foto1
ความงดงามการศึกษาไทย
foto1
เพื่อ?
foto1
ไม่เข้าใจ?
foto1
วิทยากรที่กระทรวงศึกษาธิการ สปป.ลาว
foto1
ท่องทะเลทรายที่ดูไบ UAE


Friendly Links

เรียนรู้ภาษา html
isangate banner
easyhome banner
ipst banner
sakdibhornssup foundation
13 Thai free fonts
speedtest
e mil

Facebook Likebox

No. of Page View

9secrets2success

presentation 6 ได้เสนอเทคนิคสำหรับครู หรือวิทยากร เพื่อก้าวเข้าสู่มืออาชีพไปแล้ว ก็มาถึงเทคนิคการสร้างงานนำเสนอในห้องเรียน ของนักเรียน ให้เพื่อนในห้องประทับใจ ครูชื่นชอบ และเกิดความรู้สึกคุ้มค่ากับการให้เกรด A กับนักเรียนผู้นั้น การจะทำให้การนำเสนอนั้นได้ผล เป็นที่ตื่นตา และประทับใจก็ย่อมต้องอาศัยการฝึกฝน การศึกษาหาความรู้ ทำความเข้าใจในสิ่งที่จะนำเสนอให้มาก แต่ด้วยเคล็ดลับบางอย่าง ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ ก็ทำให้คุณพร้อมกับการท้าทายครั้งนี้แล้ว ลองอ่านและนำไปใช้กันได้เลย

เทคนิคที่จะนำเสนอต่อไปนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับโปรแกรมนำเสนอได้มากมาย เช่น PowerPoint, Presenter, Impress, Keynote หรือโปรแกรมนำเสนอที่เรียกชื่ออย่างอื่นๆ ได้ครอบคลุมทุกเวอร์ชั่นเลยทีเดียว

1. รู้จักหัวข้อที่จะพูด

นักเรียนมักจะเริ่มต้นผลิตการนำเสนอด้วยซอฟท์แวร์โดยเร็ว หลังจากได้หัวข้อมาแล้ว แต่ต้องไม่ลืมที่จะทำการค้นคว้าหาข้อมูลของหัวข้อนั้นก่อนเป็นอันดับแรก และรู้จักเนื้อหาที่มีอยู่ว่า มีแง่มุมใดน่าสนใจ คิดจินตนาการเกี่ยวกับสิ่งที่จะนำเสนอ ก่อนที่จะเริ่มทำงานจริงบนคอมพิวเตอร์  การสร้างสไลด์นั้นเป็นส่วนที่ง่ายที่สุด สิ่งที่ยากกว่าคือการนำเสนอที่ดีในชั้นเรียน โดยการที่ผู้นำเสนอพูดแบบสบายๆ เกี่ยวกับสิ่งที่กำลังนำเสนออยู่

2. ใช้ประโยคสำคัญเกี่ยวกับหัวข้อ

ผู้นำเสนอที่ดีมักใช้ประโยคสำคัญ รวมไปถึงข้อมูลที่สำคัญ ในการนำเสนอเป็นส่วนใหญ่ หัวข้อที่ได้รับมาของคุณอาจจะกว้าง มีแง่มุมและรายละเอียดมากมาย เราเพียงแต่เลือกมาสามหรือสี่ประเด็นสำคัญ เพื่อพูดในการนำเสนอในชั้นเรียนที่อาจมีเวลาจำกัด เท่านั้นก็เพียงพอแล้ว อย่าลืมบอกแหล่งข้อมูลที่สามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้หากผู้ฟังสนใจ

3. หลีกเลี่ยงการใช้ข้อความมากเกินไปบนสไลด์

หนึ่งในข้อผิดพลาดที่สำคัญที่สุดในการนำเสนอในชั้นเรียน คือ การเขียนสิ่งที่จะพูดลงไปในสไลด์ทั้งหมด การสร้างสไลด์นั้นมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นส่วนประกอบการนำเสนอเท่านั้น ควรเขียนในสไลด์ด้วยรูปแบบสรุปสั้นๆ เลือกใช้หัวข้อย่อยแบบจุดหน้าข้อความ (Bullet) ใช้ภาษาที่เรียบง่าย และจำกัดจำนวนหัวข้อย่อย ควรมีเพียงสามหรือสี่ข้อต่อสไลด์  และการเว้นพื้นที่ว่างไว้บ้างในสไลด์จะทำให้การอ่านง่ายขึ้น

4. จำกัดจำนวนสไลด์ไม่มากเกิน

การทำสไลด์นำเสนอมากเกินไป จะทำให้คุณต้องรีบเร่ง เพื่อนำเสนอมันให้จบในเวลา และผู้ฟังของคุณก็อาจจับจ้องไปที่การเปลี่ยนสไลด์ของคุณ มากกว่าการตั้งใจฟังเสียอีก โดยเฉลี่ยหนึ่งสไลด์ต่อหนึ่งนาที เป็นเวลาที่เหมาะสมในการนำเสนอในชั้นเรียน

5. รูปแบบการจัดวางสไลด์เป็นสิ่งสำคัญ

ทำให้สไลด์ของคุณง่ายที่จะเข้าใจและไม่สับสน ใส่หัวข้อเรื่องที่ต้นสไลด์แต่ละหน้า เพื่อให้ผู้ฟังของคุณสังเกตเห็นได้ง่าย การจัดวางประโยคควรจัดจากซ้ายไปขวา และบนลงล่าง และจัดให้ข้อความสำคัญอยู่ใกล้กับหัวเรี่อง และมักจะพบบ่อยๆ ว่า ข้อความที่อยู่ด้านล่างของสไลด์มักจะมองเห็นได้ยากจากด้านหลัง เพราะศรีษะคนด้านหน้าบังอยู่

6. เลี่ยงการใช้ฟอนต์พิสดาร

เลือกใช้ฟอนต์ที่อ่านง่ายอย่าง Arial, Time New Roman หรือ Verdana ในภาษาอังกฤษ ถ้าเป็นภาษาไทยอาจใช้ฟอนต์ EucrosiaUPC, FreesiaUPC ก็ได้ คุณอาจจะมีฟอนต์ที่เจ๋งมากอยู่ในคอมพิวเตอร์ของคุณ แต่เก็บมันไว้สำหรับงานอื่นจะดีกว่า อย่าใช้ฟอนต์เกินกว่า 2 ฟอนต์ประกอบกัน ตัวหนึ่งใช้เพื่อหัวเรื่อง อีกแบบหนึ่งใช้กับเนื้อหา และจัดให้ฟอนต์ขนาดใหญ่พอควร (อย่างน้อย 30 pt หรือที่เหมาะสมคือ 44 pt) เพื่อที่คนด้านหลังห้องจะได้มองเห็นได้ง่าย

7. ใช้สีสันตรงข้ามระหว่างข้อความและพื้นหลัง

  • ข้อความสีเข้มกับพื้นหลังสีอ่อนเป็นสิ่งที่เหมาะสมมากที่สุด การจับคู่สีแบบนี้ทำให้มองเห็นได้อย่างเด่นชัด บางครั้งคุณอาจต้องการพื้นหลังสีเข้มเพื่อดึงดูดความสนใจผู้ฟัง ดังนั้น ก็ควรทำให้อักษรของคุณมีสีอ่อนเพื่อให้อ่านได้อย่างง่ายขึ้น
  • ข้อความอาจจะอ่านยากหากอยู่บนพื้นหลังที่เป็นลวดลาย
  • เลือกโทนสีให้สอดคล้องกันตลอดการนำเสนอหน้าชั้นเรียน

8. พยายามใช้ต้นแบบการออกแบบเพื่อทำให้สอดคล้องกันทุกหน้า

เมื่อเลือกใช้แม่แบบการนำเสนอ (Template) ควรเลือกแบบที่ไม่หันเหความสนใจผู้ฟังไปจากการนำเสนอของคุณเอง ลองทดสอบก่อนเพื่อให้แน่ใจว่า ข้อความของคุณไม่หายไปกับพื้นหลังหรือกราฟฟิคต่างๆ ไม่หายไป

9. ใช้ภาพแอนิเมชั่น บ้างในการนำเสนอในชั้นเรียน

ลองใช้ภาพแอนิเมชั่นบ้างสิ นักเรียนมักจะชอบใช้แอนนิเมชั่นหรือภาพเคลื่อนไหวทุกที่ที่มีโอกาส ช่วยเอนเตอร์เทนเด็กๆได้ แต่ก็ต้องระวังว่ามันจะทำให้พวกเขาเบี่ยงเบนความสนใจไปที่อื่น นอกเหนือจากการนำเสนอได้เช่นกัน ใช้บ้างแต่อย่าพร่ำเพรื่อเกินไป

การใช้ภาพแอนิเมชั่นหรือกราฟฟิค เพื่อเสริมจุดสำคัญ แต่ไม่ใช่เพื่อการเอนเตอร์เทนเพียงอย่างเดียว ใช้แอนิเมชั่นกับหัวเรื่องและข้อความย่อย ควรทำให้สไลด์สอดคล้องกันและน่าสนใจ จำไว้ว่า สไลด์คือสิ่งที่ช่วยในการนำเสนอให้น่าสนใจ ไม่ได้ใช้เพื่อช่วยในการมองเห็นข้อความ ซึ่งไม่ใช่วัตถุประสงค์จริงจริงของการนำเสนอในชั้นเรียน

การนำเสนอที่ไม่ตอบสนอง | 10 เทคนิคการนำเสนออย่างมืออาชีพ | การนำเสนอให้ได้เกรด A

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)

Our Policy