foto1
ความงดงามการศึกษาไทย
foto1
เพื่อ?
foto1
ไม่เข้าใจ?
foto1
วิทยากรที่กระทรวงศึกษาธิการ สปป.ลาว
foto1
ท่องทะเลทรายที่ดูไบ UAE


Friendly Links

เรียนรู้ภาษา html
isangate banner
easyhome banner
ipst banner
sakdibhornssup foundation
13 Thai free fonts
speedtest
e mil

Facebook Likebox

No. of Page View

dohiru

edu japan 00ช่วงนี้ข่าวในวงการครูก็ไม่มีอะไรมากมาย ส่วนใหญ่ก็เป็นนโยบายรายวันที่ออกมาจากเหล่าเสนาบดี เพื่อแสดงกึ๋น หรือแสดงการงับนโยบายจากฝ่ายการเมือง เพื่อคงไว้ซึ่งสถานะของเก้าอี้รองนั่ง ไม่ได้มีการใช้พุทธิปัญญาอะไรหรอก เรื่องดีๆ ก็ไม่กล้าคิดกล้าทำ กล้ากำหนดเป็นนโยบายไปสู่การปฏิบัติ เพื่อการพัฒนา รู้ทั้งรู้แต่ไม่ทำเพราะกลัวเก้าอี้สั่นคลอน พูดออกมาแต่ละเรื่องมันก็วนอยู่ในอ่างนั่นแหละ ปัญหาของการศึกษาไทยคือ นโยบายรายวันที่ไม่เคยผ่านการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ไม่มองในภาพรวม มีแต่การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า แล้วอยากให้เห็นผลใน 3 วัน 7 วัน ซึ่งมันไม่ใช่

วันนี้เลยขอนำแนวทางการจัดการศึกษาของญี่ปุ่น มาจากกรายการ "Dohiru : ดูให้รู้" ทางช่อง ThaiPBS เอามารวบรวมให้ชมกันเป็นชุดเลย การจัดการศึกษาในประเทศญี่ปุ่นน่าสนใจในแนวคิด การสร้างระเบียบวินัยตั้งแต่วัยเด็ก และน่าจะสามารถนำมาปรับใช้ในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี ถ้าเราคิดจะทำกันจริงจัง ไม่ใช่เอาแต่ยกย่องเด็กเก่งสอบโอเน็ตเต็มร้อย สอบเข้าเรียนที่นั่นที่นี่ได้ ใช่ว่าทุกคนต้องเป็นเช่นนั้น ทำไมเราไม่ยกย่องคนดีมีระเบียบวินัย มีสัมมาอาชีพ ช่วยเหลือผู้อื่นเล่า?

edu japan 01

ญี่ปุ่นเขามีระบบการศึกษาคล้ายกับเรา (ภาคบังคับ 9 ปี ประถมศึกษา 1-6 และมัธยมศึกษา 1-3) แต่เขาสร้างคน เพาะต้นกล้า ฟูมฟักตั้งแต่ยังเล็กในระดับก่อนประถมศึกษา เรียนในโรงเรียนเล็กๆ ใกล้บ้าน เพราะมาตรฐานเขาไม่ต่างกัน ไม่มีค่านิยมต้องเข้าโรงเรียนเด่นดัง ไม่ได้ส่งเสริมให้เป็นคุณหนูเปื้อนดินไม่ได้ พ่อ-แม่ต้องทำให้ทุกอย่างแบบบ้านเรา ไปดูกันจากรายการดูให้รู้ ตอน "เพาะต้นกล้าของสังคม(อนุบาล)" กันเลย

จากรายการตอนที่ 1 เราจะเห็นว่า การบ่มเพาะต้นกล้าต้องเริ่มจากที่บ้าน เพราะเป็นโรงเรียนแรกในชีวิตของเขา ถ้าสังคมที่บ้านดี พ่อ-แม่มีความรักเอาใจใส่ และเข้าใจบทบาทในการพัฒนาลูกให้อยู่ในสังคมอย่างเป็นสุขได้ โรงเรียนจะเป็นเพียงที่เสริมสร้างประสบการณ์ให้กับพวกเขา ช่วยเหลือตัวเองได้ มีความอยากไปโรงเรียนทุกวัน

edu japan 03

แต่เชื่อไหมทุกวันนี้ยังคงเห็นการสั่งสอนผิดๆ ของครอบครัวกันอยู่เยอะ เช่น นอนนะเดี๋ยวตุ๊กแกลงมากินตับ อย่าดื้อนะเดี๋ยวตำรวจจับไปหรอก ไม่เชื่อฟังใช่ไหมเดี๋ยวพาไปหาหมอฉีดยาเลย มันใช่หรือครับกับทัศนคติแย่ๆ อย่างนั้น บทจะโหดก็โหดเกิน บทจะรักก็ถนอมเสียจนแทบจะเลียก้น ทำให้ได้ทุกอย่าง รวมทั้งการแสดงบทบาทผิดๆ เพื่อให้ลูกของตนชนะ ตั้งแต่ผลักลูกให้แซงคิว ติดสินบนเพื่อให้ลูกได้เรียน หรือว่าไม่จริงล่ะ?

เหตุผล วิธีการ ปรัชญาทางการศึกษา มีในวีดิโอทั้งสองตอนที่ผ่านมา แล้วทำไมประเทศไทยทำไม่ได้ ตอบง่ายมาก เพราะเราไม่เคยใช้วิธีการแบบนี้มาก่อนเลย ในสังคมไทยเราเป็นสังคมที่มีค่านิยมที่ผิดๆ มาตลอดไงครับ ไม่คิดนอกกรอบ ขาดความร่วมมือที่แท้จริงมาตั้งแต่ต้น คิดถึงแต่ประโยชน์ส่วนตน เราไม่เคยฝึกให้เด็กมีระเบียบวินัย อดทน ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค (จริงๆ เด็กนะอดทน แต่พ่อ-แม่ต่างหากที่ไม่อดทนพอ) ค่านิยม 12 ประการมันไม่ควรเกิดได้จากการท่องจำ แต่มันควรจะเกิดจากการปฏิบัติจนเป็นสันดานติดตัวไปจนตายต่างหาก (เราวัดว่าผ่านเกณฑ์จากป้ายไวนิลหน้าโรงเรียนที่ใหญ่โต มากกว่าวัดจากการกระทำที่เป็นกิจวัตรจากเด็ก)

edu japan 02

มาดูรายการตอนที่ 3 ที่เพิ่งจะออกอากาศเมื่อไม่นานมานี้กันสักหน่อย ผมชอบแนวคิดนี้นะ (แม้มันจะดูโหดไปหน่อย แต่ถ้าผ่านไปได้เราจะมีคนคุณภาพมากจริงๆ ในประเทศ) ดูแล้วลองคิดตามด้วยนะครับ อย่าให้เพียงผ่านๆ ตา เขาสร้างเยาวชนกันตั้งแต่ยังเล็กเลยทีเดียว จนผมไม่แปลกใจเลยที่ประเทศเขาผ่านความยุ่งยาก เลวร้าย จากภัยธรรมชาติ ทั้งแผ่นดินไหว สึนามิ ดินถล่ม ได้อย่างเรียบร้อยมั่นคง ไม่สับสนอลหม่านแย่งชิงกันเลยสักนิด

ติดตามต่อไปครับ การจัดการศึกษาในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา เขาสร้างคนกันอย่างไร (ไม่ต้องแปลกใจนะครับที่ ร้อยละห้าสิบของคนญี่ปุ่นเมื่อจบการศึกษาภาคบังคับแล้วจะเข้าสู่ตลาดแรงงาน ที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งถึงจะมุ่งไปมหาวิทยาลัย ต่างจากประเทศไทยที่เทิดทูนบูชาปริญญาบัตร จนมีนักวิจัยฝุ่นระดับปริญญาตรีค่อนประเทศ

edu japan 04 

ปิดท้ายด้วยตอน "โรงเรียนญี่ปุ่น" ดูเปรียบเทียบกับบ้านเราดูนะครับ

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)

Our Policy