foto1
ความงดงามการศึกษาไทย
foto1
เพื่อ?
foto1
ไม่เข้าใจ?
foto1
วิทยากรที่กระทรวงศึกษาธิการ สปป.ลาว
foto1
ท่องทะเลทรายที่ดูไบ UAE


Friendly Links

เรียนรู้ภาษา html
isangate banner
easyhome banner
ipst banner
sakdibhornssup foundation
13 Thai free fonts
speedtest
e mil

Facebook Likebox

No. of Page View

turn around

sawatdeeบันทึก ไว้ก่อนสิ้นปี (2010) (อ๊ะ.. แก่เพิ่มอีกปีแล้วซิ!...) ช่วงหลังไม่ค่อยได้อัพเดทกันเท่าไหร่ครับ ไม่รู้เป็นเพราะอะไรเหมือนกัน วันนี้เห็นว่าย่างเข้าปลายเดือนธันวาคมแล้ว เดี๋ยวจะเขียนไม่ทันหมดปีไปซะก่อน เลยมาบ่นสักหน่อยก็ดีก่อนปีจะเปลี่ยนไป เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ไปร่วมประชุมเป็นกรรมการยกร่างคู่มือการใช้หลักสูตรวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่สวนสุชาดา การ์เดนท์ลอร์ด วังน้ำเขียว นครราชสีมา ตั้งใจว่าจะไปเอาไอหมอกกับความหนาว ปรากฏว่า ตัวแล้งไปถึงร้อนขึ้นมาทันใดเลยเชียว

ตอนได้รับหนังสือเชิญก็ออกอาการงงนิดๆ ว่าหลักสูตรที่จะไปยกร่างคู่มือนี่มันหลักสูตรที่ประกาศใช้ไปแล้ว หรือหลักสูตรใหม่ที่จะทำออกมาใช้ในปีหน้า สุดท้ายก็หลักสูตรเดิมนี่แหละ แล้วมายกร่างทำไมกัน?... ไม่ใช่ผมคนเดียวที่งง? หลายๆ คนที่มาทำงานด้วยกันก็งงกันมากมาย มาดูสาเหตุกันสักหน่อยครับ

childday2011

kroobannok 01

เริ่มกันที่ปัญหากันก่อนว่าเกิดมาจากสาเหตุอะไร? วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นหลักสูตรพื้นฐานในกลุ่มการงานอาชีพและเทคโนโลยี สาระที่ 3 ที่หลักสูตรกำหนดไว้ให้เรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ไปจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โน่นแนะ และก็เป็นวิชาที่ต้องวัดผลตามมาตรฐานกลางด้วยใน O-net และมีนักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินมากมาย ด้วยสาเหตุ...

  • บางโรงเรียนไม่ได้สอน ด้วยสาเหตุตามมาตรฐานคือ ขาดครู ขาดเครื่องคอมพิวเตอร์ และอื่นๆ อีกมากมายแล้วแต่จะยกสาเหตุมาอ้าง ในความเป็นจริงแล้ว วิชานี้ในช่วงเริ่มต้นระดับ ป.1 - ป.3 ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยซ้ำ เพราะเป็นการรวบรวมประสบการณ์ต่างๆ รอบตัว ในเรื่องข้อมูล สิ่งแวดล้อม ทรัพยากร และอื่นๆ รอบตัวนักเรียน ใช้วิธีการคิด เขียน วาด รวบรวม จัดหมวดหมู่ให้เป็นระบบเท่านั้น มีผู้แย้งว่า ในหลักสูตร/ตัวชี้วัดมีการนำเสนองานด้วยคอมพิวเตอร์นะ ต้องใช่้คอมพิวเตอร์แน่ๆ ก็เลยเป็นประเด็นถกหาที่มาที่ไปกันจนพบว่า จริงเสียด้วย เป็นเอกสารหนังสือคู่มือการใช้หลักสูตร ที่มาจากกระทรวงศึกษาธิการ  ก็เลยต้องพลิกตำราหาความจริง พบว่า คนเขียนคู่มือหรือตำรานี้ ร่ายยาวเพิ่มเติมเข้าไปเอง โดยอิงกับโรงเรียนในเมืองที่ค่อนข้างจะมีความพร้อมมากมายนั่นเอง แต่ประโยคที่มีปัญหานั้นก็แค่ยกตัวอย่าง เช่น การนำเสนองานด้วยคอมพิวเตอร์ ทำให้เขวกันไปทั้งประเทศเลยเชียว (ต้นฉบับที่ทาง สสวท. ส่งให้กระทรวงไม่มีเรื่องการใช้คอมพิวเตอร์เลยในช่วงชั้นนี้ รวมทั้งในแบบเรียนและคู่มือครูด้วย)
  • บางโรงเรียนได้ชั่วโมงมาสอนน้อย เพราะรวมกันอยู่กับการงานอื่นๆ เช่น งานบ้าน งานช่าง พอครูน้อยและ/หรือไม่มีครูที่จบมาทางด้านไอที ก็เลยไม่สอนเสียเลยก็มี ไปสอนแต่เรื่องดูแลรักษาบ้านเรือน งานประดิษฐ์ประดอยไปเลยก็มี หรือบางโรงเรียนได้ชั่วโมงไปก็ด้วยชื่อชั่วโมงว่า วิชาคอมพิวเตอร์ จึงเน้นไปที่การสอนการใช้งานโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ตามที่ครูผู้สอนถนัด ไม่ได้สนใจหลักสูตรว่า เขาให้สอนอะไร และพบว่า ครูส่วนใหญ่ไม่ทราบว่ามีเอกสารคู่มือครู แบบเรียนในวิชานี้จัดจำหน่ายโดย องค์การค้าของ สกสค. เสียด้วยซ้ำ (รู้จักแต่สำนักพิมพ์เอกชนที่มีส่วนลด จำหน่ายได้เปอร์เซนต์ส่วนต่างเยอะๆ และที่สำคัญแถมสื่อและแผนการสอนมาด้วย อิอิอิ)
  • สอนแต่เรื่องที่จะต้องไปแข่งขันรับรางวัลและใบประกาศ นี่คือความจริงที่ปรากฏอยู่ หลายๆ โรงเรียนผู้บริหารและครูส่วนหนึ่งต้องการใบประกาศนียบัตรและเหรียญรางวัล (เพื่ออะไรก็ตามเถอะ) จึงมุ่งที่จะสอนและฝึกทักษะให้นักเรียนสามารถเข้าร่วมการแข่งขันต่างๆ ทั้งในระดับกลุ่มโรงเรียน ระดับจังหวัด ระดับภาค ระดับประเทศ ด้วยความพากพูมและชื่นมื่นกับรางวัลนั้นในการอวดอ้าง โดยลืมนึกถึงเด็กส่วนหนึ่ง (ส่วนใหญ่เสียด้วย) ที่ไม่ได้ไปร่วมการแข่งขัน ลืมมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร ที่จะต้องไปวัดและประเมินในระดับช่วงชั้น ไปเสียสิ้น
  • ยังมีอีกหลายเหตุผล แต่ก็จะวนเวียนอยู่ในเหตุผลใกล้เคียงกับข้างต้นนี่แหละ

 

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ในฐานะผู้ร่างหลักสูตรและกำกับดูแล พัฒนาครู ในเรื่องการเรียนการสอนวิชาเหล่านี้อยู่ จึงต้องออกมาจัดทำ คู่มือการใช้หลักสูตรวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อนำไปเผยแพร่ให้กับครูผู้สอนในโรงเรียนทุกสังกัด ได้ปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรขึ้น พวกเราเลยต้องมานั่งวิเคราะห์ จัดทำข้อเสนอแนะต่างๆ อยู่หนึ่งสัปดาห์ และจะทำการแก้ไขปรับปรุงเป็นเอกสาร เพื่อเผยแพร่ให้ทันใช้งานในปีการศึกษาหน้านี้ให้ได้

hule

ประเด็นหนึ่งที่ผมยังติดใจ คือ เหตุผลของการแข่งขันทักษะต่างๆ มากมายในรอบปีหนึ่งๆ นั้น เป็นการส่งเสริมการใช้หลักสูตรหรือไม่? พวกเราเคยวิเคราะห์ไหมว่า ชนิดและประเภทของการแข่งขันนั้น สอดคล้องกับหลักสูตรเพียงใด เรามองการแข่งขันนั้นช่วยส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของเด็กหรือไม่? เพราะดูๆ ไปแล้วการแข่งขันส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่การใช้เครื่องมือ (Tools) มากกว่าความคิดสร้างสรรค์จากการใช้เครื่องมือนั้นๆ ยกตัวอย่างสักหน่อยเดี๋ยวจะไม่เคลียร์ เช่น การแข่งขันทักษะการนำเสนอ (Presentation) แทนที่เราจะได้เห็นนักเรียนได้แสดงทักษะความสามารถทั้งในเรื่องของการหา ข้อมูล ประเด็นนำเสนอ ทักษะการพูด/บรรยายที่โน้มน้าวใจของผู้ฟัง (กรรมการ) การใช้สื่อที่สอดคล้องกับประเด็นเนื้อหา กลับกลายเป็นว่า เราตัดสินว่าใครจะใช้เพาเวอร์พอยท์ได้หวือหวากว่ากัน ตัวหนังสือหมุนติ้วๆ ออกมาพร้อมเสียงเอฟเฟกต์ที่รกตา และหนวกหูไปเสียสิ้น ทำไมต้องเป็นเพาเวอร์พอยท์เท่านั้น? มันมีโปรแกรมนำเสนอตั้งเยอะแยะนี่นา (ตอบให้ก็ได้ ก็คนร่างกติกาใช้ไอ้นี่เป็นอย่างเดียว แถมยังใช้แบบสร้างสรรค์ไม่ได้เสียด้วย... จริงป่ะ!)

mycomเกณฑ์การให้คะแนนของการนำเสนอ น่าจะพิจารณาจาก เนื้อหา/ข้อมูลตรงตามหัวข้อ หรือประเด็นที่กำหนด การสรุปประเด็น เพื่อบรรจุลงในสื่อ ความเหมาะสมของการเลือกสื่อ และที่ควรจะเป็นคะแนนมากที่สุดคือ ทักษะการนำเสนอที่น่าสนใจบนหน้าเวที ชวนให้ติดตาม ทำให้ผู้ชมคล้อยตามได้ ทำให้กรรมการอึ้ง ทึ่ง เสียว ได้ ส่วนเรื่องการใช้เครื่องมือ หรือโปรแกรมนั้น เพียงสามสิบเปอร์เซนต์ของคะแนนรวม ก็มากเกินพอแล้ว

อีกการแข่งขันหนึ่งที่ไม่รู้ว่าคนคิดให้มีการแข่งขันนี้ คิดอย่างไร แล้วมันได้ประโยชน์อะไรกัน การแข่งขันเว็บไซต์ CMS เพราะอะไรหรือครับ? เว็บสำเร็จรูปแบบ CMS มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องทั้งโครงสร้างของระบบ โมดูล คอมโพเนนท์ต่างๆ ดูกติกาการแข่งขันก็ได้แต่มองแบบขำๆ เช่น ต้องมีระบบสมาชิก (CMS ทุกตัวมันมีมาพร้อมแล้วครับ) ต้องมีตัวเลขจำนวนนับ ต้องมีสมุดเยี่ยม/กระดานสนทนา (CMS มีโมดูลและคอมโพเนนท์มากมายให้ดาวน์โหลดมาติดตั้งได้ บางตัวฝังมาด้วยเลยแค่คลิกเปิดใช้งาน) และอื่นๆ การแข่งขัน CMS ถ้าจะแข่งกันจริงต้องแข่งขันที่การพัฒนาโมดูลเสริม หรือเทมเพลตที่สวยๆ ตามโจทย์ที่กำหนดให้แล้วเสร็จทันเวลา (บอกก่อนนักเรียนไม่ได้ทำหรอก ครูทำมาเสร็จเทรนนิ่งกันให้ชำนาญแล้วมาล่ารางวัลกัน เพราะใบประกาศสำคัญสำหรับครูและโรงเรียนมากๆๆ...)

kroobannok 02

ก็เอาเป็นประเด็นให้ถกกันต่อนะครับ ทิศทางของการแข่งขัน ถ้าจะให้นักเรียนได้ประโยชน์สู่สากลได้ ต้องทำอย่างไร? การแข่งขันควรเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของนักเรียนที่เข้าร่วมการแข่งขัน ไม่ใช่ประเด็นต้องเถียงคอเป็นเอ็น เอาเป็นเอาตายเพื่อให้โรงเรียนฉันชนะ ขอเท่านี้แหละครับ...!

ย้อนมาอ่านปรับปรุงบทความนี้เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2556 ผ่านมาสามปี สถานะนี้ยังคงอยู่และนับวันจะเข้มข้นขึ้น เพื่อความสมบูรณ์และต่อเนื่องในทิศทางที่เป็นไปของการก้าวเดินในแวดวงการศึกษาไทย อยากให้อ่านเพิ่มเติมบทความเหล่านี้ครับ แล้วจะมองภาพออกชัดเจนมากยิ่งขึ้น

ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร? เราควรจะเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขกันอย่างไรดี ฝากไปยังผู้เกี่ยวข้องทุกท่านทั้งผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ เพื่อนครูที่มีส่วนในการแข่งขัน กำหนดกติกา และผู้ที่สอนทุกท่านด้วยครับ การแข่งขันศิลปหัตถกรรมระดับชาติปีนี้ก็กำลังจะมาอีก มีครูในกลุ่มผู้เกี่ยวข้องเมื่อหลายปีก่อนบ่นมาว่า งานนี้เปลี่ยนชื่อเสียเถอะ เพราะในอดีตเป็นการแข่งขันทักษะวิชาชีพที่เปิดสอนในโรงเรียน วิชากรรมๆ ทั้งหลายนั่นแหละ แต่บัดนี้ พ.ศ. นี้ ยังคงใช้ชื่อ ศิลปหัตถกรรม แต่กรรมทั้งหลายในอดีตแทบจะหลุดออกจากผังหมดแล้ว ลองไปตรวจสอบรายการแข่งขันดูซิครับ งานช่างหลายอย่างหายไปเลย ณ บัดนาว....

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)

Our Policy