|
โดย : รองศาสตราจารย์ ยืน ภู่วรวรรณ
วันนี้ได้มีโอกาสมาสรุป แนวคิด ของหลักสูตรวิทยาการคำนวณ ซึ่งหลักสูตรเดิม เราใช้ชื่อสาระว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ แต่คราวนี้ มีการปรับปรุงค่อนข้างมาก ย้ายมาสู่กลุ่มวิทยาศาสตร์ ซึ่งการใช้เวลา หน่วยกิต ก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลง แต่ปรับปรุงเนื้อหาให้เป็นวิทยาการ ใช้แนวคิดทางด้านการพัฒนาทักษะ และความคิด การสร้างจินตนาการจากรูปธรรมให้สู่นามธรรม เพื่อสามารถคิดและวางลำดับขั้นตอน การแก้ปัญหาได้
วิชานี้จึงมาอยู่ในกลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ใน ว 4.1 4.2 ซึ่งเกี่ยวโยงกับการนำความรู้ วิชาการมาปฏิบัติและประยุกต์ เพื่อช่วยในการทำงานหรือช่วยแก้ปัญหาต่างๆ อันก่อให้เกิดงาน วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร
โดย : รองศาสตราจารย์ ยืน ภู่วรวรรณ
อยากทำความเข้าใจกับคุณครู ที่จะมีบทบาทในวิชานี้สักเล็กน้อย การศึกษาใน K12 จากเกรดหนึ่งถึงสิบสอง เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐาน เหมือนที่เราเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย พละ เรียนภาษาที่สอง หรือวิชาอื่นๆ ที่มีในหลักสูตร การศึกษาพื้นฐานใน K12 ต้องการสร้างความพร้อมของคน ที่จะไปมีชีวิตอย่างมีความสุขในอนาคต หรือพร้อมที่จะประกอบอาชีพอะไรก็ได้
แม้แต่ PISA ของ OECD ก็ต้องการวัดความพร้อมของคน โดยใช้เกณฑ์อายุ 15 ปี ซึ่งถือว่าผ่านการศึกษาพื้นฐานสำหรับเด็กไทย ก็อยู่ที่ เกรด 11 การวัดความพร้อมที่จะออกไปประกอบอาชีพ หรือเรียนทางสายอาชีพ ซึ่ง PISA เน้น ในเรื่อง Analytical skill (การคิดวิเคราะห์ ) Reading skill (ความสามารถในการอ่าน) และ Science literacy (ความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์) ลองนึกดูว่า ทำไม OECD ให้ความสนใจในเรื่องเหล่านี้ และถือเป็นการศึกษาพื้นฐานของทุกคน
Computing ในหลักสูตร ว.4.2 ประกอบด้วย สามโดเมนความรู้ คือ กระบวนการคิด แก้ปัญหา (Computing) พื้นฐานความรู้ (Digital technology) และ พื้นฐานรู้เท่าทันสื่อ และข่าวสาร (Media and Information literacy)
การศึกษาไทยไม่ขยับไม่ขยับไปไหนสักที และได้ชื่อว่า "เป็นประเทศที่ใช้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปลืองที่สุด" แต่ละคนต่างก็มาพร้อมนโยบายเร่งด่วนที่จะพัฒนา หรือ ปฏิรูปการศึกษาให้ก้าวไกล เพื่อแซงเพื่อนบ้านในอาเซียน ให้เป็นที่หนึ่งในเอเซีย แต่... พวกเราชาวบ้านกลับได้มองเห็นการศึกษาไทยเราถอยหลังแซงเพื่อนๆ ในอาเซียนไปหลังสุดเรื่อยๆ จนเกือบจะรั้งท้ายอยู่แล้ว ทำไมล่ะ??????
เป็นคำถามที่หลายๆ คนสงสัย แต่ไม่มีใครกล้าตอบความจริงสักที เพราะไม่รู้ หรือ เพราะไม่เข้าใจ หรือเพราะอะไรกันแน่ เมื่อมีนักข่าวถือไมโครโฟนไปจ่อปากเสนาบดี เจ้ากระทรวง ผู้เกี่ยวข้อง นักวิชาการทั้งหลาย ก็จะได้คำตอบว่า เพราะ "ครู"ครูไม่พัฒนา ล้าหลัง ไม่ 4.0 ต้องพัฒนาครู ว่าแล้วก็ไปจัดสรรงบประมาณมาละลายเล่นสักพันสองพันล้าน จัดงบประมาณมาแจกครูหัวละหมื่น ให้ไปอบรมหลายร้อยหลักสูตรที่คิดกันขึ้นภายในวันเดียว เป็นหลักสูตรที่มุ่งจะผลาญงบประมาณเล่นๆ มีเงินทอนพอประมาณ พร้อมกับความโกลาหลของครูที่เป็นเหยื่อ สมัครก็ยากเย็น หลักสูตรชื่อโก้ๆ เท่ๆ อยู่ไกลๆ กว่าจะสมัครได้ พอถึงวันไปอบรมพัฒนาไปถึงสถานที่แล้วปรากฏว่า "ยกเลิก" ครูก็มึนตึ๊บสิครับ ไหนจะค่ารถราในการเดินทาง ค่ากินอยู่ สำรองจ่ายมาก่อน ไม่มีอบรมจะกลับไปเบิกคืนกับใคร?
การปะติลูบคลำ "การศึกษาไทย" ที่ยุ่งเหยิงมานานนับสิบปีไม่ไปไหน เพราะพวกเรา (เสนาบดีเจ้ากระทรวง ข้าราชการ นักวิชาการ สื่อสารมวลชน และรวมทั้งนักวิชาเกินอย่างผมด้วย) ต่างก็พุ่งเป้าชี้มือโทษไปที่ "ครูและโรงเรียน" เป็นจำเลยที่ไม่พัฒนาไปถึงไหน ต้องปรับปรุง พัฒนา อบรม สร้างความตระหนักให้มาก ลงทุนทุ่มลงไปมากมายมหาศาล ตั้งแต่ แท็ปเล็ต (น้ำตาเล็ดเพราะจิ้มไม่ไป ตอนนี้กลายเป็นขยะอยู่หลังห้อง) ห้องเรียนเทคโนโลยีวิเศษ (ชื่อแปลกๆ) สื่ออิเล็กโทรนิกส์ ยางรถยนตร์ทาสีสันแสบตา และอื่นๆ อีกมากมาย จนมาปีนี้ทุ่มทุนสร้างจัดตลาดนัดวิชาแจกทุนคนละหมื่นให้ไปอบรมตามใจชอบ ก็มีข่าวเหม็นๆ เรื่องเงินทอน จนหลายสถาบันผู้จัดขอระงับการจัดอบรมไปนับร้อย นี่เป็นหนทางที่ถูกต้องแล้วหรือ? พวกเรากำลังลงโทษโรงเรียนและครูมากไปหรือเปล่า? เราชี้หน้าด่าคนผิดไปใช่ไหม.... บลาๆๆๆ
ผมว่า "เราโทษคนผิดไปจริงๆ เราลืมความจริงที่ว่า โรงเรียนไม่ใช่โรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถผลิตสินค้าที่ดี ไม่มีตำหนิได้ทุกชิ้น แม้ว่า วัสดุตัวป้อนจะมีตำหนิ รูปร่าง สมองที่แตกต่างกัน สัมฤทธิผลจากโรงเรียนจึงไม่อาจออกมาได้เริ่ดเลอ สมดังความตั้งใจของผู้กำหนดนโยบาย ไม่ว่าจะนำมาตรวัด O-net, A-net, NT, PISA มาวัดอย่างไรก็ไม่เป็นผล" พวกเราลืม "ตัวป้อน" ซึ่งก็คือนักเรียน และ "สภาพแวดล้อม" คือครอบครัว พ่อ-แม่ ผู้ปกครองและสังคมรอบข้าง ที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ไปเสียสิ้น เราจะปฏิรูปการศึกษาแต่ดันไปเข้าเกียร์ R ให้ถอยหลังซะงั้น ได้โปรดคืนเวลาให้คุณครูได้อยู่ดูแลครอบครัวในวันหยุดที่ไม่เคยได้หยุด ได้เตรียมการสอนเพื่อสอนนักเรียนจริงๆ เสียทีเถิด ใบงาน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และครูตู้มันช่วยอะไรไม่ได้มากหรอกครับ
ผมได้อ่านข้อความที่แชร์กันในโลกออนไลน์ (Facebook) เมื่อหลายวันก่อน เกี่ยวกับสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของจีน นางเผิง ลี่หยวน (ภริยาของประธานาธิบดี สี จิ้นผิง (Xí Jìnpíng)) ดังที่ลอกมาให้ท่านได้อ่านและพิจารณา ดังนี้
ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)