|
บทที่ 6 > 6.6 การโปรแกรมแบบจินตภาพ >
6.6.3 ตัวอย่างการพัฒนาโปรแกรมภาษาเดลฟาย |
6/45 |
|
|
|
|
|
6.6.3 ตัวอย่างการพัฒนาโปรแกรมภาษาเดลฟาย |
|
|
|
จากตัวอย่างในรูปหน้าที่
36 นักเรียนได้เห็นโปรแกรมที่พัฒนาโดยใช้ภาษา ปาสคาลและภาษาจาวามาแล้ว
จะเห็นว่าการพัฒนาโปรแกรมทั้งสอง ผู้พัฒนาต้องเข้าใจคำสั่งในการสั่งงานคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี จึงจะสามารถเขียนโปรแกรมได้
แต่สำหรับภาษาเดลฟาย ผู้พัฒนาอาจสร้างโปรแกรมโดยไม่ต้องลงมือเขียนคำสั่งลงในส่วนของหน้าต่างเอดิเตอร์เลย
ตัวอย่างในรูปด้านล่างแสดงให้เห็นว่าใน
การเขียนโปรแกรมแบบจินตภาพ ผู้พัฒนาโปรแกรมไม่จำเป็นต้องทราบการลงรหัสโปรแกรมภาษาเดลฟาย ก็สามารถสร้างงานได้เพียงแต่แก้ไข
หรือปรับเปลี่ยนคุณสมบัติของคอมโพเนนต์ที่อยู่บนฟอร์มเท่านั้น
จากตัวอย่าง ผู้พัฒนาทำงานบน หน้าต่างคุณสมบัติ ของคอมโพเนนต์ ที่ชื่อ Panel1 โดยกำหนดข้อความ "Hello Delphi"
ในคุณสมบัติ และแก้ไขคุณสมบัติรูปแบบตัวอักษรบนหน้าต่างเดียวกัน ตัวอักษร "Hello
Delphi" ที่ปรากฏอยู่บนฟอร์มก็มีการเปลี่ยนแปลง |
|
|
 |
ขั้นตอนการสร้างโปรแกรมดังกล่าว
เกี่ยวข้องกับหน้าต่างทั้ง 3
ของภาษาเดลฟายดังนี้ |
|
 |
|
การทำงานกับหน้าต่างฟอร์ม |
 |
|
การทำงานกับหน้าต่างเอดิเตอร์ |
 |
|
การทำงานกับหน้าต่างคุณสมบัติของวัตถุ |
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
|
|
|
|
จากการศึกษาในบทนี้นักเรียนได้เข้าใจถึงกระบวนการในการแก้ปัญหา
ซึ่งบางครั้งปัญหาเหล่านั้นอาจเป็นปัญหาที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือช่วยในการลงมือแก้ปัญหา
นักเรียนต้องสามารถแบ่งปัญหาออกเป็นส่วนๆ และเป็นขั้นตอนที่ชัดเจน
หลังจากนั้นสามารถเลือกเครื่องมือในการจำลองความคิดและขั้นตอนวิธีที่ออกแบบไว้ก่อนที่จะลงมือพัฒนาโดยเลือกใช้ซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมกับงาน
ซอฟต์แวร์นั้นอาจเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ ซึ่งนักเรียนจะต้องศึกษาหลักการและไวยากรณ์ของภาษาที่เลือกให้เชี่ยวชาญ
ในบทเรียนนี้ได้นำเสนอหลักการเบื้องต้นของภาษาคอมพิวเตอร์ให้นักเรียนได้ศึกษาสามรูปแบบ
ซึ่งหากนักเรียนสนใจก็สามารถหาความรู้ได้เพิ่มเติมเพื่อฝึกฝนให้ชำนาญและสามารถยึดเป็นอาชีพได้ต่อไป |
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
|