foto1
ความงดงามการศึกษาไทย
foto1
เพื่อ?
foto1
ไม่เข้าใจ?
foto1
วิทยากรที่กระทรวงศึกษาธิการ สปป.ลาว
foto1
ท่องทะเลทรายที่ดูไบ UAE


Friendly Links

เรียนรู้ภาษา html
isangate banner
easyhome banner
ipst banner
sakdibhornssup foundation
13 Thai free fonts
speedtest
e mil

Facebook Likebox

No. of Page View

14th deming header

โดย สุทัศน์ เอกา

Deming's Fourteen Points หลักการสำคัญในเรื่องการจัดการคุณภาพ 14 ข้อ ของเดมมิ่ง

sutat eakaกราบเรียน คุณครู-อาจารย์ ที่เคารพ หลังจากที่ผมได้ลงบทความเรื่อง การควบคุม “คุณภาพและยกระดับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้วยวงจร PDCA” ของ Pro. Dr. William Edwards Deming นักสถิติชาวอเมริกัน ที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาคุณภาพให้กับระบบอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น และกลับมากระตุ้นให้วงการธุรกิจและอุตสาหกรรมของอเมริกาให้ตื่นตัว พัฒนาคุณภาพ และเปิดรับหลักการของการจัดการคุณภาพโดยรวม หรือ Total Quality Management.. ไปแล้วนั้น ท่านอาจารย์ Sirat Suthidara ผู้ซึ่งได้มีความกรุณา “แบ่งปัน” เนื้อหาสาระของ “โลกการศึกษา” ให้ผมได้เรียนรู้เสมอมา ท่านได้ให้ข้อเสนอแนะที่สำคัญอย่างยิ่ง คือก่อนที่จะนำ PDCA ไปใช้ ควรเข้าใจหลักการ 14 ข้อในเรื่องคุณภาพของ Deming หรือ Deming's Fourteen Points ก่อนจะเป็นกรอบความคิดในการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

ผมจึงขอโอกาส “นำเสนอ” เป็น พื้นฐาน เรื่องที่ 4 ก่อน แล้วจึงจะเสนอ “ขั้นตอนในการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21" ต่อไป

ท่านได้อธิบายอีกว่า PDCA น่าจะเป็น "วงล้อ (cycle)" มากกว่าที่จะเป็นวงจร เพราะวงจรนั้นเมื่อครบวงจรก็เป็นอันเสร็จสิ้น แต่วงล้อนั้นจะหมุนและเคลื่อนที่ไปไม่มีที่สิ้นสุด การเคลื่อนที่หรือการหมุนของวงล้อจะค่อย ๆ สูงขึ้นด้วย นั่นคือ เมือทำ PDCA พอถึง A แล้วยังไม่จบ คือถ้าได้ผลก็พัฒนาขึ้นอีกถ้าไม่ได้ผลก็ปรับปรุงแล้วไปเริ่มที่ P ใหม่อีก เป็นอย่างนี้ไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด จึงจะตรงกับ "การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง" ซึ่งเป็นหลักสำคัญของ PDCA ตามที่ปรมาจารย์ Deming ท่านประสงค์ครับ

PDCA Process

PDCA มีช่องทางให้ประยุกต์พลิกแพลงได้มาก เช่น "ใน PDCA" ก็ยังมี "pdca"ซ้อนอยู่อีก เช่น ในระบบการจัดการเรียนการสอนชองครูในชั้นเรียน ย่อมจะเริ่มต้นด้วย P คือแผนการสอน ซึ่งในการทำ P ตัวนี้ ก็ทำขึ้นโดยหลัก pdca เป็นต้นครับ พอถึงเวลาสอนจริงคือ D ก็มี pdca ในการสอนหน่วยการเรียนหรือในคาบนั้นๆ ครับ

เพื่อการพัฒนาขึ้นไปอย่างไม่หยุดยั้งนี้ จึงขอเสนอ หลักการ ที่เรียกว่า “Deming's Fourteen Points for Management หรือ หลักการ 14 ข้อของ เดมมิ่ง” ดังนี้..

  1. Create constancy of purpose for improvement of product and services สร้างวัตถุประสงค์แน่วแน่ในการปรับปรุงคุณภาพสินค้าและบริการ ซึ่ง คำว่า “สินค้า และบริการ product and services” นี้ ถ้าเปรียบเทียบกับการเรียนรู้ ก็คือ “คุณภาพทางการศึกษาของผู้เรียน Education Quality of Learners" นั่นเอง
  2. Adopt the new philosophy นำเอาปรัชญาใหม่ๆ มาใช้ ในการบริหารงาน
  3. Cease dependence on mass inspection จงยุติการควบคุมคุณภาพโดยอาศัยแต่การตรวจสอบ “ผลผลิตโดยรวม mass> mass production” เท่านั้น จะต้องควบคุมดูแลทั้งกระบวนการ Process ผมเปรียบเทียบกับ “คุณภาพการเรียนรู้ Learning Quality” จะต้องมุ่งที่การควบคุม "กระบวนการเรียนการสอน Learning and Teaching Process" ตั้งแต่ต้นจนจบ ไม่ใช่อาศัยการตรวจสอบที่ตัว “ผู้เรียนที่เรียนจบแล้ว” เท่านั้น เพราะมันไม่ได้ช่วยให้ “คุณภาพทางปัญญา Intellectual Quality” ของเขาพัฒนาขึ้นมาได้.. หลักการ Learning by Doing จึงมีการแก้ไขปรับปรุงตลอดเวลาทุกขั้นตอนระหว่างเรียน เพราะถือว่าการเรียนกับการสอบ เป็นกระบวนการเดียวกัน.. Learning and Exams… “The same process”
  4. End the practice of awarding business on price tag alone จงยุติวิธีการดำเนินธุรกิจโดยการตัดสินกันด้วย “ราคาขาย” เพียงอย่างเดียว แต่จงดำเนินธุรกิจ “ด้วยการรักษามาตรฐานของกระบวนการ The Standard Treatment of “The Process” เช่นเดียวกับ การจัดการศึกษา “เราต้องรักษามาตรฐานการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นหลัก” นั่นคือ Learning by Doing ครบกระบวนการ ตังแต่ Exploring ไปจนถึงการสร้าง Innovation และ Presentation…
  5. Constantly and forever improve the systems of production and services เป็นหน้าที่หลักของการจัดการที่จะปรับปรุง กระบวนการทำงาน และการบริการอย่างต่อเนื่อง “ตามหลักการ PDCA Demimg Cycle กงล้อแห่งการพัฒนาคุณภาพยิ่งๆ ขึ้นไป” ซึ่งมีกล่าวย่อๆ ดังนี้

    P : Plan คือการวางแผนและการกำหนดวัตถุประสงค์ของการทำงาน
    D : Do คือการทำตามแผนนั้นๆ
    C : Check คือการตรวจสอบผลการปฏิบัติตามแผน
    A : Act คือการดำเนินการปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้ผลการปฏิบัติงานเป็นไปตามแผนที่วางไว้ และพัฒนายิ่งๆ ขึ้นไป ตลอดเวลา Constantly and forever

  6. Institute modern methods of training on the job ทำการฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอในเรื่องของการทำงาน
  7. Institute modern methods of supervision and leadership จัดให้มีการอบรมพัฒนา “การกำกับดูแลและความเป็นผู้นำ” สร้างภาวะผู้นำด้วยโลกทัศน์ และการเรียนรู้ใหม่ๆ อย่าง “ทันโลก Real world”
  8. Drive out fear กำจัดความกลัวให้หมดไป สอนให้กล้าถาม กล้าเสนอความเห็น กล้าคิดและกล้าทำ กล้าที่จะสอบถามในสิ่งที่ตัวเองไม่รู้ หรือไม่เข้าใจ ผู้บริหารจะต้องเปิดโอกาส และกระตุ้นให้พนักงานกล้าแสดงออก และเห็นโอกาสที่จะเสนอแนะวิธีการปรับปรุงคุณภาพให้ดีขึ้น
  9. Break down barriers between departments กำจัดอุปสรรคการทำงานระหว่างส่วนงานต่างๆ ในองค์กร โดยถื่อว่า “ทุกๆ คน ต่างก็เป็นส่วนสำคัญขององค์กร” นั่นคือ Every person is an important part of the organization.
  10. Eliminate numerical goals for the work force ยกเลิก “เป้าหมายเชิงตัวเลข” สําหรับการทำงาน.. แต่จงใช้ “เป้าหมาเชิงปฏิบัติที่ทำได้แทน Targeted to be practical” แทน วัตถุประสงค์และเป้าหมายอาจจะไม่มีความหมายเลย หากปราศจากแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน
  11. Eliminate work standards and numerical quotas กำจัดมาตรฐานการทำงานและตัวเลขที่เป็นส่วนแบ่ง โดยใช้กระบวนการทำงาน และความสำเร็จขององค์กรแทน Workflow And Organizational Success แทน
  12. Remove barriers to pride of workmanship เอาสิ่งกีดขวางความภาคภูมิใจของบุคลากรออกไป ทุกคนคือผู้ร่วมงานที่มีส่วนในการพัฒนาองค์กร
  13. Institute a vigorous programme of education and training for everyone จงจัดโครงการ การศึกษาที่น่าสนใจ และทำการฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอ ทั้งผู้บริหารและบุคลากร
  14. Create a structure in top management that will push everyday on the above 13 points. จงลงมือปฏิบัติเพื่อบรรลุผลสำเร็จของการเปลี่ยนแปลง หรือ Achievement of change ตามที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด ซึ่งผู้บริหารจะต้องนำตนเองเข้าสู่กระบวนการเปลี่ยนแปลง เพื่อการปรับปรุงคุณภาพโดยร่วมลงมือปฏิบัติ Active Participation ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของทีมงาน และเรียนรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้บริหารต้องยึดมั่นผูกพันใน “คุณภาพ Quality” อย่างจริงจัง และต้องเป็นการผูกพันในระยะยาว และยั่งยืน Sustainable...

children ed 04

ผู้บริหารจะต้องมีความมุ่งมั่นในเรื่องของการสร้างคุณภาพ ต้องมีการวางแผน ทั้งระยะสั้น และระยะยาวอย่างชัดเจน ต้องผูกพันในเป้าหมายอย่างต่อเนื่องและจริงจัง โดยมีความอดทนเพียงพอที่จะรอผลลัพธ์ให้เกิดขึ้นด้วย การตั้งปณิธานอย่างมุ่งมั่นแน่วแน่นี้ควรจะมุ่งเน้นไปใน 4 เป้าหมายหลัก คือ

  1. นวัตกรรม หรือ Innovation เพื่อให้ได้ “แนวคิดใหม่” และ “กระบวนการใหม่”ในการสร้างคุณภาพที่ยั่งยืน
  2. การวิจัยและพัฒนา Research and Development เพื่อเพื่อเป็นแนวทางในการประกันคุณภาพ
  3. การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง Continuous Improvement
  4. การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน Preventive Maintenance ทั้งเครื่องมือ คน กระบวนการ และผลผลิต

นอกจาก “หลักการ” ที่เป็นแนวทางในการประกันคุณภาพที่ยั่งยืนแล้ว.. ปัจจัย “ที่สำคัญที่สุด” ในการพัฒนา และรักษาคุณภาพ คือ “คน” ซึ่งต้องมีลักษณะสำคัญของ “กลุ่มคนคุณภาพ” ดังนี้

  1. มีความสมัครใจ หรือ Voluntarism
  2. มีการพัฒนาตนเอง หรือ Self-Development
  3. มีการพัฒนาร่วมกัน หรือ Mutual Development
  4. มีการมีส่วนร่วมโดยสมาชิกทุกคน Participation by The Members
  5. มีความต่อเนื่อง หรือ Continuity

test test

 

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)

Our Policy