foto1
ความงดงามการศึกษาไทย
foto1
เพื่อ?
foto1
ไม่เข้าใจ?
foto1
วิทยากรที่กระทรวงศึกษาธิการ สปป.ลาว
foto1
ท่องทะเลทรายที่ดูไบ UAE


Friendly Links

เรียนรู้ภาษา html
isangate banner
easyhome banner
ipst banner
sakdibhornssup foundation
13 Thai free fonts
speedtest
e mil

Facebook Likebox

No. of Page View

school director

โดย สุทัศน์ เอกา

"The School Director" Role.. บทบาทของผู้อำนวยการโรงเรียน “ตัวการ Principal” ที่ทำให้เกิด “ความสำเร็จ หรือ ล้มเหลว” ของสถานศึกษา “Leadership is an essential component of a school’s successes or failure”

edu 21th century

ท่านอาจารย์ Sirat Suthidara ได้มีเมตตา ส่ง Chart รูปภาพ “ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. ของเครือข่ายครู ASEAN 21.st Century Skills Toolkid” มาให้ดู ผมชอบใจมาก และมองเห็นแนวทางในการ “นำเสนอ” เพื่อ “ปรับใช้ได้ทันที” แต่.. การเปลี่ยนแปลงใดๆ ก็ตาม “ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อม Environmental” ที่เหมาะสมและ “สอดคล้อง Agreeable” จึงสามารถทำให้การเปลี่ยนแปลงนั้น เป็นไปด้วยดี...

edu 21th 01ผมขอนำเสนอ “บทความ 3 เรื่อง” ก่อนเข้าถึง ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21.” ดังนี้ คือ 1. The School Director… 2. Three Essential Learning Approach และ 3. วงจรบริหารงานคุณภาพ PDCA แล้วจึงจะเริ่มต้น “นำเสนอ ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. ของเครือข่ายครู ASEAN 21.st Century Skills Toolkid ต่อไป เพราะถ้าหากมีความ “ผิดเพี้ยน” ทั้ง 3 เรื่องนี้แล้ว การพัฒนาการศึกษาก็เป็นอันจบสิ้น

ในตำรา “การบริหารการศึกษา Education Administration” จากต่างประเทศหลายเล่ม ที่กล่าวว่า Leadership is an essential component of a school’s successes or failure หมายความว่า ผู้บริหารสถานศึกษาเป็น “องค์ประกอบสำคัญ essential component” ที่ทำให้การเรียนการสอนประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว นั้นหมายถึง “คุณภาพของผู้เรียน” จะสัมฤทธิ์ผลหรือไม่ ประการใด ย่อมขึ้นอยู่กับ “พฤติกรรม Behavior” ของผู้อำนวยการเป็นสำคัญ.. นี้เป็นความคิดเห็นของนักวิชาการตะวันตก แต่ตัวผมเองมัความเชื่อมากกว่านั้นอีกว่า นอกจากรูปแบบการบริหารโรงเรียน School Management System ซึ่งเป็นกระบวนการภายนอก External Process แล้ว คุณครูทั้งหลายควรจะต้องเชื่ออย่าง “จริงใจ Heartfelt” ด้วยว่า หน้าที่ของคนเป็นครูอย่างพวกเรานี้ มีอยู่ 2 อย่าง คือ 1. ยกระดับจิตใจของผู้เรียนให้สูงขึ้น ให้สมกับคำว่า ครูคือผู้สร้างวิญญาณมนุษย์ Teacher is “The Creator” of Human Soul 2. สอนวิชาความรู้ให้แก่ผู้เรียน เพื่อให้สามารถนำไปดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข...

ผลผลิตของครู คือ “ศักยภาพที่สูงขึ้นของผู้เรียน” ไม่เหมือกับผลผลิตของเครื่องจักรอุตสาหกรรมที่เป็น “วัตถุสิ่งของ” แต่ผลผลิตของคุณครูและโรงเรียน เป็นคน “ที่มีจิตวิญญาณ และ แนวความคิด” ซึ่งจิตวิญญาณและแนวความคิดนี้ เกิดจากการหล่อหลอมของสังคม อย่างที่เรียกว่า Social Negotiation และสังคมของคุณครูในวันนี้ “ได้สูญเสียเอกลักษณ์ไทย Thai Identity” คือ “ความเป็นพี่น้อง Affinity ขาดหายไป”... “ความกลมเกลียวกัน Love harmony ขาดหายไป” สิ่งเหล่านี้เป็นผลทำให้โรงเรียน “ขาดเอกภาพ Lack of Unity” อันเป็นต้นตอของความล้มเหลวทั้งมวลของการบริการจัดการในโรงเรียน และกล้า รับรองได้เลยว่า “การใช้พระเดช คืออำนาจการบริหาร หรือ Executive powers” กับคุณครูเพียงอย่างเดียวนั้น คือ “ความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง หรือ Failure entirely”...

ในการปฏิรูปการเรียนการสอน เพื่อการศึกษาของศตวรรษที่ 21. จึงต้อง “เปลียนแนวคิดของผู้บริหารสถานศึกษาเป็นเรื่องแรก Change the concept of school administrators first.” แล้วเปลี่ยนการสอนของครู Change Teaching Approach และ เปลี่ยนวิธีเรียนของนักเรียน Change the way of Learning นี้เรียกว่า “การปรับปรุงสภาพแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ ก่อนการเปลี่ยนแปลง"

student thai 02

หลักปฏิบัติ 12 ประการ สำหรับผู้บริการสถานศึกษา หรือ ผู้อำนวยการโรงเรียน “ควรต้องทำ Should be” หากต้องการความสำเร็จในการปฏิรูปการศึกษาในศตวรรษที่ 21.

  1. An effective school leader leads by example ผู้บริหารสถานศึกษาต้องเป็น “ผู้นำทำก่อน” ทำตัวให้เป็นตัวอย่าง leads by example เช่น ความพยายามทุกทางในการยกระดับการเรียนรู้ มีน้ำใจเอื้ออาทรดูแลทุกข์สุขของบุคลากร และนักเรียนทุกคนด้วยหลักเมตตาธรรม สิ่งเหล่านี้ไม่มีในตำรา แต่มันเป็น “ทักษะชีวิต Life Skill” ของมนุษย์ เห็นความคิดต่างเป็นอุปกรณ์สร้างปัญญา เป็นนักสมานสามัคคี เป็นนักกิจกรรมการเรียนรู้.. เป็นบุคคลตัวอย่างแห่งการเรียนรู้.. เป็นพี่เป็นน้องตามควรแก่ฐานะและความเหมาะสมฯ.
  2. An effective school leader has a shared vision ผู้นำสถานศึกษา “ต้องเป็นนักแชร์วิสัยทัศน์ shared vision” นี้เป็นหลักการสำคัญ เปรียบว่า “รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” และ “เป้าหมายที่เราต้องร่วมรบให้ชนะ We Need to win the battle” คือ อุปสรรคที่ขัดขวางความเจริญงอกงามทางการศึกษาและการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน นั่นเอง
  3. An effective school leader is well respected ผู้บริหารสถานศึกษา “ต้องใช้ประสิทธิภาพการบริหารการศึกษาของตน” สร้างการ “ยอมรับ Well Respected” ไม่ใช่ “อำนาจการบริหาร”
  4. An effective school leader is a problem solver ผู้บริหารสถานศึกษา “ต้องเป็นนักแก้ปัญหา problem solver” ร่วมกับคณะครู “มิใช่นักสั่งการแก้ไข Not a Fixed Order เพราะรากเง้าของปัญหาจะยังคงอยู่ และสร้างปัญหาอีกต่อไปไม่จบสิ้น”
  5. An effective school leader is selfless ผู้นำสถานศึกษา “ต้องไม่เห็นแก่ตัว Selfless”
  6. An effective school leader is an exceptional listener ผู้นำสถานศึกษา “ต้องเป็นผู้ฟังที่ยอดเยี่ยม exceptional listener” และสามารถแสดง “วิสัยทัศน์ Point of View” ของตนอย่างแจ่มชัด
  7. An effective school leader adapts ผู้บริหารสถานศึกษาต้องสามารถ “ปรับตัว” ให้เขากับสถานการณ์ และสิ่งแวดลอม ได้อย่างเหมาะสมและมีความสุข
  8. An effective school leader understands individual strengths and weaknesses. ผู้บริหารสถานศึกษา “ต้องเข้าใจ จุดอ่อน และจุดแข็ง Strengths and Weaknesses” ของทั้งตนเองและผู้อื่น เพื่อ “ใช้คน ให้เหมาะกับงาน Put the Right Man on the Right Job.”
  9. An effective school leader makes those around them better ผู้บริหารสถานศึกษาที่ดีต้อง “พยายามทำให้คนรอบข้างมีแต่ความสุขความเจริญก้าวหน้าในอาชีพการงาน”
  10. An effective school leader admits when they make a mistake ผู้บริหารสถานศึกษาที่ดี “ต้องยอมรับสภาพความผิดในฐานะหัวหน้างาน” เมื่อผู้ให้บังคับบัญชาทำผิด
  11. An effective school leader holds others accountable ผู้นำสถานศึกษาที่ดี “ต้องร่วมรับผิดชอบในสิ่งที่ตนเองได้มอบหมายให้ผู้อื่นทำ Holds Others Accountable”
  12. An effective school leader makes difficult decisions ผู้นำสถานศึกษา “เป็นผู้ตัดสินใจในสถานการณ์ที่ยากลำบาก makes difficult decisions” ภายใต้หลักการ “ ระดมความคิด หรือBrainstorming" กับผู้ร่วมงานอย่างเหมาะสมและจริงใจ

children more

Three Essential Learning Approach.. หัวใจหลัก 3 ประการ “ในการปฏิรูปการเรียนรู้ เพื่อสร้างองค์ความรู้ของผู้เรียน” แห่งศตวรรษที่ 21

นี้เป็นเรื่องที่ 2 ที่คุณครู-อาจารย์ทุกท่านควรได้ให้ความสนใจ “มากที่สุด Extremely” เพื่อนำเอาวิธีการ Approach ของแต่ละกลุ่มมาประยุกต์ใช้ “ในการออกแบบการเรียนการสอน Learning and Teaching Design” ซึ่งการเรียนการสอนยุคปัจจุบันนี้ เรายึด 3 แนวทาง คือ Behavioral Approach, Cognitive Approach, และ constructivist Approach ที่คุณครู-อาจารย์ทุกท่านทราบดีอยู่แล้ว จึงจะขอนำมากล่าวเพียงย่อๆ “เพื่อย้ำเตือนว่า Reminder that” ทั้งสามแนวทางนี้ “สำคัญยิ่ง Crucial” ในการเรียนการสอนแห่งศตวรรษที่ 21. เพราะว่าทั้งสามแนวทางนี้ สามารถใช้ได้ “ครอบคลุม Comprehensive” ทุก “วัตถุประสงค์ และความต้องการ Objectives and Needs” ของการเรียนการสอน ทั้งทางวิชาการ ทักษะ และความประพฤติ ดังนี้

  1. Behaviorism กลุ่มพฤติกรรมนิยม ใช้พื้นฐาน “พฤติกรรม Behavior” ที่มองเห็นได้ หรือ Observable เป็นเครื่องตัดสิน “คุณภาพ” ของคน ดังนั้น คนที่ได้ผ่านการเรียนรู้มาแล้ว “พฤติกรรมของเขาต้องเปลี่ยน Based on Observable Changes in Behavior” กลุ่มพฤติกรรมนิยม หรือ Behaviorism นี้ มุ่งเน้นไปที่ “รูปแบบของพฤติกรรมใหม่ที่ผู้เรียนได้รับ และทำซ้ำๆ จนมันสามารถเกิดขึ้นได้โดยอัตโนมัติ New Behavioral pattern being repeated until it becomes automatic.” ดังนี้มันจึงเหมาะสมอย่างยิ่ง ในการฝึกงานและอาชีพ Apprenticeship and Career.. และเหมาะสมอย่างยิ่งในการ “แก้ปัญหาพฤติกรรม Used to Solve Behavior Problems” ของทั้ง “คนและสัตว์” มันต้องมี “สิ่งเร้า และ แรงจูงใจ Stimulus and Incentives” มาทำให้เกิดพฤติกรรมตามเหตุแห่งสิ่งเร้า และ แรงจูงใจนั้น.คุณครู-อาจารย์ลอง “คิดดูเล่นๆ” ว่า “นักเรียนที่ชอบยกพวกไปก่อเหตุวิวาทกลางถนน และที่ต่างๆ นั้น เขาได้เรียนรู้หรือไม่ ประการใด เราได้ใส่พฤติกรรมใหม่อันพึงปรารถนาเข้าไปให้เขาแล้วหรือยัง มีอะไรเป็น สิ่งเร้าและแรงจูงใจให้พวกเขามีพฤติกรรมเช่นนั้น...

    children smileBehavioral Approach วิธีการเรียนการสอนของกลุ่ม “พฤติกรรมนิยมนี้” ให้ความสนใจอย่างมาก ในเรื่องความเกี่ยวเนื่องกันของ “เหตุและผล หรือ cause and effect” ถ้าต้องการ “ผล effect” ให้ผู้เรียนมีคุณสมบัติอย่างไร “ก็จงสร้างเหตุ cause หรือ สร้างสิ่งเร้าและแรงจูงใจ Stimulus and Incentives” ที่สามารถนำไปสู่ผลอย่างนั้น วิธีการคือ Setting up situations to reinforce students หรือ สร้างสถานการณ์เพื่อเสริมกำลังใจผู้เรียน และ Create a Learning "Chain" to Teach higher-level และ “สร้างโซ่ทอง คล้องการเรียนรู้ ไปสู่พฤติกรรมอันพึง ปรารถนา หรือ Desired Behavior และ “ทำให้แน่ใจว่า Make sure that” นักเรียน “ทุกคนได้ผ่านได้ผ่านการเรียนรู้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน Step-by-Step Manner” ทั้งนี้ Behavioral Approach ใช้ “สิ่งเร้า และ การตอบสนอง stimulus and response” ในการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้

    การประยุกต์ใช้ Applications เพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21.
    หลักคิดของคุณครู คือ ต้องหาให้พบว่า “อะไรเป็นแรงจูงใจ What Motivated or Incentive” ให้เกิดพฤติกรรมนั้นๆ อะไรเป็นต้นเหตุ หรือ สิ่งเร้า Stimulus ให้ทำพฤติกรรมเช่นนี้.. ถ้าเป็นพฤติกรรมที่ดี “ก็ส่งเสริม Encourage” ถ้าเป็นพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนาก็ให้รีบทำการ “ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม Changes in Behavior” และรีบเร่ง “เปลี่ยนรูปแบบของพฤติกรรมใหม่ New Behavioral pattern” ตามแบบของ Behavioral Approach ก็สิ้นเรื่อง
  2. Cognitivism กลุ่มปัญญานิยม เชื่อถือ “แนวความคิดที่อยู่เบื้องหลังพฤติกรรม Based on the Thought process behind the Behavior” นั่นคือ “ใจ เป็นตัวกำหนดพฤติกรรม” ของมนุษย์ ดังนั้น การเปลี่ยนแปลของพฤติกรรมที่ “สังเกตเห็น Behavior are Observed” นั้น คือ "ตัวชี้วัด Indicators” ว่า กำลังคิดอะไรอยู่ในใจ what is happening inside the learner's mind..” แต่ความคิดในใจเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น จะเห็นได้ก็ต่อเมื่อได้แสดงพฤติกรรมออกมาแล้ว.. ยุทธศาสตร์ของปัญญานิยม Cognitive Strategies นี้ใช้ประโยชน์ในการสอน “วิธีแก้ปัญหา teaching problem-solving tactics” ข้อจริงที่กำหนดไว้ เรียกว่า defined facts ที่เป็นข้อกำหนดกฎเกณฑ์เอาไว้แล้ว คือสอนให้รู้ว่า “จะต้องทำสิ่งนั้นๆ อย่างไร หรือ Knowing How”

    children smile 2การประยุกต์ใช้ Applications เพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21.
    Cognitive Approach นี้ เป็นการชี้ให้เห็นว่า “มีความคิด”อย่างหนึ่งอย่างใดในสมอง จึงผลักดันให้คนเราแสดงพฤติกรรมออกมาตามความคิดนั้น เนื่องจากสิ่งแวดล้อมทางสังคมเป็นเครื่องเร้า และแรงจูงใจ Stimuli and Incentives “ให้เกิดความคิด Concept” ในการก่อพฤติกรรม “การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล หรือ Learning is a process of thought resulting from the accumulated data.”

    การประยุกต์ใช้ Applications เพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21.ต้องตระหนักถึงการสร้างความหมายของข้อมูล Meaning of Data และความสัมพันธ์ของข้อมูล Data Relationships และการใช้ข้อมูล Using Data ตลอดจนการแก้ปัญหาต่างๆ Solve various Problems ล้วนแต่ใช้ความสามารถ “ทางสติปัญญา Intellectual Abilities”ทั้งนั้น การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความ เข้าใจให้แก่ตนเอง ดังนั้น คุณครูจะต้องหาทางออกแบบ Design เพื่อ “จัดประสบการณ์การเรียนรู้ หรือ Learning Experiences”ให้กับผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม ซึ่งสามารถยึดตามการชี้แนะของ เอดการ์ เดล Edgar Dale ในเรื่องกรวยประสบการณ์ ในการออกแบบการเรียนการสอนเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพทางการเรียนรู้สูงสุด
  3. Constructivism พิสูจน์ และเน้นให้เห็นว่า “คนเราทุกคน สร้างมุมมองของโลก ด้วยตัวของเราเองผ่านประสบการณ์ Based on the premise that we all construct our own perspective of the world, through Individual Experiences” และ Database Schema คือ การจำแนกแยกแยะ หรือ Critical Think ตามฐานข้อมูล ที่ได้รับจากประสบการณ์ เกิดความรู้จากภายในตนเองคามธรรมชาติ ก่อนการตัดสินใจต่อสิ่งแวดล้อมนั้นอย่างไรจึงจะได้ประโยชน์สูงสุด จาก “โลกแห่งความเป็นจริง หรือ The Real World”

    love thailandConstructivist Approach นี้ คือ การเรียนรู้แบบ “สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง Construct Self-Knowledge” โดยการแก้ปัญหาด้วยตนเองจากประสบการ Self Experience องค์ความรู้จึงเกิดจาก การพยายามหาทางแก้ปัญหาที่ตนเองได้ประสบ และเป็นการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการทางสังคม Social Negotiation จากการลงมือ “ปฏิบัติจริง หรือ Learning by Doing” ซึ่งผู้เรียนจะเรียนรู้ และสร้างความรู้ได้ จากโลกแห่งความเป็นจริง Real World จากสังคมที่ตนอยู่ หรือ Social Environment จากวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน Different Cultures จากเพื่อนๆ Friends.ฯ.. การเข้าไปมีส่วนร่วมโดยตรง หรือ Active Participation เป็นการสร้างความคิดรวบยอด หรือ Concept ด้วยตัวเอง โดยแต่ละคนก็จะมีวิธีการของที่แตกต่างกันเนื่องจากมีภูมิหลังและประสบการณ์ ที่แตกต่างกัน ในการร่วมกันคิด Brainstorming และการทำงานร่วมกัน Collaborative นั้น ทำให้ผู้เรียนเข้าถึงองค์ความรู้ที่แท้จริง

    การประยุกต์ใช้ Applications เพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21.
    การเรียนรู้ด้วยตนเอง หรือ Learning by Doing เป็นหลักการที่สำคัญที่สุด “By Doing” บอกให้รู้ว่าผู้เรียน “ต้องกระทำด้วยตนเองจึงจะได้รับประสบการณ์ตรง Direct Experience” การจัดการเกี่ยวกับข้อมูล Data Management ในการจัดการเรียนการสอน ตั้งแต่ การรวบรวมข้อมูล จัดระเบียบข้อมูล ตีความหมายของข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และการประเมินค่าข้อมูลที่ได้รับ Learner gathers, organizes, interprets, analyzes, evaluates data.. ตามแบบการเรียนของ Constructivist Learning นั้น.. ผู้เรียนจะเกิดความรู้และความจำชนิดถาวร Permanent Knowledge and Memory, เกิดความเข้าใจ Understanding, และสำคัญที่สุด การเรียนโดยวิธีนี้ จะทำให้เกิด การคิดวิเคราะห์ Critical Thinking และ เรียนรู้กระบวนการทำงาน Process ด้วยตนเองโดยธรรมชาติอีกด้วย.. “การระดมความคิด Brainstorming” ทำการเรียนแบบ “ช่วยเหลือเกื้อกูล และ การเรียนร่วมกัน หรือ Cooperative and Collaborative Learning” โดยการให้กลุ่ม “ร่วมกัน” สรุปหาคำตอบจากคำถามที่ได้รับ.. นับเป็น นวัตกรรม Innovation จนถึงการนำเสนอ Presentation นั้น คือการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21.โดยแท้...
นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)

Our Policy