foto1
ความงดงามการศึกษาไทย
foto1
เพื่อ?
foto1
ไม่เข้าใจ?
foto1
วิทยากรที่กระทรวงศึกษาธิการ สปป.ลาว
foto1
ท่องทะเลทรายที่ดูไบ UAE


Friendly Links

เรียนรู้ภาษา html
isangate banner
easyhome banner
ipst banner
sakdibhornssup foundation
13 Thai free fonts
speedtest
e mil

Facebook Likebox

No. of Page View

baby read header

king readป็นเรื่องที่น่าตกใจ และนับวันจะสร้างปัญหาในระยะยาวมากขึ้น ถ้าเราไม่ชอบอ่าน องค์ความรู้ที่จะเกิดก็มีน้อยมาก เราจะขาดทักษะการคิด วิเคราะห์อย่างมีเหตุผล กลายเป็นคนเชื่อง่าย ใครว่ามาอย่างไรก็เชื่อไปหมด ถูกชักจูงไปในทางเสียหาย เดือดร้อนทั้งแก่ตนเอง และครอบครัว

แม้ในปี 2550 ที่ผ่านมาจะยังไม่มีการรวบรวม หรือจัดทำสถิติจำนวนคนไทยที่ไม่รู้หนังสือ แต่หากย้อนกลับไปดูข้อมูลของ สำนักงานสถิติแห่งชาติ ที่จัดทำตั้งแต่เดือนกันยายน ปี 2548 จะพบว่า ประเทศไทยมีผู้ที่ไม่อ่านหนังสือถึง 22.4 ล้านคนหรือเกือบ 40% ของประชากรทั้งประเทศ ด้วยเหตุผลว่าชอบดูโทรทัศน์ หรือฟังวิทยุมากกว่า ขณะที่เด็กที่มีอายุ 10-14 ปี กว่า 60% ให้เหตุผลในการไม่อ่านหนังสือว่า เพราะไม่ชอบ และไม่สนใจ

ส่งผลให้สถิติการอ่านหนังสือของคนไทยเฉลี่ยเพียงปีละ 2 เล่ม ซึ่งนับว่าต่ำมากๆ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์ ที่มีสถิติการอ่านหนังสือปีละ 40-50 เล่ม ส่วนเวียดนาม มีสถิติการอ่านหนังสือปีละ 60 เล่ม จากเหตุดังกล่าวบ่งบอกให้เห็นว่า การอ่านหนังสือของคนไทยกำลังก้าวเข้าสู่ภาวะวิกฤติอย่างแท้จริง

readสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนไทยไม่รักการอ่าน เพราะหนังสือราคาแพง เกินกำลังการซื้อของประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะในหมู่เยาวชน ผมชอบเข้าร้านหนังสือไม่ว่าจะร้านใหญ่ร้านเล็ก บางทีเจอหนังสือถูกใจ น่าสนใจ แต่ไม่กล้าซื้อเพราะราคาแพง ต้องคิดหลายรอบ บางเล่มผมหยิบแล้วหยิบอีก ผ่านไปสองสามอาทิตย์ ทนความอยากอ่านไม่ไหวถึงได้กลับไปซื้อ แล้วถ้าเด็กและเยาวชน หรือคนทำงานที่มีรายได้ไม่มากนัก เขาจะกล้าซื้ออ่านหรือเปล่า?

ตลาดสิ่งพิมพ์ในประเทศไทย ทั่วโลกยอมรับว่า การผลิตหนังสือบ้านเราใช้หรือมีเทคโนโลยีการผลิตอยู่ในระดับแนวหน้า เป็นที่เชื่อถือของนานาประเทศที่สั่งผลิตหนังสือจากสำนักพิมพ์ในบ้านเรา แต่ในมุมกลับกัน หนังสือที่สวยงามมีมาตรฐานสูง ราคาจำหน่ายก็จะสูงตามไปด้วย ทำไมเราไม่ผลิตหนังสือเล่มเดียวกันเป็นสองมาตรฐานล่ะ มาตรฐานกลางไปค่อนข้างต่ำเพื่อให้ราคาถูกลง ทุกคนสัมผัสซื้อหามาอ่านได้ มาตรฐานสูงสำหรับนักสะสมหรือซื้อหาเข้าห้องสมุด นี่เป็นทางออกที่ดีที่สุดและควรเป็นนโยบายภาครัฐเพื่อส่งเสริมให้คนไทยรัก การอ่านให้มากกว่านี้

read 3ผมเคยเดินทางไปในประเทศเพื่อนบ้านใกล้ๆ กันนี่แหละ พบว่า ประชาชนเขานิยมอ่านหนังสือกันมากเลย อย่างเวียดนาม คนขับรถรับจ้างจะมีหนังสือเล่มเล็กวางไว้ข้างที่นั่งคนขับ หรือ หลังพนักพิง ในระหว่างที่รอลูกค้าเขาจะหยิบหนังสือมาอ่าน เพื่อรอเวลา หนังสือที่อ่านเคยขอดูก็ใช้กระดาษธรรมดา ราคาคิดเทียบเป็นเงินไทยไม่กี่สิบบาท แต่ในร้านขายหนังสือ ก็มีเล่มที่พิมพ์ปกแข็งสวยงาม ราคาแพงขายเหมือนกัน คือ มีสองมาตรฐานอย่างที่กล่าวมานั่นเอง

การส่งเสริมการอ่าน เพื่อแก้ความไม่สนใจของเด็กๆ คือซื้อหนังสือพวกการ์ตูนเล่มเล็กๆ อย่าง ขายหัวเราะ หนูจ๋า มาอ่านแล้ววางไว้ในบ้านดูซิครับ (ไม่สนับสนุนหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่น เกาหลีนะครับ)

kai huaror maha sanookด้วยเหตุผลว่า การ์ตูนเหล่านี้จะให้ข้อคิด มุมมองแบบไทยๆ ในเรื่องราวปัจจุบัน ที่เด็กๆ รับข่าวสารทางวิทยุโทรทัศน์หรือสื่อดิจิตอลอื่นๆ อยู่แล้วมันเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ที่มีชีวิตชีวา ลองกลับไปหาอ่านเล่มเก่าๆ ย้อนหลังไปสักสี่ห้าปีดูซิครับ ในนั้นคือเหตุการณ์ที่ล้วนอยู่ในความทรงจำ เป็นประวัติศาสตร์หน้าหนึ่ง แต่เล่าเรื่องบันทึกไว้ในแบบขำๆ ทั้งนั้นเลย

การเริ่มต้นด้วยการอ่านเรื่องขำๆ จนเป็นนิสัย เมื่อเติบใหญ่ก็จะพร้อมในการอ่านหนังสือได้ทุกชนิดทุกรูปแบบได้ง่ายขึ้น อย่างผมนี่ว่างเป็นหยิบ หนังสือพิมพ์อ่านแม้กระทั่งโฆษณา เพราะบางทีก็ได้แนวคิดที่แตกต่างจากที่เราคิดตามปกติ ความคิดหักมุมที่น่าสนใจ ตอนนี้ผมอ่านได้ทุกที่ยิ่งในช่วงเช้าๆ ของการปลดทุกข์จะเป็นช่วงสุขของการอ่าน เพราะต่อเนื่องมาจากการละเลียดกาแฟตอนเช้าๆ นั่นแหละครับ

นิสัยรักการอ่านต้องเริ่มจากพ่อแม่ ผู้ปกครอง

read 6ถ้าเราจะส่งเสริมการรักการอ่านให้กับเด็กและเยาวชน ผู้ใหญ่ที่เป็นพ่อแม่ ผู้ปกครอง ญาติผู้ใหญ่ที่ดูแลใกล้ชิดจะต้องเป็นตัวอย่างในการอ่าน สนับสนุนด้วยการซื้อหรือจัดหาหนังสือมาไว้ในบ้าน วางในมุมต่างๆ ให้สามารถหยิบอ่านได้ง่ายสะดวก ควรพิจารณาคัดเลือกหนังสือให้เหมาะสมกับวัย มีหลากหลายสาระ ทั้งการ์ตูน บันเทิง สารคดี ความรู้ทั่วไป หนังสือพิมพ์ วารสารรายสัปดาห์ รายเดือน ตามกำลังทรัพย์ และอย่ายัดเยียดให้อ่าน เช่น พ่อแม่ผู้ปกครองสนใจใฝ่ธรรมะ ชนิดนุ่งขาว ห่มขาว ทุกวันพระต้องทำสมาธิถือศีล ก็อย่าไปบังคับลูกหลานให้อ่านพระไตรปิฎก ธรรมะบรรยายของท่านพุทธทาส หลวงปู่หรือเกจิชื่อดัง แต่ให้เลือกที่เป็นสาระบันเทิงสนุกๆ สอดแทรกคติธรรมเปื้อนยิ้มเข้าไปแทน

และอย่าลืมมีหนังสือดีๆ ภาพสวยๆ อย่างศิลปวัฒนธรรมไทย แหล่งท่องเที่ยวในเมืองไทยไว้ด้วยครับ เด็กๆ จะได้ไม่ลืมชาติไทย กลายเป็น J-POP, K-POP ไปเสียหมด บางครั้งหนังสือที่ไม่คาดคิด หรือคาดไม่ถึงก็มีสาระประโยชน์มากกว่าหนังสือภาพสวยราคาแพงมากมาย

kusang-kusom 2ทุกครั้งที่ผมเข้าไปร้านเสริมสวย (ไปตัดเล็บขบครับ อย่าเข้าใจผิดเป็นอย่างอื่น) ผมมักจะหยิบฉวยหนังสือในร้านมาอาหาร (เพื่อปกปิดอาการเจ็บ ตอนเขาเอากรรไกรตัดเล็บแซะลงไปข้างๆ เล็บที่ขบเนื้อ ไม่อยากให้เห็นคราบน้ำตานั่นแหละ) หนังสือที่ไม่ได้ตั้งใจอ่านอย่าง คู่สร้างคู่สม ของคุณดำรง พุฒตาล (ซึ่งอยู่ในตลาดหนังสือมากว่า 25 ปี) ก็ให้ข้อคิดดีๆ ตัวอย่างชีวิตบางคนไปสอนลูกศิษย์ลูกหาได้เหมือนกัน

ย้อนกลับไปสมัยยังเป็นหนุ่มน้อย เรียนวิทยาลัยครู ผมบ้าอ่านหนังสือกำลังภายในของโกวเล้ง ไม่ว่าจะเป็น ฤทธิ์มีดสั้น ชอลิ่วเฮียง หงส์ผงาดฟ้า วีรบุรุษสำราญ และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งทั้งหนาและจำนวนเล่มมากบางเรื่องมีมากกว่า 10 เล่ม ผมไปเช่าจากร้านหนังสือใกล้บ้านมาอ่าน ตอนเช้า 3 เล่ม เย็นเอามาคืน เช่าต่อกลับอีก 3-5 เล่ม วันรุ่งขึ้นเอามาคืน จนร้านคิดค่าเช่าในราคาพิเศษมากๆ เพราะอ่านเร็วคืนเร็ว ได้คติคำคมมากมายตอนแรกก็นึกสนุกไป แต่พอเติบใหญ่มีครอบครัว คำคมคติเหล่านั้นกลับได้นำมาใช้ในชีวิตจริง

rat lersuang

ยังมีหนังสือการ์ตูนอีกประเภทหนึ่งที่ผม ชอบอ่านในสมัยวัยเด็กกว่านั้นคือ การ์ตูนไทยที่มีลายเส้นสวยงามของราช เลอสรวง เช่น สิงห์ดำ และนักเขียนการ์ตูนที่มีลายเส้นสวยงามในยุคนั้นอีกคนคือ จุก เบี้ยวสกุล ที่ทำให้ผมต้องใฝ่ฝันหยิบพู่กันมาหัดเขียนรูป (ก็พอได้บ้าง) ความงามในลายเส้น เรื่องราว ภาษาที่ใช้ ประทับใจทำให้ผมชอบการขีดๆ เขียนๆ เรื่อยมา เป็นบรรณาธิการหนังสือในโรงเรียน ในวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย แต่มาได้ดีกับอาชีพครูก็เพราะการรักการอ่านนี่เอง

เรา คงต้องช่วยกันครับ เริ่มจากที่บ้านของคุณ ขยายไปสู่ผู้คนและสังคมรอบข้าง คนไทยจะได้มีภูมิรู้เพื่อพัฒนาชาติในอนาคต ถ้าขาดนิสัยการอ่าน การเขียนก็ไม่ดีขึ้น และยังสืบเนื่องไปสู่การสื่อสารไปยังผู้อื่น ไม่กล้าพูดเพราะเราไม่รู้จริง พูดไปได้ข้อมูลผิดๆ จากการฟังอย่างเดียวก็ขายขี้หน้าครับ ต้องศึกษาจากการอ่านหนังสือ สิ่งพิมพ์แม้แต่เว็บไซต์นี่ก็ตามที ความรู้ดีๆ ยังมีอีกมาก...

 

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)

Our Policy