Extreme Flooding At Dubai Airport

บันทึกเหตุการณ์ภัยพิบัติน้ำท่วมครั้งใหญ่ในนครดูไบ ผมมาพำนักและทำงานที่นี่เข้าปีที่ 14 แล้ว เคยพบภัยธรรมชาติบ้างก็พวกพายุทะเลทรายในบางปี ที่ดูไบมีฝนตกเฉลี่ยที่ประมาณ 84 มิลลิเมตรต่อปี แต่เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2567 ที่ผ่านมาก็เกิดปรากฏการณ์ฝนตกกระหน่ำเริ่่มที่โอมานก่อนจะพัดผ่านมาถึงดูไบ ด้วยปริมาณน้ำฝนที่วัดได้มากกว่า 124 มิลลิเมตรในวันนี้ ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันไปทั่วนครดูไบจนเกิดวิกฤตหนักในด้านการจราจรในเมิอง รวมทั้งสนามบินนานาชาติที่ดูไบก็โดนน้ำท่วมรันเวย์ไปด้วย

ภายหลังประสบ พายุฝน ถล่ม นครดูไบ ภาพวิดีโอที่น่าตื่นตะลึงเผยให้เห็นรันเวย์ของสนามบินนานาชาติดูไบใน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) ที่เพิ่งได้ครองตำแหน่งสนามบินที่มีผู้ใช้บริการมากเป็นอันดับสองของโลก จมอยู่ใต้น้ำ ขณะที่เครื่องบินขนาดใหญ่พยายามเคลื่อนที่ช้าๆ ฝ่า น้ำท่วม บนลานบิน

เครื่องบินไอพ่นดูเหมือนเรือยักษ์แล่นผ่านสนามบินที่ถูกน้ำท่วม ผู้ชมคลิปมองเห็นน้ำพุ่งกระเซ็นก่อให้เกิดคลื่นกระเพื่อมเป็นวง สนามบินนานาชาติดูไบต้องหยุดให้บริการเกือบครึ่งชั่วโมงเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (16 เมษายน)  “การดำเนินงานยังคงหยุดชะงักอย่างมีนัยสำคัญ” สนามบินยืนยันในคำแถลงการณ์ “มีน้ำท่วมใหญ่รอบๆนครดูไบ รวมทั้งบนถนนทางเข้าที่นำไปสู่สนามบิน”

สนามบินนานาชาติดูไบ ศูนย์การเดินทางระหว่างประเทศที่พลุกพล่านที่สุดในโลก ในแง่ปริมาณการสัญจรของผู้โดยสาร ต้องระงับปฏิบัติการเป็นเวลาราว 25 นาที และยกเลิกเที่ยวบินมากกว่า 50 เที่ยว

ข้อมูลการสังเกตการณ์สภาพอากาศที่สนามบินชี้ให้เห็นว่า ฝนตกลงมาวัดความสูงระดับน้ำได้มากเกือบ 4 นิ้ว (ประมาณ 100 มม.) ในช่วงเวลาเพียง 12 ชั่วโมงเมื่อวันอังคาร (16 เม.ย.) ซึ่งเป็นระดับที่ดูไบวัดได้ตลอดทั้งปี นั่นหมายถึงฝนตกครั้งนี้เพียง 12 ชั่วโมงทำให้เกิดปริมาณน้ำเทียบเท่าฝนตก 1 ปีซึ่งอยู่ที่ราว 100 มิลลิเมตร เลยทีเดียว

ทั้งนี้ นครดูไบ โดยปกติจะมีสภาพอากาศเช่นเดียวกับพื้นที่อื่นๆ ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่มีสภาพเป็นทะเลทรายเสียส่วนใหญ่ มีอากาศร้อนและแห้ง ด้วยเหตุนี้ จึงมีฝนตกไม่บ่อยนัก ดังนั้น จึงไม่มีโครงสร้างพื้นฐานเช่น คู คลองระบายน้ำ ท่อลอดตามถนน เพื่อรองรับเหตุการณ์ฝนตกที่รุนแรงเช่นนี้

โชคดีที่ผมออกจากที่พักไปสำนักงานใหญ่เพื่อทำไฟลท์บินไปโตเกียว ญี่ปุ่น ก่อนที่ฝนจะตกหนักเล็กน้อยเลยไม่มีปัญหาในการเดินทาง แต่ไฟลท์ก็ดีเลย์ไปถึงชั่วโมงครึ่งก่อนที่จะออกเดินทางได้ ส่วนเพื่อนๆ พี่น้องคนที่ทำไฟลท์หลังค่ำวันนั้นดีเลย์กันนระนาวมากถึง 6 ชั่วโมงก็มี เนื่องจากมีผู้โดยสารจำนวนมากตกค้างอยู่ในถนนที่น้ำท่วม การขึ้นลงของเครื่องบินมีปัญหาต้องเลื่อนเวลาออกไปให้มีความปลอดภัย

ทั้งนี้ ท่ามกลางรายงานของทีมเจ้าหน้าที่กู้ภัยในการเร่งให้ความช่วยเหลือ และค้นหาผู้ประสบภัยในพื้นที่ต่างๆ ทางด้านสนามบินนานาชาติดูไบ (Dubai International Airport) เปิดเผยว่า สนามบินในเวลานี้กำลังเผชิญกับ ‘สภาวะที่ท้าทายมาก’ พร้อมแนะนำผู้โดยสารบางส่วนไม่ต้องเดินทางมายังสนามบิน เนื่องจากสนามบินส่วนหนึ่งยังคงจมอยู่ใต้น้ำ โดยข้อมูลจาก FlightAware ระบุว่ามีเที่ยวบินราว 290 เที่ยวทั้งขาไปและขากลับจากสนามบินนานาชาติดูไบ ถูกยกเลิกเมื่อวันพุธที่ผ่านมา (17 เมษายน) และมีเที่ยวบินอีกอย่างน้อย 440 เที่ยวที่มีแนวโน้มจะเลื่อนกำหนดการบินหรือยกเลิกการบินอีก

ด้านสนามบินนานาชาติดูไบ ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางหลักในการเชื่อมต่อเที่ยวบินไปยังทุกทวีป เตือนว่า “การฟื้นฟูสนามบินน่าจะต้องใช้เวลาอีกสักระยะหนึ่ง” โดยจากข้อมูลอัปเดตล่าสุดระบุว่า ขณะนี้ทางสนามบินได้สั่งปิดบริการอาคารผู้โดยสาร 1 และขอให้ผู้ที่ไม่มีเหตุจำเป็นหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังสนามบิน ขณะที่สายการบิน Emirates ได้สั่งระงับการเช็กอินผู้โดยสารทั้งหมดเมื่อวันพุธที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศเลวร้าย ส่งผลกระทบต่อการเดินทางในดูไบ กระนั้น ผู้โดยสารที่แวะพักเครื่องระหว่างทาง (Transit) ได้รับอนุญาตให้เดินทางต่อไปได้

รายงานระบุว่า พายุรุนแรงที่ทำฝนตกหนักและพัดถล่มดูไบ ทำให้เกิดความวุ่นวายในการเดินทางนั้น มีปริมาณน้ำฝนมากเป็นประวัติการณ์ในรอบ 75 ปี ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมหนักในหลายพื้นที่ และเที่ยวบินต้องล่าช้าหรือเปลี่ยนเส้นทาง

ด้านผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า มีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดน้ำท่วมในภูมิภาคตะวันออกกลาง โดยหนึ่งในปัจจัยหลักก็คือ อากาศที่ร้อนขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้ภูมิภาคดังกล่าวมีโอกาสเกิดฝนตกหนักมากขึ้น และบ่อยขึ้น ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ชี้ว่า ขณะนี้อุณหภูมิโลกร้อนขึ้นแล้วประมาณ 1.1 องศาเซลเซียส นับตั้งแต่ยุคอุตสาหกรรมเริ่มต้นขึ้น และอุณหภูมิจะสูงขึ้นเรื่อยๆ เว้นแต่รัฐบาลทั่วโลกจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงในปริมาณมหาศาลให้เร็วที่สุด

Loading

About Post Author

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

error

Enjoy this blog? Please spread the word :)