Image_01 Image_02 Image_03
Krumontree.com Krumontree.com Krumontree.com
Home
Internet and Browser
Create and Design
Basic HTML
Beautiful Images
Control with Table
Links to the others
More tips and Tricks
FTP to Web Hosting
left_bottom

บทเรียนนี้จะเข้าไปในรายละเอียดของส่วนเนื้อหาที่อยู่ระหว่างคำสั่ง <body> ... </body> กันเลย ในตัวคำสั่ง body เองสามารถระบุส่วนขยายที่เป็นสี/ภาพพื้นหลัง และเทคนิคการเชื่อมโยงได้

ytBODY : เทคนิคการนำเสนอในส่วนเนื้อหา

โดยปกติเมื่อไม่มีการกำหนดอะไรเป็นพิเศษในคำสั่ง body บราวเซอร์จะแสดงผลหน้าเว็บเพจเป็นพื้นหลังสีขาว ตัวอักษรสีดำเสมอ ในคำสั่ง body เราสามารถระบุค่าสีของพื้นหลัง ตัวอักษร และจุดเชื่อมโยงได้ตามต้องการ ดังนี้

<body bgcolor="#000099" text="#FFFFFF" link="#00FFFF" alink="#00FF00" vlink="#FF99FF">

bgcolor = การกำหนดสีพื้นหลัง
link = การกำหนดสีของจุดเชื่อมโยง (link)
background = การกำหนดรูปภาพพื้นหลัง (ใช้ภาพสกุล .jpg, .gif)
alink = การกำหนดสีของจุดเชื่อมโยงขณะนำเมาท์ไปชี้ (active link)
text = การกำหนดสีตัวอักษรในหน้าเว็บเพจทั้งหมด (ยกเว้นส่วนที่กำหนดพิเศษ)
vlink = การกำหนดสีของจุดเชื่อมโยงเมื่อคลิกไปเยี่ยมชมมาแล้ว (visited link)

การกำหนดค่าสีนั้น สามารถกำหนดโดยระบุชื่อสีโดยตรง เช่น black, white, blue, green,... เป็นต้น แต่การกำหนดแบบนี้ จะไม่สามารถระบุความเข้มแบบไล่เฉดสีอ่อนแก่ได้ จึงได้ใช้ค่าสีเป็นตัวเลขฐานสิบหก (hexadecimal format) โดยกำหนดเป็นค่าสีของแสง RGB แต่ละสีประกอบด้วยเลข 2 หลัก

ในแต่ละสีจะมีค่าของสีจากมืดไปสว่างดังนี้ 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 A B C D E F เลข 2 หลักของแต่ละสีจึงมีค่าได้ตั้งแต่ 00 – FF หรือแปลงค่าเป็นตัวเลขได้ตั้งแต่ 0 – 255 ดังนั้นเมื่อเรากำหนดค่าสีเป็น 00FF00 (red=0, green=255, blue=0) ดังนั้นผลลัพธ์ที่ได้คือ สีเขียวสด

ไฟล์ตัวอย่าง

แสดงการกำหนดสีพื้นหลัง ตัวอักษร และการเชื่อมโยงในหน้าเว็บเพจ ในตัวอย่างนี้ได้เพิ่มเติมการใช้ภาพเป็นพื้นหลัง ด้วยคำสั่ง Background และระบุชื่อรูปภาพที่ใช้นั้นชื่อ bgimage.gif

<!doctype html>
<html>

      <head>
          <title>
              Example of Body : ไฟล์ตัวอย่างคำสั่ง BODY
          </title>
      </head>
      <body background="bgimage.gif" bgcolor="#ffffff" text="#000099" link="#ff0000" vlink="#990099" alink="#009900">
            ข้อความที่แสดงในส่วนเนื้อหา
      </body>
</html>

ytText Formatting : การกำหนดรูปแบบตัวอักษร

การกำหนดรูปแบบตัวอักษรให้มีความแตกต่าง เพื่อการเน้นข้อความสำคัญ สามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยการใช้คำสั่งกำกับข้อความ หรือคำที่ต้องการได้ดังนี้

  • <b>ตัวอักษรตัวหนา</b> สำหรับการกำกับคำหรือข้อความที่ต้องการให้เป็นตัวหนา ทึบ
  • <i>ตัวอักษรตัวเอียง</i>   สำหรับการกำกับคำหรือข้อความที่ต้องการให้เป็นตัวเอียง
  • <u>ตัวอักษรตัวขีดเส้นใต้</u> สำหรับการกำกับคำหรือข้อความที่ต้องการให้เป็นตัวขีดเส้นใต้
            และยังสามารถใช้คำสั่งทั้งสามนี้ผสมกัน เพื่อให้รูปแบบตัวอักษรมีทั้งสอง หรือสามรูปแบบ

ytFont [size | color | face] : การกำหนดขนาด/สี/แบบตัวอักษร

เพื่อให้การจัดวางรูปแบบของหน้าเว็บเพจดูน่าสนใจ เราสามารถกำหนดขนาด สี และแบบของตัวอักษรได้ในทุกๆ ตำแหน่งที่ต้องการ ด้วยการระบุคำสั่งลงไปกำกับคำ หรือข้อความนั้น

การกำหนดหัวเรื่อง

หัวเรื่อง (Heading) ของเว็บเพจสามารถกำหนดได้ ด้วยการใช้คำสั่ง <Hx> ... </Hx> เมื่อ x คือค่าตัวเลขตั้งแต่ 1 - 7 ซึ่งจะกำหนดให้ตัวอักษรที่อยู่ภายในคำสั่งนี้มีขนาดใหญ่ไปจนถึงเล็ก เรียงตามลำดับ จากตัวเลข 1 มีขนาดใหญ่สุด และ ตัวเลข 7 จะมีขนาดเล็กที่สุด (คำสั่งนี้จะทำให้คำ หรือข้อความนี้เป็นตัวหนา และตัดคำขึ้นบรรทัดใหม่เสมอ) ดังตัวอย่าง

<H1>ขนาดหัวเรื่อง 1</H1>
<H2>ขนาดหัวเรื่อง 2</H2>
<H3>ขนาดหัวเรื่อง 3</H3>
<H4>ขนาดหัวเรื่อง 4</H4>
<H5>ขนาดหัวเรื่อง 5</H5>
<H6>ขนาดหัวเรื่อง 6</H6>
<H7>ขนาดหัวเรื่อง 7</H7>

ขนาดหัวเรื่อง 1

ขนาดหัวเรื่อง 2

ขนาดหัวเรื่อง 3

ขนาดหัวเรื่อง 4

ขนาดหัวเรื่อง 5
ขนาดหัวเรื่อง 6
ขนาดหัวเรื่อง 7

การกำหนดขนาดตัวอักษร

การใช้คำสั่งกำหนดขนาดแบบหัวเรื่องนั้น มีข้อเสียคือ ไม่สามารถจะนำอักษรต่างขนาดกัน มาวางไว้บนบรรทัดเดียวกันได้ เราสามารถกำหนดขนาดฟอนต์ด้วยคำสั่ง <FONT SIZE="n"> ...</FONT> เมื่อ n เป็นค่าตัวเลขตั้งแต่ 1 - 7 เช่นเดียวกันกับหัวเรื่อง แต่การแสดงผลจะเป็นตรงกันข้ามคือ ตัวเลข 7 จะขนาดใหญ่สุด และตัวเลข 1 มีขนาดเล็กที่สุด ดังตัวอย่าง

<font size="1">ตัวอักษรขนาด 1</font>
<font size="2">ตัวอักษรขนาด 2</font>
<font size="3">ตัวอักษรขนาด 3</font>
<font size="4">ตัวอักษรขนาด 4</font>
<font size="5">ตัวอักษรขนาด 5</font>
<font size="6">ตัวอักษรขนาด 6</font>
<font size="7">ตัวอักษรขนาด 7</font>
ตัวอักษรขนาด 1
ตัวอักษรขนาด 2
ตัวอักษรขนาด 3
ตัวอักษรขนาด 4

ตัวอักษรขนาด 5

ตัวอักษรขนาด 6


ตัวอักษรขนาด 7

การกำหนดสี/แบบตัวอักษร

การกำหนดสี แบบตัวอักษรจะใช้คำสั่งฟอนต์เช่นเดียวกัน แต่จะใช้คุณสมบัติขยายของฟอนต์เป็น COLOR="color name" และ FACE="font name" และยังสามารถผสมผสานกับคำสั่งขนาดเดิมได้ เพื่อให้คำสั่งสั้นลง ดังตัวอย่าง

<font size="4" color="#006600" face="LilyUPC">ฟอนต์แบบ LilyUPC</font>

คุณสามารถจะระบุฟอนต์พิเศษใดๆ ก็ได้ แต่ต้องระวังว่า หากผู้ชมเว็บของคุณไม่ได้ติดตั้งฟอนต์เหล่านั้น ในระบบปฏิบัติการที่เขาใช้ เขาก็จะไม่มีโอกาสได้เห็นฟอนต์ที่สุดสวยของคุณ ตามที่ระบุไว้ จะเป็นการดีที่เราจะระบุฟอนต์ที่คาดว่า ผู้ชมจะมีในเครื่องของเขา ด้วยการระบุฟอนต์มาตรฐานหลายๆ แบบลงไป เพื่อให้การแสดงผลทำได้ถูกต้อง โดยเฉพาะเว็บเพจภาษาไทย ต่อไปนี้คือฟอนต์มาตรฐานที่ควรใช้กับเว็บเพจภาษาไทย โดยกำหนดไว้ในบรรทัดต่อจากคำสั่ง <body>

<font face="MS Sans Serif, Tahoma, Thonburi, CordiaUPC, AngsanaUPC, FixedDB ThaiText New, DB ThaiTextFixed">

เพราะคำสั่ง Font Face นี้ จะสามารถทำให้ผู้เข้าชมเว็บเพจของเรา อ่านภาษาไทยได้ โดยการเรียกเอา Font ในเครื่องของผู้ใช้ ที่เข้ามาชมเว็บไซต์ของเราออกมาใช้ จะค้นหา Font เรียงตามลำดับที่เราเขียนไว้ ถ้าไม่พบก็จะไปใช้ฟอนต์ตามคำสั่งของผู้ชมที่กำหนดไว้ในบราวเซอร์ใน ส่วนของ View > Encoding > User define ต่อไป

ในปัจจุบันนี้มีฟอนต์ภาษาไทยสวยๆ จากเว็บไซต์ของ Google ที่เราสามารถนำมาใช้ให้แสดงผลในเว็บไซต์เรา ด้วยการเข้าไปเลือกแบบตัวอักษรได้จากเว็บไซต์ Google Fonts แล้วเลือกค้นหาอักษรภาษาไทย (ตำแหน่งลูกศรชี้ในภาพ) ซึ่งมีหลายตัวดังนี้

Google fonts

เมื่อเลือกฟอนต์ตามที่ต้องการแล้ว ก็สามารถคลิกที่วงกลมเครื่องหมายบวก เพื่อเข้าไปนำโค้ดฟอนต์ดังกล่าวมาใช้งานในหน้าเว็บของเราได้เลย ดังภาพเลือกฟอนต์ชื่อ Chonburi จะปรากฏกล่องสีดำด้านล่างว่า เราเลือกฟอนต์นี้แล้ว

Google fonts

เมื่อคลิกที่กล่องดำจะขยายออกให้เห็นคำสั่งต่างๆ ที่เราจะนำฟอนต์ดังกล่าวมาใช้ได้

Google fonts

การนำไปใช้ในหน้าเว็บไซต์ HTML หน้าใดๆ ก็เพียงแต่นำคำสั่งด้านล่างนี้ไปไว้ในระหว่างส่วน <head> ... </head> ของหน้านั้นเช่นในหน้านี้ ดังตัวอย่าง

<link href="https://fonts.googleapis.com/css?family=Chonburi" rel="stylesheet">

แล้วเรียกใช้โดยกำหนด Font face ใบรรทัดที่ต้องการใช้งาน ดังนี้

<h1><font color="#0000FF" face="Chonburi">การเลือกใช้ฟอนต์ Chonburi</font></h1>

ผลของการเรียกใช้ดังด้านล่างนี้

การเลือกใช้ฟอนต์ Chonburi

หากต้องการนำไปใช้แสดงผลในทุกๆ หน้า เราจะใช้การกำหนดคำสั่งใน Stylesheet ซึ่งจะได้ศึกษาในหัวข้อถัดไป (บทที่ 6)

ytTips & Tricks : เทคนิคเพิ่มเติม

บทนี้มีเทคนิคค่อนข้างมาก และมีส่วนสำคัญในการทำให้หน้าเว็บเพจของเราน่าสนใจขึ้น อ่านง่าย เอาชนะข้อจำกัดต่างๆ ได้มากขึ้น ถึงตอนนี้คุณก็สามารถจะเพิ่มเติมข้อความใดๆ ลงในหน้าเว็บเพจของคุณได้แล้ว

ไม่มีวิธีการใดที่จะช่วยให้คุณจดจำคำสั่งที่หลากหลายเหล่านี้ได้ นอกจากจะใช้งานมันบ่อยๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีก คำสั่งในภาษา HTML นั้นจะเขียนด้วยตัวอักษรตัวใหญ่ หรือตัวเล็ก หรือผสมกันก็ได้ มีเงื่อนไขที่ต้องระวังคือ

  • หลังเครื่องหมาย < กับอักษรตัวแรกของคำสั่ง ต้องไม่มีช่องว่างโดยเด็ดขาด
  • ระหว่างค่าคุณสมบัติแต่ละค่าต้องเว้นวรรคเสมอ
  • การพิมพ์เครื่องหมายระหว่าง =" จะต้องติดกันไม่มีช่องว่าง และการพิมพ์ " (Double quotes) ต้องกดแป้นเพียงครั้งเดียว ไม่ใช่พิมพ์ ' (Single quote) 2 ครั้ง

การพิมพ์โค๊ดคำสั่งเองนั้น อาจมีการผิดพลาดได้ง่ายจึงต้องระมัดระวัง ช่างสังเกตให้มาก เมื่อทดสอบแล้วการแสดงผลผิดพลาด จะต้องใจเย็นในการตรวจสอบโค๊ด ซึ่งจะช่วยให้เราจดจำคำสั่งต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้นด้วย

ytEND : สรุปคำสั่งที่ใช้ในตอนนี้
TAGS รายละเอียด
<body> ... </body> คำสั่งกำหนดการแสดงผลในส่วนเนื้อหาของเว็บเพจ
<b> ... </b>,
<i> ... </i>,
<u> ... </u>
การกำหนดรูปแบบตัวอักษรเป็นตัวหนา
ตัวเอียง
และขีดเส้นใต้
<Hx> ... </Hx> การกำหนดขนาดตัวอักษรหัวเรื่อง เมื่อ x คือ ตัวเลข 1-7 เป็นขนาดเรียงลำดับจากใหญ่สุดไปเล็กสุด
<font size="n"> การกำหนดขนาดตัวอักษร เมื่อ n คือ ตัวเลข 1-7 เป็นขนาดเรียงลำดับจากเล็กสุดไปใหญ่สุด
<font face="name"> การกำหนดชื่อแบบตัวอักษรให้แตกต่างจากข้อความส่วนอื่น
<font color="name"> การกำหนดสีของตัวอักษรให้แตกต่างจากข้อความส่วนอื่น ใช้ได้ทั้งแบบระบุชื่อสี หรือกำหนดค่าตัวเลขฐาน 16 (Hexadecimal)

 

Your visitor no.
Create & Design Web Page with Basic HTML & Tools
Author : KruMontree Kotkanta     e-M@il : webmaster at krumontree.com