|
ตั้งแต่ที่มีคลิป "ปฏิญญามหาสารคาม" ของกลุ่มครูที่เป็นลูกหนี้ธนาคารออมสินกลุ่มหนึ่ง ออกมาปรากฏบนสื่อสังคมออนไลน์ ก็เป็นที่ระทึกของบรรดาลูกหนี้ชั้นดีที่ส่งหนี้ตรงเวลาจนได้รับการผ่อนปรน กลัวว่าเหตุการณ์นี้จะทำให้บรรดาเจ้าหนี้ (ธนาคาร) จะไม่ให้ความไว้วางใจอีกต่อไป แล้วจะหาทางขึ้นดอกเบี้ยเพื่อป้องกันหนี้สูญ จนกระทบต่อลูกหนี้ธนาคารทุกคน รวมทั้งผู้ที่กำลังจะประสานติดต่อกับธนาคารเพื่อสานฝันต่างๆ จะสะดุดหยุดลงจนความฝันพังครืนก็เป็นได้ เหล่าสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ ก็เอาออกมาประโคมกันมากมายหลายช่อง ติดตามสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ก่อการในครั้งนี้ จนเกิดปรากฏการณ์ "เตะฟุตบอลอัดผนังปูน" จนทำให้ลูกบอลสะท้อนกลับไปยังกลุ่มก่อการนั้น ชนิดที่ผู้นำขบวนการก็ตั้งรับไม่ทัน จะป้องปัดไปทางไหนก็มีแต่เสียงแช่ง ไร้เสียงเชียร์
คนเป็น "ครู" ทั่วประเทศที่ไม่เกี่ยวข้องเลยสักนิด กับการประกาศนี้ก็ถูกลดศักดิ์ศรีจากสังคมไปด้วย ยิ่งเห็นทีวีช่องต่างๆ เข้าไปสัมภาษณ์แล้วมีคำตอบออกมา ก็ยิ่งน่าเวทนาเข้าไปอีก
นักข่าวถาม : "มีใครบังคับให้ครูกู้ปะคะ"
ตัวแทนครูตอบ : "ไม่มีใครบังคับให้เรากู้ แต่เรานึกว่าโครงการนี้มันจะช่วยครูไง ใครจะไปรู้ว่าผ่อนตั้งนานเงินต้นไม่หดเลย จะให้เราผ่อนไปจนวันตายรึไง" (ความเห็นของผู้ชมที่มาคอมเมนต์ใต้ข่าว : มึงผ่อนยี่สิบสามสิบปีมันก็แบบนี้แหละ)
โดย ศน.ดร.กอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
การเปิดเรียนในภาคเรียนที่ 1/2561 ใกล้เข้ามาทุกที หลายๆ โรงเรียนอาจเปิดเทอมแล้ว ในขณะที่หลักสูตรสถานศึกษา (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2561) ของหลายโรงเรียนยังแก้กันไปแก้กันมาไม่เสร็จสักที เพราะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด ถามใครก็ตอบไม่เหมือนกัน ตลอดจนยังคงมีคำถามที่คุณครูต้องการคำตอบอยู่หลายประเด็น อาทิเช่น
สาระวิทยาการคำนวณ ในระดับ ป.1-3 และ ป.4-6 จะจัดอย่างไร จัดได้กี่วิชา กี่หน่วยกิต แล้ววิทยาการคำนวณนี่ใครเป็นคนสอนครูวิทย์หรือครูคอมกันแน่ แล้วเปิดสอนเป็นวิชาเพิ่มเติมได้ไหม "
แล้วที่ว่าเอาหน่วยกิตมาจากกลุ่มสาระฯ การงาน เอามาเท่าไหร่ ยังไง จัดเหมือนเดิมได้ไหม ไม่แก้ได้รึเปล่า "
แล้ววิชาคอมพิวเตอร์ที่เป็นรายวิชาเพิ่มเติม รหัส ง ล่ะ ต้องเปลี่ยนเป็นรหัส ว หรือเปล่า "
คำถามเหล่านี้คงเป็นคำถามที่อาจยังคงค้างคาใจครูหลายๆ ท่าน ผมจึงอยากชวนคุณครูมาร่วมกันคิดพิจารณา โดยผมได้สรุปจากคำสั่งและประกาศของ สพฐ. เพื่อสร้างความเข้าใจและเป็นแนวทางที่คุณครูสามารถนำไปจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน
โดย รศ. ยืน ภู่วรวรรณ ที่ปรึกษา สสวท.
หากย้อนอดีตไป ตั้งแต่การปฏิรูปการศึกษาครั้งที่ 1 ในรัฐธรรมนูญปี 2540 มีการร่าง พรบ. การศึกษาแห่งชาติ แบ่งส่วนราชการในกระทรวงศึกษาใหม่ และ ปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาพื้นฐาน โดยแบ่งเป็น 8 กลุ่มสาระ ขณะนั้น สสวท. มีความพยายามและชี้ให้เห็นว่า "เทคโนโลยี" มีความสำคัญ และจะต้องอยู่ในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ แต่กรมวิชาการในขณะนั้นไม่เห็นด้วย และเป็นผู้ดูแลหลักสูตรทั้งหมด จึงนำเทคโนโลยีไปอยู่ใน กลุ่มการงานอาชีพและเทคโนโลยี
เหตุผลสำคัญที่ "เทคโนโลยี" ควรอยู่กับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพราะเทคโนโลยีมีความหมายถึงการประยุกต์ และนำความรู้จากวิทยาศาสตร์ มาช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่างๆ อันก่อให้เกิดวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร แม้กระทั่ง กระบวนการทำงาน หรือระบบต่างๆ เพื่อให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น
ยิ่งในการศึกษาวันนี้ เน้นการบูรณาการ และการสร้างสมรรถนะ การลงมือทำ การบูรณาการ เช่น STEM เทคโนโลยียิ่งมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์
ไปพักผ่อนสมองที่ต่างประเทศมาช่วงหลังสงกรานต์ สนุกสนานตามประสาครอบครัว (อ่านเพิ่มเติมในบล็อกนี้ครับ) แล้วกลับมานอนเอาแรงชดเชยที่ กทม. กับลูกอีกสัปดาห์หนึ่ง พอมีพลังงานที่ถูกชาร์ทกลับคืนเข้าแบตเตอรี่ชีวิต ให้ส่องแสงวาบในสมองอีกหน่อย ก็ยังอดคิดไม่ได้กับเรื่องการจัดการศึกษาบ้านเรา ที่ยังคงวนเวียนพายเรือในอ่างกันอยู่ ทุกฝ่ายยังคงยึดติดกับตัวเลขชี้วัดในผลการเรียน ผลการสอบโน่นนั่นนี่กันอยู่ ยังคิดว่าเด็กไทยอ่อนด้อยสู้ชาวโลก หรือแม้แต่ในกลุ่มอาเซียนด้วยกันยังไม่ได้ จริงหรือ?
ปรัชญาการศึกษาที่เคยเรียนเคยบอกต่อกันมาบอกว่า เราควรจัดการศึกษาตามหลักสูตร ให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทั้งความรู้ ความสามารถ ความคิด ให้นำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตได้ ให้นำเอาความเป็นอยู่ อาชีพในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนเป็นหลักสูตรสนองตอบต่อความต้องการของชุมชน ครูเราก็ทำกันจนสุดความสามารถ เชิญวิทยากรในท้องถิ่นมาให้ความรู้ สร้างองค์ความรู้ให้ผู้เรียนดำรงชีวิตได้ เรียกว่า เก่งตามแบบฉบับของชุมชน พอตอนปลายปีดันกลับไปหยิบเอาแบบทดสอบอะไรก็ไม่รู้มาถาม เพื่อการวัดให้เป็นแนวเดียวกัน แบบเดียวกันทั้งประเทศ ผลเหรอ... ก็รู้ๆ กันอยู่ใช่ไหมครับ...
ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)