foto1
ความงดงามการศึกษาไทย
foto1
เพื่อ?
foto1
ไม่เข้าใจ?
foto1
วิทยากรที่กระทรวงศึกษาธิการ สปป.ลาว
foto1
ท่องทะเลทรายที่ดูไบ UAE


Friendly Links

เรียนรู้ภาษา html
isangate banner
easyhome banner
ipst banner
sakdibhornssup foundation
13 Thai free fonts
speedtest
e mil

Facebook Likebox

No. of Page View

back2school 01

ปกติในทุกปีการศึกษา ช่วงนี้จะเป็นการจัดปฐมนิเทศนักเรียนใหม่ก่อนจะเปิดภาคเรียนกัน แต่ด้วยการระบาดของโรคพิษภัยที่คาดไม่ถึงของวายร้ายที่ชื่อ โควิด-19 (coronavirus disease starting in 2019) วันนี้เรายังไม่มีการรับนักเรียนใหม่กันเลย ซึ่งแน่นอนว่าบรรดาผู้ปกครองที่มีบุตรหลานที่ต้องเปลี่ยนช่วงชั้นเรียน ป. 1, ม. 1, ม. 4 และระดับอุดมศึกษา ย่อมมีความวิตกกังวลกันมากที่สุด ในขณะที่ทางด้านโรงเรียน สถาบันการศึกษาก็วิตกกังวลไม่ต่างกัน ว่าจะรับนักเรียนด้วยวิธีการอย่างไรจึงจะปลอดภัยจากโรคร้ายนี้ ตั้งแต่ขั้นตอนการสมัคร การคัดเลือก การสอบ และได้มาแล้วจะเริ่มต้นการจัดการเรียนการสอนอย่างไรดี? ทางกระทรวงก็มีแต่คำสั่งแนวปฏิบัติให้ทำ ส่วนจะเริ่มอย่างไรไปคิดกันเอาเอง

เอาที่เรื่องการรับนักเรียนก่อน แน่นอนล่ะ "หนทางที่ปลอดภัยคือ ออนไลน์" แต่มันก็ใช้กับทุกคนไม่ได้ ด้วยข้อจำกัดที่แตกต่างกันไปตั้งแต่การเข้าถึงระบบเครือข่าย การไม่เชี่ยวชาญในเทคโนโลยีทำให้สมัครกันไม่ได้ ทำไม่เป็น (เอาง่ายๆ แค่การลงทะเบียนรับสวัสดิการจากรัฐก็ยังด่ากันเอ็ดอึง) โรงเรียนจะทำอย่างไร โรงเรียนใหญ่ๆ มีชื่อเสียง ความต้องการจะเข้าเรียนมีเยอะคงไม่ยากสำหรับผู้ปกครองที่จะดิ้นรนสมัคร แต่คนที่ขาดโอกาสล่ะ ก็ยิ่งซ้ำเติมความขาดยิ่งขึ้นไปอีก โรงเรียนคงต้องหาทางออกแบบผสมผสาน ใช้การสมัครแบบปกติคู่กันไปด้วย เช่น มีใบสมัครให้รับได้ในที่ใดที่หนึ่ง เขียนใบสมัครแล้วส่งผ่านให้โรงเรียนในทางใดทางหนึ่ง ไม่ใช่ยึดแต่ระบบออนไลน์ทางอินเทอร์เน็ตอย่างเดียว

new student 2563 2

ส่วนโรงเรียนเล็กๆ ในตำบล ในหมู่บ้าน ผมว่าใช้วิธีธรรมดาๆ ประกาศทางเสียงตามสายหมู่บ้าน แจกใบสมัครผ่านผู้ใหญ่บ้าน กำนัน อบต. อสม. แล้วกำหนดให้ส่งผ่านไปยังโรงเรียนตามสะดวกก็คงได้อยู่แล้ว ไม่ต้องกังวลมากนัก

โรงเรียนที่มีความต้องการจากชุมชนมากๆ การแข่งขันสูงก็จะมีปัญหาตามมาอีกคือ การคัดเลือกเข้าเรียน จะใช้การจับสลาก การสอบคัดเลือกก็คงต้องคำนึงถึงการรวมหมู่กันเป็นจำนวนมาก ที่อาจมีความเสี่ยงสูงต่อการระบาดของโรค จะต้องหาวิธีการที่เหมาะสมในการดำเนินการต่อไป อย่างไรการสอบคัดเลือกก็เป็นวิธีการที่ยุติธรรมที่สุดสำหรับทุกคน คงไม่ใช่การสอบออนไลน์จากที่บ้าน แต่เป็นการสอบในสถานที่ที่สามารถควบคุมการระบาดและแพร่เชื่อได้ ตามบริบทของแต่ละโรงเรียนกันต่อไป

back2school 02

เปิดเทอมใหม่กับการเรียนออนไลน์

สมมุติว่า การรับนักเรียนใหม่ด้วยการสอบตามแนวปฏิบัติของ สพฐ. ผ่านไปได้ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ทุกโรงเรียนพร้อมเปิดเรียนพร้อมกันในวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 ก็คงมาถึงการจัดการเรียนการสอนในสภาวะโรคระบาดกันแล้ว ก็มีการเตรียมการ สั่งการ ให้ทุกภาคส่วน สพฐ. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์ โรงเรียน ครูผู้สอน รวมไปถึงการเตรียมความพร้อมของนักเรียนและผู้ปกครอง มาเป็นลำดับนั้น

back2school 03

มีการเตรียมการและสั่งการมีแนวปฏิบัติดังนี้

1. ระยะที่ 1 การเตรียมความพร้อม (7 เมษายน - 17 พฤษภาคม 2563)

  • สำรวจความพร้อมในด้านอุปกรณ์การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ของนักเรียน ผู้ปกครอง ครู และระบบการบริหารจัดการการเรียนการสอน คงมีการทราบไปแล้วล่ะว่า การเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตยังมีปัญหาทั้งฝ่ายจัดการเรียนการสอน (สถานศึกษาเอง) และฝ่ายผู้เข้าเรียนที่เข้าถึงได้ยังไม่มาก มีไม่ถึง 60 เปอร์เซนต์ และแม้จะเข้าถึงได้แต่ภาระค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จะทำอย่างไร?
  • ขออนุมัติใช้ช่องรายการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล จากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับปฐมวัยถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ข้อนี้ ทาง กสทช. ได้อนุมัติให้สามารถทดลองออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ดิจิทัลได้ 17 ช่อง เป็นระยะเวลา 6 เดือน โดยผู้ให้บริการโครงข่ายภาครัฐไม่คิดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ ก็เหลือแต่่การจัดทำเนื้อหาที่มีคุณภาพ รูปแบบของรายการที่จะได้ผลมากน้อยเพียงใด (อ่านรายละเอียดเพิ่มคลิกเลย)
  • ขออนุมัติเผยแพร่การเรียนการสอนจากห้องเรียนต้นทาง ในระดับปฐมวัยถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ของสถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) จากมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในส่วนนี้นั้นมีการใช้งานมาก่อนอยู่แล้ว โดยผ่านทางโทรทัศน์ดาวเทียม และปัจจุบันสามารถรับชมได้ผ่านทางเว็บไซต์ www.dltv.ac.th อีกด้วย ซึ่งสามารถดูและเรียนได้ทั้งเรียนสด (พร้อมกับนักเรียนโรงเรียนวังไกลกังวล หัวหิน) เรียนล่วงหน้า และเรียนย้อนหลัง รวมทั้งมีแบบฝึกหัดและใบงานให้ดาวน์โหลดมาทำกิจกรรมด้วย
  • จัดทำสื่อวีดิทัศน์การสอน โดยครูต้นแบบ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้
  • รวบรวมสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ใน OBEC Content Center ชุดโปรแกรมและแพลตฟอร์มการเรียนรู้ครบวงจรของกระทรวงศึกษาธิการ เช่น Tutor ติวฟรี.com, e-Book เป็นต้น
  • เตรียมโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบเครือข่าย เพื่อรองรับการให้บริการ แพลตฟอร์มการเรียนรู้ให้เชื่อมโยงกับระบบ Digital e-Learning ของกระทรวงศึกษาธิการ

back2school 04

เรียนกับสื่อที่มีครูคอยกำกับดูแล จะได้ผลดีกว่าปล่อยให้เรียนกับครูตู้ตามลำพัง

2. ระยะที่ 2 การทดลองการจัดการเรียนการสอนทางไกล (18 พฤษภาคม - 30 มิถุนายน 2563)

  • ทดลองจัดการเรียนการสอนทางไกล ดังนี้
      1) ระดับปฐมวัยถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ผ่านช่องรายการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล โดยการเผยแพร่สัญญาณจากมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ (DLTV) ทั้งนี้ ระดับปฐมวัยเน้นกิจกรรมเตรียมความพร้อมเด็ก และระดับประถมศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ การเรียนในระดับนี้ ควรมีการแนะนำ กำกับดูแลจากครูหรือผู้ปกครอง จึงจะได้ผลตามที่คาดหวัง แล้วผู้ปกครองจะมีส่วนร่วมในกิจกรรมนี่เพียงไหนอย่างไร คงต้องคิดกันต่อไปครับ
      2) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ผ่านช่องรายการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัลและระบบออนไลน์โดยครูต้นแบบ ด้วยเครื่องมือการเรียนรู้ตามความเหมาะสมและบริบทของสถานศึกษา แม้ความรับผิดชอบของผู้เรียนในระดับนี้จะมีมากกว่าเด็กเล็ก แต่ด้วยวัยกับพฤติกรรมของพวกเขาที่มีความสนใจ มีเป้าหมายในการเรียนที่แตกต่างกัน ความใส่ใจของพ่อ-แม่ ผู้ปกครองที่ต่างกัน ก็ยังคาดหวังความสำเร็จในการเรียนไม่ได้อยู่ดี
  • เปิดศูนย์รับฟังความคิดเห็นการเรียนการสอนทางไกล จากผู้ปกครอง ประชาชน และผู้เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางการปรับปรุงและพัฒนา ขอร้องล่ะครับ ผู้ปกครองทุกท่านโปรดได้สะท้อนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะกลับไปยังกระทรวงศึกษาธิการให้มาก ผลกระทบนี้ไม่ได้มีผลแก่ลูกหลานท่านเพียงครอบครัวเดียว แต่กระทบกับอนาคตของประเทศชาติทั้งหมดครับ โปรดแสดงออกมาให้เห็น อย่าได้แต่บ่นเงียบๆ
  • ประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ ความเข้าใจ แนะนำช่องทางการเรียนทางไกลให้กับผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้อง

3. ระยะที่ 3 การจัดการเรียนการสอน (1 กรกฎาคม 2563 - 30 เมษายน 2564) สำหรับ 2 สถานการณ์ ดังนี้

  • สถานการณ์ที่ 1 กรณีที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid – 19) ไม่คลี่คลาย จะจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัยถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ด้วยระบบทางไกลผ่าน DLTV และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ด้วยวีดิทัศน์การสอนโดยครูต้นแบบ และระบบออนไลน์ด้วยเครื่องมือการเรียนรู้ตามความเหมาะสมและบริบทของสถานศึกษา
  • สถานการณ์ที่ 2 กรณีที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid–19) คลี่คลาย จะจัดการเรียนการสอนปกติในโรงเรียน โดยให้เว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) และมีแผนเตรียมการเพื่อรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินต่างๆ โดยจะต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน

back2school 05

ความหวังของเราจริงๆ คือ การกลับไปเรียนในโรงเรียนได้เหมือนเดิม

4. ระยะที่ 4 การทดสอบและการศึกษาต่อ (1 เมษายน – 15 พฤษภาคม 2564) โดยประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบและคัดเลือกเข้าศึกษาต่อ ได้แก่

  • กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เกี่ยวกับระบบคัดเลือกเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา (TCAS GAT PAT)               
  • สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ เกี่ยวกับการทดสอบ O-net ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

การเรียนรู้ที่ได้จากการเรียนออนไลน์

เรามาดูเรื่อง "ปิรามิดแห่งการเรียนรู้ Cone of Learning" (ลำดับขั้นของการเกิดการเรียนรู้ในตัวผู้เรียน) โดยประมาณ จากภาพประกอบข้างล่างนี้

back2school 06

จะพบว่า "การจัดการเรียนการสอนออนไลน์" นั้นเป็นการเรียนรู้แบบ Passive คือได้จากการได้ยินและการมองเห็น โอกาสที่จะได้คิด พูด วิเคราะห์ แสดงความคิดเห็นมีน้อย และยิ่งการปฏิบัติทดลองนั้นยิ่งห่างไกลออกไปเลย ทำให้ความรู้ที่เกิดขึ้นมีน้อยมากนั่นเอง ไม่ใช่ว่าตัวระบบไม่เปิดโอกาสให้ทำนะ เปิดให้ซักถามปัญหา ค้นหาคำตอบ แต่ผู้เรียนผ่านกระบวนการนี้มักไม่กระทำ ด้วยสาเหตุใด?

คงต้องพูดว่าสังคมในยุคปัจจุบันนี้เป็นแบบ Fastfood Culture! หรือพูดหยาบๆ แบบวัยรุ่นก็คือ "วัฒนธรรมแดกด่วน" คือ การไม่ค่อยหยุดคิด ไม่วิเคราะห์หาเหตุผล ขอให้ได้อะไรที่เร็วๆ ไม่สนความถูกต้อง กฎระเบียบใดๆ เช่น อ่านข่าวก็อ่านแต่พาดหัว แล้วก็เชื่อ วิจารณ์ ผสมโรงแบบไม่ยั้งคิด พอรู้ว่าผิดก็เลยเงิบกันตลอด แต่ก็ไม่ได้รู้สึกรู้สา สำนึกอะไร ยังคงคิดว่าตัวเองถูกตลอด จนกลายเป็นว่า Fake News ถูกใส่เข้าในหัวและเชื่อว่า "ใช่" "ถูกต้อง" ตลอด ไม่สนใจอ่านในรายละเอียด เนื้อหาข้างใน กลายเป็นว่า "คนไทยอ่านไม่ถึงบรรทัด" แล้วก็เชื่อว่า "จริง" ตลอดในยุคปัจจุบัน

ข่าวลวง ข่าวหลอก Fake news แชร์กันไวทั้งใน Line, Facebook, Twitter แชร์กันหลักหมื่น เมื่อมีคนคันพบว่าไม่จริง มาโพสต์บอกมีแชร์หลักสิบเท่านั้นเอง ในการศึกษาของเยาวชนยุคปัจจุบันนี้ก็เช่นกัน เป้าหมายของวัฒนธรรมแบบฟาสต์ฟู๊ดจึงมีแค่ "คะแนนเต็ม" "เกรดดีๆ" "เกียรตินิยม" "ปริญญาบัตร" โดยไม่สนองค์ความรู้และวิธีการที่ได้มันมา

back2school 07

"การเรียนการสอนออนไลน์ในภาวะโควิดทะลายโลก" จึงเป็นบทพิสูจน์หนึ่งของ "นักการศึกษาทั้งโลก" ไม่ใช่เพียงแต่เมืองไทยเท่านั้น เรามาดูกันต่อไปจะสำเร็จหรือล้มเหลวกันแน่ ได้แต่ภาวนาให้สำเร็จเท่านั้นครับ

จำเป็นต้องเรียนออนไลน์กันทุกโรงเรียนไหม?

คำถามนี้คงตรงใจหลายๆ คน ผมก็หนึ่งในนั้นเพราะการเรียนออนไลน์มันใช้ไม่ได้ทุกที่ ทุกคน ทุกแห่ง ในกลุ่มคนที่ยังไปไม่ถึงเทคโนโลยีเหล่านี้ยังมีอีกเยอะ อย่าว่าแต่คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือเลย โทรทัศน์ก็ยังไม่มีให้ดูในทุกบ้านนะครับ หรือมีมันก็เป็นโทรทัศน์ระบบอนาล็อกรุ่นเก่าๆ ที่ไม่มีการออกอากาศกันแล้ว (สถานีสุดท้ายที่เพิ่งปิดตัวไปคือ สถานีโทรทัศน์สีช่อง 3 ปิดตัวเที่ยงคืนวันที่ 25 มีนาคม 2563) จึงรับข่าวสารอะไรไม่ได้อีก แล้วอย่าถามหากล่องรับดิจิตอลเพราะไม่ได้รับแจก ไม่มีทะเบียนบ้านด้วยซ้ำ หรือถึงแม้จะมีโทรทัศน์อยู่บ้าง ถ้าจะให้เขาเรียนที่บ้านจะมีใครดูแล พ่อ-แม่ส่วนใหญ่ก็ออกไปทำมาหากินกัน และหวังพึ่งโรงเรียนในการสอนลูกหลาน

เมื่อโรงเรียนก็ไม่ให้ไป ให้เรียนอยู่บ้าน นี่คือปัญหาล่ะ แล้วสถานการณ์ตามตัวอย่างนี้มันมีอยู่ทั่วไปในประเทศนี้ โดยเฉพาะในเขตชนบทเราจะทำอย่างไร คงต้องให้โรงเรียนเล็กๆ เหล่านี้เปิดเรียนได้ ด้วยการเพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้นกว่าปกติ ด้วยจำนวนนักเรียนมีไม่มาก น่าจะสามารถควบคุมได้ ลองมาอ่านความเห็นของผู้บริหารโรงเรียนเล็กอย่าง อาจารย์วีระ สุดสังข์ ที่ได้โพสต์ลงในเฟซบุ๊คส่วนตัวกันดูครับ ผมเห็นด้วยกับแนวทางนี้เต็มกำลัง

การเปิดโรงเรียนและการสอนออนไลน์

โรงเรียนระดับประถมศึกษาในประเทศ ส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก มีนักเรีย 40-100 คน แต่ละชั้นมีนักเรียนไม่เกิน 10 คน นับแต่ชั้นอนุบาล - ชั้น ป.6 ห้องเรียนขนาด 4 x 9 ตารางเมตร กว้างมากพอที่จะทำให้เด็กนั่งห่างๆ กัน เพื่อป้องกันโรคติดต่อ แต่ธรรมชาติของเด็กมักรวมกลุ่มกันเล่นแทบหัวชนกัน หากโรงเรียนมีมาตรการป้องกันที่ดี เช่น วัดอุณหภูมิทุกเช้าก่อนเข้าโรงเรียนหรือห้องเรียน จะทำให้ทราบข้อมูลเบื้องต้นว่า เด็กคนใดป่วยหรือไม่? หากป่วยให้ไปพบหมอเพื่อตรวจอาการโดยละเอียดอีกครั้ง ครูต้องเอาใจใส่การล้างมือด้วยสบู่และเจลบ่อยๆ ทุกคนต้องสวมหน้ากากอนามัย พร้อมทั้งให้ความรู้เรื่องโรคระบาดนี้ ถ้าพบเด็กติดเชื้อก็แสดงว่า พ่อแม่และพี่น้องของเด็กติดเชื้อกันทั้งครอบครัว

weera soodsang

โดยสภาพทั่วไปของหมู่บ้านชนบท ส่วนใหญ่แล้วมักไม่ค่อยพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ขณะที่เจ้าหน้าที่ รพ.สต. และ อสม. ก็เข้มงวดเรื่องนี้มาก การเปิดโรงเรียนตามกำหนดคือ 16 พฤษภาคม น่าจะทำได้

ส่วนโรงเรียนในเมือง ระดับอำเภอ จังหวัด เมืองเล็ก เมืองใหญ่ และบรรดาโรงเรียนดัง เป็นโรงเรียนขนาดกลาง ขนาดใหญ่ และขนาดใหญ่มาก มีนักเรียนหลายร้อยคน หลายพันคน ห้องเรียนขนาดเดียวกันแต่บรรจุเด็ก 40-50 คน แออัดยัดเยียดกันอยู่จนแทบหายใจรดหน้ากัน โรคระบาดแพร่อยู่ในเมืองมากกว่าชนบท มีโอกาสอย่างมากที่จะติดต่อกัน การจะเปิดเรียนตามกำหนดหรือไม่? ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ

การสอนออนไลน์ไม่เหมาะกับเด็กระดับประถมชนบท เพราะการรับรู้และฐานะความเป็นอยู่แตกต่างกันมาก ผลที่ได้รับจะไม่เป็นไปตามเป้าหมายของหลักสูตร แม้จะเป็นเด็กระดับประถมและมัธยมในเมือง หากโรงเรียนจะมีการสอนผ่านออนไลน์ ควรมีการสำรวจความพร้อมของเด็กและผู้ปกครอง จึงตัดสินใจได้

back2school 08

ภายใต้สภาพการณ์นี้ การปิด/เปิดโรงเรียน ไม่ควรดำเนินไปตามระบบและระเบียบ ต้องปิด/เปิดพร้อมกัน แต่ควรจะเป็นเอกเทศ และความพร้อมของแต่ละโรงเรียน หากมีความพร้อมและมีความมั่นใจ จะเปิดสอนก็เปิดสอนได้ เมื่อสอนครบ 1,000 - 1,200 ชั่วโมง (200วัน) ตามปีการศึกษา โรงเรียนสามารถปิดโรงเรียนได้ ส่วนโรงเรียนที่ยังไม่พร้อมก็ต้องชะลอไว้ก่อน กิจกรรมการแข่งขันทักษะทางวิชาการ การสอบ NT การสอบ O-Net ซึ่งทุกโรงเรียนจะต้องร่วมกิจกรรมพร้อมกัน อาจต้องงดไปก่อนหรือใช้วิธีการอื่นแทน

วีระ สุดสังข์
3 พฤษภาคม 2563

การสอนออนไลน์ในวันนี้

ช่วงนี้ได้ประสบการณ์ตรงจริงๆ จากหลานสาวซึ่งเรียนที่ โรงเรียนสาธิตของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ทางโรงเรียนได้ทำการทดลองการจัดให้เด็กเรียนออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom สัปดาห์ละ 3 วัน จันทร์ พุธ ศุกร์ วันละ 2 วิชา เช้า-บ่าย วิชาละ 1 ชั่วโมง วันแรกดูเธอจะสนใจมากจริงๆ สนใจที่จะเรียนหรือ? เปล่าสนใจที่จะได้คุยกับเพื่อน ชั่วโมงแรกล้มเหลวไม่เป็นท่า เพราะทั้งห้องเอาแต่ทำหน้าตาตลกๆ อยากคุยกันเสียมากกว่า จนคุณพ่อ-คุณแม่ของแต่ละคนต้องมาคอยควบคุม

วันที่สอง ค่อยดีขึ้นหน่อยแต่สมาธิของเด็กๆ ก็ยังไม่นิ่งพอที่จะเรียนรู้ การสอนของครูก็ยังใหม่ทำตัวเหมือนการสอนในห้องเรียนปกติ ใช้ภาพประกอบถามนักเรียนให้ตอบสลับกันบ้าง ให้ดูคลิปสั้นๆ แล้วตอบคำถามบ้าง ทำแบบฝึกหัดบ้าง เป็นหนึ่งชั่วโมงที่ยาวนานของผู้ปกครองที่ต้องคอยดูแล แล้วถ้าผู้ปกครองที่ไม่สามารถอยู่กำกับดูแลได้ล่ะ ก็ยากที่จะได้ผลอย่างที่คาดหวังกัน

เพราะการสอนออนไลน์นั้น ไม่ใช่การอัดคลืปวีดิโอมาให้เด็กดู ตอบคำถาม ทำแบบฝึกหัดแน่ๆ มันต้องมีอะไรที่มากกว่านั้น ที่ครูเรายังไม่ได้คิดเตรียมการมาก่อน หลักสูตรของเราก็ไม่ได้วางเป้าหมายไว้ที่การจัดการสอนออนไลน์ การออกแบบแผนการสอน สื่อต่างๆ จึงไม่สอดคล้องเหมาะสมกันเลย ยังคงใช้วิธีการสอนที่ทำในชั้นเรียนอยู่ ซึ่งจะมาเล็คเชอร์แบบเดิมๆ ไม่ได้แล้วไงครับ แล้วจะให้พวกเขาเรียนวันละ 3+3 ชั่วโมง 5 วัน/สัปดาห์ คงจะไม่ได้อะไรแล้วล่ะครับ จินตนาการไม่ออกว่าจะล้มลุกคลุกคลานขนาดไหน

back2school 09

สภาพแวดล้อมแต่ละบ้านก็ไม่เหมือนกันเข้าไปอีก บางทีมันก็ไม่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ ทั้งเสียง บรรยากาศ สภาพครอบครัวที่ไม่เข้าใจว่า "ลูกกำลังเรียนทำการเรียนออนไลน์อยู่" ก็จะมีเสียงพูดแบบไม่เข้าใจอีกว่า "เลนเกมคอมพิวเตอร์อยู่นั่นล่ะ ไม่อ่านหนังสือบ้างเลย ไม่ช่วยทำงานบ้าน บลาๆๆๆๆ..." อย่าคิดว่าจะไม่มีนะครับ เล่าสู่กันฟัง

ต้องไม่คาดหวังว่า พอเรียนออนไลน์แล้ว จะต้องทำทุกอย่างเหมือนในห้องเรียน "

 

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)

Our Policy