foto1
ความงดงามการศึกษาไทย
foto1
เพื่อ?
foto1
ไม่เข้าใจ?
foto1
วิทยากรที่กระทรวงศึกษาธิการ สปป.ลาว
foto1
ท่องทะเลทรายที่ดูไบ UAE


Friendly Links

เรียนรู้ภาษา html
isangate banner
easyhome banner
ipst banner
sakdibhornssup foundation
13 Thai free fonts
speedtest
e mil

Facebook Likebox

No. of Page View

aseanช่วงนี้ ในแวดวงการศึกษาของเรา ดูจะตื่นตัวกับการสร้างความตระหนักให้กับนักเรียน นักศึกษา และบุคลากร ในการเตรียมพร้อมเข้าสู่ ประชาคมอาเซียน ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ตั้งแต่การเสริมเรื่องราวของประเทศเพื่อนบ้านในหลักสูตร แต่ที่จะดูได้เป็นรูปธรรมหน่อย ก็คงจะเป็นการปักธงชาติหน้าอาคารเรียน หน้าโรงเรียน กันทั่วประเทศ บางโรงเรียนก็ถึงขั้นให้ครู หรือนักเรียน แต่งตัวเป็นประชาชนในชาติกลุ่มประชาคมอาเซียน ในวันใดวันหนึ่งของสัปดาห์ แต่สิ่งเหล่านี้มันแค่การกระตุ้นให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมช่วงหนึ่งเท่านั้น พอชินชาไปสักหน่อยก็จะจางหายไปไม่รู้เขาทำอะไรกัน

aec ready

การที่เราจะเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียน นั้น นอกจากการให้ผู้คนในประเทศของเราได้รู้จักประเทศเพื่อนบ้านทั้งในแง่การดำรง ชีวิต ความเป็นอยู่ ศาสนา วัฒนธรรม ภาษา แล้ว ยังมีอีกหลายเรื่องที่เราจะต้องแก้ไขทั้งในแง่ความคิด ทัศนคติ ประวัติศาสตร์ เพื่อให้การอยู่ร่วมกันในประชาคมมีความสุข เป็นปึกแผ่นแน่นแฟ้น

ก่อนอื่นเรามารู้จักกันสักหน่อยว่า อาเซียน คืออะไร? 

 

ประชาคมอาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN) เป็นองค์กรระหว่างประเทศ ระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (Association of South East Asia) เมื่อเดือน ก.ค.2504 เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างประเทศอินโดนีเซีย และประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างสองประเทศ จึงได้มีการแสวงหาหนทางความร่วมมือกันอีกครั้ง

asean-dec04

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 หลังจากการลงนามในปฎิญญาสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Declaration of ASEAN Concord) หรือเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า ปฏิญญากรุงเทพ (The Bangkok Declaration) โดยสมาชิกผู้ก่อตั้งมี 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศที่ร่วมลงนามในปฏิญญากรุงเทพ ประกอบด้วย

  1. นายอาดัม มาลิก รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย
  2. ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย
  3. นายนาซิโซ รามอส รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์
  4. นายเอส ราชารัตนัม รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์
  5. พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จากประเทศไทย

asean1

หลังจากจัดตั้ง ประชาคมอาเซียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2510 แล้ว อาเซียนได้เปิดรับสมาชิกใหม่จากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่ม เติมเป็นระยะ ตามลำดับได้แก่

  • บรูไนดารุสซาลาม เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 8 มกราคม 2527
  • สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 28 กรกฏาคม 2538
  • สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 23 กรกฎาคม 2540
  • สหภาพพม่า เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 23 กรกฏาคม 2540
  • ราชอาณาจักรกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 30 เมษายน 2542

วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งประชาคมอาเซียน ประชาคมอาเซียน ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่อสร้างสันติภาพในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ อันนำมาซึ่งเสถียรภาพทางการเมือง และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และเมื่อการค้าระหว่างประเทศในโลกมีแนวโน้มกีดกันการค้ารุนแรงขึ้น ทำให้อาเซียนได้หันมามุ่งเน้นกระชับและขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้า ระหว่างกันมากขึ้น วัตถุประสงค์หลักที่กำหนดไว้ในปฏิญญาอาเซียน (The ASEAN Declaration) มี 7 ประการ ดังนี้

  1. ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรม
  2. ส่งเสริมการมีเสถียรภาพ สันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค
  3. ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และด้านการบริหาร
  4. ส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกันในการฝึกอบรมและการวิจัย
  5. ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การค้า การคมนาคม การสื่อสาร และปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีวิต
  6. ส่งเสริมการมีหลักสูตรการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  7. ส่งเสริมความร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศ

aecแต่หากท่านหมายถึง “AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” เป็นการพัฒนามาจากการเป็น สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association of South East Asian Nations : ASEAN) ก่อตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) เมื่อ 8 สิงหาคม 2510 โดยมีประเทศผู้ก่อตั้งแรกเริ่ม 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมาในปี 2527 บรูไน ก็ได้เข้าเป็นสมาชิก ตามด้วย 2538 เวียดนาม ก็เข้าร่วมเป็นสมาชิก ต่อมา 2540 ลาวและพม่า เข้าร่วม และปี 2542 กัมพูชา ก็ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกลำดับที่ 10 ทำให้ปัจจุบันอาเซียนเป็นกลุ่มเศรษฐกิจภูมิภาคขนาดใหญ่ มีประชากร รวมกันเกือบ 500 ล้านคน

จากนั้นในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่  9 ที่อินโดนีเซีย เมื่อ 7 ตุลาคม  2546  ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนได้ตกลงกันที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ซึ่งประกอบด้วย 3 เสาหลัก คือ

  1. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community:AEC)
  2. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (Socio-Cultural Pillar)
  3. ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (Political and Security Pillar)

คำขวัญของอาเซียน คือ “ One Vision, One Identity, One Community.” หนึ่งวิสัยทัศน์   หนึ่งอัตลักษณ์   หนึ่งประชาคม

เดิมกำหนดเป้าหมายที่จะตั้งขึ้นในปี 2563 แต่ต่อมาได้ตกลงกันเลื่อนกำหนดให้เร็วขึ้นเป็นปี 2558 และก้าวสำคัญต่อมาคือการจัดทำปฏิญญาอาเซียน (ASEAN Charter) ซึ่งมีผลใช้บังคับแล้วตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี 2552 นับเป็นการยกระดับความร่วมมือของอาเซียนเข้าสู่มิติใหม่ในการสร้างประชาคม โดยมีพื้นฐานที่แข็งแกร่งทางกฎหมายและมีองค์กรรองรับ การดำเนินการเข้าสู่เป้าหมายดังกล่าวภายในปี 2558

asian map

ปัจจุบันประเทศสมาชิกอาเซียน รวม 10 ประเทศได้แก่  ไทย พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม ลาว กัมพูชา บรูไน

สำหรับเสาหลักการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน (ASEAN Economic Community หรือ AEC ) ภายในปี 2558 เพื่อให้อาเซียนมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือ อย่างเสรี และเงินทุนที่เสรีขึ้นต่อมาในปี 2550 อาเซียนได้จัดทำพิมพ์เขียวเพื่อจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) เป็นแผนบูรณาการงานด้านเศรษฐกิจให้เห็นภาพรวมในการมุ่งไปสู่ AEC ซึ่งประกอบด้วยแผนงานเศรษฐกิจในด้าน ต่างๆ พร้อมกรอบระยะเวลาที่ชัดเจนในการดำเนินมาตรการต่างๆ จนบรรลุเป้าหมายในปี 2558 รวมทั้งการให้ความยืดหยุ่นตามที่ประเทศสมาชิกได้ตกลงกันล่วงหน้า

ในอนาคต AEC จะเป็นอาเซียน+3 โดยจะเพิ่มประเทศ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เข้ามาอยู่ด้วย และต่อไปก็จะมีการเจรจา อาเซียน+6 จะมีประเทศ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และ อินเดียต่อไป

การปรับปรุงเนื้อหาเพิ่มเติมในครั้งนี้ผมมีคลิปวีดีโอของคุณวิกรม กรมดิษฐ์ ในชุด "มองโลกแบบวิกรม สู่ประชาคมอาเซียน" จำนวน 2 ตอนน่าสนใจมากครับ

มองโลกแบบวิกรม สู่ประชาคมอาเซียน ตอนที่ 1

มองโลกแบบวิกรม สู่ประชาคมอาเซียน ตอนที่ 2

ถ้าเราจะเข้าใจเรื่องเหล่านี้ให้รู้ลึกรู้ จริง ก็ขอแนะนำให้อ่านบทความจากผู้รู้เรื่องนี้ รศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เขียนไว้ดีกว่า อยู่ในรวมบทความ คลิกตรงนี้เลย

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)

Our Policy