บทที่ 6 > 6.5 การโปรแกรมแบบเชิงวัตถุ > 6.5.2 ภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ 6/34  
     
  6.5.2 ภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ  
 
            ภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุที่กำลังได้รับความนิยมสูงในขณะนี้ภาษาหนึ่งคือ ภาษาจาวา ซึ่งนักเรียนได้เคยศึกษามาบ้างแล้วในบทที่ 5 ในบทนี้เรากล่าวถึงการสร้างซอฟต์แวร์ประยุกต์ด้วยภาษาจาวา เนื่องจากความยืดหยุ่นของซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นจากภาษาจาวา คือสามารถทำงานได้บนระบบปฏิบัติการทุกระบบ อีกทั้งสามารถสร้างงานประยุกต์บนอินเทอร์เน็ตโดยสามารถทำงานบนซอฟต์แวร์ค้นผ่านเว็บได้ การเติบโตของภาษานี้จึงควบคู่ไปกับการเติบโตของระบบอินเทอร์เน็ต ปัจจุบันผู้พัฒนาโปรแกรมหันมาให้ความสนใจและเลือกใช้ภาษานี้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์มากขึ้น การสร้างซอฟต์แวร์จากภาษาจาวามีหลักการและโครงสร้างเดียวกับการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาซี มีการสร้างงานแบบเชิงวัตถุ เราอาจสรุปข้อดีที่ทำให้ภาษาจาวามีจุดเด่นกว่าภาษาอื่นๆ ได้ดังนี้
 
     
 
 
  1. ภาษาจาวาสามารถเรียนรู้ได้ง่าย เนื่องจากภาษาจาวาได้รับการออกแบบมาให้ง่ายต่อการเรียนรู้ ไม่มีความซับซ้อนมากเท่ากับภาษาซีแต่ประสิทธิภาพใกล้เคียงกัน<
  2. ภาษาจาวาสามารถสร้าง ซอฟต์แวร์ประยุกต์ บนระบบปฏิบัติการ ทุกระบบ ซึ่งต่างจาก ภาษาคอมพิวเตอร์ หลายภาษาที่สามารถสร้างงานที่ทำงานได้บนระบบปฏิบัติการระบบใดระบบหนึ่งเท่านั้น
  3. ภาษาจาวาสามารถสร้างงานที่ประยุกต์บน อินเทอร์เน็ต ได้ ทั้งนี้นอกจากจะสามารถสร้าง ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ที่สามารถทำงานได้ด้วยตัวเองแล้ว ภาษาจาวายังสามารถสร้างงานที่เรียกว่า แอปเพล็ต (applet) ซึ่งเป็นชิ้นงานที่สามารถทำงานบนซอฟต์แวร์ค้นผ่านโดยทำงานร่วมกับภาษา HTML
  4. ภาษาจาวาเป็นภาษาที่มีการเขียนโปรแกรมแบบเชิงวัตถุ ซึ่งได้กล่าวมาแล้วว่าสามารถนำส่วนย่อยๆ ของโปรแกรมที่สร้างไว้แล้วกลับมาใช้งานใหม่ได้โดยไม่ต้องเริ่มสร้างใหม่แต่ต้น
 
         นักเรียนลองพิจารณาตัวอย่างโปรแกรมที่สร้างภาษาจาวาที่ทำหน้าที่เดียวกับโปรแกรมในรูปหน้า 27 ซึ่งเขียนด้วยภาษาปาสคาลในตัวอย่างรูปที่ 6.10  
     
 
ก่อนหน้า   ถัดไป