Image_01 Image_02 Image_03
Krumontree.com Krumontree.com Krumontree.com
Home
Internet and Browser
Create and Design
Basic HTML
Beautiful Images
Control with Table
Links to the others
More tips and Tricks
FTP to Web Hosting
left_bottom

หลังจากการสร้างเอกสารเว็บเพจแล้ว สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือ การนำเอกสารเว็บเพจเหล่านั้นออกเผยแพร่สู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ด้วยการสมัครใช้บริการจากผู้ให้บริการพื้นที่ฟรี (Free Hosting) หรือการเช่าพื้นที่จากผู้ให้บริการ

การนำไฟล์เอกสารจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราไปยังผู้ให้บริการ เราจะใช้ซอฟท์แวร์ประเภท FTP (File Transfer Protocol) ทำการส่งไฟล์ (Upload) ขึ้นไปยังเครื่องแม่ข่าย (Server) ซึ่งมีทั้งที่เป็นระบบปฏิบัติการวินโดว์และลินุกส์ ในการทำเว็บไซต์ของเราให้เป็นที่รู้จักและเข้าใช้งานได้สะดวก เมื่อมีความมุ่งมั่นใน การเผยแพร่สู่สาธารณชน ต้องมีการจดโดเมนเพื่อใช้ชื่อที่เป็นเอกลักษณ์และไม่ซ้ำกับผู้ใดในโลก สร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้ชม

ytWeb Hosting : การหาพื้นที่ฝากเว็บไซต์เพื่อเผยแพร่

เมื่อเว็บเพจของเราสร้างสรรค์อย่างสวยงาม มีข้อมูลครบถ้วนพร้อมที่นำเสนอสู่ชาวโลกแล้ว สิ่งที่ต้องดำเนินการในขั้นต่อไปคือ หาพื้นที่บนเครื่องแม่ข่ายในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่เราเรียกกันว่า Web Server ที่มีผู้ให้บริการทั้งประเภทฟรีจริงๆ ฟรีโดยมีข้อแลกเปลี่ยน (เช่น ขอมีโฆษณาแฝงในหน้าเว็บของเรา หรือมีหน้าต่างโฆษณาแบบเปิดเองตามระยะเวลาที่เรียกกันว่า Popup) หรือใช้บริการด้วยการเช่าพื้นที่จากผู้ให้บริการ ซึ่งมีอยู่มากมายบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในที่นี้ขอแนะนำให้สมัครใช้พื้นที่ฟรีก่อน เมื่อมีความพร้อมหรือต้องการสร้างเว็บไซต์อย่างจริงจัง จึงค่อยใช้วิธีการเช่าพื้นที่ ซึ่งจะมีรายจ่ายคงที่เป็นรายปี

ytFree Web Hosting : การสมัครใช้พื้นที่ฝากไฟล์ฟรี

บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีผู้ให้บริการฟรีโฮสท์ จะมีทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งจะมีทั้งที่ให้บริการพื้นที่สำหรับเว็บไซต์ทั่วไปที่ใช้ภาษา HTML ไม่มีเทคนิคพิเศษอะไรมากมายนัก จะมีให้บริการมากมายหลายที่ สามารถค้นหาได้จาก Search engine ทั่วไปด้วยคำว่า Free web hosting

Free Web Hosting

แต่ในกรณีที่เว็บไซต์ของเรา ต้องมีการใช้เทคนิคพิเศษเพิ่มเติม เช่น ใช้ฐานข้อมูลสำหรับการแสดงผลรูปแบบต่างๆ จำเป็นจะต้องคำนึงถึงการให้บริการของผู้ให้บริการโฮสท์เหล่านั้นด้วยว่า สนับสนุนเทคนิคพิเศษอย่างไร เช่น สนับสนุนฐานข้อมูล CGI, MySQL และ PHP หรือ MSAccess กับ ASP เนื้อที่ในการจัดเก็บเว็บให้มากน้อยเพียงใด ปริมาณข้อมูลเข้าออกต่อเดือนของเว็บไซต์ (อาจเกิดปัญหาได้ถ้าเว็บไซต์เราดัง มีคนเข้าชมมากต่อวัน ปริมาณข้อมูลในการเรียกชมก็จะมากตาม ผู้ให้บริการอาจงดให้บริการเป็นช่วงๆ ถ้าปริมาณข้อมูลมากเกินกว่าที่กำหนด)

การสมัครใช้พื้นที่ฟรีนั้นส่วนใหญ่จะได้ชื่อเว็บไซต์เป็นแบบ Sub Domain คือ ใช้ชื่อเรานำหน้าชื่อผู้ให้บริการ เป็น http://yourname.freehost.com หรือได้ชื่อโดเมนต่อท้ายด้วยชื่อเรา เช่น http://www.freehost.com/yourname และในบางแห่งจะให้ใช้ชื่อโดเมนของเราเองได้ แต่ทั้งนี้จะต้องทำการจดทะเบียนโดเมนนั้นไว้ก่อน จะต้องมีการเตรียมข้อมูลการสมัครให้พร้อมดังต่อไปนี้

  • ชื่อเว็บไซต์เป็นภาษาอังกฤษ (อย่าให้ยาวมาก ผู้ชมจดจำมาก) หรือชื่อโดเมน
  • ชื่อผู้ใช้งาน (User name) และรหัสผ่าน (Password) ที่ต้องการ (ผู้ให้บริการบางรายจะใช้ชื่อเว็บไซต์เป็นชื่อบัญชีใช้งานด้วย) ควรอ่านรายละเอียดจากหน้าเว็บผู้ให้บริการ
  • อีเมล์ที่สามารถใช้งานได้จริง เพราะต้องใช้งานในการติดต่อกับผู้ให้บริการ หรือใช้เพื่อการยืนยันการขอใช้พื้นที่
  • ข้อมูลส่วนตัวของผู้ขอใช้ เช่น ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ รหัสไปรษณีย์ หมายเลขโทรศัพท์
  • จุดประสงค์ในการทำเว็บไซต์ (เว็บส่วนตัว/การศึกษา/ธุรกิจ ฯลฯ)

หลังจากการสมัครเสร็จสิ้น ทำการยืนยันการขอพื้นที่ตามขั้นตอนแล้ว จะได้รับรายละเอียดในการใช้บริการจากผู้ให้บริการ เช่น ที่อยู่ (URL) ของเว็บไซต์ วิธีการอัพโหลดไฟล์ การตั้งค่าต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การจัดการฐานข้อมูล การกำหนดบัญชีอีเมล์ หรือบัญชีผู้จัดการอัพโหลดไฟล์ ไฟล์แรกที่ใช้ในการเข้าถึงเว็บไซต์ ส่วนใหญ่จะเป็นไฟล์ index.html สำหรับเว็บไซต์แบบ html ธรรมดา และเป็นไฟล์ index.php หรือ index.asp สำหรับเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงกับฐานข้อมูล

ytSign up : ตัวอย่างการสมัครฟรีโฮสท์

ตัวอย่างการสมัครขอใช้พื้นที่จากผู้ให้บริการฟรีโฮสท์ ชื่อ THPort.com (ปัจจุบันเลิกให้บริการแล้ว) ซึ่งให้บริการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลมากถึง 300MB สนับสนุน PHP5 และฐานข้อมูล MySQL รวมทั้งบริการอื่นๆ เทียบเท่าผู้ให้บริการเช่าพื้นที่เลยทีเดียวดังภาพ

THPort.com

สมัครได้ฟรีด้วยการคลิกที่เมนู Signup ด้านซ้ายมือ จะพบกับหน้าสมัครสมาชิกดังภาพข้างล่าง แล้วกรอกข้อมูลพื้นฐานลงไป ได้แก่ ชื่อเว็บไซต์ที่ต้องการ รหัสผ่าน อีเมล์ที่ใช้งานได้จริง (ต้องใช้ในการยืนยันใช้พื้นที่) ประเภทของเว็บไซต์ ภาษาเลือกเป็น Non-English และใส่รหัสลับลงไป แล้วคลิกที่ปุ่ม Register

Register

จากนั้น เข้าไปตรวจสอบอีเมล์ที่เราใช้สมัคร จะพบจดหมายแจ้งให้เราทำการยืนยันการสมัครใช้พื้นที่ จากรูปคือลิงก์สำหรับคลิกเพื่อยืนยัน

Activate Account

รอสักครู่ จะได้รับจดหมายยืนยันพร้อมชื่อ User และ Password สำหรับการเข้าไปจัดการเว็บไซต์ผ่านหน้าเว็บ Cpanel, FTP, MySQL และ e-Mail สำหรับเว็บไซต์ของเรา

Activate Ready

การจัดการไฟล์และฐานข้อมูลต่างๆ สามารถจัดการผ่านหน้าเว็บ Cpanel ได้เลยซึ่งสะดวกมาก ด้วยการล็อกอินผ่านหน้าเว็บของ THPort.com ดังภาพ

Cpanel for your account

กรอบสีฟ้าด้านซ้ายมือ คือรายละเอียดการใช้งานพื้นที่ จำนวนเมกกะไบต์ที่ใช้งาน จำนวนฐานข้อมูล และปริมาณแบนด์วิธที่ใช้ไปในแต่ละเดือน

กรอบสีเหลือง คือรายละเอียดเกี่ยวกับบัญชีใช้งานของเรา เช่น User FTP, Cpanel, e-Mail, MySQL และ Path Directories

กรอบสีแดง จะเกี่ยวกับการจัดการส่งไฟล์ขึ้นไปยังเครื่องให้บริการแบบออนไลน์ File Manager

ส่วนกรอบสีเขียว จะเกี่ยวกับการจัดการฐานข้อมูลของไซต์นี้ เช่น สร้างหรือลบฐานข้อมูล จัดการฐานข้อมูลผ่าน phpMyAdmin

ytOnline File Manager : การจัดการไฟล์บนฟรีโฮสท์

การอัพโหลดไฟล์ไปยังเครื่องแม่ข่าย สามารถจัดการผ่าน Online File Manager เมื่อคลิกเข้าไปจะปรากฏดังภาพล่าง ข้อมูลเว็บไซต์ของเราจะต้องอัพโหลดเข้าไปภายในโฟลเดอร์ชื่อ htdocs (ในวงกลมสีแดง) เท่านั้นจึงจะแสดงผล

Cpanel for your account

เมื่อคลิกเข้าไปภายในโฟลเดอร์ htdocs เราสามารถใช้เครื่องมือในแถบด้านบน ทำการเปลี่ยนค่าสิทธิอนุญาต อัพโหลดไฟล์ สร้างโฟลเดอร์ เปลี่ยนชื่อ หรือแก้ไขไฟล์ได้ ซึ่งผู้ให้บริการแต่ละแห่งจะมีวิธีการที่แตกต่างกัน และมีข้อมูลให้การช่วยเหลือ ควรศึกษาให้ดีก่อนดำเนินการ

Online File Manager

แนะนำให้ใช้โปรแกรมรับส่งไฟล์ (FTP) ทำงานจะสะดวกรวดเร็วกว่า เพราะสามารถส่งได้ครั้งละมากๆ ได้

Next Next

Your visitor no.
Create & Design Web Page with Basic HTML & Tools
Author : KruMontree Kotkanta     e-M@il : webmaster at krumontree.com