แอลกอฮอล์ เรื่องที่คุณอยากรู้แต่ไม่อยากถาม
รวบรวมและเรียบเรียงโดย : นพ. สมนึก ศรีวิศาล FRCR, FRCPC, St.Louis, MO, USA.
 
ตอนที่ ๓ : ผลของ Alcohol โดยทั่วๆ ไปต่ออวัยวะต่างๆ

            ในร่างกายจะมีการควบคุมที่คอยปรับระดับความเข้มข้นในร่างกายให้ปกติสม่ำเสมอ เช่น เมื่อมีเหงื่อออกมาก ร่างกายก็จะพยายามเก็บน้ำโดยที่ถ่ายปัสสาวะน้อยลง แต่เมื่ออากาศเย็นเหงื่อออกน้อย ร่างกายจะขับน้ำออกมากขึ้นโดยออกเป็นปัสสาวะ กลไกเหล่านี้
เมามาย ไม่เมามัว ควบคุมโดยบริเวณในสมองที่เราเรียกว่า Hypothalamus เพราะความเข้มข้นของน้ำในร่างกาย เป็นตัวควบคุมการหลั่งสารที่ออกมาควบคุมต่อมใต้สมองให้หลั่งฮอร์โมน ADH ซึ่งเป็นตัวคอยกักน้ำ ความเย็น ก็เป็นตัวทำให้ ADH ออกน้อย ผลก็คือเราไม่เก็บน้ำ จึงถ่ายปัสสาวะบ่อย
        แอลกอฮอล์มีผลในทางเดียวกันทำให้ไม่มีการเก็บน้ำ ฉะนั้นจะเห็นว่า พวกคอเหล้าจะไปเข้าห้องน้ำบ่อย เพราะเป็นผลทางสรีรวิทยาของร่างกาย ที่ตอบสนองต่อแอลกอฮอล์นั่นเอง ผลที่ตามมาก็คือพวกคอเหล้าจะขาดน้ำและเกลือในร่างกาย (จะกล่าวถึงเมื่อเราพูดถึง ตอนสร่างเมา - Hangover)
        เครื่องดื่มมึนเมาแอลกอฮอล์นี้ มีคุณสมบัติเหมือนยา คือ ไปกดระบบสมองเหมือนเช่นยานอนหลับหรือยาสลบ แอลกอฮอล์ไม่ใช่เป็นสารกระตุ้น
อย่างที่คิดกัน แต่ดูคนที่ดื่มแอลกอฮอล์ แล้วมีความรู้สึกเหมือนถูกกระตุ้น ทั้งนี้เพราะเมื่อดื่มแล้วทำให้ผู้คนเป็นคนละคน พูดมากขึ้น กล้า(หน้าด้าน หรือ ความอายลดลง)

ทั้งนี้เพราะแอลกอฮอล์ไปกดศูนย์สมองบริเวณที่ควบคุมการตัดสินใจความผิดถูก (ความยับยั้งสิ่งถูกผิด) คือไม่ทำอะไรที่ผิดหรือไม่ถูกต้อง เมื่อศูนย์นี้ถูกกดโดยแอลกอฮอล์ทำให้ "ปล่อย" ความยับยั้งหรือสิ่งที่กดเอาไว้ สิ่งที่ไม่เคยทำจึงออกมาทำให้เหมือนว่าไปกระตุ้น แต่แท้จริงแล้วผลที่สำคัญของแอลกอฮอล์ต่อระบบสมอง คือไปกดการทำงานของสมองให้ลดลง เอาไว้เมื่อถึงตอนพูดถึงผลต่อระบบสมอง เราจะเห็นชัดเจนว่า ผลคือการกดการทำงานของระบบประสาททั้งระบบ

        ระดับของแอลกอฮอล์ในเลือดก็ขึ้นอยู่กับสภาวะอื่นด้วย เช่น การมีอาหารในกระเพาะก็จะทำให้การดูดซึมของแอลกอฮอล์ช้าลง นอกจากนี้ การที่มีอาหารในกระเพาะยังทำให้แอลกอฮอล์ออกไปยังลำไส้เล็กช้าลงด้วย ทำให้ตับมีโอกาสฟอกเอาแอลกอฮอล์ออกได้ทัน เมื่อเทียบกับเมื่อกระเพาะว่าง แอลกอฮอล์ที่มีความดีกรีสูง เช่น พวกเหล้า จะถูกดูดซึมได้เร็วกว่าพวกเบียร์ เพราะไม่มีน้ำหรือสารอื่น เช่น โซดาหรือน้ำหวานมาทำให้เจือจาง เมาหลับ

ในความเข้มข้นที่สูงๆ แอลกอฮอล์ยังสามารถทำให้กระเพาะระคายเคือง และสามารถทำให้กระเพาะเกร็งตัว หยุดทำงาน ทำให้แอลกอฮอล์อยู่ในกระเพาะนานแทนที่จะส่งไปยังลำใส้เล็ก พบว่า พวกที่ดื่มแอลกอฮอล์ที่ดีกรีสูงก็จะเมาเร็ว เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ร้อนจะถูกดูดซึมได้เร็วกว่าที่ดื่มแบบเย็น ยังพบอีกว่า ชนิดของอาหารในกระเพาะไม่มีผลต่ออัตราการดูดซึมแอลกอฮอล์ เคยได้ยินมาว่า เมื่อมีน้ำตาลในกระเพาะแล้วจะทำให้เมาง่ายเพราะดูดซึมเร็ว อันนี้ไม่เป็นความจริง

            อย่างที่กล่าวมาข้างต้น อาการต่างๆ ที่ออกมาขึ้นอยู่กับระดับของความเข้มของแอลกอฮอล์ในเลือด คนตัวใหญ่มีน้ำในร่างกายมากทำให้เกิดความเข้มน้อย เมื่อเทียบกับคนน้ำหนักน้อย เพศชายมีกล้ามเนื้อมากกว่าเพศหญิง (เพศหญิงมี ไขมันมากกว่า) กล้ามเนื้อมีน้ำเป็นส่วนประกอบอยู่มาก ฉะนั้น ระดับแอลกอฮอล์ในร่างกายของเพศชาย (เมื่อเทียบ น้ำหนักที่เท่ากันกับเพศหญิง) ก็จะต่ำกว่าเพศหญิง ดังนั้น เพศหญิงจึงมีการตอบสนองต่อแอลกอฮอล์ (เมาง่ายกว่า) มากกว่าเพศชาย

NextNext

ตอนที่ 1 | ตอนที่ 2 | ตอนที่ 3 | ตอนที่ 4 | ตอนที่ 5 | ตอนที่ 6 | ตอนที่ 7