foto1
ความงดงามการศึกษาไทย
foto1
เพื่อ?
foto1
ไม่เข้าใจ?
foto1
วิทยากรที่กระทรวงศึกษาธิการ สปป.ลาว
foto1
ท่องทะเลทรายที่ดูไบ UAE


Friendly Links

เรียนรู้ภาษา html
isangate banner
easyhome banner
ipst banner
sakdibhornssup foundation
13 Thai free fonts
speedtest
e mil

Facebook Likebox

No. of Page View

know how2think

โดย สุทัศน์ เอกา

“คิดเป็น !” หมายถึง "รู้วิธีคิด" หรือ “Know”.. How to Think..นั่นเอง..

kovit rหัวข้อข้างบนนั้น “คิดเป็น หรือ Khit-Pen” หลายท่านอาจเห็นเป็นคำธรรมดาที่ไทยเราพูดกันมาติดปาก.. ในทางการศึกษา มันเป็นคำที่ยิ่งใหญ่ ที่กลั่นออกมาจาก “มันสมองแก้ว” ของปรมาจารย์ ทางการศึกษาไทย ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ นักการศึกษาไทย ผู้เป็นแบบอย่างในการเรียนรู้ของผู้เขียนตลอดมา ท่านเป็นอดีตอธิบดีกรมการศึกษานอกโรงเรียน ผู้ซึ่งรู้อย่างทะลุปรุโปร่ง กว้าง และลุ่มลึก ในเรื่องการศึกษาตระกูล Constructivist Theory หรือ ทฤษฏีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง.. ท่าน ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ ได้กลั่นกรองมันออกมา เป็น “นวัตกรรม หรือ Innovation” เป็น “ปัญญาภูมิของท่านเอง Self-Wisdom” จนเป็นแนวทาง และปรัชญาการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. ของไทยว่า “คิดเป็น ทำเป็น และ แก้ปัญหาได้”

ตามหัวเรื่องที่ขึ้นไว้ว่า “คิดเป็น !” หมายถึง “รู้วิธีคิด" หรือ “Know”.. How to Think..นั่นเอง..

ความคิดของคนเราเกิดขึ้นได้สารพัดเรื่อง เป็นความฟุ้งซ่าน หรือ Distraction.. ไม่ใช่ความหมายของคำว่า “คิดเป็น”.. คำว่า คิดเป็นนั้น จะต้องประกอบด้วย “สติสัมปชัญญะ หรือ Mindfulness and Awareness” เป็น “ความคิดวิเคราะห์ หรือ Critical Thinking” อันเป็นการ “พินิจพิจารณา หรือ Peruse” ในเรื่องของ “เหตุ และ ผล Cause and Effect” และการตัดสินใจ Determine ตามหลักการเหตุผลที่ได้ประมวลมาแล้วนั้น

creative-thinking-panoramic 13799

คุณครูจะสอนให้นักเรียน “คิดเป็น” หรือ “คิดวิเคราะห์ Critical Thinking” ในเรื่องใดๆ นั้น ควรปฏิบัติดังนี้

  1. Not Biased in all Situations คือ วางใจเป็นกลางในทุกสถานการณ์ สิ่งที่ต้องการคือ “ข้อมูล หรือ Data” เพื่อการสืบค้น หรือ Inquiry หาข้อเท็จจริงเพื่อการเรียนรู้เท่านั้น เพราะความจริงของธรรมชาติมนุษย์มีว่า “เมื่อใดที่ใจเราเอนเอียงไป “หลงใหล Passionate” เข้าข้างใดข้างหนึ่ง เมื่อนั้น การเรียนรู้ของเราก็จบลงทันที” ..นี่เป็นสัจธรรม
  2. Adhering to data คือยึดมั่นในข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการ Process ดังคือ รวบรวมข้อมูล จัดระเบียบข้อมูล ตีความหมายของข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และการประเมินค่าข้อมูลที่ได้รับ Learner gathers, organizes, interprets, analyzes, evaluates data. ซึ่งการกระทำเช่นนี้เรียกตามหลักวิชาว่า Exploring Data หรือการเก็บข้อมูล
  3. Inquiry คือ การสืบสาวข้อมูล “ที่ไม่ชัดเจน Ambiguous Information” ไปจนถึงต้นตอของแหล่งข่าว เรียกว่า การสืบสวนหาข้อเท็จจริง The investigation ไปจนถึงรากเหง้าที่มาของข่าวสาร จนสามารถ “แยกแยะ analyze” ข้อเท็จ False และข้อจริง True ได้อย่างเป็นรูปธรรม

time-to-thinkท่านว่า ใครก็ตามที่มีคุณภาพครบตาม 3.ข้อนี้ ท่านก็ว่าคนๆ นั้นเป็น “คนคิดเป็น” ตามตำราฝรั่ง “Western textbooks”.. แต่อย่างไรก็ตาม.. ตำราพุทธศาสนาที่ชื่อว่า “โยนิโสมนสิการ 10 วิธี คือการพิจารณาไว้ในใจอย่างแบยล ที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไวแล้ว ซึงสามารถค้าหาอ่านได้ง่ายๆ ใน Google” หรือ Critical Thinking คือ การคิดวิเคราะห์” ก็สมควรไม่น้อย

ความคิดของคนเรานั้น ย่อมเป็นเหตุเป็นผลเกี่ยวเนื่องกับ “ความเชื่อ” ในสิ่งที่ได้ยิน ได้ฟัง ได้เห็น และได้สัมผัส กับแหล่งที่มาของ “อารมณ์อันน้อมนำให้เชื่อนั้น”...คนที่ “คิดเป็น”ย่อมใช้ “สตินำความคิด”ทั้งปวงด้วยหลักการแห่งปัญญา ที่เรียกว่า “กาลามสูตร หรือ how to deal with doubtful matters” คือ

  1. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา — Be not led by report
  2. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆ กันมา — Be not led by tradition
  3. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ — Be not led by hearsay
  4. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์ — Be not led by the authority of texts
  5. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก — Be not led by mere logic
  6. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมาน — Be not led by inference
  7. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล — Be not led by considering appearances
  8. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว — Be not led by the agreement with a considered and approved theory
  9. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ — Be not led by seeming possibilities
  10. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา — Be not led by the idea, “This is our teacher”

ต่อเมื่อใด “รู้เข้าใจด้วยตนเองตามแบบการเรียนรู้ตามทฤษฎี Constructivist Learning Theory” อันเป็นธรรมชาติของการเรียนรู้แล้วว่า “สิ่งเหล่านั้น” เป็นกุศล หรือเป็นอกุศล มีคุณ หรือมีโทษ “แล้ว” จึงควร “ละเว้น” หรือ “ถือปฏิบัติ” ตามนั้น...

learn how2 think 01

ในการเรียนการสอนให้คิดเป็นนี้ ท่านอาจารย์ รศ.ดร.Derek Wannasian ได้แนะนำว่า "ครูควรใช้ประโยคคำถามมากกว่าประโยคบอกเล่า เพื่อยั่วยุให้เด็กคิด.." นี้เป็นหลักการสำคัญ ของ Problem Based Learning หรือ PBL ในการเรียนการสอนแห่งศตวรรษที่ 21. ครับ.. ขอขอบพระคุณ ท่านอาจารย์ รศ.ดร.Derek Wannasian อย่างสูง ณ ที่นี้ครับ

ขอต่อด้วยข่าวสารการรับรู้ การพาดหัวข่าว การเสพข่าว ที่ดูแต่พาดหัวอาจเข้าใจผิดพลาดได้มากโข...

Communication and News Consumption..การสื่อสาร และ การบริโภคข่าวสาร

วันนี้ขอพูดเรื่องที่ “ไม่ค่อยเป็นเรื่องนัก” เรื่องนี้ก็เป็นเรื่อง “กระเทือนซาง” ของ “ครูเก่าแก่” อย่างพวกผมไม่น้อย กับพาดหัวข่าวนี้

“หมอวิจารณ์” ย้ำครูดีในอดีตไม่ใช่ครูดีในยุคนี้”..

krudee 02ผมไม่เชื่อพาดหัวนี้ เพราะ “ครูดี” ไม่ว่าในอดีต หรือปัจจุบัน ถ้าคุณครูมี “จิตวิญญาณความเป็นครูที่แท้จริง และ สมบูรณ์แล้ว” ย่อม “ดี” เหมือนกันหมด ย่อมเป็น “ปูชนียบุคคล” ย่อมสมควรกราบไหว้ ย่อมสมควรที่จะรักษา “พิธีไหว้ครู” ให้นักเรียนนำพานดอกไม้ และ สวด “ปาเจราจริยาโหนติ คุณุตตรานุสาสกา” ในโรงเรียนของประเทศไทยตลอดไป...

เมื่อไปอ่านเนื้อในจะเห็นว่า “วันนี้ (7ม.ค.) ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช นักการศึกษาชื่อดังกล่าวในการเสวนาวิชาการ “เวทีปฏิรูปการเรียนรู้สู่การศึกษาเพื่อคนทั้งมวล” ครั้งที่ 24 ในหัวข้อ “ยกระดับคุณภาพครู...เพิ่มการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน” จัดโดยสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ที่โรงแรมรามาการ์เด้นท์ ว่า ปัจจุบันทั่วโลกยอมรับตรงกันว่าหัวใจสำคัญของการยกระดับคุณภาพการศึกษาอยู่ ที่ครูไม่ใช่หลักสูตร แต่ครูที่ดีในยุคนี้คงไม่เหมือนครูที่ดีในสมัยก่อนแล้ว เพราะคนละยุคกันสิ่งแวดล้อมต่างๆ ในโลกเปลี่ยนไป โดยครูที่ดีในยุคนี้ต้องเป็นครูที่ไม่ทำหน้าที่สอนแบบถ่ายทอดความรู้ แต่ต้องทำหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง เหมือนเป็นโค้ชที่คอยให้คำแนะนำแก่นักกีฬา เน้นตั้งคำถาม ตอบคำถาม ชวนคิดไตร่ตรองสร้างแรงบันดาลใจ เพื่อทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง”

มันเป็นคนละเรื่องที่พาดหัวว่า “หมอวิจารณ์”ย้ำครูดีในอดีตไม่ใช่ครูดีในยุคนี้”..

krudee 01ผมอยากเรียนชี้แจงอีกว่า “คุณครูในสมัยก่อน” และแม้แต่ยุคของผม เงินหายาก อุปกรณ์การสอนราคาแพง โรงเรียนยากจนไม่มีเงินซื้อ เครืองฉายโอเวอร์เฮดราคาเจ็ดพัน เครื่องฉายสไลด์ต้องราคาหมื่น อย่าไปพูดถึงเครื่องฉายหนัง เครื่องฉายวิดิโอ มันมาในยุคหลัง.. กว่าจะหาได้แต่ละอย่างต้องรอ “หนุมสาวที่มาทำงานในกรุงเทพ ไปทอดผ้าป่าการศึกษา”... คุณครูโบราณจนถึงยุคของผมจึงต้องใช้ “สิ่งที่มีให้คุ้มค่า” คือ “Talk and Chalk.” ("มือซ้ายจับหนังสือ อีกมือจับชอล์ก ถ้าไม่เขียนตามคำบอก ก็ให้ลอกบนกระดานดำ" อันนี้ครูมนตรีลอกเขามาเสริม) และทำทุกวิถีทางเพื่อให้ศิษย์ของเราจบออกไปอย่างมีคุณภาพที่สุด.. ไม่เหมือน “คุณครู” สมัยนี้ ที่มีอุปกรณ์การเรียนการสอนท่วมท้น การสื่อสารการเรียนรู้ไร้พรมแดนไปได้ทั่วโลก อุปกรณ์การสื่อสารก็พัฒนาไปจนถึงกับว่า มีโทรศัพท์เครื่องเดียวเป็นโรงเรียนได้ทั้งโรงเรียน...

krudee 03

มันเป็นเรื่องของอุปกรณ์การเรียนการสอน ที่คุณครูจะ “รู้จักพัฒนาตนเองให้สามารถหยิบฉวยมาใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน” และ “ไม่ใช่เรื่องคุณภาพของครู”

ในฐานะ “ครูเก่า” และ “บรรณาธิการบริหารสำนักพิมพ์คุณภาพแห่งหนึ่ง” ผมรู้ว่า “เป็นความไม่เดียงสา หรือ Immature” ของคนเขียนข่าวและพาดหัว ซึงผมคิดว่าคง “เป็นประมาณรุ่นลูก”ได้เรียนเป็นความรู้เอาไว้ว่า คนรุ่นผมเขาเรียนวิชาการหนังสือพิมพ์กันอย่างไร...

ในฐานะ “ผู้ส่งสาร Sender” ปัญหาที่เกิดขึ้นจากเรื่องนี้ก็คือ ผู้ส่งสารขาดความรู้ในเรื่องที่จะส่งสาร เนื้อหาของสาร message content คือ “วิชาครู และ ความเป็นครู.." ปรมาจารย์วิชาการหนังสือพิมพ์ของผมคือ ท่านอาจารย์ เปลื้อง ณ นคร แนะนำไว้ว่า ถ้าไม่เข้าใจจนกระจ่างในเนื้อหาใดๆ “ให้พาดหัวข่าวตรงๆ ตามเนื้อเรื่อง.. ไม่ควรเอา Concept ของตนเองไปพาดหัวข่าว มันจะเกิดความเข้าใจผิด และถูกดูแคลนในหมู่ผู้รู้ ในกรณีนี้แปลได้หลายๆ นัย ดังนี้

  • ผู้ส่งสารขาดประสบการณ์ในการส่งสาร ที่ใช้คำพูด verbal message, ...
  • ผู้ส่งสารขาดการชำนาญในการใช้ภาษา Lack of proficiency in the language..
  • ผู้ส่งสารขาดการชำนาญในการใช้สื่อ Contents should conform to the title.

จึงขอเสนอแนะตามหลัก “วิชาหนังสือพิมพ์” ไว้ดังนี้
การเป็นผู้ส่งสารไม่ว่าจะในการสื่อสารประเภทและระดับใดก็ตาม ย่อมต้องมีบทบาทและหน้าที่ในการสื่อสารที่สำคัญ คือ

  1. การมีวัตถุประสงค์ในการสื่อสารที่แจ่มชัด The purpose of communication “Clear”
  2. การเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจเพียงพอในเนื้อหาของเรื่องราวที่ตนจะสื่อสาร Knowledge and Understanding sufficient to Communicate the Content of their Stories. กับผู้อื่น

ผมเสนอบทความนี้ “ในฐานะครูเก่า” ที่เรียกร้องหา “ความยุติธรรมที่ขาดหายไป” เพื่อความ “คงอยู่เรื่องเอกลักษณของชาติ”.. อย่าโกรธแค้นคนที่คิดต่างอย่างผมเลยนะ.. ขอรับ

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)

Our Policy