99/169 Sarin7 UBN 34190 081 878 3521 This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. Everyday : 09:00am-05:00pm
"ครูที่ดีย่อมไม่ฆ่าเวลาศิษย์  สำนึกผิดทิ้งเด็กไว้มิได้สอน  หนึ่งนาทีนั้นมีค่าอย่าตัดรอน  เมื่อศิษย์อ่อนจะโทษใครให้คิดดู"   มล.ปิ่น มาลากุล

TH Sarabun IT9 สร้างปัญหา

anti sarabun it9

จะมาเล่าเรื่องฟอนต์เจ้าปัญหา TH Sarabun iT๙ ให้อ่านกัน (เคยบ่นมาหลายทีแล้วในหลายช่องทาง) แต่ก็ยังดันทุรังสรรหามาใช้อยู่ คือมันเป็นงี้ เพราะความที่หน่วยราชการให้ใช้เลขไทยเป็นหลัก (แม้จะแค่ขอความร่วมมือ แต่ก็เพื่อป้องกันตัวให้กลมกลืนในระบบราชการ ก็เลยต้องมีการใช้ๆ ไปเหอะ) มันก็เลยมีคนไปปรับแก้ฟอนต์ TH Sarabun PSK ที่เป็นฟอนต์หลัก ให้พิมพ์ตัวเลขอารบิกเป็นเลขไทยหมด (พิมพ์ตรง numpad ได้) ให้กลายเป็นฟอนต์ใหม่ชื่อ TH Sarabun iT๙ นี่แหละ ปัญหามันอยู่ตรงไหน? มันก็ดีและง่ายแล้วนิ... บลาๆๆ

keyboard

มาดูกันว่ามันมีผลกระทบยังไง ในระบบราชการซึ่งการใช้งานจริงๆ ตามระเบียบแล้ว ตัวเลขที่ปนกับภาษาอังกฤษ ให้ใช้เลขอารบิกได้ เช่น COVID-19, H2O พอมันใช้ฟอนต์ TH Sarabun iT๙ เจ้าปัญหานี้ปั๊บ ตรงตัวเลขไปพิมพ์ที่ Numpad(แม้จะอยู่ในตำแหน่งแป้นสลับภาษายังเป็น EN อยู่) มันเเลยกลายเป็น COVID-๑๙,  H๒O ปัญหามันจึงเกิดการบรรลัยไปทุกพื้นที่ ไม่ว่าคุณมึงจะพิมพ์อยู่ในโหมดภาษา EN/TH ถ้ากดแป้นตัวเลข Numpad ลงไปแม่งมันเป็นเลขไทยทั้งสิ้น เข้าใจไหมเล่า? ต่อไปเมื่อจะพิมพ์เอกสารทั้งในส่วนของที่อยู่ของอีเมล์ สูตรเคมี สมการคณิตศาสตร์และอื่นๆ ทำให้ผิดพลาดส่งอีเมล์ไม่ได้บ้าง ค้นหาไม่เจอบ้าง แล้วยิ่งเป็นเอกสารที่ส่งต่อไปยังผู้อื่นให้ใช้ทำงานต่อนี่ยิ่งบรรลัยเลย

ใครที่เป็นคนทำงานด้านเอกสารด้วย คงไม่มีประเด็นกับการใช้เลขไทย แต่อยากให้ปรับแบบไม่ต้องใช้กับทุกสิ่งอัน โดยเฉพาะพวกเบอร์โทร เลขเยอะๆ หรืออะไรที่ต้องอ่านแบบปราดเดียว กราดสายตาไวไว มันมีตัวเลขที่มีความใกล้เคียงกันอยู่ เช่น ๓๗๙ ๔๕ ให้พิมพ์ด้วยการสลับแป้นภาษา อย่าใช้ Numpad ในทุกสิ่งอย่าง ที่ผมต้องออกมาบ่นหนักๆ วันนี้ก็เพราะว่า ได้รับปากกับท่านที่เคารพนับถือท่านหนึ่งว่า

จะทำหนังสือชีวิตและครอบครัวของท่านไว้เป็นอนุสรณ์ในวันสุดท้ายชีวิต โดยท่านบอกว่าได้ให้ลูกน้องในหน่วยงานพิมพ์เป็นเอกสารใน Microsoft Word มาให้ ผมต้องมาออกแบบจัดรูปเล่มส่งโรงพิมพ์ ความยุ่งขิงๆ ปรี๊ดแตกก็ตอนนำไฟมา Import เข้าไปในโปรแกรมมจัดรูปเล่มเอกสารค่ายหนึ่งที่ผมคุ้นเคย แล้วความบรรลัยก็เกิดขึ้นเมื่อบรรดาตัวเลขต่างๆ ในเอกสารนั้นมันแสดงผลมั่วๆ ทั้งตัวเลขไทยและเลขอารบิกปนเปกันไปหมด สอบถามกลับไปคนพิมพ์ไฟล์ว่าใช้ฟ้อนต์อะไร? โป๊ะเชะ! TH Sarabun IT๙ ตามคาด สุดท้ายต้องให้เจ้าของไฟล์ช่วยพิมพ์เอกสารลงกระดาษมาให้ เพื่อจะได้แก้ไขให้ถูกต้องได้ ซ้ำซ้อนไหมล่ะพี่น้อง

ฟ้อนตระกูล Sarabun นั้นมี 4 ตัว คือ

  • TH Sarabun PSK = ตัวหลัก ใช้ตัวนี้เป็นหลัก 
  • TH Sarabun New = ตัวปรับปรุง 
  • TH Sarabun IT๙ = ตัวที่มีคนเอาไปแก้โค้ดให้พิมพ์เลขไทยได้อย่างเดียว 
  • Sarabun = ใน Google font ตัวจะใหญ่กว่า 3 ตัวแรก และมีมากมายถึง 9 ขนาดความหนาบาง ที่เห็นบนจอเว็บไซต์ผมตอนนี้ก็ฟอนต์ Sarabun นี่แหละ (ดูใน Google fonts)

ฟอนต์แห่งชาติ! และตัวเลขไทย

ปัญหานี้ มันเริ่มมาจากเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553 คณะรัฐมนตรีในขณะนั้นมีมติออกมาว่า หน่วยงานราชการจะต้องใช้ฟอนต์แห่งชาติของสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ หรือที่รู้จักกันว่า SIPA และกรมทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งมีทั้งสิ้น 13 ชุดแบบอักษร

thai nation fonts

และกำหนดว่าให้ใช้ชุดแบบอักษร TH Sarabun PSK (ไทยสารบรรณพีเอสเค) เป็นชุดแบบอักษรหลัก ฟอนต์นี้ออกแบบโดย คุณศุภกิจ เฉลิมลาภ ผู้ร่วมก่อตั้ง KATATRAD (กะทัดรัด) บริษัทจำหน่ายฟอนต์กลุ่มบริษัทคัดสรรดีมาก (อ่านเพิ่มเติมที่วิกิพีเดีย)

เรื่องนี้ผมเห็นด้วยเต็มที่ เพราะหลายคนมองข้ามเรื่องลิขสิทธิ์ฟอนต์ คิดแต่ว่ามันเป็นของฟรีมากับเครื่อง แต่ความจริงก็คือ โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี 

ฟอนต์ทุกตัวมีลิขสิทธิ์ เพียงแต่เป็นลิขสิทธิ์แบบไหนเท่านั้นเอง คนใช้คอมพิวเตอร์ระบบปฏิบัติการวินโดว์มักจะคิดว่า Angsana Cordia หรืออะไรต่าง ๆ นานา สารพันที่มากับระบบปฏิบัติการเป็นของฟรี (ซึ่งไมโครซอฟต์ก็ให้ใช้ได้เต็มที่ แต่ความจริงก็คือ มันมีลิขสิทธ์ของฟอนต์เหล่านี้อยู่ รายละเอียดเพิ่มเติมลองอ่านที่ https://docs.microsoft.com/en-us/typography/font-list/angsana-new)

ปัจจุบันฟอนต์เหล่านี้อยู่ในโครงการ fonts-tlwg กับฟอนต์ที่ได้รับสัญญาอนุญาตให้ใช้งานโดยเสรี ไม่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ (เข้าไปดูได้ที่ http://github.com/tlwg)

ย้อนกลับมาที่ฟอนต์ TH Sarabun PSK กันต่อ ก่อนออกทะเลไปไกล

จากปลายปี พ.ศ. 2553 มาถึงปัจจุบัน 15 ปีพอดี (ณ วันที่เผยแพร่บล็อกนี้) ได้เห็นอะไรที่สะท้อนความคิดของระบบราชการผ่านตัวอักษรชุดไทยสารบัญนี้ไม่น้อยเหมือนกัน อย่างเช่นทุกวันนี้ หน่วยงานราชการก็ยังใช้ฟอนต์ TH Sarabun PSK กันเหนียวแน่น ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง แม้ว่า คุณศุภกิจ เฉลิมลาภ ผู้ออกแบบชุดแบบอักษรจะได้ออกชุดใหม่คือ TH Sarabun New มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 แล้วก็ตาม

th sarabun psk new

Th Sarabun New: เวอร์ชันพัฒนา

หลังจากที่ ครม. ประกาศให้ฟอนต์ TH Sarabun PSK (ซึ่งฟอนต์นี้ได้เผยแพร่มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550) แล้วมีคนรายงานปัญหาว่า ตัวอักษรไม่ค่อยชัด เมื่อสืบหาเหตุผลแล้วได้ความว่า เป็นเพราะจอภาพมีคุณภาพต่ำ เมื่อใช้ตัวอักษรขนาดเล็กจึงมองไม่ชัด คุณศุภกิจจึงได้ปรับปรุงเป็น TH Sarabun New เพื่อให้เห็นในจอภาพชัดเจนขึ้น (ทั้งนี้หากพิมพ์ออกมา ฟอนต์จะชัดเจนไม่แตกต่างกัน หรือถ้าแตกต่างกันก็จะแตกต่างกันเล็กน้อยมากจนมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น)

อัปเดตล่าสุด 15 พ.ย.62 คุณศุภกิจ เฉลิมลาภ ผู้สร้างฟอนต์สารบรรณ ได้ออกตัวอัปเดตฟอนต์ Sarabun New เป็นรุ่น 1.35 แก้ไขปัญหาภาษาไทยใน Microsoft Office for Mac ครับ สามารถลงตัวนี้แทนที่ของเก่าได้เลย ดาวน์โหลดที่นี่

ในความรู้สึกของสามัญชนทั่วใปผู้มีใจเป็นกุศล เราก็คิดว่า เฮ้ย เปลี่ยนเป็น Th Sarabun New สิจ๊ะ

แต่ถึงทุกวันนี้หน่วยงานราชการแทบทุกที่ยังคงใช้ TH Sarabun PSK แม้ว่าตัวผู้ประดิษฐ์จะแนะนำให้ใช้ TH Sarabun New ด้วยเหตุผลง่ายๆ ว่า 

  1. ผู้คนส่วนหนึ่งไม่รู้หรือไม่สนใจว่ามี TH Sarabun New อยู่ในโลกนี้ ให้ใช้ TH Sarabun PSK ก็จะตะบี้ตะบันใช้มันต่อไป
  2. แต่อีกส่วนหนึ่งให้ความเห็นว่า มติ ครม. ระบุว่า TH Sarabun PSK ก็ต้องใช้ TH Sarabun PSK ขืนไปใช้ TH Sarabun New จะเป็นการขัด มติ ครม. อันนี้ก็มีเหตุผลอยู่นะจ๊ะ สาธุชนผู้เคร่งครัดกฎระเบียบแต่ไม่ยอมหยุดรถตรงทางม้าลายให้คนเดินข้าม

แถมยังมีระเบียบจากสำนักนายกรัฐมนตรีออกมาสำทับด้วยว่า ถ้าเป็นเอกสารที่ต้องแลกเปลี่ยนกันระหว่างหน่วยงาน ต้องใช้ TH Sarabun PSK เพื่อให้เปิดที่เครื่องไหน หน่วยงานไหนก็ได้รูปแบบเหมือนกัน

พอมีระเบียบออกมาแบบนี้ ข้าราชการผู้เป็นขี้ข้าประชาชนก็ต้องใช้ TH Sarabun PSK กันต่อไป และพวกขี้เกียจกดเปลี่ยนแป้นสลับภาษาอยากพิมพ์เลขไทยได้เลยที่ Numpad ก็หันมาใช้ TH Sarabun IT๙ แทน แหมไม่กลัวขัดมติ ครม. เลยนะ นี่ล่ะปัญหาร้อยแปดที่ตามมา

เรื่องนี้ไม่ว่ากัน ต้องเข้าใจว่า เป็นราชการก็ต้องยึดติดกับคำสั่งและระเบียบโดยเคร่งครัด อีกทั้งเหตุผลเรื่องการเปิดเครื่องไหนจะได้เหมือนกันก็เป็นเหตุผลที่มีน้ำหนักเป็นอย่างยิ่ง


จำได้ว่า คุณศุภกิจ ผู้ออกแบบจะแนะนำให้ใช้ TH Sarabun New เพราะเป็นรุ่นปรับปรุง คือเป็นของใหม่กว่า แต่คุณศุภกิจก็บอกว่าถ้าใช้ TH Sarabun PSK ก็ไม่มีปัญหา ชุดแบบอักษรทั้งสองชุดเป็นเหมือนกันหมดทั้งช่องไฟ ระยะห่างตัวอักษร ฯลฯ ดังนั้นโดยทั่วไป ทั้งสองฟอนต์ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (ดูภาพประกอบข้างบน)

แต่ปัญหาใหญ่มากๆ คือ เสือกมีฟอนต์ชื่อ TH Sarabun IT๙ ออกมานี่แหละ

ทำไมถึงควรใช้ฟอนต์ TH Sarabun New

TH Sarabun IT9: ฟอนต์ที่ทำให้คุณอยากตะโกน ‘พ่องตาย!’

การใช้ฟอนต์ TH Sarabun PSK หรือ TH Sarabun New ไม่ใช่ปัญหาใหญ่เท่าใดนัก ปัญหามาเกิดตอนมีใครสักคน (ที่น่าจะไม่ใช่ตัวคุณศุภกิจ ผู้ออกแบบ TH Sarabun) นำ TH Sarabun PSK ไปดัดแปลงเป็น TH Sarabun IT๙ 

เนื่องจากสิ่งที่มาพร้อมกับการประกาศฟอนต์แห่งชาติก็คือ ให้นิยมไทย ใช้ตัวเลขไทยแทนตัวเลขอารบิกด้วยนะ พอให้ใช้ตัวเลขไทยแทนเลขอารบิกก็มีคนนำ TH Sarabun PSK มาดัดแปลงจนเกิดฟอนต์ TH Sarabun IT๙ ขึ้น กดเลขอารบิกตรงแป้นตัวเลข (Numpad) ก็ออกมาเป็นเลขไทย! กด 1 ก็ได้ ๑ กด 2 ก็ได้ ๒

คุณพระ! มันช่างยอดเยี่ยมอะไรเช่นนั้น!!

ถ้าใช้เพื่อการทำเอกสารก็ไม่มีปัญหาอะไร ปัญหามันจะเกิดขึ้นเมื่อมีการบันทึกข้อมูล เพื่อนำไปใช้งานอื่น ๆ ต่อนอกเหนือจากการพิมพ์ออกมาใส่กระดาษให้เป็นภาระโลกเล่นเป็นขยะกองโตในเวลาถัดไป

หลักการออกแบบ ที่เพียงแค่ “เปลี่ยนการแสดงผล” ทำให้หลายคนที่ต้องทำงานกับคอมพิวเตอร์มากกว่ากระดาษ ได้แต่อุทานในใจว่า “พ่องตาย” และยิ่ง “พ่องตาย” มากขึ้นเมื่อฝ่ายไอทีของหน่วยงานราชการเสือกส่งเสริมให้ใช้ เผยแพร่แจกจ่ายกระจายไปทั่วราวกับเป็นสิ่งที่ดีงามผุดผ่อง

ทั้งนี้เพราะผู้นำฟอนต์มาดัดแปลง ใช้วิธีแก้ปัญหาเรื่องเลขไทย-เลขอารบิกเอาง่ายเข้าว่า โดยไม่สนใจระบบจัดเก็บข้อมูลเลยแม้แต่น้อย

เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องผิดหรือประหลาดอะไร อันที่จริงก็ต้องชื่นชมว่า คนคิดฟอนต์ตัวนี้ออกมาค่อนข้างจะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ตรงจุด แต่ถ้าไม่เรียนรู้หลักการทำงานพื้นฐานก็จะทำให้เกิดปัญหาในอนาคต เหมือนการสร้างบ้านจะเอาแต่ให้มันเสร็จเป็นรูปร่างตามใจ โดยไม่เคยเรียนรู้ว่าโครงสร้างมีอะไรบ้าง เดี๋ยวบ้านก็ถล่มทับคนอยู่อาศัยตาย! เหมือนกับตึก สตง. นั่น

TH Sarabun IT๙ ซึ่งแก้ปัญหาให้พิมพ์ง่าย กลายเป็นตัวปัญหาสำหรับคนที่ต้องการนำข้อมูลไปใช้ต่อในเชิง DATABASE เป็นอย่างมากเพราะดัดแปลงแบบอักษรดื้อ ๆ เมื่อพิมพ์ “1” จะแสดงเป็น “๑” มองผ่าน ๆ อาจจะนึกว่าไม่มีปัญหาอะไร แค่ 1 กับ มันก็เหมือนกัน

จ๊ะ! ในสายตามนุษย์อย่างเราๆ ท่านๆ 1 กับ ๑ เหมือนกัน แต่ในระบบคอมพิวเตอร์ 1 กับ ๑ มันคนละรหัสกันนะจ๊ะ

คอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลเป็นรหัสข้อมูลตัวอักษร อย่างเช่น คาแร็กเตอร์โคดของเลข 1 คือ 0031 แต่ เลข ๑ คือ 0E51 ถ้าใช้ฟังก์ชัน find (ค้นหา) หรือนำไปใช้กับระบบดาต้าเบสที่เก็บตัวเลขจำนวนมาก เรื่องแบบนี้ทำให้ผลลัพธ์ผิดพลาดเพราะรหัสที่เก็บเป็นคนละรหัส ถ้านำไปใช้กับระบบดาต้าเบสที่เก็บตัวเลขจำนวนมากเรื่องแบบนี้ทำให้ผลลัพธ์ผิดพลาดเพราะรหัสที่เก็บเป็นคนละรหัส (ยุคนี้เป็นยุคของศูนย์ข้อมูล (Database) ด้วย Ship หายกันทีเดียว)

ยกตัวอย่างเห็นภาพง่ายที่สุด พิมพ์เอกสารด้วยฟอนต์ TH Sarabun IT๙ ไปหลายสิบหน้า จู่ ๆ มีเหตุให้ต้องเปลี่ยนฟอนต์ เช่นเปลี่ยนเป็น TH Krub หรือ TH Chakra Petch หรือ ฟอนต์อื่นในฟอนต์แห่งชาติทั้ง 13 ชุดแบบอักษร ที่เราเห็นเป็นเลขไทยเช่น ๑ ๒ ๓ ๔ ฯ เมื่อครั้งใช้ TH Sarabun IT๙ จะกลับกลายเป็น 1 2 3 4 ฯ เหมือนเดิม

หรือใช้ฟอนต์สารบัญไอที๙ พิมพ์ 1234 ในแป้นพิมพ์โหมดอารบิก (แสดงผลให้เราเห็นเป็น ๑๒๓๔) แต่พอแก้เลข ๒ เป็นเลข ๔ ตอนที่เปลี่ยนเป็นภาษาไทย ใช้แป้นพิมพ์ไทย ผลยังเห็นเป็น ๑๔๓๔ หากต้องเปลี่ยนเป็นฟอนต์อื่นบ้าง จะกลายเป็น 1๔34 (ยุ่งแล้วไหมล่ะ!)

ลองนึกดูว่า ต้องเปลี่ยนฟอนต์แล้วต้องมาแก้ตัวเลขเหล่านี้ที่หลังจะรู้สึกอย่างไร

DB center

พอจะเข้าใจปัญหาที่จะเกิดขึ้นหรือไม่?

ลองนึกว่าถ้าเอกสารหนึ่งจำเป็นต้องมีเลขอารบิก อย่างเช่นชื่อเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ ถ้าใช้ฟอนต์ TH Sarabun IT๙ ก็จะไม่เป็นเลขอารบิกเลย หรือชื่อระวางแผนที่ ก็ไม่ควรใช้เลขไทย 5136IV 6622–12 ไม่ควรพิมพ์เป็น ๕๑๓๖IV ๖๖๒๒-๑๖ เพราะเป็นรหัสชุดยูทีเอ็ม

ถ้าใครพิมพ์เอกสารโดยใช้ TH Sarabun IT๙ จะได้ชุดเลขออกมาเป็นเลขไทย

และหลายคนก็เลือกแก้ปัญหาง่าย ๆ คือ ใช้ฟอนต์ TH Sarabun PSK สลับกับ TH Sarabun IT๙ มันดื้อๆ ใช้สองฟอนต์ในเอกสารฉบับเดียว

อันนี้ลองไตร่ตรองดูสักนิดว่า เรื่องนี้มันใช่เรื่องสมควรหรือไม่?

หรือ ที่เคยเจอคือจัดหน้ากระดาษด้วย MS Word ธรรมดานี่แหละ แต่เนื่องจากถ้าตั้งค่าความห่างระหว่างบรรทัดเป็น single ตามที่ระเบียบสารบัญของราชการแล้ว พบว่ามีปัญหาระยะห่างระหว่างบรรทัดมันห่าง ซึ่งเรื่องนี้จะแนะนำให้แก้เป็นเปลี่ยนระยะห่างระหว่างบรรทัดเป็น exactly ขนาด 18.5 (ที่มาก็คือ ระยะห่างระหว่างบรรทัดจะเป็น 115% ของขนาดตัวอักษร ตัวอักษรมาตรฐานคือ 16 เมื่อคิด 115% จะได้ 18.4 ปัดเป็น 18.5) แต่เจอน้องที่ทำงานคนหนึ่งเรียกไปแก้ปัญหาว่า มีบรรทัดหนึ่ง ระยะห่างระหว่างบรรทัดกระโดดห่างแปลกไปจากบรรทัดอื่น ตรวจสอบไปมาพบว่า น้องคนนั้นใช้ฟ้อนต์ TH Sarabun IT๙ ผสมกับฟ้อนต์ TH Sarabun PSK

หรือ อย่างเช่นเลข IP Address ซึ่งควรจะนำไปใช้งานต่อไป จาก 192.0.0.0 กลายเป็น ๑๙๒.๐.๐.๐ มันจะเอาไปใช้ได้หรือไม่?

"เบื้องหลังของฟ้อน Sarabun แต่ละเวอร์ชั่น"

เลิกใช้ได้หรือยัง?

เขียนมาขนาดนี้ ถ้าใครยังใช้ TH Sarabun IT๙ ได้โปรดนำฟอนต์ออกจากเครื่อง เลิกใช้เถอะ

ขอให้ทุกท่านอยู่รอดปลอดภัย ด้วยพลังแห่งคาเฟอีน โปรดช่วยกำจัดไวรัส TH Sarabun IT๙ ออกจากโลกนี้ ก่อนที่มันจะทำให้โลกนี้ถึงกาลแตกดับล่มสลาย ทำง่ายๆ ด้วยการเปิดคอมพิวเตอร์ของท่าน พิมพ์ค้นหา Fonts หรือ  ไปที่ Control Panel > Fonts แล้วลบ TH Sarabun IT9 ออก

แต่เกิดความรู้สึกว่ามันคือฟอนต์ที่ไม่มีวันตาย ไม่ว่าพยายามกำจัดมันกี่ครั้ง มันก็ยังกลับมาหลอกหลอนอยู่เสมอ แม้แต่ใน พ.ศ. ที่เขียนอยู่นี้ (พ.ศ. ๒๕๖๘) อย่าลืมว่า ท่านมีทางเลือกด้วยฟอนต์ต้นฉบับ TH Sarabun PSK กับ TH Sarabun New และ TH Sarabun Chula และฟอนต์ Sarabun ซึ่งมีหลายน้ำหนักจาก Google

ถ้าต้องการแก้ไขปัญหาเรื่อง เปลี่ยนตัวเลขอารบิกเป็นเลขไทย กรุณาอ่านวิธีเปลี่ยนเลขอารบิกเป็นเลขไทย

ถ้าต้องการเปลี่ยนตัวเลขอารบิกเป็นเลขไทยใน MS Excel โปรดอ่านที่นี่

sarabun it9

Th Sarabun IT9 หรือ TH Sarabun IT๙ นี่ยังมีคนใช้งานเยอะอยู่เหมือนกัน (และนี่คือปีพ.ศ. ๒๕๖๘ แล้วหนาแม่ยาหยี) และเจ้าฟอนต์นี้ก็ถือเป็นแรงทำลายล้าง ให้ต้องเขียนบทความนี้ขึ้น เพื่อบันทึกและข้อสังเกตจากการทำงานว่า บางทีเราก็ต้องมองอะไรไปไกลๆ กว่าความสะดวกสบายตรงหน้า “ถ้ามันจะสร้างปัญหาให้คนอื่น”

ในโลกที่ซอมบี้เดินเพ่นพ่านไปทั่ว แค่เอาตัวรอดไปวันๆ ก็เหนื่อยแล้วเนาะ ถ้ามันจะมีอะไร ซึ่งจะว่าไปมันก็ไม่ได้ร้ายแรงคอขาดบาดตายอะไรหรอก ความจริงมันแก้ง่ายๆ ด้วย

backled1

เรียนรู้ภาษา html
isangate banner
easyhome banner
ipst banner
e mil
นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)

Our Policy