foto1
ความงดงามการศึกษาไทย
foto1
เพื่อ?
foto1
ไม่เข้าใจ?
foto1
วิทยากรที่กระทรวงศึกษาธิการ สปป.ลาว
foto1
ท่องทะเลทรายที่ดูไบ UAE


Friendly Links

เรียนรู้ภาษา html
isangate banner
easyhome banner
ipst banner
sakdibhornssup foundation
13 Thai free fonts
speedtest
e mil

Facebook Likebox

No. of Page View

abl header

abl 01มารูจัก A.B.L. หรือ Activity Based Learning หรือ “การเรียนโดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน” ในฐานะ “ตัวจักรสำคัญ” ของการเรียนการสอนยุคใหม่ Learn …How to Lean…..

ในการยึดหลักการให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรูด้วยตนเอง “Child Centered” ตามหลักการของ Constructionism การเรียนโดยการปฏิบัติจริง Learning by Doing และปฏิบัติเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และแก้ปัญหาได้ Doing by Learning จึงถูกนำมาใช้อย่างจริงจังในการปฏิรูปการศึกษาของไทย การเรียนรู้ชนิดนี้เอง ที่มีผู้ตั้งฉายาว่า “สอนแต่น้อย ให้เรียนมากๆ Teach less..Learn More” เล่นเอา “ฯพณฯ ท่าน และท่านๆ” ในวงการศึกษาเสียมวยไปแล้วเพราะเข้าใจผิดก็มี

การเรียนแบบ Learning by Doing นั้นใช้ “กิจกรรม Activity” เป็นหลักในการเรียนการสอน โดยการ “ปฏิบัติจริง Doing” ในเนื้อหาทุกขั้นตอนของการเรียนรู้ เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง ทุกคนในกลุ่มเป็นผู้ปฏิบัติ คุณครูเป็นพี่เลี้ยงและเทรนเนอร์ แต่กิจกรรมที่นำมาใช้นี้ต้องมีประสิทธิภาพในการเรียนรู้เนื้อหานั้นๆ มีจุดมุ่งหมาย สนุก และน่าสนใจ ไม่ซ้ำซากจนก่อให้เกิดความเบื่อหน่าย ดังนั้น คุณครูจึงเป็น “นักออกแบบกิจกรรม Activity Designer” มืออาชีพ ที่สามารถ “มองเห็นภาพกิจกรรม” ได้ทันที

 

เมื่ออ่านเนื้อหาจบลง สิ่งที่คุณครูต้อง “สร้าง Constructed” ให้เกิดมีขึ้นในตัวคุณครูในเวลานี้ก็คือ “ความคิดวิเคราะห์ critical Thinking” เพื่อจะได้รู้ความต้องการและความคิดแท้จริงของนักเรียน เพื่อเข้าใจความต้องการของกลุ่ม ทันสมัยอยู่เสมอ ไม่ตกยุค คุณครูต้องมี “ความคิดสร้างสรรค์ Creative Thinking” เพื่อจะได้มีความสามารถสร้างสรรค์กิจกรรมการเรียนรู้ที่ใหม่และน่าสนใจอยู่เสมอ...

บทความนี้ ดูผิวเผินก็น่าจะเป็นที่ลำบากใจของคุณครู แต่ความจริงไม่เป็นเช่นนั้น เพราะในรายวิชาต่างๆ ก็ “ล้วนมีวิธีการเรียนการสอน” อันเหมาะสมกับรายวิชานั้นๆ อยู่แล้ว ขอแต่เพียงคุณครู “จัดกิจกรรมของรายวิชา” อย่างจริงจัง “ที่ไม่ใช่การบอกความรู้” แต่ “เป็นการเรียนรู้” ของนักเรียนจริงๆ เท่านั้น คุณครูก็เติมสีสันลงไปอีกตามความเหมาะสม ก็จะทำให้การเรียนการสอนของเราน่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว....

abl 02

การเรียนโดยใช้ “กิจกรรม หรือ Activity Based Learning” เป็นฐาน ไม่ยากอย่างที่คิด เพราะแต่เดิมเราก็ทำกันเป็นประจำอยู่แล้ว เช่น

  • การเรียนวิทยาศาสตร์ นักเรียนทุกคนจะต้องผ่าน “กิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์"
  • การเรียนคณิตศาสตร์ นักเรียนทุกคนก็จะต้อง ผ่าน “กิจกรรมกระบวนการคิด และแก้ปัญหา" นั่นคือ การทำโจทย์แบบฝึกหัดมากๆ ยิ่งมากเท่าไร กระบวนการคิดและแก้ปัญหาก็จะยิ่งเจริญงอกงามมากขึ้น ตามสัดส่วนของการฝึกฝนด้วยตนเอง
  • การเรียนภาษาต่างประเทศ ก็ต้องผ่าน “กิจกรรมการฝึกฝนให้เกิดทักษะ หรือความชำนาญ” ไปตามลำดับของธรรมชาติการเรียนรู้ “ภาษา Language” ฟัง พูด อ่าน เขียน ตามลำดับ
  • การเรียนวิชาทางฝ่ายสังคมศาสตร์ ก็ต้องมี “กิจกรรมศึกษา ค้นคว้า จด จำ" ตามลักษณะธรรมชาติของรายวิชานั้นๆ

กิจกรรมรายวิชาเหล่านี้ ได้ผ่านการวิจารณ์วิจัยมาแล้วว่า เหมาะสมทุกประการ เพียงแต่คุณครู เอามาเพิ่มสีสันแห่งยุคสมัยเข้าไป ก็จะดูงดงามไม่น้อย.....

Activity imgแต่ “ความสำคัญ” ของการเรียนยุคใหม่ คือ Learning by Doing นั้น “เน้นความสำคัญไปที่ ผู้เรียน เรียนผ่านประสบการณ์ ที่เรียกว่า Experiential Learning ซึ่งเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพสูงมากในการส่งเสริมศักยภาพของบุคคล Individual Potential ที่จะพัฒนาไปได้ตลอดชีวิต..ผู้เรียนจะเรียนอย่างมีความสุข มีการพัฒนาไปด้วยความมั่นใจ และพึงพอใจ Help the individual grow as a confident and contented person... การเรียนผ่านประสบการณ์เป็นความเจริญงอกงามจากภายในจิตใจ และมันสมองของผู้เรียน ซึ่งแตกต่างจากแนวคิดดั้งเดิม ที่ตอบสนองความต้องการจากภายนอกด้วยคะแนน และการสอบเพื่อรับประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตรต่างๆ...

“กิจกรรม หรือ Activity” คือการเรียนจากประสบการณ์ Experiential Learning... นับว่าเป็น Learner Centered อย่างแท้จริง เพราะมีการค้นพบและพัฒนาความรู้ ทักษะ และอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ เจริญงอกงามจากภายใน ผ่านประสบการณ์ Internal growth and discovery develops knowledge..skill and emotions via experiences……

ท่านทั้งหลายจึงเห็นได้ว่า วัตถุประสงค์ในการเรียนรู้ของศตวรรษที่ 21 นี้ มุ่งที่จะส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพมนุษย์ตลอดชีวิตอย่างแท้จริง มากกว่าการเรียนเพื่อวุฒิบัตรในระดับชั้นต่างๆ เมื่อเป็นดังนี้ คุณครู “ผู้ออกแบบกิจกรรม” จะต้องตอบคำถาม “ตนเอง” ให้ได้ก่อนว่า จะให้นักเรียน “ทำกิจกรรมนี้เพื่ออะไร ?..” เพราะตามปกติแล้ว ในการ “ออกแบบกิจกรรม Activity design” จะต้องพิจารณาใน 3 กลุ่มหลัก คือ

  1. กลุ่มประสบการณ์ชีวิต Life Skill หรือ Life Experiences หรือ Humanity
  2. กลุ่มพัฒนาการทางสติปัญญา Intellectual development
  3. กลุ่มวิชาการ Academic groups

เมื่อสามารถตัดสินใจได้แล้วว่า จะทำ “กิจกรรม” เพื่ออะไรแล้ว ก็ลงมือออกแบบได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้ โดยยึดหลักการของ “วงจรแห่งการเรียนรู้ Learning Cycle” ตามลำดับดังนี้

  1. ทำ..Do หรือ Doing คือกำหนดลงไปว่า “ในเนื้อหาวิชานี้..บทนี้..ตอนนี้” ผู้เรียนจะต้องทำ “กิจกรรมอะไร อย่างไร แค่ไหน?” เพื่อให้เกิด “การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ Experiential Learning” อย่างแท้จริง
  2. ทบทวน หรือ Review...การเรียน การสอน การทำกิจกรรมทุกอย่าง จะต้องมีการ “ประเมินผล Evaluate” ทุกครั้ง เพื่อการพัฒนาและปรับปรุง
  3. การพัฒนา และหาแนวทางในการปรับปรุง Develop and implement ideas for improvement

เมื่อคุณครูได้ดำเนินการตามที่กล่าวมาแล้วนี้ ก็กล่าวได้ว่าคุณครูได้ก้าวเข้าสู่ความเป็นครูยุคใหม่อย่างสง่าผ่าเผยเลยทีเดียวเชียว นะครับ

thai std 03

The three major groups of Learning สามกลุ่มการเรียนรู้

และ “กิจกรรม เพื่อสร้างประสบการณ์นั้น..เขาทำอย่างไร? Guidelines for Developing Learning Experiences..”

ในบทความนี้ ผมจะขออนุญาตแยก กลุ่มการเรียนรู้ที่สำคัญออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ เพื่อการทำความเข้าใจ ดังนี้

  1. กลุ่มการเรียนรู้ทักษะชีวิต หรือ Life Skill
  2. กลุ่มการเรียนรู้ประสบการณ์ หรือ Experiential Learning กลุ่มนี้จัดเป็นกลุ่มพัฒนาการทางสติปัญญา หรือ Intellectual development
  3. กลุ่มการเรียนรู้วิชาการ หรือ Academic Learning….

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 นี้ เราต้องยึดเอา กลุ่มการเรียนรู้โดยใช้ประสบการณ์ หรือ Experiential Learning หรือ “กิจกรรม Activity” เป็นหลักในการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบต่างๆ เช่น Learning by Doing, PBL หรือ Project or Problem Based Learning, Active Learning, Activity Learning ซึ่งวิธีการเรียนเหล่านี้ ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ Learner Centered คุณครูและนักเรียนอาจปรึกษากันดำเนิน “กิจกรรม Activity” ต่างๆ เพื่อการเรียนรู้ประสบการณ์ Learning Experiences ในการพัฒนาทักษะชีวิต Life Skill ของกลุ่มที่ 1. และพัฒนาการเรียนรู้วิชาการ Academic Learningของกลุ่มที่ 3.

การนำเอากลุ่มการเรียนรู้ประสบการณ์ หรือ Experiential Learning ในรูปของ “กิจกรรม” มาใช้ในการเรียนรู้นี้ ต้องเป็นการ บูรณาการ หรือ Integrated เพื่อส่งเสริมให้การเรียนรู้ “ทักษะชีวิตและวิชาการ” ให้มีสีสัน ดึงดูด และเร้าใจให้ผู้เรียน เกิดความกระตือรือร้น และให้ความสนใจใน “เนื้อหาของบทเรียน Content of the Lesson”มากยิ่งขึ้น “การบูรณาการ” ที่ดีและเหมาะสม ก็มีสถานะเหมือนการนำเอา “เครื่องแกง Curry paste” หรือ “เครื่องปรุง Condiment ”อาหารต่างๆ ไปผสมกับวัตถุดิบทำให้เกิดเป็น “อาหารรสเลิศ” มากมายหลากหลายชนิดในโลกนี้ ฉันใด การบูรณาการ หรือ Integrated “กิจกรรม” เข้าไปเพื่อให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้ทักษะชีวิต และวิชาการต่างๆ ก็เป็นเครื่องปรุงรสเนื้อหาวิชาการให้ “อร่อย” ก็ฉันนั้น....

abl 03“กิจกรรม Activity” ที่สร้างขึ้น หรือนำมาใช้ จะต้องมีลักษณะส่งเสริม และเร้าใจให้ผู้เรียนเกิดความ ”อยากรู้” จาก “ภายในจิตใจ Inside the Mind” เป็นแรงผลักดันให้เกิดการเรียนแบบสืบสวน สอบสวน ค้นคว้าหาความรู้ Inquiry ด้วยความกระตือรือร้น “ตามธรรมชาติ Natural way” การเรียนรู้จากประสบการณ์ ควรตอบสนองหลักการศึกษา Reflect Educational Principles, ตอบสนองรูปแบบของการเรียนรู้ Learning Model, และ ตอบสนองกลยุทธ์การเรียนการสอนที่ได้คิดออกแบบไว้แล้ว Instructional strategies base on design thinking… นี้เป็นหลักสำคัญของการเรียนรู้โดยใช้ “กิจกรรม หรือ ประสบการณ์”เป็นฐานการเรียนรู้นะครับ คือ คุณครูต้องสามารถตอบให้ได้ว่า การเรียนรู้สิ่งนี้ คุณสมบัติของผู้เรียนเป็นอย่างนี้ เกิดจากกิจกรรมใด กลยุทธ์การเรียนการสอนใด เพราะหลักการเรียนรู้นี้เป็นวิทยาศาสตร์ เมื่อเกิด ”ผลแห่งการเรียนรู้” ขึ้นมาในตัวผู้เรียนแล้ว ต้องบอกได้ว่า ผลอย่างนี้มาจาก “เหตุ” แห่งการเรียนรู้แบบใด....

เพื่อให้การนำ “กิจกรรม” ไปบูรณาการ Integrated กับ“การเรียนรู้ทักษะชีวิต” และ “การเรียนรู้วิชาการ” อย่างได้ผล ”เนื้อหาทักษะชีวิต Life Skill”, “เนื้อหาวิชาการ Academic Learning ” และ “กิจกรรม Activity” ที่ใช้ในการ “สร้างประสบการณ์” ควรต้องทำให้เกิดการเรียนรู้ “โดยวิธีธรรมชาติ Natural way” มากที่สุด มีข้อเสนอแนะดังนี้...

  1. สร้าง “แรงจูงใจ Motivation” ในเนื้อหาที่จะเรียนทุกๆครั้ง เพื่อให้เกิดความต้องการจากภายใน “จิตใจ” ที่อยากรู้ อยากเรียน และอยากทำความเข้าใจในเนื้อหานั้นๆ กระตือรือร้นที่จะเข้าร่วม “กิจกรรม” โดยไม่ต้องบังคับ
  2. มีเป้าหมายที่ชัดเจน Clear Goals ควรทำให้ผู้เรียน “เห็นเป้าหมายในการเรียนรู้ที่ชัดเจน และคุ้มค่า” ในการเข้าร่วมกิจกรรม และถ้าให้ดีผู้เรียนควรมีตัวเลือก การออกแบบกิจกรรมที่ฉลาด แม้มีกิจกรรมเดียว กิจกรรมนั้นๆ ก็สร้างทางเลือกได้หลายทาง เช่น เลือกสี เลือกตำแหน่ง เลือกกลุ่ม ฯลฯ เพื่อเป็นตัวกระตุ้นพลังงานและความพยายามของผู้เรียน...
  3. มีโอกาสล้มเหลว Opportunities to Fail.. ”ความมุ่งเน้นของกิจกรรม Goal oriented Activities” เพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาส “ทำผิด Wrong” หรือ “เลือกทำ” สิ่งที่ผิดพลาด To make Mistakes” หรือเลือกแนวทางที่ผิด ที่ให้ผลเสียตามมา Having a bad Consequence เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการ “เรียนรู้และทำความเข้าใจจากความผิดพลาดนั้นๆ Learn from Mistakes”...
  4. ยึดหลักการ “ผิดเป็นครู Fail as a Teacher” ผลที่ตามมาจากความล้มเหลว Consequences of Failure ผลที่เกิดจากความผิดพลาด และเลือกสิ่งผิด ควรนำมา “เป็นสิ่งเตือนใจ Keepsake” หรือ “แสดงให้เห็น Illustrated” ว่า เพราะเหตุใดจึงเกิด “ผลที่ผิดพลาดเช่นนี้ Why a response is Wrong” ”วิธีการปรับปรุงและแก้ไขควรได้รับคำอธิบายชี้แจงเสมอว่า เขาจะแก้ไขข้อบกพร่องนี้ได้อย่างไร How it could be improved or corrected should always be explained.” จากผู้เรียน.. แต่โดยวิธีการปรึกษาหารือ Consultation ไม่ใช่ความผิด Not Guilty...
  5. ทางเลือก เพื่อการแก้ไข Corrective options. ผู้เรียนควรมี “ทางเลือก Choices” ว่า “จะทำอะไร..What they to do.” เพื่อการแก้ไข “ความผิดพลาด”ของพวกเขา เช่น จะเลือกลองทำใหม่อีกครั้งเพื่อความเข้าใจมากขึ้น จะขอรับความรู้เพิ่มเติม เพื่อแก้ไขสถานการณ์นั้นๆ ขอคำแนะนำ.. หรือฝึกฝน.. หรือให้ช่วยบอกว่า “ความผิดพลาดเกิดขึ้นเพราะเหตุใด” และจะสามารถแก้ไขสิ่งผิดพลาดได้อย่างไร.. และหลังจากนั้น ก็เรียนจากผู้อื่น ว่าผู้อื่นทำอย่างไร.. และเขาแก้ปัญหากันอย่างไร...
  6. การสอนกลยุทธ์ในการสอน Strategic instruction ก็คือ ผู้เรียนต้องเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ด้วยตนเอง ตามหลักการ “Teach less. Learn more” ชี้แนะนำทางได้บ้างเท่าที่จำเป็น แต่ไม่พร่ำเพรื่อจนเป็นการทำลายการสร้างประสบการณ์ใหม่ New Experiences.. ของผู้เรียน..
  7. รางวัล Rewards รางวัลแห่งความสำเร็จของผู้เรียนก็คือ “การยกย่องชมเชย” และ “การส่งเสริมให้กำลังใจ” เพื่อนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้นี้ ไปใช้ใน “กิจกรรม” การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ที่เหมาะสมครั้งต่อๆ ไป วัยรุ่นต้องการเด่นในหมู่เพื่อนฝูง ดังนั้นคำยกย่องชมเชยที่เปิดเผย จะเป็นแรงผลักดันก่อให้เกิดความกระตือรือล้นได้มากกว่ารางวัลอย่างอื่นๆ
  8. การส่งเสริมความจำ Memory reinforcement เพื่อเป็นการส่งเสริมความรู้และความจำ “ความสำเร็จและความล้มเหลว Success and Failure” ของผู้เรียน คุณครูควรทำข้อสังเกตไว้ “เตือนความจำ Memorable” เพื่อเป็นประโยชน์ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และ การประเมินผล Evaluation คราวต่อๆ ไป....

ข้อแนะนำทั้ง 8 ข้อนี้ เป็นหลักการสอนโดยใช้ “กิจกรรม” เพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ ทั้งในการสอนทักษะชีวิต Life Skill และการสอนความรู้วิชาการ Academic Learning ที่ได้ผล ตามปรัชญาการเรียนรู้ Learner Centered ตรงตามวิธีเรียนที่เรียกว่า.. Learn..How to Learn และการ Teach less. Learn more…ทุกประการ...

thai education 01

ไม่มีการเรียนโดยวิธีใดที่จะได้ผลดีไปกว่า “Learning by Doing” ของ John Dewey (1963) คือการลงมือ “ค้นหาความรู้ด้วยตัวของผู้เรียนเอง Self-Inquiry”

Learning by Doing หรือ เรียนรู้โดยการปฏิบัตินี้ ผมได้พบกับ “วิธีเรียนรู้โดยการปฏิบัติที่ดีที่สุดในโลก” เมื่อผมได้เรียนรู้พระพุทธศาสนา ก่อนที่ผมจะได้ศึกษาเรื่องราวของ John Dewey ในมหาวิทยาลัยเสียอีก ดังนั้น ในบทความนี้ ผมจึงขอเสนอ Learning by Doing หรือ เรียนรู้โดยการปฏิบัติ เป็น 2 แนวทางดังนี้

แนวทางที่ 1. แบบพุทธวิธี..อาศัยการ “ผัสสะ” หรือ “สัมผัส” ของ “ขันธ์ห้า”...

ขันธ์ห้า นี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กาย กับ ใจ ให้เอากาย กับ ใจ ของเรานี้แหละ ไปเรียนรู้ หรือเอาไป “สัมผัส” กับ แหล่งความรู้ หรือ Knowledge Sources ที่ต้องการศึกษา อธิบายให้ละเอียดลงไปอีกชั้นหนึ่งว่า “กาย” หรือ ร่างกายของคนเรานี้ มี “ประสาทสัมผัสอยู่ 5 ส่วน” ได้แก่

  • ตา มองเห็นสิ่งที่อยากรู้ ดูสิ่งที่เห็นนี้ให้เห็นจริงทุกแง่ทุกมุม มันมีรายละเอียดอย่างไร สีสัน ความหมาย ถ้าเป็นตัวหนังสือก็อ่านอย่าง “มีวิจารณญาณ” ในข้อเขียนนั้นๆ
  • หู ได้ยินเสียงของสิ่งที่กำลังฟังอยู่
  • จมูก ก็ได้กลิ่นสิ่งที่กำลังมองเห็นและ หูของเราก็ได้ยินเสียงอยู่ในขณะนี้
  • ลิ้น ก็ได้รู้รสสิ่งที่อยากรู้ว่าผลไม้สีสวยกลิ่นหอมอบอวล หรืออาหารที่เห็นอยู่ตรงหน้านี้ มันมีรสชาดอย่างไร อร่อยแค่ไหน
  • กาย ของเรานี้ก็อยากสัมผัสกับความนุ่มนวล อบอุ่น หรือเย็นสบายและสิ่งที่เรากำลังสัมผัสเรียนรู้อยู่ในขณะนี้ เย็น ร้อน อ่อน แข็งอย่างไรหนอ

thai children 01นี้คือการเรียนรู้ที่เกิดจากการสัมผัสทางกาย ซึ่งมีทั้งหมด 5 กายประสาท เราเรียนรู้ต่อไปอีกว่า ในขณะที่กายสัมผัสนี้ “ใจ” ของเรา “รู้อะไร” จากการสัมผัส “ใจ” ของเรา “คิดอย่างไร” ในขณะที่กายสัมผัส นี้เป็น “ขั้นตอนสำคัญ” ของการเรียนรู้ ความรู้เกิดขึ้นตั้งแต่กายสัมผัส ส่งไปที่ใจ ซึ่งเกิดขึ้นรวดเร็วมากจนจับไม่ทัน

และเพื่อให้ความรู้นี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง พฤติกรรมการเรียนรู้ของเราต้องมี “สติสัมปชัญญะ” ตลอดเวลา “สติ” เป็นผู้กำกับให้เรามีใจจดจ่ออยู่กับการเรียนรู้ตลอดเวลา และ “สัมปชัญญะ” ทำให้เรารู้ตัวว่า กำลังเรียนรู้อะไร เพื่ออะไร ความรูที่เกิดขึ้นนี้ จะเก็บไว้ในส่วนที่เรียกว่า “สัญญา” ซึ่งเป็นหน่วยความจำของ “จิต” นี่เป็นการกล่าวอย่างย่อๆ เรื่อง Learning by Doing แบบ “พุทธวิธี” ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงใช้มาตั้งแต่ 2,6oo ปีก่อนโน้น

และที่กล่าวมานี้ก็เป็นเพียงการ “แสวงหาความรู้ในทางโลก” เท่านั้น และถ้าต้องการ จะสร้างความรู้นี้ให้ยิ่งๆ ขึ้นไป จนถึงขั้น “ปัญญาทางโลก” เพื่อให้สามารถนำ “ปัญญา” นั้น ไปใช้ทำการงาน สร้างประโยชน์และความเจริญให้แก่ตนเอง สังคม และประเทศชาติต่อไป ก็ให้นำความรู้ที่เรียนมานั้นเข้ากระบวนการ “โยนิโสมนสิการ” หมายถึงการ “กระทำในใจอย่างแยบยล”... คือการพิจารณาโดยละเอียดลึกซึ้งอีกครั้งหนึ่ง ก็จะได้ปัญญาทางโลก ดังที่ เรียกวิธีการนี้ว่า Doing by Learning ในความหมายว่า “ทำไปด้วย เรียนรู้และปรับใช้กับสถานการณ์และปัญหาไปด้วย” นั่นเอง เป็นการตอบปัญหาว่า “ชาวพุทธ” เรียนรู้ได้อย่างไร “Learn how to Learn”

(สำหรับท่านที่ต้องการศึกษาให้ละเอียดยิ่งๆ ขึ้นไป ควรทราบเป็นเบื้องต้นว่า ขันธ์ห้า Five Aggregates ที่แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ “กาย 1 เรียกว่า รูป Corporeality” กับ “ใจ 4 คือ เวทนา Feeling, Sensetion หรือ ความรู้สึกในใจ สัญญา Perception หรือ ความจำต่างๆ สังขาร Mental Formations หรือ ความคิดที่ใจสร้างขึ้นมา วิญญาณ Consciousness หรือ ความรู้สัมผัส คือรู้สภาวะเมื่อ “อายตนะ 6 อันได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ได้เกิดการสัมผัสกับสิ่งต่างๆ)

แนวทางที่ 2. ตามทฤษฎี Constructionism

ทฤษฎี Constructionism ที่มุ่งสร้างองค์ความรู้ โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ หรือ Child Centered หรือ Learner Centered ซึ่งถือว่า การเรียนรู้คือการแก้ปัญหา และปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม หรือปัญหาที่กำลังเผชิญนั้น...มี 4 ขั้นตอน ดังนี้

  1. Explore คือการสำรวจตรวจสอบ ในการที่คนเราจะเรียนรู้สิ่งใดๆ จำเป็นที่จะต้องสำรวจตรวจสอบให้ดีว่า “สิ่งที่จะเรียนรู้นั้น” มีแง่มุมใดๆ ที่จะให้ศึกษาโดยละเอียดรอบคอบ เมื่อรวบรวม “ความรู้และปัญหา” ของสิ่งนั้นๆ โดยถี่ถ้วนแล้ว จึงดำเนินการขั้นต่อไป
  2. Experiment คือ การทดลอง หมายถึงการ “ทดลอง” ดูว่าจะมีแนวทางใดบ้างที่จะ “สิ่งที่จะเรียนรู้” นี้ได้บ้าง อาจเป็นการลองผิดลองถูกไปก่อน จนสามารถเลือกแนวทางที่ดีที่สุดได้แล้ว จึงค่อยลงมือในขั้นต่อไป
  3. Learning by Doing คือ การเรียนรู้โดยการปฏิบัติ หรือลงมือทำจริงๆ ความรู้ของตนเองจะเกิดขึ้น มาจากการที่ได้มีประสบการณ์ Experienced จากการลงมือทำงานจริงๆ เรียกว่า “การดูดซึมเอาความรู้ หรือ Assimilation” แล้วก็เกิดการปรับตัวให้เรียนรู้อุปสรรค และปัญหาใหม่ๆ ให้ผสานกลมกลืนกัน หรือต่อยอดให้กับความรู้เดิมที่มีอยู่ เรียกว่า “การปรับความรู้เก่ากับความรู้ใหม่ Accommodation” ให้เป็นไปในแนวเดียวกัน
  4. thai children 06Doing by Learning คือ การปฏิบัติเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ตลอดเวลาของ “การทำ” สิ่งต่างๆ นี้ จะทำให้ร่างกายเกิดการสัมพันธ์กับสิ่งที่กำลังทำอยู่ จะเกิดการเรียนรู้ เกิดการแก้ปัญหา เกิดการปรับเปลี่ยนแก้ไข ทั้ง “วิธีการและความคิด” เกิดความชำนาญช่ำชองขึ้นไปเรื่อยๆ เกิดภาวการณ์ที่เรียกว่า “พลังแห่งการเรียนรู้ Powerfull Learning” ก่อให้เกิดเป็นคุณสมบัติที่ต้องการ คือ “คิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็น” สมเจตนารมณ์แห่งการศึกษาเลยทีเดียว....

นี้เป็นหลักการ Learning by Doing เมื่อจะนำหลักการนี้มาใช้งาน คุณครูจะต้องเอา “เนื้อหาวิชา” มาตั้งเป็น “คำถามปลายเปิด Open-ended questions” เพื่อทำเป็น “กิจกรรม Activity” ให้ผู้เรียนได้ ค้นคว้า สืบค้น สืบเสาะหาความรู้ หรือ Inquiry ของแต่ละคน แล้วนำมาปรึกษาหารือในกระบวนการกลุ่มที่เรียกว่า Collaborative หาข้อสรุปของกลุ่ม เพื่อนำเสนอผลงาน หรือ Presentation ต่อไป...

ท่านทั้งหลายจะเห็นได้ชัดเจนจากวิธีการ “สร้างองค์ความรู้” ทั้ง 2 วิธีที่กล่าวมาแล้วนั้น เป็น “การแสวงหาคำตอบจากแหล่งความรู้”ด้วยตนเอง..และนี้คือแนวทางของการศึกษาว่า เรา “จะเรียนรู้ได้อย่างไร..หรือ ...Learn how to Learn” 

สุทัศน์ เอกา...........บอกความ

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)

Our Policy