Image_01 Image_02 Image_03
Krumontree.com Krumontree.com Krumontree.com
Home
Internet and Browser
Create and Design
Basic HTML
Beautiful Images
Control with Table
Links to the others
More tips and Tricks
FTP to Web Hosting
left_bottom

จากบทเรียนที่ผ่านมาเราได้ศึกษาคำสั่งเกี่ยวกับตัวอักษรมาแล้ว และพบว่า มีเฉพาะคำสั่ง <Hx> ... </Hx> เท่านั้นที่มีการตัดคำหรือข้อความขึ้นบรรทัดใหม่ ซึ่งในความเป็นจริงนั้น การป้อนข้อความในหน้าเว็บเพจ จะต้องมีการตัดคำขึ้นบรรทัดใหม่ เพื่อให้เกิดความสวยงาม น่าอ่าน และเพื่อการเน้นข้อความสำคัญ และเพื่อให้มีความน่าสนใจยิ่งขึ้นก็จำเป็นจะต้องมีการแทรกภาพเข้าไปด้วย

ytLine Break : การตัดคำขึ้นบรรทัดใหม่

ในบทที่ผ่านมาจากไฟล์ตัวอย่าง จะพบว่าหากพิมพ์ข้อความยาวๆ เมื่อต้องการจะตัดคำขึ้นบรรทัดใหม่ต้องใช้คำสั่งหยุดการแสดงผล (Break) คำสั่งคือ <br> แทรก ณ ตำแหน่งที่ต้องการให้ขึ้นบรรทัดใหม่ ดังตัวอย่าง

ตัวอย่าง
        การเขียนข้อความที่ต้องการตัดคำขึ้นบรรทัดใหม่สามารถทำได้ด้วยการใช้คำสั่ง Break (br) แทรก<br>ตัวอย่างบรรทัดนี้จะถูกตัดลงบรรทัดถัดไป
 
ผลที่ได้
        การเขียนข้อความที่ต้องการตัดคำขึ้นบรรทัดใหม่สามารถทำได้ด้วยการใช้คำสั่ง Break (br) แทรก
        ตัวอย่างบรรทัดนี้จะถูกตัดลงบรรทัดถัดไป
 

นอกจากนั้นเรายังสามารถแบ่งข้อความในรูปของย่อหน้า (Paragraph) สำหรับกลุ่มข้อความจำนวนมากได้ ด้วยการใช้คำสั่ง <P> ... </P> ผลที่ได้จะแตกต่างจากการใช้คำสั่ง <br> นั่นคือจะมีการเว้นช่องว่างหนึ่งบรรทัดก่อนและหลังย่อหน้า ดังตัวอย่าง

ตัวอย่าง
<P>นี่คือตัวอย่างของการจัดกลุ่มข้อความแบบย่อหน้าที่ใช้คำสั่ง Paragraph กำกับ นี่คือย่อหน้าแรก</P>
<P>นี่คือตัวอย่างของการจัดกลุ่มข้อความแบบย่อหน้าที่ใช้คำสั่ง Paragraph กำกับ นี่คือย่อหน้าที่สอง</P>
ประโยคใหม่ที่ไม่มีคำสั่งกำกับ
 
ผลที่ได้

นี่คือตัวอย่างของการจัดกลุ่มข้อความแบบย่อหน้าที่ใช้คำสั่ง Paragraph กำกับ นี่คือย่อหน้าแรก

นี่คือตัวอย่างของการจัดกลุ่มข้อความแบบย่อหน้าที่ใช้คำสั่ง Paragraph กำกับ นี่คือย่อหน้าที่สอง

          ประโยคใหม่ที่ไม่มีคำสั่งกำกับ

ytSpace between texts : การกำหนดช่องว่างระหว่างข้อความ

บราวเซอร์จะไม่สนับสนุนการแสดงผลการเคาะเว้นวรรค มากเกินกว่า 1 เคาะ (จะเว้นวรรคด้วยการเคาะ 10 ช่องก็แสดงเพียงช่องเดียว) และการกดปุ่มเยื้องย่อหน้าก็จะแสดงเพียง 1 ช่องว่างเท่านั้น เราสามารถกำหนดให้แสดงช่องว่างได้มากกว่า 1 ช่องว่างได้ด้วยการแทรกอักขระพิเศษลงไปคือ   &nbsp;   แทน 1 ชุดต่อ 1 ช่องว่างตัวอักษร ดังตัวอย่าง

ตัวอย่าง
การแทรกช่องว่างเกินกว่า 1 ช่องว่าง เช่น นายมนตรี &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; โคตรคันทา (เว้น 5 ช่อง ระหว่างชื่อ - นามสกุล)
 
ผลที่ได้
การแทรกช่องว่างเกินกว่า 1 ช่องว่าง เช่น นายมนตรี       โคตรคันทา (เว้น 5 ช่อง ระหว่างชื่อ - นามสกุล)
 

ytIndented Text : การจัดเยื้องย่อหน้าข้อความ

ถ้าเราต้องการให้ข้อความมีการเยื้องจากขอบทั้งสองข้างของหน้าเว็บเพจ สามารถใช้คำสั่ง <BLOCKQUOTE> ... </BLOCKQUOTE> ได้ ข้อความที่อยู่ระหว่างคำสั่งดังกล่าวจะเยื้องระยะจากขอบทั้งสองด้านดังตัวอย่าง

ตัวอย่าง
<BLOCKQUOTE> ข้อความนี้ต้องการเยื้องให้ห่างจากขอบทั้งสองข้าง เพื่อให้เกิดกลุ่มข้อความที่ดูสวยงามอ่านง่าย ด้วยการใช้คำสั่ง <BLOCKQUOTE> </BLOCKQUOTE>
ผลที่ได้
ข้อความนี้ต้องการเยื้องให้ห่างจากขอบทั้งสองข้าง เพื่อให้เกิดกลุ่มข้อความที่ดูสวยงามอ่านง่าย ด้วยการใช้คำสั่ง <BLOCKQUOTE>

แต่ถ้าหากเราต้องการเยื้องย่อหน้าในบรรทัดแรก เพียงบรรทัดเดียว ก็สามารถใช้การแทรกตัวอักษรว่างลงไป เท่ากับจำนวนเคาะวรรค ที่ต้องการได้โดยตรง หรือ จะกำหนดในคำสั่งย่อหน้า <p style="text-indent: 30"> ก็ได้ (ใช้ได้ดีกับบราวเซอร์ IE บราวเซอร์อื่นอาจไม่แสดงผล ต้องทดสอบดู) ดังตัวอย่าง

ตัวอย่าง
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การเยื้องย่อหน้าด้วยการแทรกอักษรว่างลงไป 6 ชุด (ตัวอักษร)
<p style="text-indent: 30">การเยื้องย่อหน้าด้วยการกำหนดสไตล์ให้กับคำสั่งย่อหน้า ค่าตัวเลข 30 คือหน่วยพิกเซล </p>
ผลที่ได้
          การเยื้องย่อหน้าด้วยการแทรกอักษรว่างลงไป 6 ชุด (ตัวอักษร)

การเยื้องย่อหน้าด้วยการกำหนดสไตล์ให้กับคำสั่งย่อหน้า ค่าตัวเลข 30 คือหน่วยพิกเซล

ytAlignments : การจัดวางตำแหน่งของข้อความ

เราสามารถจัดวางตำแหน่งข้อความในหน้าเว็บเพจได้ ทั้งการกำหนดให้ตัวอักษรข้อความชิดด้าน ซ้าย/กลาง/ขวา ของหน้าเว็บเพจ (ปกติข้อความจะถูกจัดชิดซ้ายอยู่แล้วด้วย)
          ด้วยการใช้คำสั่ง <DIV ALIGN="LEFT/CENTER/RIGHT"> ... </DIV> ครอบข้อความนั้น

ตัวอย่าง
<DIV ALIGN="LEFT">ข้อความนี้จัดชิดซ้าย</DIV><br>
<DIV ALIGN="CENTER">ข้อความนี้จัดกึ่งกลาง</DIV><br>
<DIV ALIGN="RIGHT">ข้อความนี้จัดชิดขวา</DIV>
ผลที่ได้
ข้อความนี้จัดชิดซ้าย
ข้อความนี้จัดกึ่งกลาง

ข้อความนี้จัดชิดขวา

 

ytLists : หัวข้อแบบรายการ

ในบางครั้งการป้อนข้อความในหน้าเว็บเพจ เราอาจมีความต้องการในการจัดข้อความย่อย เพื่อการอธิบาย หรือแยกความสำคัญให้เห็นแตกต่างชัดเจน การทำหัวข้อย่อยในภาษา HTML ก็สามารถทำได้ โดยแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบดังนี้

  1. หัวข้อย่อยแบบเรียงลำดับ (Order List) เป็นการกำหนดความสำคัญของหัวข้อย่อยที่ต่อเนื่องกันเป็นลำดับข้อ 1, 2, 3,... จะมีรูปแบบคำสั่งดังนี้

    รูปแบบคำสั่งการแสดงผล
    <OL>
        <LI>ข้อย่อยลำดับที่ 1</LI>
        <LI>ข้อย่อยลำดับที่ 2</LI>
        <LI>ข้อย่อยลำดับที่ 3</LI>
    </OL>
    1. ข้อย่อยลำดับที่ 1
    2. ข้อย่อยลำดับที่ 2
    3. ข้อย่อยลำดับที่ 3

    เรายังสามารถเปลี่ยนลำดับจากตัวเลข 1, 2, 3,... เป็นตัวอักษร A, B, C,... หรือตัวเลขแบบโรมัน i, ii, iii,... ได้ด้วยการกำหนดลักษณะ Type ต่อจากคำสั่ง OL ดังนี้

    รูปแบบคำสั่งการแสดงผล
    <OL TYPE="A">
        <LI>ข้อย่อยลำดับที่ 1</LI>
        <LI>ข้อย่อยลำดับที่ 2</LI>
    </OL>
    1. ข้อย่อยลำดับที่ 1
    2. ข้อย่อยลำดับที่ 2
    TYPE="1" หรือไม่ระบุ
    TYPE="A"
    TYPE="a"
    TYPE="I"
    TYPE="i"
    การเรียงลำดับเป็นตัวเลข 1, 2, 3, 4,...
    การเรียงลำดับเป็นตัวอักษร A, B, C, D,...
    การเรียงลำดับเป็นตัวอักษร a, b, c, d,...
    การเรียงลำดับเป็นตัวเลขโรมันใหญ่ I, II, III, IV,...
    การเรียงลำดับเป็นตัวเลขโรมันเล้ก i, ii, iii, iv,...

  2. หัวข้อย่อยแบบไม่เรียงลำดับ (Unorder List) เป็นการสร้างหัวข้อย่อยชนิดไม่เรียงลำดับความสำคัญในแต่ละข้อ ในเอกสารทั่วๆ ไปจะเรียกว่า Bullet ซึ่งจะมีรูปแบบคำสั่งและรูปแบบตามตัวอย่าง

    รูปแบบคำสั่งการแสดงผล
    <UL TYPE="disc">
        <LI>ข้อย่อยที่ 1</LI>
        <LI>ข้อย่อยที่ 2</LI>
    </OL>
    • ข้อย่อยที่ 1
    • ข้อย่อยที่ 2
    <UL>
    <LI TYPE="disc">Disc Bullet</LI>
    <LI TYPE="square">Square Bullet</LI>
    <lLI TYPE="circle">Circle Bullet</LI>
    </UL>
    • รูปแบบของบุลเล็ตจะเป็นวงกลมทึบ
    • รูปแบบของบุลเล็ตจะเป็นสี่เหลี่ยมทึบ
    • รูปแบบของบุลเล็ตจะเป็นวงกลมโปร่ง

ytHorizontal Separator Rule : เส้นแบ่งกั้นหน้าเพจตามแนวนอน

เมื่อมีการบรรจุข้อความ/รูปภาพลงในเว็บเพจจำนวนมาก บางครั้งเราก็มีความจำเป็นอยากแบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วนๆ ด้วยเส้นกั้นตามแนวนอน เราสามารถใช้คำสั่ง <HR> แทรกในตำแหน่งที่แบ่งเนื้อหานั้น

รูปแบบคำสั่งการแสดงผล
<BODY>
    เนื้อหาส่วนที่ 1
    <HR>
    เนื้อหาส่วนที่ 2
</BODY>
เนื้อหาส่วนที่ 1
เนื้อหาส่วนที่ 2

เรายังสามารถกำหนดคุณสมบัติของเส้นได้เพิ่มเติม เช่น กำหนดความยาว ความหนา สี และการวางตำแหน่งของเส้นได้ ด้วยการแทรกคุณสมบัติลงไปหลังคำสั่ง <HR> ดังตัวอย่าง

กำหนดความกว้างเป็นเปอร์เซนต์
    <HR WIDTH="80%">


กำหนดความกว้างเป็นพิกเซล
    <HR WIDTH="300">


กำหนดความหนาของเส้น (หน่วยพิกเซล)
    <HR WIDTH="70%" size="5">


กำหนด shade สีของเส้นให้ทึบ
    <HR WIDTH="90%" size="5" noshade>


กำหนดสีของเส้นตามต้องการ
    <HR WIDTH="400" color="#ff0000">


กำหนดตำแหน่งของเส้นชิดด้านซ้าย
    <HR WIDTH="300" color="#ff0000" align="left">


กำหนดตำแหน่งของเส้นกึ่งกลาง
    <HR WIDTH="400" color="#ff0000" align="center">


กำหนดตำแหน่งของเส้นชิดด้านขวา
    <HR WIDTH="300" color="#ff0000" align="right">


ในบทนี้ เราได้เรียนรู้คำสั่งพื้ฐาน คำสั่งที่เกี่ยวกับการจัดรูปแบบเนื้อหาในส่วน Body การกำหนดสีพื้นหลัง ข้อความ รวมทั้งการแสดงผลของข้อความเป็นหัวข้อย่อย เพื่อสร้างความสวยงามและน่าสนใจให้กับเว็บเพจ การจัดแบ่งข้อความเป็นส่วนๆ ด้วยเส้นกั้น ซึ่งบรรดาคำสั่งที่ผ่านมาสามารถทำให้คุณออกแบบเว็บเพจง่ายๆ พื้นฐานได้แล้ว

ytEND : สรุปคำสั่งที่ใช้ในตอนนี้
TAGS รายละเอียด
<P> ... </P> คำสั่งกำหนดรูปแบบข้อความเป็นย่อหน้า (Paragraph)
<Div align="x"> ... </Div> คำสั่งกำหนดรูปแบบการวางข้อความในหน้าเพจ โดยกำหนดตำแหน่งด้วย Align="x" ซึ่งค่า x มีค่าเป็น Left, Center, Right ปกติถ้าไม่กำหนดค่า Left (ซ้าย) จะเป็นค่าปริยาย (default)
<OL> ... </OL> การจัดเรียงลำดับหัวข้อย่อย ต้องใช้ร่วมกับคำสั่งหัวข้อ <LI> ... </LI>
<UL> ... </UL> การจัดเรียงหัวข้อย่อยแบบไม่เรียงลำดับ ต้องใช้ร่วมกับคำสั่งหัวข้อ <LI> ... </LI>
<LI> ... </LI> รายการหัวข้อย่อย
<HR> การสร้างเส้นกั้นหน้าเว็บเพจตามแนวนอน

Click to TOP

 

Your visitor no.
Create & Design Web Page with Basic HTML & Tools
Author : KruMontree Kotkanta     e-M@il : webmaster at krumontree.com