foto1
ความงดงามการศึกษาไทย
foto1
เพื่อ?
foto1
ไม่เข้าใจ?
foto1
วิทยากรที่กระทรวงศึกษาธิการ สปป.ลาว
foto1
ท่องทะเลทรายที่ดูไบ UAE


Friendly Links

เรียนรู้ภาษา html
isangate banner
easyhome banner
ipst banner
sakdibhornssup foundation
13 Thai free fonts
speedtest
e mil

Facebook Likebox

No. of Page View

covid disruption

ารระบาดของไวรัสโควิด-19 (COVID-19) ไม่ได้มีผลเฉพาะด้านสุขภาพของประชาชน การล่มสลายของเศรษฐกิจทั่วโลกเท่านั้น การศึกษาของประเทศไทยเราก็โดนผลกระทบเช่นเดียวกัน ไม่มีข้อยกเว้น ตั้งแต่การสั่งปิดสถานศึกษา (ก่อนกำหนด) งดการจัดการเรียนการสอนปกติ งดการจัดกิจกรรมการสอบ การรับเอกสารสำคัญในการจบการศึกษา เลื่อนการรับนักเรียนใหม่ออกไป (ยังไม่มีกำหนด) ให้จัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ในสถานศึกษาทุกระดับ

การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ (Teach&Learn from Home)

เรื่องการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ (e-Learning, Distance Learning etc.) นั้นมีการผลักดันให้ใช้งานกันมานานแล้ว มีครู-อาจารย์ทั้งในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา อุดมศึกษา นำเอามาใช้งานพร้อมกับทำงานวิจัย เพื่อนำผลลัพธ์ที่ได้ไปใช้ในการขอเลื่อนตำแหน่งทางวิชาการ การจบการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นมากมากมาย แต่หลังจากได้ตำแหน่ง หรือรับปริญญาบัตรแล้ว ก็ทอดทิ้งไปไม่ใยดี ทั้งที่ในรายงานนั้นบอกว่ามีผลดีเลิศประเสริฐนักแล ใยจึงเป็นเช่นนั้น? ก็เป็นได้เพียงคำถามของนักเทคโนโลยีทางการศึกษา คนที่คอยผลักดันอย่างผมนี่ก็ชอบถามเสมอ

มาบัดนี้ การปฏิวัติล้างโลกของเจ้าโควิด-19 ก็ส่งผลกระทบให้กับครู-อาจารย์เราในทันทีชนิดตั้งตัวไม่ทัน ทั้งจากคำสั่งของผู้บังคับบัญชาให้ทำ (ทั้งในระดับมหาวิทยาลัย และมัธยม-ประถมศึกษา) ทั้งโอกาสในการจัดการเรียนการสอนแบบกลุ่มใหญ่ๆ ที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อด้วย การศึกษาจึงถูกผลกระทบทำให้หยุด (disrupt) รูปแบบการสอนเดิมๆ อย่างทันที โดยไม่ใช่เพราะเทคโนโลยี 5G หรือ 6G แต่อย่างใด เพราะ COVID-19 ล้วนๆ

ความตื่นตัวนี่เห็นได้จาก ในสื่อสังคมออนไลน์ ทั้ง Facebook, Line, Twitter มีการสอบถาม การเผยแพร่วิธีการ และการใช้สื่อรูปแบบต่างๆ ในการจัดการเรียนการสอน ทั้งใช้ Google, Microsoft platform และระบบอื่นๆ เข้ามาร่วมท่านคงค้นหาดูจาก Google Seach, Youtube กันได้ ผมจะไม่ขอกล่าวถึงส่วนนี้ รวมทั้งพวกการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ด้วย Learning Management System (LMS) ต่างๆ อย่าง Moodle, Caroline, Blackboard, ATutor etc. การใช้โทรทัศน์เพื่อการศึกษาผ่านดาวเทียม (DLTV) ของมูลนิธิการศึกษาทางไกลไทยคม

dltv 01

การส่งสารความรู้ไปยังผู้เรียนไม่ใช่เรื่องยากแล้วในยุคสมัยนี้ เพราะมีบริการฟรีที่หลากหลายที่เข้าถึงผู้เรียนได้หลายช่องทาง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้เรียนยุคใหม่ในเมือง ในชนบทบางแห่งที่มีกำลังซื้อหาอุปกรณ์พวกโมบายล์ (โทรศัพท์มือถือ แท็ปเล็ต) มาใช้ได้ ในเด็กชนบทที่เครื่องมือเหล่านี้ยังไปไม่ถึงก็คงจำเป็นต้องให้มาเรียนในโรงเรียน ใช้ทรัพยากรของโรงเรียน (ที่รัฐควรจะต้องจัดหาให้ใช้แบบศึกษาเป็นกลุ่ม) เพราะด้วยข้อจำกัดนี้การมาเรียนในโรงเรียนก็ไม่น่าห่วงนัก เพราะจำนวนนักเรียนต่อห้องมีน้อย ระดับชั้นละไม่เกิน 10 คนก็มี โดยใช้สื่อการเรียนการสอนที่จัดทำจากโรงเรียนในท้องถิ่น (เขตพื้นที่การศึกษาเดียวกัน หรือใกล้เคียง) เป็นการเรียนการสอนแบบโรงเรียนพี่ช่วยโรงเรียนน้อง รวมครูที่เก่งๆ ในทุกสาขาวิชาเอก มาช่วยกันจัดการเรียนการสอนในกลุ่ม ในเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ที่หลากหลาย ตัดปัญหาครูไม่ครบชั้น ไม่ครบเอกได้อีกด้วย

เรื่องการจัดการเรียนการสอนทางไกล การสอนการเรียนในระบบออนไลน์ ไม่มีปัญหาแล้ว แต่ที่ผมห่วงคือ การวัดผลการศึกษา คราวนี้ไม่ห่วงโรงเรียนชนบทแล้วล่ะ เพราะคงควบคุมการวัดผลได้ไม่ยากนัก อาจใช้วิธีเดิมๆ ผสมผสานกับวิธีใหม่ก็ได้ แต่... ในโรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย นี่ซิ! ที่ผมห่วงมากกว่า ไม่ใช่ห่วงว่าเขาจะไม่เข้าทดสอบนะ แต่ห่วงว่าที่ทดสอบนั้นเป็นนักเรียนตัวจริงไหมมากกว่า

e learning 01

ระบบการสอบออนไลน์ทั่วๆ ไป มักจะเป็นแบบข้อสอบชนิดตัวเลือก มีการสุ่มคำถาม สุ่มคำตอบ สุ่มเรียงลำดับข้อไม่ให้ตรงกัน เมื่อมีการสอบในห้องเรียนใหญ่ๆ พร้อมกัน อาจจะกำหนดช่วงเวลาให้สอบเป็นกลุ่มๆ ซึ่งในภาวะปกติไม่มีไวรัสโควิด-19 ก็จะได้ผล/ความน่าเชื่อถือในระดับบหนึ่ง แต่พอมาเป็นการจัดการเรียนการสอนออนไลน์สมบูรณ์แบบ เรียน/สอนกันที่บ้านก็ได้ (Teach from Home/Learn from Home) ปัญหาในการสอบจึงเกิดความไม่เชื่อมั่นขึ้น เพราะเรามีนักเรียนศรีธนญชัย (ภาษาอีสานเรียก เซียงเมี่ยง) เยอะมากขึ้น คนกลุ่มนี้เป้าหมายของการเรียนไม่ใช่ "ความรู้" แต่เป็นการเพื่อให้ได้ "เกร็ดสูงๆ" และ "ปริญญาบัตร" เท่านั้น จึงมีขบวนการ "มือปืนรับจ้าง" ในการเรียน เช็คชื่อ ทำงานส่ง และสอบแทนผู้เรียนตัวจริง ซึ่งว่าไปแล้วมันก็มีมานานแล้วเช่นกัน

เราจะหาทางออกกันอย่างไร?

นี่จึงเป็นบทความสำหรับวันนี้ ประสบการณ์เดิมของผมก็คงเหมือนกับคนอื่นๆ ในอดีต ตอนสมัยที่ยังรับราชการสอนหนังสือ และร่อนเร่ไปเป็นวิทยากรในที่ต่างๆ ก็เคยใช้ระบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์เหมือนกัน แต่เป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนในเมืองที่ทรัพยากรค่อนข้างพร้อม ทั้งของโรงเรียน (เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ ที่มีเครื่องเพียงพอจำนวนนักเรียน) ตัวครูเอง (มีเครื่องมือและช่องทางสื่อสารที่กำหนดได้) ตัวนักเรียนที่มีความรับผิดชอบ (มีเพื่อนที่เก่งในห้อง มีความชำนาญ ช่วยสอนและอธิบายให้เพื่อนฟังแทนครู) ก็เลยสามารถใช้เครื่องมือสร้างสื่อ เก็บรวบรวมสื่อ แบบทดสอบ ให้นักเรียนได้ใช้ตามระยะเวลาที่กำหนดได้ สอนออนไลน์ทางไกลมายังห้องเรียนได้ สอบได้ตามกำหนดมีเพื่อนครูช่วยกำกับในห้องเรียนได้ ผลที่ได้จึงไม่ต่างจากสอนเองในห้องมากนัก

พอมาเจอวิกฤติแบบนี้บ้าง ผมเลยลองคิดหาวิธีการช่วยเพื่อนๆ ครูในการวัดผล เพื่อให้ได้ผลที่น่าเชื่อถือได้มาใช้งาน จะใช้การสอบผ่านระบบ LMS อย่างเดียวกับแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 40-50 ข้อ มาบวกกับชิ้นงานอื่นๆ ก็ไม่น่าจะได้ผลมากนัก เพื่อตัดวงจรมือปืนรับจ้างออกไปบ้าง (อาจจะไม่ทั้งหมด แต่ตอนสอบนี่ผมคิดว่าได้ผลแน่นอน ว่าวัดได้จริง) ส่วนจะทำอย่างไรนั้นมาดูกันครับ

e learning 02

กระบวนการจัดการสอบออนไลน์

1. การสอบออนไลน์แบบ Face 2 Face

การสอบแบบนี้ก็เหมือนกับการสอนออนไลน์โดยใช้เครือข่ายผ่าน Skype, Hangouts, Zoom, etc. ซึ่งเป็นการสนทนาซักถาม สัมภาษณ์กันแบบตัวต่อตัว หรือแบบเป็นกลุ่มก็ได้ ให้คะแนนกันไปได้เลยทันที แต่ถ้าผู้เรียนกลุ่มใหญ่ๆ ก็อาจต้องมีการจัดสรรเวลา และใช้เวลาค่อนข้างมาก อาจมีปัญหาที่หาเวลาตรงกันค่อนข้างยากหน่อย (คือ ถ้าเลี่ยงได้ก็จะพยายามเลี่ยงอยู่นั่นแหละ) ขนาดนั่งต่อหน้าในห้องแท้ๆ พวกเขาก็ยังไม่พร้อมให้เห็นอยู่ดี ท่านก็ลองเอาไปพิจารณาใช้ประกอบกับช่องทางอื่นๆ กันดูนะครับ

2. การทดสอบออนไลน์รายบุคคลแบบบ้านๆ

ผมได้แนวคิดนี้มาจากการอ่านเฟซบุ๊คของท่าน ศน.จงภพ (ไม่แน่ใจ ถ้าเป็นท่านอื่นก็บอกมาขอเครดิตได้นะ) ความว่าดังนี้ "เพื่อนครูอาวุโสได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิดระบาด กระทรวงศึกษาธิการสั่งปิดโรงเรียนตั้งแต่ 18 มีนาคม ที่ผ่านมา นักเรียนก็ยังไม่ได้สอบวัดผลเลย ท่าน ศน. ก็เลยถามเพื่อนครูคนนั้นว่า "จะทำอย่างไรดี" เพื่อนครูตอบมาว่า "สอบทางออนไลน์ซิ" ท่าน ศน. ของเราถึงกับอึ้ง เพราะไม่เคยรู้ว่าคุณครูท่านนี้ทำการสอนแบบออนไลน์มาก่อน แต่คำตอบของครูอาวุโสท่านนั้นทำเอา ท่าน ศน. ของเราถึงกับไปไม่ถูกกันเลยทีเดียว "ก็แค่ถ่ายรูปข้อสอบแล้วส่งทางไลน์ทีละหน้า ให้เด็กเขียนคำตอบใส่กระดาษว่า ข้อไหน ก. ข. ค. ง. ถ่ายรูปส่งคำตอบกลับมาทางไลน์ก็เสร็จแล้ว" (ดนตรี) ทะแล่ม ทะแล่ม ๆ 555 😁😂🤣😀

3. การบันทึกวีดิโอตอบคำถาม

ผมได้แนวคิดนี้มาจากการสมัครงานเป็นลูกเรือของหลายสายการบิน ที่เขาให้บันทึกคลิบวีดิโอตอบคำถามส่งไปพร้อมกับ Resume/CV ดังเช่น สายการบิน Singapore Airline, Qantas, Delta และ United Airlines เป็นต้น ที่เด็ดสุดๆ คือของ United Airlines นี่แหละ

ตามปกติการบันทึกวีดิโอจะมีลิงค์มาให้ ต้องโหลดโปรแกรมจากบริษัทนั้นๆ มาเพื่อทำการอัดวีดีโอโดยเฉพาะ บางบริษัทดีหน่อยตรงที่มีคำถามไกด์มาให้ แล้วเราก็พูดๆ ให้ตรงประเด็น และตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ (ปกติไม่เกิน 60 วินาที) ให้อัดกี่ครั้งก็ได้ ก่อนจะส่งอันที่ดีที่สุดไป แต่ของ United Airlines จะต่างออกไปคือ มีโปรแกรมบันทึกวีดิโอในหน้าเว็บพร้อมคำถามให้อ่าน และต้องตอบภายในเวลาที่กำหนดไว้ (5 นาที) ความยาวในการตอบคือ 60 วินาที (เกินไม่ได้โปรแกรมจะหยุดบันทึก และส่งวีดิโอไปอัตโนมัติเลยทันที) ถ้าทำไม่ทัน/ไม่บันทึกในเวลาที่กำหนด กดรีเฟรชจะได้คำถามใหม่ไปเรื่อยๆ เงื่อนไขคงเดิม

แบบนี้ถ้าสถาบันการศึกษาใดหรือครูท่านใดเป็นปรแกรมเมอร์เขียนระบบขึ้นมา ให้เพื่อนครู-อาจารย์ได้ใช้ เตรียมคำถามไว้หลายๆ ชุด ให้นักเรียนได้สอบกันย่อมจะสามารถวัดได้ผลสัมฤทธิ์จริงเลยทีเดียว เป็นแนวคิดนำไปประยุกต์ต่อนะครับ

e learning 03

ก็คงต้องหาหลายๆ วิธีในการวัดและประเมินผล ตอนนี้คิดมาได้แค่นี้ครับ เพื่อนๆ นักเทคโนโลยีทางการศึกษาก็มาช่วยกันคิดหน่อยนะ จะได้เป็นบุญกุศลต่อวงการศึกษาไทย การจัดการเรียนการสอนออนไลน์จะได้เกิด ซึ่งนอกจากกำลังกายกำลังความคิดของเพื่อนครูเราแล้ว ฝ่ายบริหารเบื้องบนหอคอยก็ต้องคอยสนับสนุนงบประมาณ และความพร้อมในด้านอุปกรณ์ด้วยนะครับ ไม่ให้ก็คงไม่รอดเป็นแน่แท้ขอรับ เราจะไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง...

 

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)

Our Policy