The Big Three Chinese Airlines All Take Delivery Of Their First ARJ21s

ข่าว 3 สายการบินใหญ่ของจีน คือ Air China, China Eastern และ China Southern ได้รับมอบเครื่องบินรุ่นใหม่ COMAC ARJ21 ลำแรกของพวกเขาแล้ว ที่ศูนย์ประกอบเครื่องบินของ บริษัท คอมเมอร์เชียล แอร์คราฟ คอร์ปอเรชั่น แห่งประเทศจีน ในเมืองอู่ตง เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2563 ที่ผ่านมา เครื่องบินไอพ่นขนาดเล็กนี้มีที่นั่งโดยสารจำนวน 90 ที่นั่ง ที่แสดงให้เห็นถึงความพยายามของบริษัทเครื่องบินในประเทศจีน ในการเจาะตลาดการบินเชิงพาณิชย์ในระดับภูมิภาค โดยเป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท COMAC ซึ่งย่อมาจาก Commercial Aircraft Corporation of China (ที่เคยกล่าวถึงแล้ว ในเรื่องเดิม อ่านที่นี่)

The big three Chinese airlines took simultaneous deliveries of their first ARJ21s. Photo: Getty Images

ARJ21 ได้ถูกนำไปใช้งานการบินโดยสารเฉพาะสายการบินขนาดเล็กมาก่อนแล้วตั้งแต่ปี 2015 บัดนี้เป็นการส่งมอบให้กับ 3 ผู้ให้บริการขนาดใหญ่ ที่รับเครื่องบินรุ่นนี้ ARJ21 เข้าประจำการในฝูงบิน ก็จะทำให้มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติด้วย ยิ่งไปกว่านั้น นอกจากผู้โดยสารที่เป็นชาวจีนที่จะได้ใช้บริการแล้ว ก็ยังจะมีผู้โดยสารที่เป็นชาวต่างชาติอีกจำนวนมาก ซึ่งเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ในประเทศจีนได้ใช้เครื่องบินรุ่นนี้ด้วย

ทั้ง 3 สายการบินได้มีประกาศคำสั่งซื้อพร้อมกัน สำหรับเครื่องบินเจ็ต ARJ21 จำนวน 35 ลำ เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2562 ข้อตกลงดังกล่าว มีมูลค่ากว่า 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราคาต่อลำคือ 38 ล้านดอลลาร์) โดยทางผู้ผลิตประกาศว่า เครื่องบินทั้ง 3 ลำนั้น มีคำสั่งให้ติดตั้งที่นั่งแบบชั้นประหยัดจำนวน 90 ที่นั่ง โดยสายการบิน China China, China Eastern และ China Southern มีกำหนดจะนำเครื่องบิน ARJ21 ขึ้นให้บริการภายในปีนี้

Air China

ตั้งแต่เดือนธันวาคมเป็นต้นไป สายการบิน Air China จะได้นำเครื่อง ARJ21 เข้าร่วมในฝูงบิน การเพิ่มประเภทเครื่องบินใหม่ จะมาพร้อมกับความท้าทายเพิ่มเติม สายการบินจะต้องเตรียมนักบินในการการฝึกอบรมเกี่ยวกับการบิน พนักงานต้อนรับที่จะดูแลผู้โดยสารด้านความปลอดภัย ฝ่ายช่างที่ต้องทำการติดตั้งและการบำรุงรักษาอุปกรณ์ต่างๆ ให้พร้อมบิน เพื่อการให้บริการโดยสารและขนส่งทางอากาศ ให้เกิดรายได้เชิงพาณิชย์ได้อย่างราบรื่น

Air China’s first ARJ21. Photo: Getty Images

โดย Air China คาดว่าจะใช้ ARJ21 เพื่อขยายเครือข่ายเส้นทางที่มีระยะสั้นในภูมิภาคของประเทศจีน ซึ่งปัจจุบันทางบริษัทไม่สามารถแข่งขันกับรายอื่นได้ด้วยเครื่องขนาดใหญ่ Air China คาดว่า การบินภายในประเทศจะมีการแข่งขันที่รุนแรง และทางสายการบินเองจะสามารถเข้าแข่งในตลาดได้ด้วยขนาดเครื่องบินที่เหมาะสม

China Eastern

China Eastern ได้ก่อตั้งสายการบิน OTT ซึ่งเป็น บริษัทย่อยขึ้น โดยมีจุดประสงค์ในการบินด้วยเครื่องบินที่ผลิตในประเทศจีนเอง นอกเหนือจากเครื่องบินรุ่น ARJ21 แล้ว ทางสายการบินยังมีโครงการจะให้บริการเครื่องบินแบบ C919 ขนาดใหญ่ขึ้นอีกแบบหนึ่งของ COMAC อีกด้วย

China Eastern set up a new subsidiary to fly Chinese-made jets like the ARJ21. Photo: Getty Images

สนามบินหลักของ China Eastern คือ Shanghai’s Pudong แต่สำหรับฝูงบินใหม่ ARJ21 นั้นจะใช้สนามบิน Shanghai’s Hongqiao แทน เครื่องบินเหล่านี้จะช่วยเสริมเส้นทางบินภายในประเทศ

China Southern Airlines

China Southern Airlines เป็นผู้ให้บริการขนส่งทางอากาศที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย มีเครื่องบินในฝูงแบบต่างๆ จำนวน 860 ลำ (นับถึงสิ้นปี 2019) เช่นเดียวกับสายการบิน Air China และ China Eastern ทาง China Southern ได้เสร็จสิ้นการเตรียมการสำหรับการฝึกอบรมนักบิน และพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน สำหรับ ARJ21 แล้ว โดยทางสายการบินได้เลือกเอาสนามบิน Guangzhou เป็นสถานีหลักในการให้บริการด้วยเครื่องบินเจ็ต ARJ21 นี้

China Southern’s first ARJ21. Photo: Getty Images

สายการบินอื่นนอกประเทศจีนจะซื้อ ARJ21 ไหม

เครื่องบินเจ็ตขนาดเล็ก 90 ที่นั่ง ในตลาดการบินระดับภูมิภาคทั่วโลกนั้น ปัจจุบัน นิยมใช้เครื่องบิน Embraer E170, Bombardier Canadair Regional Jet series, Dash 8 turboprop series และ ATR Turboprop ในขณะที่ทาง Mitsubishi ผู้ผลิตจากญี่ปุ่นอีกรายก็กำลังุ่มพัฒนา MRJ แบบใหม่เข้าแข่งขันในตลาด

การแข่งขันในอุตสาหกรรมการบินนี้ อาจจะยังไม่ชัดเจนเท่าใดนัก จากสภาวะที่มีการระบาดของโควิด-19 อย่างรุนแรง ซึ่งทำให้อุตสาหกรรมการบินอยู่ในช่วงยากลำบากในการแข่งขัน แม้แต่ยักษ์ใหญ่อย่าง Boeing ของอเมริกาที่ซวนเซมาจากสถานการณ์สั่งห้ามบินของ Boeing 737 Max เป็นต้นมา นานกว่าหนึ่งปีแล้วก็ยังไม่สามารถขึ้นบินได้ ทำให้หุ้นร่วงลงอย่างหนัก ถึงกับมียอดสั่งซื้อเป็นศูนย์ และมีเครื่องบินที่ผลิตแล้วที่ยังส่งมอบไม่ได้เต็มลานจอด

ในส่วนของบริษัท Airbus ทางฝั่งยุโรปที่เคยรับประโยชน์จากการหยุดชงักไปของ Boeing ก็ต้องมาสะดุดจากการชะลอคำสั่งซื้อและการรับเครื่องบินใหม่จากหลายๆ สายการบินเพราะโคโรนาไวรัสเช่นกัน รวมทั้งการที่ต้องหยุดการผลิตยักษ์ใหญ่อย่าง Airbus A380 ที่ไม่มีใครสั่งซื้ออีก จากปริมาณผู้โดยสารต่อเที่ยวที่ลดลง จนไม่คุ้มทุนกับการให้บริการด้วยเครื่องบินขนาดมากกว่า 500 ที่นั่ง

The ARJ21 is already in service within China, but no major airlines outside of the country have ordered the type. Photo: Getty Images

แม้ COMAC จะได้เปรียบตรงที่มีสายการบินในประเทศสั่งซื้อมาใช้งาน การสนับสนุนจากทางรัฐบาลจีนที่อาจจะมีอนาคตที่สดใสอยู่บ้าง แต่ก็ยังมีปัญหาที่ต้องขบคิดเช่น การสนับสนุนและระยะเวลาในการผลิตเครื่องบิน ความน่าเชื่อถือของตัวเครื่องบินที่ต้องใช้ระยะเวลาอีกมาก เพื่อให้สายการบินหรืออุตสาหกรรมการบินนานาชาติมองเห็นชัดเจน

ARJ21 ได้ทำการบินครั้งแรกในปี 2008 และเริ่มส่งมอบให้กับสายการบินขนาดเล็กในท้องถิ่น Chengdu Airlines เมื่อปี 2015 และเริ่มเที่ยวบินปฐมฤกษ์เมื่อ 28 มิถุนายน 2016 เครื่องบินก็ยังไม่ปรากฏตัวมากนักในธุรกิจการบิน มีเพียงสายการบินท้องถิ่นอย่าง Chengdu Airlines และ Genghis Khan Airlines เท่านั้นที่ใช้งานมาก่อน ปัจจุบัน ARJ21 ได้ถูกส่งมอบไปแล้ว 32 ลำ (รวม 3 ลำล่าสุดนี้ด้วย) มันไม่ได้เป็นที่นิยมมากมายดังเช่นเครื่องบินแบบ Airbus A220 ที่มีใช้งานกันอยู่ทั่วโลก

การเพิ่มเครื่องบินแบบใหม่เข้ามาในฝูงบินนั้น จะเป็นต้นทุนทึ่สูงมากสำหรับทุกสายการบิน (เพราะมีค่าใช้จ่ายทั้งในการฝึกนักบิน พนักงานต้อนรับ และฝ่ายช่างเทคนิคให้มีความรู้ความชำนาญกับเครื่องบินแบบใหม่ๆ นี้) นี่คือความท้าทายที่ COMAC จะต้องสร้างขึ้นให้ได้กับสายการบินในประเทศ ปัจจุบัน แม้ว่าอาจมีช่องว่างอยู่บ้างสำหรับการเติบโตอยู่ในเอเชียตะวันออก โดยเฉพาะจีนนั้นเริ่มที่จะเห็นการฟื้นตัวของการเดินทางกันมากแล้ว

COMAC เชื่อว่าใน ARJ21 จะเข้าสู่บริการเชิงพาณิชย์ที่กว้างขวางมากขึ้นในประเทศจีน แต่การจะได้รับความไว้วางใจจากสายการบินรายใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ยุโรปและออสเตรเลีย เพื่อสั่งซื้อไปใช้งานจะเป็นเรื่องที่ยากพอดู ในขณะที่ ARJ21 ได้รับการรับรองจาก สำนักงานความปลอดภัยการบินแห่งยุโรป (EASA) แต่ก็ยังไม่ได้รับการอนุมัติจากองค์การการบินแห่งสหรัฐอเมริกา (FAA) ซึ่งเป็นข้อจำกัดในศักยภาพของเครื่องบินในการจัดจำหน่ายทั่วโลก

Pilots pose in the cockpit of an ARJ21. Photo: Getty Images

ARJ21 จะเป็นอย่างไรในตลาดโลก

ARJ21 ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันอย่างน่าทึ่งกับเครื่องบินซีรีส์ MD ของ McDonnell Douglas ในอดีต นั่นคือเป็นเครื่องบินเจ็ทระดับภูมิภาค ที่สามารถรองรับจำนวนที่นั่งได้มากถึง 90 ที่นั่ง ซึ่ง ทาง COMAC โฆษณาว่า เครื่องบินสามารถทำการบินได้ทั้งบนเส้นทางสายหลัก และเส้นทางสายรองในระดับภูมิภาค และเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานในประเทศที่มีสภาพกว้างใหญ่อย่างจีน

ตลาดสำหรับเครื่องบินไอพ่น 90 ที่นั่งนั้น ปัจจุบันครองตลาดโดย Embraer E-2 series และ Airbus A220 ถึงกระนั้น ตลาดก็ไม่ใหญ่มากเท่ากับตลาดของเครื่อง Airbus A320 และตระกูล Boeing 737 ซึ่ง COMAC จะสามารถเข้าไปแข่งขันได้ สำหรับความต้องการในตลาดนอกประเทศจีน สำหรับเครื่องบินที่เทียบเท่า Airbus A220

Suited for regional operations, all three carriers chose to outfit the jets with 90 seats. Photo: Getty Images

อีกทวีปหนึ่งที่มีศักยภาพสำหรับเครื่องบินเจ็ทขนาด 90 ที่นั่ง คือตลาดในแอฟริกาที่กำลังเติบโต และมีที่ว่างสำหรับผู้ผลิตรายใหม่ที่จะเข้าร่วม นอกจาก Boeing, Airbus และ Embraer ยังไม่มีผู้ผลิตรายใด ได้สร้างฐานลูกค้าในภูมิภาคนี้ หาก COMAC ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าที่นี่ มันจะสามารถเปิดประตูเพื่อรับคำสั่งซื้อเพิ่มเติม และทำให้เครื่องบินมีสถานะความเป็นสากลมากขึ้น

การส่งมอบ ARJ21 ครั้งแรกให้กับสายการบินจีนรายใหญ่นั้น นับเป็นการก้าวไปข้างหน้าของ COMAC ที่ยังคงมีงานอีกมากมายที่ต้องทำ เพื่อให้เป็นที่พอใจ หรือเกิดความสนใจของลูกค้าในต่างประเทศในอนาคต

ที่มา : https://simpleflying.com/big-three-china-arj21/

ข่าวเพิ่มเติมล่าสุด

สายการบิน China Southern Airlines ได้ให้บริการเที่ยวบินพาณิชย์อย่างเป็นทางการแล้ว สำหรับเครื่องบินโดยสารระดับภูมิภาค ARJ21 ที่ผลิตโดยบริษ้ท COMAC ของจีนเอง ในเส้นทางบินจากนครกว่างโจวและเมืองเจี่ยหยาง ซึ่งตั้งอยู่ในมณฑลกว่างตง (กวางตุ้ง) ทางตอนใต้ของจีน เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา

Loading

About Post Author

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

error

Enjoy this blog? Please spread the word :)