางไหลของกระแสไฟฟ้าทรานซิสเตอร์จะเข้าไปอยู่รวมกันในไมโครโปรเซสเซอร์อันทันสมัยเป็นล้านตัว


เทปคาร์ทริดจ์
(Cartridge Tape)
     ส่วนที่จัดเก็บตัวเทปเอง โดยจะเก็บคล้ายวิดีโอคาสเซตต์ เทปคาร์ทริดจ์นี้มีไว้ใช้กับการเก็บสำรองระบบฮาร์ดดิสก์

เทปแม่เหล็ก
(Magetic Tape)

     เป็นสื่อกลางในการนำข้อมูลเข้าหรือแสดงข้อมูลออก ประดิษฐ์ครั้งแรกโดยชาวเยอรมัน ใช้สำหรับบันทึกเสียงหรือข้อมูลบนเทป ลักษณะของเทปแม่เหล็กจะเป็นแผ่นยาว ทำจากสารพลาสติกที่เรียกว่า ไมลาร์ (Mylar) ซึ่งฉาบด้วยออกไซด์ของเหล็ก(Iron Oxide) สามารถนำกลับมาใช้บันทึกซ้ำได้อีก การบรรจุข้อมูลลงบนเทป กระทำโดยการสร้างสนามแม่เหล็กบนเนื้อเทป กล่าวคือ จะทำการบันทึกข้อมูลเป็นจุด โดยจุดต่างๆ นี้ จะมีสถาพ 2 สภาวะคือ มีอำนาจแม่เหล็กและไม่มีเทปแม่เหล็ก


โน้ตบุ๊ก
(Notebook)

     คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่โยกย้ายได้ มีจอภาพแบนและแป้นพิมพ์ที่พับเข้าหากันได้ มีขนาดเล็กและเบากว่าแบบวางตัก ในปัจจุบันนี้มีแบตเตอรี่ซึ่งพัฒนาไปมากจนกระทั่งทำงานได้นานถึง 9 ชั่วโมง ก่อนที่จะนำไปอัดกระแสไฟ

 

บัตรเจาะรู
(Punched Card)

     เป็นการประมวลผลข้อมูลแบบเก่าที่ไม่ค่อยคล่องตัว ใช้แผ่นกระดาษหลายๆแผ่นในการส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ จะแปลงรูปแบบของรูที่ตอก หรือเจาะบนแผ่นกระดาษนั้นให้เป็นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์

 

บิต
(Bit)
     หน่วยพื้นฐานของข้อมูลในระบบเลขฐานสองที่แทนค่าด้วย 0 หรือ 1 บิต มักใช้เพื่อจัดความสามารถของไมโครโปรเซสเซอร์ที่จะประมวลผลข้อมูลเรานำบิตมาจัดกลุ่มเข้าด้วยกันเพื่อสร้างหน่วยเก็บที่ใหญ่กว่าได้ ซึ่งมักจัดเป็นกลุ่มละ 8 บิต นั่นคือ 1 ไบต์ โดยที่ 1 ไบต์ จะแทนข้อมูลได้ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นตัวอักษร ตัวเลข 0 ถึง 9 และ เครื่องหมายวรรคตอน แต่ถ้าจัดกลุ่มละ 4 บิต เรียกว่า นิบเบิล (nibble)
เบลส์ ปาสคาล
(Blaise Pascal)

     นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ได้ประดิษฐ์เครื่องคำนวณ เครื่องคำนวณของปาสคาลเป็นเครื่องที่
บวกและลบด้วยกลไกลเฟืองที่ขบต่อกัน เพื่อให้มีการเคลื่อนไหวเกี่ยวเนื่องกันในปี พ.ศ. 2185 ปัจจุบันมีผู้ผลิตตามโครงร่างของปาสคาล โดยใช้วัสดุพลาสติก และวางขายตามศูนย์การค้า เครื่องคำนวณของปาสคาลจึงเป็นเครื่องคำนวณกลไกที่รู้จักแพร่หลายเป็นอย่างดี
ต่อมาในปี พ.ศ. 2237

 

บลูทูธ
(Bluetooth)

     เป็นเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายส่วนบุคคล เทคโนโลยีนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการส่งข้อมูลระยะสั้น รัศมีประมาณ 10 เมตร โดยใช้คลื่นวิทยุไปยังอุปกรณ์ไร้สาย

ไบต์
(Byte)
       จำนวนของหน่วยความจำ 8 บิต ที่ใช้เก็บตัวอักขระ 1 ตัว จะเป็นอักษรหรือตัวเลขก็ได้
ประมวลผล,การประมวลผล
(Processing)
     เป็นการประมวลผลข้อมูลต่างๆ ตามคำสั่งที่ได้รับ โดยใช้หน่วยประมวลกลางเป็นตัวประมวลผลข้อมูล
ปาล์มทอป
(Palmtop)

     เป็นคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาให้สามารถใช้งานได้สะดวกมากขึ้น โดยสามารถใช้งานอยู่บนฝ่ามือเท่านั้น น้ำหนักเบาและพกพาสะดวก ใช้ซอฟต์แวร์ ที่เป็นลักษณะเฉพาะของปาล์มเอง

ไปรษณีย์อิเล็คทรอนิกซ์
(Electronic mail:E-mail)

     เป็นโปรแกรมที่ใช้เชื่อมโยงเอกสารระหว่างกัน โดยสามารถส่งจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้ทั้งที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกันหรือต่างกันได้


ภาษาโคบอล
(Cobol)
       ภาษาคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสำหรับใช้ในงานด้านธุรกิจ โปรแกรมภาษาโคบอลคล้ายกับประโยคภาษาอังกฤษทั่วไป
ภาษาจาวา
(Java)

     เป็นภาษาแบบ OOP (Object Oriented Programming) มีโครงสร้างคล้ายภาษา C++ แตกต่างกันที่ Java นั้นเมื่อคอนไพล์ แล้วจะได้รหัสไบต์โค้ดและทำงาในลักษณะอินเทอร์พรีต โปรแกรม Java แบ่งออกได้เป็น 2 แบบคือ แบบที่เป็นแอปพลิเคชัน จะมีตัวโปรแกรมที่สามารถทำงานได้เองโดยไม่ต้องพึ่งโปรแกรมอื่นๆ และแบบแอปเพล็ต จะมีลักษณะคล้ายโปรแกรมเล็ก ๆ ที่จะต้องทำงานผ่านโปรแกรมอื่น ๆ ซึ่งเป็นแบบที่นิยมใช้ผานระบบเครือข่าย


ตัวอย่างภาษาจาวา

ภาษาซี
(C)

     เป็นภาษาที่เหมาะสำหรับใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์อื่นๆ ภาษาซีเป็นภาษาที่มีความคล่องตัวสำหรับการเขียนโปรแกรมหรือให้คอมพิวเตอร์ติดต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ


ตัวอย่างภาษาซี

ภาษาเบสิค
(Basic)

       เป็นภาษาที่มีรูปแบบคำสั่งไม่ยุ่งยาก สามารถเรียนรู้และเข้าใจได้ง่าย มีรูปแบบคำสั่งพื้นฐานที่สามารถนำมาเขียนเรียงต่อกันเป็นโปรแกรมได้


ตัวอย่างภาษาเบสิค

ภาษาปาสคาล
(Pascal)

     เป็นภาษาสั่งงานคอมพิวเตอร์ที่มีรูปแบบเป็นภาษาโครงสร้าง เขียนสั่งงานคอมพิวเตอร์เป็นกระบวนความ ผู้เขียนสามารถแบ่งแยกงานออกเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วมารวมกันเป็นโปรแกรมขนาดใหญ่ได้


ตัวอย่างภาษาปาสคาล

ภาษาโลโก
(Logo)

     เป็นภาษาที่เหมาะสำหรับการเรียนรู้และเข้าใจหลักการโปรแกรม ภาษาโลโกได้พัฒนาสำหรับการเรียนรู้ของเด็ก

มัลติโพรเซสเซอร์
(Multiprocessor)

     เป็นไมโครโปรเซสเซอร์หลายๆตัวในคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวกัน

ตัวอย่างมัลติ โพรเซสเซอร์

มินิคอมพิวเตอร์
(Minicomputer)

     ระบบคอมพิวเตอร์ขนาดกลางที่จัดการกับผู้ใช้ได้เกิน 100 คนพร้อมๆกัน เหมาะที่จะใช้ในบริษัทขนาดเล็ก หรือกิจการเจ้าของเดียว



เมกะไบต์
(Megabyte)
       ค่าประมาณ 1 ล้านไบต์
      1 เมกะไบต์ = 1,024 กิโลไบต์ หรือ 1,048,576 ไบต์ มักใช้กับหน่วยความจำคอมพิวเตอร์และความจุของฮาร์ดดิสก์
เมนเฟรม
(Mainframe)

     เป็นระบบคอมพิวเตอร์แบบหลายผู้ใช้ขนาดใหญ่มากและทำงานได้รวดเร็ว ออกแบบมาให้จัดการกับข้อมูลจำนวนมหาศาลและทำงานที่ซับซ้อน เมนเฟรมมักใช้กันในบริษัทขนาดใหญ่ มหาวิทยาลัย หรือกองทหาร และมีผู้ใช้นับพัน

แมคอินทอช
(Macintosh)

       เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แมคอินทอช ส่วนมากนำไปใช้งานด้านกราฟิก ออกแบบและจัดแต่งเอกสาร นิยมใช้ในสำนักพิมพ์ต่างๆ

ไมโครโพรเซสเซอร์
(Microprocessor)

     คือชิป ประมวลผลกลาง ในไมโครคอมพิวเตอร์ ไมโครโพรเซสเซอร์ที่ใช้กันทั่วไป ได้แก่ อินเทล เพนเทียม ไมโครโพรเซสเซอร์ควบคุมฟังก์ชันหลักของคอมพิวเตอร์ส่วนมาก แต่เพิ่มเติมได้ด้วยชิบโพรเซสเซอร์ร่วม

ยูนิกซ์
(Unix)
     เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาตั้งแต่ครั้งใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่เป็นเทคโนโลยีแบบเปิด (open system) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่ต้องผูกติดกับระบบใดระบบหนึ่งหรือใช้อุปกรณ์ที่มียี่ห้อเดียวกัน ยูนิกซ์ยังถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองการใช้งานในลักษณะที่มีผู้ใช้ได้หลายคนในเวลาเดียวกันที่เรียกว่า ระบบหลายผู้ใช้ (multiusers) และสามารถทำงานได้หลายๆ งานในเวลาเดียวกันในลักษณะที่เรียกว่า ระบบหลายภารกิจ (multitasking) ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์จึงนิยมใช้กับเครื่องที่เชื่อมโยงเป็น เครือข่ายเพื่อใช้งานร่วมกันหลายๆ เครื่องพร้อมกัน

รหัสแทนข้อมูล
     รหัสที่กำหนดขึ้นมาเพื่อแทนข้อความ ตัวเลข หรือสัญลักษณ์ต่างๆ เพื่อนำไปใช้ประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งรหัสแทนข้อมูลนี้ก็คือ เลขฐาน 2 นั่นเอง
รหัสภาษาเอชทีเอ็มแอล
(HyperText Markup Language :HTML)

       เป็นภาษาหนึ่งที่ใช้สร้างเว็บเพจ เมื่อเข้าไปยังเอกสาร เอสทีเอ็มแอล บนอินเทอร์เน็ตโดยใช้ WWW บราวเซอร์ ซึ่งตามปกติเราจะไม่เห็นส่วนประกอบของรหัสภาษาเอชทีเอ็มแอล แต่จะเห็นตัวหนังสือ ภาพกราฟิกและเชื่อมโยงไปยังเอกสารอื่นรวมอยู่ด้วยกัน


รหัสมอร์ส
(Morse Code)
     รหัสมอร์สคิดค้นโดย แซมมวล มอร์ส ในปัจจุบันนำมาใช้เป็นรหัสโทรเลข เป็นรหัสที่ใช้สัญลักษณ์ จุด(.) แดช(_) และการเว้นช่องว่าง( ) แทนข้อความต่างๆ เช่น _._ เป็นต้น
รอม
(Read Only Memory)

     เป็นหน่วยความจำถาวร การเก็บข้อมูลไม่ขึ้นกับกระแสไฟฟ้า ใช้เก็บโปรแกรมควบคุมระบบ ที่เรียกว่า BIOS (Basic Input Output System) ทำหน้าที่ควบคุม การรับ  แสดงผลในระดับพื้นฐานติดต่อสั่งการอุปกรณ์ข้างเคียงที่ต่อพ่วงอยู่กับหน่วยระบบ ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเริ่มงานได้ เมื่อเปิดเครื่อง


ระบบคลัสเตอร์
(Cluster)

     เป็นระบบที่มีกลุ่มของเซกเตอร์ซึ่งเป็นเนื้อที่สำหรับจัดเก็บข้อมูลบนดิสก์

ระบบคอมพิวเตอร์คลัสเตอร์ที่ใช้ในการสร้างภาพยนตร์เรื่องไททานิก


แรม
(Read Access Memory :RAM)

     เป็นหน่วยความจำที่สามารถอ่านหรือเขียนข้อมูล ลงบนตำแหน่งใดๆก็ได้โดยการสุ่ม แบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ
     1 .SRAM (static RAM) มีความเร็วในการอ่าน - เขียน ข้อมูลสูง เนื่องจากไม่ต้อง Refresh ข้อมูลเป็นระยะๆ ราคาค่อนข้างสูง
     2. DRAM (dynamic RAM) มีความเร็วในการอ่าน - เขียน ข้อมูลต่ำ เนื่องจากใช้หลักการของตัวเก็บประจุในการเก็บข้อมูล ทำให้มีการวิ่งของประจุ จึงต้องมีการ Refresh ประจุตลอดเวลาที่มีการใช้งาน


ลินุกซ์
(Linux)

       เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาจากระบบยูนิกซ์ เป็นระบบซึ่งมีการแจกจ่ายโปรแกรมต้นฉบับให้นักพัฒนาช่วยกันพัฒนาคุณสมบัติของระบบปฏิบัติการ ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์เป็นที่นิยมกันมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากมีโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ที่ทำงานบนระบบลีนุกซ์จำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในกลุ่มของกะนู ( Gun’s Not Unix : GNU) และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือระบบลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการประเภทแจกฟรี (freeware) ผู้ใช้สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

เลขที่อยู่ไอพี
(IP-address)
       ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ในรูปของชื่อโดเมน ช่วยให้ผู้ใช้จดจำและเรียกใช้งานได้สะดวก แต่ในการติดต่อสื่อสารที่เกิดขึ้นจริง คอมพิวเตอร์จำเป็นต้องใช้เลขที่ประจำเครื่องในรูปของรหัสตัวเลขที่ไม่ซ้ำกับเครื่องอื่นใด เช่น 203.144.44.0 เป็นต้น
แลนไร้สาย
(Wireless Lan)

       คือการเชื่อมต่อในระบบเครือข่าย โดยไม่ใช้สาย แต่เป็นการติดต่อสื่อสารผ่านคลื่นวิทยุ หรือแสงอินฟราเรด

วงจร วี แอล เอส ไอ
(Very Large Scale Intergration :VLSI)

     เป็นวงจรรวมความจุสูงมาก ประกอบด้วยทรานซิสเตอร์พันล้านตัว มารวมในแผ่นซิลิคอนขนาดเล็ก ใช้สำหรับผลิตเป็นหน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์

วงแหวนแม่เหล็ก
(Magnetic Core)

   วงแหวนแม่เหล็กมีลักษณะเป็นรูปวงแหวนทำด้วยเหล็ก เหล็กออกไซด์หรือเฟอไรต์ มีคุณสมบัติเป็นแม่เหล็กเมื่อมีกระแสไฟผ่าน ใช้ประโยชน์ในการเก็บบันทึกข้อมูล แต่เดิมมาแกนแม่เหล็กนี้เป็นส่วนเล็ก ๆ อยู่ในหน่วยความจำ ซึ่งถือเป็นหน่วยสมองหลัก ใช้เป็นที่ประมวลผล เรียกว่า magnetic core memory หรือ หน่วยความจำวงแหวนแม่เหล็ก ปัจจุบันไม่นิยมใช้แล้ว หันมาใช้สารกึ่งตัวนำชนิดอื่นแทน  

 

วินโดว์
(Windows)

       เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาต่อจากดอส โดยให้ผู้ใช้สามารถสั่งงานได้จากเมาส์มากขึ้นแทนการใช้แผงแป้นอักขระเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ยังสามารถทำงานหลายงานพร้อมกันได้ โดยงานแต่ละงานจะอยู่ในกรอบช่องหน้าต่างบนจอภาพ การใช้งานเน้นรูปแบบกราฟิก ผู้ใช้งานสามารถใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้เพื่อเลือกตำแหน่งที่ปรากฏบนจอภาพ ทำให้ใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ง่าย ระบบปฏิบัติการวินโดวส์จึงได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน

สารสนเทศ
(Information)
       ข้อมูลที่ผ่านกระบวนการเก็บรวบรวม เรียบเรียง เพื่อใช้เป็นแหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้
เส้นใยนำแสง
(Fiber Optic)

     สายเคเบิลใยแก้วนำแสงแก้วบางๆทำเป็นเส้นๆ ใช้เพื่อนำสัญญาณแสงในการสื่อสาร ใยแก้วนำแสงนิยมใช้กันในระบบเครือข่ายภายในอันทันสมัยเพราะสายประเภทนี้ไม่อ่อนไหวตามรังสีและการรบกวนอย่างอื่น


หน่วยควบคุม
(Control Unit)

       ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผล โดยพื้นฐาน ส่วนควบคุมทำงานเป็น 2 จังหวะ คือ
     1) รับคำสั่ง ชุดคำสั่งจะถูกอ่านจากหน่วยความจำ แล้วนำมาสร้างสัญญาณควบคุม
     2) ปฏิบัติ สัญญาณควบคุม จะถูกส่งไปยังส่วนต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ เพื่อสั่งการให้มีการบวก ลบ คูณ หาร เปรียบเทียบ หรือเคลื่อนย้ายข้อมูล


หน่วยความจำรอง

       ทำหน้าที่เก็บข้อมูล โปรแกรมและผลลัพธ์จากหน่วยความจำหลัก โดยปกติหน่วยความจำหลักสามารถจัดเก็บ ได้เฉพาะช่วงที่มีกระแสไฟฟ้าเลี้ยงวงจร สามารถจัดเก็บข้อมูลได้โดยไม่ขึ้นกับกระแสไฟฟ้า และมีความจุไม่จำกัด ตัวอย่างอุปกรณ์ ได้แก่ แผ่นบันทึก แผ่นซีดี ฮาร์ดดิสก์ เทปแม่เหล็ก ฯลฯ

 

หน่วยความจำหลัก

       ทำหน้าที่เก็บโปรแกรม ข้อมูล และผลลัพธ์ ที่เกิดจากการประมวลผล หน่วยประมวลผลกลางจะติดต่อกับหน่วยความจำหลัก เพื่ออ่าน - เขียนโปรแกรมข้อมูล และผลลัพธ์ต่างๆโดยตรง

หน่วยคำนวณและตรรกะ
(Arithmetic – logic Unit :ALU)

       ทำหน้าที่สำคัญๆ ดังนี้
     1) คำนวณ บวก ลบ คูณ หาร
     2) เปรียบเทียบข้อมูล ว่ามากกว่า น้อยกว่า เท่ากับ ซึ่งให้ผลลัพธ์ออกมาเป็นสภาวะทางตรรกะ "จริง" หรือ "เท็จ" ซึ่งในการทำงานข้างต้น ต้องอาศัยวงจรคำนวณและตรรกะอันเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์

หน่วยประมวลผลกลาง
(Central Processing Uni t:CPU)

       หน่วยประมวลผลกลาง ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูล โดยทำตามโปรแกรมที่เก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก

      

ซึพึยู
ไมโครโพรเซสเซอร์
หน่วยรับข้อมูล
(Input Unit)

       หน่วยรับข้อมูล ทำหน้าที่ รับข้อมูลและโปรแกรมเข้าไปจัดเก็บในหน่วยความจำหลัก แล้วนำไปประมวลผลที่ซีพียู ตัวอย่างอุปกรณ์ที่เป็นหน่วยรับข้อมูล ได้แก่ แป้นพิมพ์ เมาส์ เครื่องอ่านแผ่นบันทึก เครื่องอ่านแผ่นซีดี ฯลฯ

หน่วยส่งออก
(Output Unit)

       หน่วยส่งออก ทำหน้าที่ นำข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลมาแสดง ตัวอย่างอุปกรณ์ ได้แก่ จอภาพ เครื่องพิมพ์ เครื่องวาด

      เครื่องพิมพ์

หนังสือบนแผ่นซีดี
(electronic book : e – book)

     เป็นหนังสือออน์ไลน์สามารถดาว์นโหลดมาอ่านผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์มือถือ

     

ตัวอย่างของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่าอีบุ๊ก


หลอดสุญญากาศ

     เป็นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่มีขนาดใหญ่ ใช้กระแสไฟมากเพื่อเผาไส้หลอดให้เกิดประจุอิเล็กตรอน

ออปติคัลดิสก์
(Optical Disk)
       สื่อบันทึกคอมพิวเตอร์หรือช่องใส่ดิสก์ที่ทำงานด้วยการใช้ลำแสงหรือลำแสงเลเซอร์ ออปติคัลดิสก์มีราคาแพงและช้า ส่วนดีคือความจุในการเก็บบันทึกได้มากกว่าใช้ช่องใส่ดิสก์แบบแม่เหล็ก

อาร์พาเน็ต
(ARPAnet)
       เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของสหรัฐอเมริกาที่สร้างขึ้นโดยกระทรวงกลาโหม เพื่อศึกษาการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่าย และพัฒนาต่อมาจนกระทั่งกลายเป็นอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ต
(Internet)

     เป็นเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในโลก ประกอบด้วยเครือข่ายย่อยเป็นจำนวนมากต่อเชื่อมเข้าด้วยกันภายใต้มาตรฐานเดียวกันจนเป็นสังคมเครือข่ายขนาดใหญ่


อินทราเน็ต
(Intranet)

     เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อภายในองค์กร ซึ่งนำซอฟต์แวร์ หรือฮาร์ดแวร์แบบอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้

อีดีไอ
(Electronic Data Interchange: EDI)
       เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ คือการส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์หรือค้าขายระหว่างธุรกิจ โดยโปรแกรมประยุกต์ของบริษัททั้ง 2 ฝ่าย จะติดต่อสื่อสารส่งข้อมูลระหว่างกัน โดยมีแบบฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นมาตราฐาน ใช้กันมากระหว่างผู้ผลิตกับผู้ขายส่ง
แอนนาไลติคอลเอนจิน
(Analytical engine)

     เป็นเครื่องจักรคำนวณที่มีหลักการทำงานเบื้องต้นใกล้เคียงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน จะมีวงล้อ ทำหน้าที่ในส่วนคณิตศาสตร์

แอล ซี ดี
(Liquid Crystal Display : LCD)

       แอล ซี ดีเป็นเทคโนโลยีส่วนแสดงผล เป็นส่วนแสดงผลที่ใช้กันในเครื่องคิดเลขพกพา นาฬิกาข้อมือ และคอมพิวเตอร์แบบวางตัก ส่วนแสดงผลแบบ แอล ซี ดี นี้กินไฟน้อยกว่ามอนิเตอร์แบบธรรมดา แต่ไม่ชัดนัก

ไอซี , วงจรรวม
(Integrated Circuit : IC)

     ไอซี ประกอบด้วยทรานซิสเตอร์จำนวนมากที่ต่อเป็นวงจรรวมบนแผ่นซิลิกอน เป็นวงจรสารกึ่งตัวนำเล็กๆ


ฮาร์ดดิสก์
(Hard Disk)

     ส่วนของช่องใส่ดิสก์มี่เป็นโลหะที่มีสารแม่เหล็กเคลือบปิดผนึกอย่างแน่นหนาในกล่อง และนำมาใช้เพื่อเก็บข้อมูลมหาศาล


ฮาร์ดแวร์
(Hardware)

     ส่วนประกอบอิเล็คทรอนิกส์ทางกายภาพของคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ โมเด็ม มอนิเตอร์ และแป้นพิมพ์ที่สัมผัสได้

เฮริตซ์
(Hertz)
       หน่วยวัดความถี่ของกระแสไฟฟ้า มักใช้ในปริมาณมากที่จะวัดความเร็วของคอมพิวเตอร์ และย่อเป็นเมกกะเฮิรตซ์ ใน 1 เฮิรตซ์จะมีค่าเท่ากับจำนวนรอบต่อวินาที