| หมวด ก และ ข | หมวด ค และ ง | หมวด จ, ช, ซและ ฐ | หมวด , ด, ต, ท, น และ, บ |
หมวด ป, ผ, พ, ฟ, ภ, ม และ ย | หมวด ร และ ล | หมวด ว, ส และ ห | หมวด อ และ ฮ |
หมวด ค และ ง
 
คลัสเตอร์ (cluster computer)
ด้วยขีดความสามารถของไมโครโพรเซสเซอร์ที่สูงขึ้นมาก ทำให้ไมโครคอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถเชิงการคำนวณได้สูง และเพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพสูงจึงมี ผู้ออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ต่อร่วมกันเป็นเครือข่ายและให้การทำงานร่วมกันในรูปแบบการคำนวณเป็นกลุ่มหรือที่เรียกว่าคอมพิวเตอร์ประเภทนี้จึงทำการคำนวณแบบขนานและสามารถคำนวณทางวิทยาศาสตร์ได้ดี
 
คอมพิวเตอร์ใช้งานส่วนบุคคล (Personal Computer : PC)
คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยประมวลผล กลางเป็นไมโครโพรเซสเซอร์ ใช้งานง่าย ทำงานในลักษณะส่วนบุคคล
 
คอมแพ็กแฟลช (compact flash)
หน่วยความจำ ซึ่งเป็นแผ่นซิลิกอนเล็กๆ ที่บรรจุวงจรอิเล็กทรอนิกส์ไว้จำนวนมาก มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบาเหมาะกับการพกพา เมื่อต้องการย้ายข้อมูลรูปภาพในคอมแพ็กแฟลชมาเก็บในเครื่องคอมพิวเตอร์ต้องใช้สายเชื่อมต่อจากกล้องมายังเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อเป็นสื่อ (media) หรือเส้นทางในการย้ายข้อมูล
 
คอมโพเนนต์ (component)
เครื่องมือหรือชิ้นส่วนที่ผู้พัฒนาต้องใช้ในการสร้างงานไว้ให้สามารถเรียกใช้งานได้โดยที่ไม่ต้องลงมือสร้างเองระบบเตรียมไว้ให้ ซึ่งอาจเป็นปุ่ม (button) ข้อความ (label) ช่องสำหรับกรอกข้อความ (edit text) รูปภาพ (image)
 
คอมไพเลอร์ (compiler)
เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการแปลโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาระดับสูงที่เรียกกันว่า โปรแกรมต้นฉบับ (source program) ให้เป็นโปรแกรมภาษาเครื่อง (object program) ถ้ามีข้อผิดพลาดเครื่องจะพิมพ์รหัสหรือข้อผิดพลาดออกมาด้วย ภายหลังการแปลถ้าไม่มีข้อผิดพลาด ผู้ใช้สามารถสั่งประมวลผลโปรแกรมและสามารถเก็บโปรแกรมที่แปลภาษาเครื่องไว้ใช้งานต่อไปได้อีกโดยไม่ต้องทำการแปลโปรแกรมซ้ำอีก
 
คำสั่งกำหนดค่า (assignment statement )
เป็นคำสั่งใช้ในการกำหนดค่าให้กับตัวแปรซึ่งได้ประกาศไว้ในส่วนประกาศ
 
คำสั่งควบคุมลำดับการทำงาน (control statement)
เป็นการควบคุมเกี่ยวกับการทำงานตามเงื่อนไขและการทำงานแบบทำซ้ำตามที่ได้ออกแบบไว้ โดยคำสั่งดังกล่าวจะสอดคล้องกับการทำงานของโครงสร้างควบคุม
 
คำสั่งนำข้อมูลเข้า (input statement)
เป็นคำสั่งที่สั่งให้นำข้อมูลจากอุปกรณ์ รับเข้าซึ่งอาจเป็นแผงแป้นอักขระเข้าสู่หน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ โดยข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำไปเก็บในตัวแปรที่มีการประกาศในส่วนประกาศ
 
คำสั่งนำข้อมูลออก (output statement)
เป็นคำสั่งให้แสดงผลลัพธ์หรือข้อความที่ต้องการออกทางอุปกรณ์ส่งออก เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์
   
คำสำคัญ (keyword)
คำที่มีความหมายพิเศษในภาษาโปรแกรม บางครั้งเรียกว่า คำสงวน เช่น คำว่า CALL เป็นคำหลักในภาษาเบสิก คำว่า CASE เป็นคำสำคัญในภาษาปาสคาล และในเวิร์ดโปรเซสเซอร์ คำสำคัญคือ คำที่ใช้ค้นหาคำในข้อความ คำเหล่านี้ จะทำให้เกิดคำในภาษาโปรแกรม หรือชุดคำสั่งและโปรแกรมเอื้อประโยชน์ของระบบปฏิบัติการ
 
คุณลักษณะ (attribute)
ลักษณะประจำของอุปกรณ์หรือข้อมูล เช่น การกำหนดให้ข้อมูลในโปรแกรมแสดงตัวอักษรขนาดกี่พอยต์ หน้าต่างข้อมูลมีขนาดเล็กหรือใหญ่เต็มจอภาพ เป็นต้น เราสามารถปรับเปลี่ยนลักษณะประจำนี้ได้ตามความต้องการในภายหลัง
 
เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN)
การนำคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและคอมพิวเตอร์อื่นๆ รวมถึงอุปกรณ์รอบข้างต่างๆ ที่อยู่ภายในบริ้วณที่จำกัดเฉพาะที่ เช่น ภายในอาคารหรือบริเวณมหาวิทยาลัยเดียวกัน มาเชื่อมโยงกันโดยสายเคเบิล เพื่อให้ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ใช้อุปกรณ์รอบข้างร่วมกัน รวมถึงใช้โปรแกรมและข้อมูลที่เก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์เฉพาะกิจที่เรียกว่า เครื่องบริการแฟ้ม (file server) การทำงานในลักษณะนี้จะช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายของผู้ใช้ได้เนื่องจากสามารถใช้โปรแกรมและอุปกรณ์ของข่ายงานได้โดยไม่ต้องเสียเงินซื้อของตนเอง
เครือข่ายแบบดาว (star topology)
เป็นการเชื่อมต่อสายสื่อสารแบบจุดต่อจุด โดยสถานีทุกสถานีในเครือข่ายจะต่อเข้ากับหน่วยสลับสายกลางแบบจุดต่อจุด การติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้ด้วยการติดต่อผ่านทางวงจรของหน่วยสลับสายกลาง การทำงานของหน่วยสลับสายกลางจึงคล้ายกับศูนย์กลางของการต่อวงจรเชื่อมโยงระหว่างสถานีต่างๆ ที่ต้องการติดต่อกัน
 
เครือข่ายแบบบัส (bus topology)
เป็นรูปแบบที่มีผู้นิยมใช้มากแบบหนึ่ง เพราะมีโครงสร้างไม่ยุ่งยากและไม่ต้องใช้อุปกรณ์สลับสาย การเชื่อมต่อมีลักษณะเป็นแบบหลายจุด สถานีทุกสถานีรวมทั้งอุปกรณ์ทุกชิ้นในเครือข่ายจะเชื่อมต่อเข้ากับสาย สื่อสารหลักเพียงสายเดียวเรียกว่า แบ็กโบน (backbone)
การจัดส่งข้อมูลลงบนบัสจึงสามารถ ทำให้การส่งข้อมูลไปถึงทุกสถานีได้ผ่าน สายแบ็กโบนนี้ การจัดส่งวิธีนี้ต้องกำหนดวิธีการที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกันเพราะจะทำให้ข้อมูลชนกัน โดยวิธีการที่ใช้อาจเป็นการแบ่งช่วงเวลา หรือให้แต่ละสถานีใช้ความถี่สัญญาณที่แตกต่างกัน
 
เครือข่ายแบบวงแหวน (ring topology)
เป็นลักษณะการเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุดเช่นเดียวกับ แบบดาว โดยสถานีแต่ละสถานีจะต่อกับสถานี ที่อยู่ติดทั้งสองข้างของตนเอง และทุกสถานีมีเครื่องขยายสัญญาณของตัวเอง โดยจะมีการเชื่อมโยงเครื่องขยายสัญญาณของแต่ละสถานีเข้าด้วยกันเป็น วงแหวน สัญญาณข้อมูลจะส่งอยู่ในวงแหวนแบบ จุดต่อจุดไปในทิศทางเดียวกันจนถึงผู้รับภายในเวลาที่ กำหนด โดยเครื่องขยายสัญญาณเหล่านี้จะมีหน้าที่ในการรับข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเองหรือจากเครื่องขยายสัญญาณตัวก่อนหน้า
และส่งข้อมูลต่อไปยังเครื่องขยายสัญญาณ ตัวถัดไปเรื่อยๆ เป็นวง หากข้อมูลที่ส่งเป็นของสถานีใด เครื่องขยายสัญญาณของสถานีนั้น ก็รับและส่งให้กับสถานีนั้น จึงต้องมีการตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับว่าเป็นของตนหรือไม่ ถ้าใช่ก็รับไว้ ถ้าไม่ใช่ก็ส่งต่อไป อีกทั้งสามารถตรวจสอบความผิดพลาดในการส่งด้วยในกรณี ที่เครื่องรับปลายทางไม่ได้รับสัญญาณข้อมูลในเวลาที่กำหนด จะมีการแจ้งว่าเกิดความผิดพลาดในเครือข่ายได้
 
เครือข่ายอินเทอร์เน็ต (internet)
ระบบการเชื่อมโยงข่ายงานคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มากครบคลุมไปทั่วโลก เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการการสื่อสารข้อมูล เช่น การบันทึกเข้าระยะไกล (remote login) การถ่ายโอนแฟ้ม ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ และกลุ่มอภิปราย อินเทอร์เน็ตเป็นวิธีในการเชื่อมโยงข่ายงานคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ซึ่งขยายออกไปอย่างกว้งขวางเพื่อการเข้าถึงของแต่ละระบบที่มีส่วนร่วมอยู่
   
เครื่องกราดตรวจ (scanner)
อุปกรณ์ที่ใช้การสแกนสัญญาณเพื่อตรวจสอบข้อมูลในลักษณะตัวอักษรและภาพ แล้วแปลงเป็นสัญญาณดิจิทัลส่งเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งที่สแกนแล้วสามารถเก็บไว้ในแฟ้มเพื่อรวมเข้ากับแฟ้มในโปรแกรมอื่นๆ ได้เช่น โปรแกรมประมวลคำ และโปรแกรมจัดหน้าเอกสาร
   
เครื่องขับ (drive)
อุปกรณ์สำหรับบันทึกและอ่านข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น หน่วยขับแผ่นบันทึก เรียกว่า floppy disk drive ถ้าเป็นหน่วยขับซีดี-รอม จะเป็นการอ่านข้อมูลอย่างเดียวและมีทั้งแบบติดตั้งภายในเครื่งอคอมพิวเตอร์หรือเป็นเครื่องเล่นภายนอกก็ได้
   
เครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (desktop computer)
เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กได้รับการออกแบบมาให้ตั้งบนโต๊ะ มีการแยกชิ้นส่วนประกอบเป็น ซีพียู จอภาพ และแผงแป้นอักขระ
   
เครื่องคำนวณสเต็ปเรคคอนเนอร์ (Stepped Reckoner)
เครื่องคำนวณที่มีความสามารถในการคูณ หาร และหารากที่สองได้ ประดิษฐ์โดยนักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อ กอดฟริด ฟอน ไลบ์นิช
   
เครื่องคำนวณปาสคาล (Pascal calculator)
เครื่องคำนวณที่ทำงานแบบเครื่องจักรกล เป็นเครื่องคำนวณที่มีชื่อเสียง ใช้คำนวณการบวกลบเลขที่แท้จริง ประดิษฐ์ขึ้นโดยนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสชื่อ เบลส ปาสคาล (Blaise Pascal)
 
เครื่องปลายทาง (terminal)
อุปกรณ์ในการนำข้อมูลและคำสั่งเข้าระบบคอมพิวเตอร์และรับผลลัพธ์มาสดงผล เครื่องปลายทางจะประกอบด้วยแผงแป้นอักขระและจอภาพ โดยเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง แผงแป้นอักขระจะทำให้เราสามารถติดต่อกับคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางได้ และจอภาพจะแสดงผลสิ่งที่คอมพิวเตอร์สั่งกลับมายังเรา เครื่องปลายทางนี้จะใช้ในระบบหลายผู้ใช้ (multiuser system) เครื่องปลายทางบางเครื่องจะไม่มีหน่วยประมวลผลซึ่งนับว่าเป็นสมองของคอมพิวเตอร์อยู่ด้วย และไม่มีหน่วยขับจานบันทึกของตนเอง เรียกว่า เครื่องปลายทางใบ้ (dumb terminal) แต่บางเครื่องจะมีหน่วยประมวลผลหรืออาจมีหน่วยขับจานบันทึกอยู่ด้วยก็ได้ เพื่อให้สามารถบรรจุลงสารสนเทศและนำมาแสดงผลภายหลัง เรียกว่า เครื่องปลายทางเก่ง (smart terminal) คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลจะนับว่าเป็นเครื่องปลายทาง เมื่อมีการเชื่อมต่อกับข่ายงานไม่ว่าจะโดยการใช้สายเคเบิลหรือโมเด็มก็ตาม
 
เครื่องผู้ใช้บริการ (client)
เป็นคำที่ใช้ในความหมายของข่ายงาน หมายถึง สถานีงานที่มีความสามารถในกระบวนการทำงานหลายๆ อย่าง เช่น คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่สามารถขอข้อมูลหรือใช้โปรแกรมต่างๆ จากเครื่องบริการของข่ายงาน (network server) ได้
 
เครื่องพิมพ์แบบจุด (dot matrix printer)
 
เป็นเครื่องพิมพ์ขนาดเล็ก มีราคาถูก คุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดี ใช้งานได้ทั่วไป และที่เรียกว่าเครื่องพิมพ์แบบจุดเนื่องรูปลักษณะตัวอักษรที่พิมพ์ออกมาจะเป็นจุดเล็ก ๆ อยู่ในกรอบ เช่น ตัวอักษรที่มีความละเอียดในแนวทางสูงของตัวอักษร 24 จุด และความกว้างแต่ละตัวอักษร 12 จุด ขนาดแมทริกซ์ของตัวอักษรจะมีขนาด 24X12 จุด
เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึก (inkjet printer)
 
เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึกทุกรุ่นใช้หลักการฉีดหมึกเป็นจุดเล็ก ๆ ไปบนกระดาษ ด้วยเทคโนโลยีการพ่นหมึกทำให้สามารถใส่ท่อหมึกได้หลายท่อ และมีหมึกสีต่าง ๆ จึงทำให้เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึกสามารถพิมพ์ภาพสีได้ เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึกเป็นเครื่องพิมพ์ราคาถูก และได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเพราะสามารถพิมพ์ภาพสีได้สวยงาม
ความละเอียดการพิมพ์ยังมีขีดจำกัดโดยมีความละเอียดการพิมพ์ไม่น้อยกว่า 360 จุดต่อนิ้ว ความเร็วในการพิมพ์ยังไม่มากนัก เพราะจำเป็นต้องมีการพิมพ์จุดสีจำนวนมาก ซึ่งต้องอาศัยที่พักข้อมูลภายในสำหรับข้อมูลภาพขนาดใหญ่ เครื่องพิมพ์ประเภทนี้มีราคาที่แข่งกับเครื่องพิมพ์ประเภทอื่นได้ แต่ยังมีข้อเสียที่หมึกพิมพ์มีราคาแพง และถ้าหากต้องการให้ได้ภาพที่สวยงามจะต้องใช้กระดาษพิเศษ ซึ่งมีราคาแพงกว่ากระดาษใช้งานทั่วไป
 
เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (laser printer)
 
เป็นเครื่องพิมพ์ที่กำลังได้รับความนิยม เครื่องพิมพ์นี้อาศัยเทคโนโลยีไฟฟ้าสถิตย์ที่พบได้ในเครื่องถ่ายเอกสารทั่วไป โดยลำแสงจากไดโอดเลเซอร์ (diote laser) จะฉายไปยังกระจกหมุน เพื่อสะท้อนไปยังลูกกลิ้งอย่างรวดเร็ว
สารเคลือบบนลูกกลิ้งจะทำปฏิกิริยากับแสงแล้วเปลี่ยนเป็นประจุไฟฟ้าสถิตย์ ซึ่งทำให้ผงหมึกเกาะติดกับพื้นที่ที่มีประจุ เมื่อกระดาษพิมพ์หมุนผ่านลูกกลิ้ง ความร้อนจะทำให้ผงหมึกหลอมละลายติดกับกระดาษได้ภาพหรือตัวอักษรตามต้องการ เนื่องจากลำแสงเลเซอร์ได้รับการควบคุมอย่างแม่นยำ ทำให้ความละเอียดของจุดภาพที่ปรากฏบนกระดาษสูงมาก งานพิมพ์จึงมีคุณภาพสูงทำให้ได้ภาพและตัวหนังสือที่คมชัดสวยงาม การพิมพ์ของเครื่องพิมพ์เลเซอร์จะไม่ส่งเสียงดังเหมือนเครื่องพิมพ์แบบจุด
 
เครื่องแม่ข่าย (server)
คอมพิวเตอร์ที่มีราคาแพงที่สุดแต่ไม่มีใครใช้งานได้เพราะเอาไว้ทำหน้าที่ควบคุมเครือข่ายทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการแฟ้ม การพิมพ์ การสื่อสาร และงานบริการอื่นๆ เครื่องแม่ข่ายเป็นเครื่องเพียงเครื่องเดียวที่คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ในเครือข่ายทุกเครื่องต่อเข้ามาและขอใช้ริการ
 
เครื่อแม่ข่ายบริการเว็บ (web server)
โปรแกรมที่รับการร้องขอ (request) สำหรับสารสนเทศที่เป็นไปตามกฏเกณฑ์ในการส่งไฮเพอร์เท็กซ์ (HTTP) ในเวิลด์ไวด์เว็บ เครื่องบริการจะประมวลการร้องขอเหล่านี้และส่งเอกสารไปให้ตามที่ร้องขอ เครื่องแม่ข่ายบริการเว็บได้มีการพัฒนาไว้สำหรับระบบคอมพิวเตอร์เกือบุกระบบ รวมถึงสถานีงานยูนิกซ์ ระบบไมโครซอฟต์ วินโดวส์ 98, ไมโครซอฟต์วินโดวส์ เอ็นที และระบบแม็กอินทอช
 
เครื่องอ่านพิกัด (digitizing tablet)
หรืออาจเรียกว่าแผ่นระนาบกราฟิก (graphic tablet)เป็นอุปกรณ์รับเข้าที่มีส่วนประกอบ 2 ชิ้น ได้แก่กระดานแบบสี่เหลี่ยมที่มีเส้นแบ่งเป็นตาราง (grid) ของเส้นลวดที่ไวต่อสัมผัสสูง และปากกาที่ทำหน้าที่เป็นตัวชี้ตำแหน่งหรือวาดรูปบนกระดาษข้างต้น คอมพิวเตอร์สามารถรับรู้ตำแหน่งของกระดานที่มีการสัมผัสหรือวาดเส้นที่วาดและแสดงบนจอภาพได้ อุปกรณ์ชิ้นนี้มักใช้ในการออกแบบรถยนต์หรือหุ่นยนต์
เครื่องอ่านรหัสแท่ง (bar code reader)
สำหรับเครื่องอ่านรหัสแท่งเป็นอุปกรณ์ที่คิดค้นขึ้นเป็นนำเข้าข้อมูลที่เป็นรหัสแท่งโดยเฉพาะ โดยก่อนที่จะนำระบบการอ่านรหัสแท่งมาใช้ในงานใดๆ ต้องกำหนดมาตรฐานของรหัสแท่งที่ใช้เสียก่อน เช่น ในซูเปอร์มาร์เก็ตนิยมใช้มาตรฐานยูพีซี (Universal Product Code : UPC) ซึ่งเข้ารหัสโดยใช้ตัวเลขความยาว 12 ตัว โดยตัวเลขแต่ละตัวจะมีความหมายที่สามารถ 
อ้างถึงสินค้าได้ในขณะที่หน่วยงานอื่น เช่น โรงเรียน โรงงานมักนำมาตรฐานโค้ด 39 (Three of Nine) มาใช้งานเนื่องจากมีความยืดหยุ่นกว่า เพราะสามารถเข้ารหัสได้ทั้งตัวเลข ตัวอักษรภาษาอังกฤษและอักขระพิเศษ นอกจากนี้ยังสามารถขยายความยาวของรหัสได้ตามต้องการด้วย  การทำงานของเครื่องอ่านรหัสแท่งใช้หลักการของการสะท้อนแสง โดยเครื่องอ่านจะส่องลำแสงไปยังรหัสแท่งที่อยู่บนสินค้าแล้วแปลงรหัสที่อ่านได้เป็นสัญญาณไฟฟ้า ส่งผ่านสายที่เชื่อมต่ออยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ชิ้นนี้นำไปประมวลผล ซึ่งโดยมากมักเป็นซอฟต์แวร์ทางด้านฐานข้อมูล เช่น ถ้าเป็นการขายสินค้า เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์รับสัญญาณจากเครื่องอ่านจะรับรู้ว่าสินค้าชนิดใดถูกขายไป ซอฟต์แวร์จะสั่งให้ไปดึงข้อมูลราคาของสินค้าชนิดนั้นขึ้นมาแสดงที่จอภาพ ในขณะเดียวกันจะไปลดจำนวนสินค้าชนิดนั้นออกจากข้อมูลสินค้าคงคลัง เครื่องอ่านรหัสแท่งนี้ได้รับความนิยมมากเนื่องจากสามารถอำนวยความสะดวกในการนำเข้าข้อมูล แทนนำเข้าข้อมูลผ่านแผงแป้นอักขระ สามารถลดความผิดพลาดระหว่างการนำเข้าข้อมูล และยังช่วยให้การทำงานเป็นอีตโนมัติเนื่องจากสามารถเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลได้
 
โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล (Integrated Services Digital Network : ISDN)
โครงข่ายที่พัฒนามาจากโครงข่ายโทรศัพท์แบบดิจิทัล โดยการผนวกโครงข่ายโทรศัพท์และโครงข่ายระบบข้อมูลเข้าเป็นโครงข่ายเดียวกัน ไอเอสดีเอ็นสามารถรับส่งสัญญาณจากการสื่อสารระบบต่างๆ เช่น การส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม สายเคเบิลใต้น้ำ และจะถ่ายทอดสัญญาณดิจิทัลเพื่อให้บริการได้หลายรูปแบบในเวลาเดียวกันด้วยความเร็วสูง ถูกต้อง และประหยัด โดยใช้สัญญาณผ่านเส้นใยแก้วนำแสง เส้นใยแก้วนำแสงแต่ละเส้นจะใช้แทนที่ชุมสายของอุปกรณ์แต่ละประเภท ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ปลายทางของตนเข้ากับโครงข่ายนี้เพื่อรับสัญญาณหลายรูปแบบ ทั้งภาพ เสียง และตัวอักษรได้ในเวลาเดียวกัน อย่างสมบูรณ์ครบถ้วน เลขหมายไออสดีเอ็นหนึ่งหมายเลขสามารถพ่วงเครื่องปลายทาง (เช่น โทรศัพท์ โทรสาร คอมพิวเตอร์ ฯลฯ) ได้สูงสุด 8 เครื่อง และสามารถใช้บริการในช่วงเวลาเดียวกันได้ 2 เครื่อง เช่น ในขณะที่พูดโทรศัพท์อยู่ก็สามารถส่งโทรสารได้ด้วย เป็นต้น
 
โครงสร้างแบบทำซ้ำ (repetition structure)
คือ โครงสร้างที่ขั้นตอนการทำงานบางขั้นตอนได้รับการประมวลผลมากกว่า 1 ครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขบางประการ โครงสร้างแบบทำซ้ำนี้ต้องมีการตัดสินใจในการทำงานซ้ำ และลักษณะการทำงานของโครงสร้างแบบนี้มี 2 ลักษณะ ได้แก่ แบบที่มีการตรวจสอบเงื่อนไขในการทำซ้ำทุกครั้งก่อนดำเนินการกิจกรรมใดๆ ถ้าเงื่อนไขเป็นจริงจะทำงานซ้ำไปเรื่อยๆ และหยุดเมื่อเงื่อนไขเป็นเท็จ เรียกการทำงานลักษณะนี้ว่า การทำซ้ำแบบ do while และแบบที่ทำกิจกรรมซ้ำเรื่อยๆ จนกระทั้งเงื่อนไขที่กำหนดเป็นจริงแล้วจึงหยุดการทำงาน โดยแต่ละครั้งที่เสร็จสิ้นการดำเนินการแต่ละรอบจะต้องมีการตรวจสอบเงื่อนไข เรียกการทำซ้ำลักษณะนี้ว่า การทำซ้ำแบบ do unti
 
โครงสร้างแบบมีทางเลือก (selection structure)
คือ โครงสร้างที่มีเงื่อนไข ขั้นตอนการทำงานบางขั้นตอนต้องมีการตัดสินใจเพื่อเลือกวิธีการประมวลผลขั้นต่อไป และจะมีบางขั้นตอนที่ไม่ได้รับการประมวลผล การตัดสินใจอาจมีทางเลือก 2 ทางหรือมากกว่าก็ได้ โครงสร้างที่มีทางเลือกเพียง 2 ทางเราเรียกชื่อว่า โครงสร้างแบบ if…then…else และโครงสร้างที่มีทางเลือกมากกว่า 2 ทาง เราเรียกชื่อว่า โครงสร้างแบบ case
 
โครงสร้างแบบลำดับ (sequential structure)
คือ โครงสร้างแสดงขั้นตอนการทำงานที่เป็นไปตามลำดับก่อนหลัง และแต่ละขั้นตอนจะถูกประมวลผลเพียงครั้งเดียวเท่านั้
 
งานคอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ (Computer Aided Design : CAD)
การใช้คอมพิวเตอร์และซอฟแวร์ในการออกแบบต่างๆ ในงานด้านอุตสาหกรรมหรือสถาปัตยกรรด้วยความรวดเร็ว เช่น การออกแบบชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์ หรือการออกแบบบ้าน เป็นต้น เมื่อออกแบบแล้วจะสามารถทดลองประกอบชิ้นงนหรือจำลองการทำงานเพื่อค้นหาข้อบกพร่องก่อนที่จะผลิตออกมาเป็นงานจริงได้