foto1
ความงดงามการศึกษาไทย
foto1
เพื่อ?
foto1
ไม่เข้าใจ?
foto1
วิทยากรที่กระทรวงศึกษาธิการ สปป.ลาว
foto1
ท่องทะเลทรายที่ดูไบ UAE


Friendly Links

เรียนรู้ภาษา html
isangate banner
easyhome banner
ipst banner
sakdibhornssup foundation
13 Thai free fonts
speedtest
e mil

Facebook Likebox

No. of Page View

108Problems

ed playingม่ได้อัพเดทเสียนานมากๆ ครับ ไม่มีข้อแก้ตัวใดๆ นอกจากจะบอกว่า สมองตีบตัน แบบว่าพูดเรื่องเดิมๆ จนเบื่อแล้วก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้างเลย ไม่มีใครฟังใคร มีแต่นโยบายรายวัน ลักปิดลักเปิด สั่งการเรื่องนั้นที เรื่องโน้นที แล้วก็ตามด้วยให้รายงานด่วนว่าผลเป็นอย่างไร? จริงๆ ไม่ต้องถาม ไม่ต้องรายงานก็รู้อยู่แล้วว่าผลมันล้มเหลวตั้งแต่ต้น นี่คือการจัดการศึกษาและการแก้ปัญหาแบบไทยๆ

บอกเลยครับว่า กรุณาอ่านให้จบ...

ตอนนี้การศึกษาไทยกำลังใส่เกียร์ถอยหลังครับ โดยเฉพาะเรื่องการบริหารโครงสร้างการบริหารจัดการ เมื่อสิบกว่าปีก่อนเราเคยหลอมรวมหน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการ (โดยอ้างว่า เพื่อให้ตรงกับการปฏิบัติงาน ไม่มีความซ้ำซ้อน) ยุบศึกษาธิการจังหวัด/อำเภอ กรมวิชาการ กรมสามัญศึกษา และอื่นๆ มาเป็น สพฐ. มีสำนักงานเขตพื้นที่กระจายไปตามขนาดจังหวัดมากบ้าง น้อยบ้าง ต่อมาก็เรียกร้องอีกแยกเป็นเขตประถม/มัธยม เก้าอี้ร้อนวาบๆ กันไป แล้ววันนี้ ก็กลับมาจัดตั้งศึกษาธิการจังหวัดอีก พายเรือในอ่างไหมล่ะครับท่าน ครูก็มีเจ้านายหลายคนเหมือนเดิมไม่รู้จะฟังใครบ้าง ต้องรายงานเพิ่มมากขึ้นหลายระดับ โรงเรียนเป็นนิติบุคคลมันคืออุดมคติจริงๆ

การศึกษา ไม่ใช่ โรงงานอุตสาหกรรม ที่จะป้อนวัตถุดิบ(ผู้เรียน)ไม่ว่าจะดินเหนียว ร่วน ทราย อย่างใดแบบใดเมื่อผสมเคมี(ความรู้)ลงไปแล้ว จะต้องได้ก้อนอิฐสี่เหลี่ยมมาตรฐานเดียวกันออกมาใน 5 นาทีหลังจากนั้น การศึกษาต้องใช้เวลามากมายกว่านั้น อย่างน้อยๆ ก็มากกว่าวาระเป็นรัฐมนตรีของคนสั่งการเรื่องนโยบายแหละครับท่าน

ครูบ้านๆ คนหนึ่งกล่าวไว้

เราได้ยินมาคำว่า ‘ปฏิรูปการศึกษา’ ตั้งแต่หลายสิบปีก่อน แต่ถึงวันนี้ก็ยังต้องปฏิรูปการศึกษาอยู่ อะไรคือปลายทางของมัน

จริงๆ มันก็ควรจะเป็นอย่างนั้น ต้องปฏิรูปให้ต่อเนื่อง คำถามคือปฏิรูปอะไรต่างหาก ซึ่งส่วนใหญ่จะเริ่มด้วยการปฏิรูปโครงสร้าง เช่น จัดกระทรวงศึกษาธิการยังไง แล้วมันก็จะจบตรงนั้น เพราะกระบวนการจัดกระทรวง เอากรมไหนมายุบรวมกับกรมไหน โดยธรรมชาติก็เป็นเรื่องการเมืองที่มีคนได้-คนเสีย และคนที่เสียก็จะสู้ พอสู้กันมันก็จะใช้เวลา แล้วสุดท้ายก็ลืมไปว่าจะจัดกระทรวงไปเพื่ออะไร แล้วพลังในการปฏิรูปก็จะหายไป เพราะวุ่นวายกับตำแหน่งและเก้าอี้จนลืมเด็กนักเรียนเสียสิ้น

และแล้วการปฏิรูปการศึกษาของประเทศเราก็ไปไม่ถึงห้องเรียนจริงๆ ไปไม่ถึงเด็ก ถ้าจะเริ่มต้นใหม่ ต้องเริ่มกลับกันว่า จะทำยังไงให้ห้องเรียนมันเอื้อต่อการเรียน ให้เด็กสนใจ ให้เด็กสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองต่อไปในอนาคต ถ้าเริ่มได้ดีถูกต้องอย่างน้อย แล้วค่อยย้อนกลับไปว่าจะจัดการกระทรวงยังไง ไม่ใช่เริ่มจากจัดการกระทรวงก่อน มันถึงจะมีโอกาสตกอยู่กับเด็กมากยิ่งขึ้น ซึ่งถ้าจะปฏิรูปอย่างนี้ มันจะต้องให้ครูมีอิสระมากยิ่งขึ้น ให้โรงเรียนมีอิสระมากยิ่งขึ้น และเมื่อเขามีอิสระอยากจะพัฒนาเด็ก พัฒนาการเรียนการสอนแล้วอะไร เขาขาดอะไร ค่อยไปช่วยตรงนั้น วิธีแบบนี้จะปฏิรูปการศึกษาได้ผลดีกว่า ไม่ใช่จะเอามือไปชี้ว่า โรงเรียนนั้นไอซียู ขั้นโคม่า มันทำให้เสียกำลังใจของคนทำงาน โรงเรียนเขาขาดกำลังดิ้นรนต้องการการสนับสนุนไม่ใช่การประจาน

children day 03

ปัญหาของเราตอนนี้ง่ายๆ เลยคือ "เด็กเราอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ คิดไม่เป็น ชอบทำตามคำบอก ชอบแบบสำเร็จรูปง่ายๆ เลือกแล้วกาถูก" ถ้าให้แสดงความคิดความเห็นแล้วจะใบ้กินทันที เมื่อเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 แล้ว ผลสัมฤทธิ์ที่ปรากฏควรจะเป็น อ่านภาษาไทยออก เขียนได้ บวกเลขได้ถูกต้อง ถ้ายังไม่ผ่านต้องซ่อมเสริมให้ผ่านให้ได้ อย่าผลักภาระให้ระดับชั้นสูงขึ้นไป ให้ไปแก้ไขปัญหากันเอาเอง เพราะไม่มีทางจะแก้ไขได้อีกแล้วด้วยชั้นที่สูงขึ้นไปก็มีวิชาที่เรียนมากขึ้น และที่สำคัญเมื่อเขาอ่านไม่ออก-เขียนไม่ได้ก็จะไม่สามารถทำความเข้าใจในความรู้ต่างๆ ได้ เกิดความท้อถอยเบื่อหน่ายการเรียน เรียนๆ ไปครูมัธยมก็โทษครูประถม ถึงมหาวิทยาลัยอาจารย์ก็โทษครูมัธยมปล่อยมาได้อย่างไร? วัวพันหลักแน่นอน

เรื่องเด็กไทยไม่กล้าแสดงออกนนี่ก็อีกหนึ่ง ปัญหานี้ไม่ได้เกิดจากการเรียนการสอนที่โรงเรียนอย่างเดียว เกิดมาจากสังคมครอบครัวรอบข้างด้วย อยู่บ้านก็ไม่มีโอกาสได้แสดงความคิดเห็น เพราะผู้ปกครองบางคนมักจะบอกว่า "อย่ามาเถียง" ทั้งๆ ที่เป็นการให้เหตุผลถูกผิด แต่ผู้ใหญ่จะไม่ยอมแพ้ ยอมเสียหน้าก็เลยใช้การตวาดกลบเกลื่อน ส่งผลให้เด็กไม่กล้าแสดงออกอีกจนกระทั่งเมื่อมาเรียนที่โรงเรียน ก็ขอหลบๆ อยู่หลังเพื่อนก้มหน้านิ่งดีกว่า

ที่ผ่านมาบางเรื่องก็ออกมาเป็นนโยบายที่ดี เช่น นโยบาย ‘ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้’ ซึ่งโดยหลักการดีมากๆ เนื่องจากเด็กไทยเรียนเยอะมาก เฉลี่ยปีละ 1,200 ชั่วโมง เมื่อเทียบกับเด็กฟินแลนด์ สิงคโปร์ ประเทศที่การศึกษาดีลำดับต้นๆ ของโลก ก็เรียนแค่ปีละ 600-700 ชั่วโมงเท่านั้น คือเราเรียนมากกว่าเขาเยอะ แต่ผลการเรียนก็ยังแย่ จนมีคำพูดว่า ‘ยิ่งเรียนยิ่งโง่’ การลดเวลาเรียนจึงเป็นสิ่งที่ถูก แต่เขาก็พลาดตรงลดแล้วไม่รู้จะไปเพิ่มเวลารู้อย่างไร คือมีแต่ชื่อนโยบาย ไม่มีรายละเอียด ไม่มีกิจกรรมที่จะต้องดำเนินการอย่างไร ซึ่งก็เคยมีเด็กๆ มานั่งคุยให้ฟังว่า ต่อให้เลิกแล้วก็ยังไม่ปล่อยให้กลับบ้าน แต่กักไว้ให้ทำกิจกรรม เช่น ติวโอเน็ต ครูบางคนก็เอามาสอนชดเชยวิชาที่ตัวเองสอนไม่ทัน มันก็เลยกลายเป็นห้องเรียนแบบเดิมนั่นแหละ

เวลานี้เรามีความจำเป็นต้องพัฒนา "ครู" เพราะครูมีอัตราเกษียณอายุราชการเยอะมาก ประเทศที่มีระบบการจัดการศึกษาที่ดีเพราะเขามีครูที่มีคุณภาพดี เราขาดครูที่มีศักยภาพ (ครูที่มีความตั้งใจจะมาทำหน้าที่ครูด้วยใจรักในการสอน ต้องการถ่ายทอดความรู้ไปสู่เด็ก ไม่ใช่มารับจ้างสอนเอาเงินเดือนเพื่อครองชีพ) แม้ว่าจะมีการออกมาตรการให้การสนับสนุน จัดอบรมครูปฏิบัติการปัจจุบันออกมามากมาย อบรมจนคุณครูออกมาบ่นว่าไม่มีวันหยุด ไม่มีเสาร์-อาทิตย์ ไม่มีเวลาให้ครอบครัวตัวเอง แต่ต้องมารับผิดชอบลูกคนอื่นเกินร้อยเปอร์เซนต์

ภายใน 10 ปีข้างหน้านี้จะมีครูเกษียณถึง 2.1 แสนคน ถ้ารับเข้ามาใหม่ อาจไม่เท่าเดิม เพราะเด็กเกิดน้อยลง แต่ก็น่าจะมีมากถึง 1.4 แสนคน สิ่งสำคัญคือครูรับใหม่เหล่านี้จะอยู่กับเราอีก 30-40 ปี เรียกได้ว่าชั่วชีวิตของคนหนึ่งรุ่น ถ้าได้ครูที่ไม่ดี ไม่เก่งพอ แปลว่าการศึกษาไทยไม่ใช่แค่จะปฏิรูปตอนนี้ไม่สำเร็จ แต่อีก 30 ปีข้างหน้าก็ไม่สำเร็จ ดังนั้น ช่วงเวลานี้จึงเป็น ‘โอกาสทอง’ เลย เพราะครูจะเกษียณกันมาก ซึ่งรัฐบาลนี้ก็ได้ทำอะไรไปบางอย่าง แต่ก็ยังไม่เห็นรูปธรรมของการปรับเกณฑ์การสมัครสอบครูให้เข้มงวดมากขึ้น ไม่มีการเล่นพรรคเล่นพวก ก็เห็นอยู่นิดหนึ่งที่มีการประกาศผลออกมาว่า บางวิชาเอกไม่มีผู้สอบผ่านการคัดเลือก ทั้งๆ ที่สมัครสอบเกินพันคน นี่คืออะไร? คนสอบไม่มีความรู้ หรือข้อสอบยากเกินไป

teacher test

เมื่อสัปดาห์ที่แล้วก็มีข่าวดราม่าเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันมากมายบนสื่อสังคมออนไลน์ ดูเหมือนจะเป็นการสอบ "โครงการครูคืนถิ่น" ซึ่งมีเกณฑ์การสอบภาษาอังกฤษว่า

มีผลการทดสอบ TOEFL ได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 400 (paper) หรือไม่ต่ำกว่า 120 (CBT) หรือไม่ต่ำกว่า 40 (IBT) หรือ IELTS ไม่ต่ำกว่า 3.5 หรือ TOEIC ไม่ต่ำกว่า 400 หรือใช้การทดสอบอื่นๆ ที่เทียบเท่า TOEFL ได้เช่น CU-TEP

000ก็ถือว่าเป็นเกณฑ์ที่ไม่สูงมากมายอะไร ตอนนี้ภาษาอังกฤษมีความจำเป็นมากในทุกสาขาอาชีพ ยิ่งการเป็นครูยุค 4.0 นี่ยิ่งต้องใช้ จำเป็นมากในการค้นคว้าหาความรู้นอกตำราเรียนของกระทรวง ต้องให้ได้ดีกว่าเด็ก ความรู้ต่างๆ ทางวิชาการส่วนใหญ่จะตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษที่ครูต้องอ่านต้องรู้ครับ ลืมแล้วหรือว่า เราเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนแล้ว แต่ครูแค่ท่องจำได้แค่ชื่อประเทศกับสีธงชาติ สื่อสารอะไรไม่ได้ กับคำกล่าวที่ว่า "ร้านอาหารหรูในห้างดัง ในโรงแรมใหญ่จ้างพนักงานต้อนรับจากพม่า ฟิลิปปินส์ เพราะพูดภาษาอังกฤษได้คล่อง ส่วนพนักงานไทยไปล้างจาน" คนที่คิดจะมาเป็นครูคิดยังไงบ้างครับ?

มีบางคนต่อรองขอผลการสอบ TOIEC 250 ได้ไหม? เฮ้ยมันเกินไปนะ ในการสมัครงานภาคเอกชนหลายแห่งเขารับ 600 ขึ้นไปแล้วนะ นี่อาชีพครูที่ต้องไปสอนลูกหลาน 400 ถือว่าต่ำมาก การสอบโทอิคนี่ถือว่ามีความเข้มข้นน้อยกว่า TOEFL มาก มีคะแนนเต็มที่ 990 คะแนน จะขอ 250 นี่มันยังไม่ถึงครึ่งเลยนะ (คิดสิคิด...) เด็กนักเรียนในปัจจุบันเขาขวานขวายที่จะพยายามอ่านหนังสือสอบภาษาอังกฤษยากๆ เช่น CU-Tep Tu-Get TOEFL แต่ครูมานั่งเรียกร้องต่อรองลดคะแนนโทอิค ไม่อายกันเหรอครับ (โรงเรียนบางแห่งตั้งเกณฑ์จบการศึกษา ม.6 ต้องผ่าน TOEFL ไม่ต่ำกว่า 500 นะครับ)

อ้างว่า "ค่าสมัครทดสอบแพง" แต่ยินดีจะจ่ายเป็นหมื่นถ้าจัดอบรมแล้วให้ผ่าน(ไม่ต้องสอบ) ดูมันย้อนแย้งชอบกลนะ การศึกษาคือการลงทุน คุณบอกว่าคุณเก่งแต่ไม่มีการทดสอบ ไม่มีสถาบันมาตรฐานมารองรับใครจะเชื่อ การสอบ TOIEC สถาบันการศึกษาต่างๆ สามารถทำเรื่องขอจัดสอบในต่างจังหวัด/สถานศึกษาของท่านได้ โดยติดต่อกับสถาบันโดยตรง ซึ่งจะมีการกำหนดจำนวนผู้เข้าสอบ/ค่าสมัครให้ครอบคลุมค่าใช้จ่าย/การเดินทางของเจ้าหน้าที่ 2 คน (ค่าสมัครสอบในศูนย์กรุงเทพฯ คนละ 1,500 บาท ถ้าต่างจังหวัดอาจจะบวกเพิ่มค่าใช้จ่ายนิดหน่อย หรือถ้ามีจำนวนมากอาจไม่ต้องเพิ่มก็ได้) รายละเอียดการสอบ TOIEC ติดต่อสบาบันเพื่อสมัครสอบและอื่นๆ คลิกที่นี่ TOIEC Thailand

english4you

จริงอยู่ ที่การทดสอบภาษามันยากสำหรับคนที่ไม่ได้ใช้ประจำ แต่เคยได้ยินไหมว่า "ครูไม่ควรหยุดที่จะพัฒนาตนเอง อย่าทำตัวเป็นน้ำเต็มแก้วที่เติมอะไรลงไปอีกไม่ได้แล้ว" อย่าไปคิดว่า ภาษาอังกฤษไม่ได้จำเป็นอะไรสำหรับหลายๆ วิชาก็จริง แต่การมีพื้นฐานภาษาอังกฤษไว้ก็ดีกว่าไม่ใช่หรือ เป็นครูวิชาภาษาไทยพอได้สอนแทนครูภาษาอังกฤษที่ป่วยจะได้ไม่อ่านให้เด็กฟังว่า "This is a table - ดีส อีส อะ แท็ป-เล่" ให้เด็กได้ฮากันทั้งห้อง แล้วยังมาดุเด็กอีกเมื่อเด็กว่าครูอ่านผิด "มันเทเบิ้ลนะครู พี่ผมอยู่ ม.๑ อ่านให้ฟัง" "เออๆ ขึ้น ม.๑ ค่อยอ่านเทเบิ้ล"

ก่อนจบบทความนี้ ก็ขอฝากเพื่อนครูทุกท่านครับ คงมีโทรศัพท์สมาร์ทโฟนใช้กันอยู่แล้ว ลองไปดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นพวกนี้มาฝึกปรือภาษาอังกฤษกันดีกว่าครับ อาจจะช่วยให้คุณครูได้ทันสมัยไม่ล้าหลังกันนะครับ

app english

 และท่านยังสามารถจะเข้าไปฝึกฝนการสอบ TOIEC แบบออนไลน์ได้จากเว็บต่อไปนี้ได้ฟรีๆ เพียงสมัครลงทะเบียนนิดหน่อยเอง เป็นกำลังใจให้นะครับ

toiec test 1
http://www.english-test.net/toeic/listening/autobahn.html
toiec test 2
http://examenglish.com/TOEIC/TOEIC_listening_part1.htm

 

 

 

 

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)

Our Policy