อุบัติเหตุ ไม่มีใครอยากให้เกิด

ข่าวใหญ่ในแวดวงการบินเมื่อวานนี้ (3 สิงหาคม 2559) คือ การเกิดอุบัติเหตุของ Emirates Airlines เที่ยวบินที่ EK521 นำผู้โดยสารจากสนามบิน Thiruvananthapuram ทางตอนใต้ของอินเดียมาลงที่สนามบิน Dubai International Airport แล้วเกิดการชำรุดจากล้อในส่วนชุดเกียร์ขับเคลื่อนทำให้เครื่องหมุนและทรุดลงข้างทางวิ่ง ก่อนจะเกิดเพลิงไหม้ในเวลาต่อมา ลูกเรือ 18 คนและผู้โดยสาร 282 ชีวิตได้รับการช่วยเหลืออย่างปลอดภัย

สิ่งที่ควรทำเมื่อมีอุบัติเหตุ คือ เชิ่อฟังลูกเรือ

หลังจากนั้นไม่นานมีผู้ใช้ทวีตเตอร์ชื่อ @rehanquereshi ได้โพสท์วีดิโอแสดงความโกลาหลวุ่นวายภายในเครื่อง ที่ลูกเรือพยามยามบอกให้ผู้โดยสาร “jump” and “leave your bags behind” ทิ้งกระเป๋าและสิ่งของ ให้เอาตัวรอด ด้วยการกระโดดออกทางเบาะลม ที่ประตูด้านข้างเครื่องทันที แต่ดูเหมือนทุกคนจะไม่สนใจฟัง ด้วยความห่วงสิ่งของยิ่งกว่าชีวิตตนเอง

ดูคลิปนี้จะเห็นได้ว่า ผู้โดยสารห่วงทรัพย์สินมากกว่าชีวิตตนเองจริงๆ

จากกรณีนี้นับเป็นอุทาหรณ์ให้กับทุกท่าน ในการใช้บริการโดยสารบนเครื่องบิน ว่าควรทำอะไรบ้างเพื่อความปลอดภัย ถ้าท่านเคยใช้บริการเครื่องบินโดยสารแบบราคาประหยัด (Low cost) คงเคยเห็นพนักงานสาวๆ สาธิตการรัดเข็มขัด การใช้ครอบออกซิเจน การออกจากเครื่องด้วยทางทางออกฉุกเฉิน หลายท่านอาจจะดูด้วยความสนใจ หลายท่านดูแต่ความน่ารักของสาวๆ ไม่ฟังอะไรเลย จริงๆ แล้วในกระเป๋าหน้าที่นั่งของท่านก็จะมีเอกสารแนะนำอยู่อย่างละเอียด

การสาธิตการใช้อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยบนเครื่องบินที่ควรดูไว้

อย่าดูแต่สาวสวย หนุ่มหล่อ นะครับ ต้องดูเอกสารข้างล่างนี้ด้วย เพื่อความปลอดภัยของตัวเราและเพื่อนร่วมทาง เพราะจะมีรายละเอียดมากกว่าที่พนักงานสาธิตมาก โดยเฉพาะท่านที่ได้ที่นั่งติดกับประตูฉุกเฉิน (ส่วนใหญ่พนักงานจัดที่นั่งจะเลือกเป็นชายที่ร่างกายแข็งแรง) ต้องศึกษาอย่างละเอียด ไม่เข้าใจควรสอบถามพนักงานเพิ่มเติมอีกที

แผ่นโปสเตอร์แนะนำความปลอดภัยบนเครื่อง ประตูทางออกฉุกเฉินซึ่งจะแตกต่างกันไปตามแบบ/รุ่นเครื่องบิน

ต้องชื่นชมลูกเรือของเราทุกคนว่าถูกฝึกมาอย่างดี มีความรับผิดชอบแม้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน ไม่มีอะไรนอกจากคำชื่นชมให้ลูกเรือไฟลท์นี้ คุณคือความภาคภูมิใจของลูกเรือทั่วโลก คุณคือที่สุด ขอบคุณที่ทำให้โลกได้รู้ว่าการเป็นแอร์ที่ดีมันมีหน้าที่หลายอย่างต้องรับผิดชอบ (ผู้เขียนไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ ไปทำหน้าที่ในเที่ยวบินไปมอสโคว รัสเซีย) ได้แต่สงสัย… ทำไมคนเรายังห่วงจะหยิบของมากกว่าชีวิตของตัวเอง เสี้ยววินาทีแห่งชีวิตคนเรายังมีอารมณ์เปิดเคบินหยิบของอีกหรอ (จากคลิปจะเห็นชัด)

แม้ผู้โดยสารและลูกเรือทุกคนจะปลอดภัย แต่ก็ต้องแสดงความเสียใจกับครอบครัวของนักผจญเพลิง Jasim Issa Mohammed Hassan ที่เสียชีวิตจากปฏิบัติการช่วยเหลือในครั้งนี้

จะมีทางใดที่จะสามารถเอาตัวรอดได้ไหม หากเกิดเหตุร้ายขึ้น จริงๆ แล้ว ระบบรักษาความปลอดภัย และอุปกรณ์ชูชีพทั้งหลายบนเครื่องบินมีการเตรียมพร้อมไว้อยู่แล้ว ทั้งเสื้อชูชีพ หรือหน้ากากออกซิเจน เวลาแอร์โฮสเตส หรือสจ๊วร์ตสอนวิธีใช้อุปกรณ์ช่วยชีวิตยามฉุกเฉิน ก็ควรตั้งใจฟัง มองหาทางออกฉุกเฉิน หรือศึกษาแผ่นพับที่กระเป๋าหน้าที่นั่งซึ่งอธิบายเรื่อง ความปลอดภัยในการปฏิบัติตัวยามเกิดเหตุฉุกเฉินบนเครื่องบิน รวมแล้วกินเวลาไม่เกิน 10 นาที อาจช่วยให้เอาชีวิตรอดจากอุบัติเหตุทางเครื่องบินได้

นอกจากนี้ สายการบินส่วนใหญ่ก็มักจะบอกกับผู้โดยสารเสมอว่า ให้ดูที่ตั้งของประตูฉุกเฉิน เผื่อเอาไว้ว่าประตูไหนใกล้ที่นั่งเราที่สุด ซึ่งอาจจะอยู่ติดด้านหลังที่นั่งของเรา หากจะเลือกว่า ที่นั่งไหนปลอดภัยที่สุด ก็คงต้องเลือกที่นั่งใกล้ประตูฉุกเฉินเอาไว้ก่อน ข้อมูลของนิตยสารป็อบปูลา มาแคนนิกส์ ได้ให้ข้อมูลด้วยว่า หากที่นั่ง ยิ่งอยู่ห่างจากหัวเครื่องบินเท่าใด ก็ยิ่งปลอดภัยมากขึ้นเท่านั้น โดยสถิติผู้รอดชีวิตจากอุบัติเหตุบนเครื่องบินส่วนใหญ่ 40% มีที่นั่งบริเวณหางเครื่องบิน เพื่อความไม่ประมาท การรู้จักเอาตัวรอดก็เป็นหนทางที่ดีที่สุด หากมั่นใจแล้วว่า เครืองบินที่โดยสารอยู่กำลังจะตก อย่าเพิ่งสวดมนต์รอความตาย ให้สู้กับสิ่งที่จะเกิดขึ้น นั่งยึดเก้าอี้ให้แน่น ปกป้องลำตัวส่วนบนไม่ให้ถูกกระแทก ซ่อนใบหน้า ศีรษะเอาไว้ ลดแรงกระแทกที่อาจทำให้หมดสติ ท่าก้มตัวไปข้างหน้าจึงเป็นท่าที่ค่อนข้างปลอดภัย ตามคู่มือบนเครื่องบินแนะนำไว้

หากเคราะห์ร้าย เครื่องบินตก ร่วงลงมาจากเพดานบินหลักหมื่นฟุต ก็ต้องวัดดวงกันว่าจะรอดหรือไม่รอด ด้วยแรงกระแทกที่มหาศาล ซึ่งความเป็นจริงก็มีโอกาสรอดน้อย ส่วนหากตกแบบระยะไม่สูงมาก กัปตันยังพอควบคุมอะไรได้บ้าง ก็พอจะมีชีวิตรอดมาได้ แม้ว่าจากสถิติ โอกาสที่เครื่องบินพาณิชย์ตกนั้นมีเพียง 1 ใน 11 ล้านเที่ยวบิน

และการสำรวจของ National Transportation Safety Board ซึ่งเป็นหน่วยงานสอบสวนอากาศยานอุบัติเหตุ มีสำนักงานอยู่ที่สหรัฐอเมริกาเผยว่า อุบัติเหตุทางเครื่องบินระหว่างปี 1983 ถึงปี 2000 พบว่าผู้โดยสารที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุทางเครื่องบิน 53,487 คน มีจำนวนถึง 51,207 คน รอดชีวิต เสียชีวิต 2,280 คน ฉะนั้น ผู้รอดชีวิตจากอุบัติเหตุทางเครื่องบินก็ยังคง มีสูงถึง 95.7 เปอร์เซ็นต์

อย่างไรก้ตาม ขึ้นชื่อว่า “อุบัติเหตุ” ย่อมเกิดขึ้นได้ทุกช่วงเวลา ไม่มีใครล่วงรู้ได้ว่าจะเกิดขึ้นกับตัวเอง วันไหน เวลาใด หากต้องโดยสารเครื่องบิน ก็ไม่จำเป็นต้องกังวลใดๆ หากมองตามสถิติขางต้น เพราะในแต่ละวัน มีเครื่องบินพาณิชย์ขึ้นบินเป็นหมื่นๆ เที่ยว นานๆ ที กว่าจะมีเหตุเครื่องบินตกให้เห็น โอกาสที่จะเกิดขึ้นกับตัวเองมีแค่ไม่ถึง 1 ในล้าน หากเทียบกันจริงๆ การเดินทางช่วงสงกรานต์ ปีใหม่ ด้วยการขับรถบนท้องถนนในเมืองไทย ยังมีความเสี่ยงตายจากรถชนมากกว่าด้วยซ้ำไปครับ

Loading

About Post Author

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

error

Enjoy this blog? Please spread the word :)