|
ตอนที่ 2
มาต่อให้ครบชุดครับ ในญี่ปุ่นการเรียนภาคบังคับจัดให้ประชาชนทุกคน 9 ปีเช่นเดียวกับประเทศไทย ประถมศึกษาปีที่ 1-6 และมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ตอนที่แล้วเน้นที่ระดับก่อนประถมศึกษา ที่ชาวญี่ปุ่นเขาจะเน้นทักษะชีวิตกันในช่วงนี้มากที่สุด เพราะผ้าขาวเมื่อแต้มสีจะสดติดทนนาน พอมาถึงระดับประถมเขาก็จะสร้างการเรียนรู้ที่เน้นการช่วยเหลือตัวเอง ไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่นมากนักในการใช้ชีวิตประจำวัน ตั้งแต่การตื่นนอนทำความสะอาดร่างกาย แต่งตัว รับประทานอาหาร จัดข้าวของไปโรงเรียนด้วยตนเอง (นักเรียนบ้านใกล้) เรียนรู้จากสิ่งรอบข้าง
ตอนนี้จะตรงไปสู่การเรียนในระดับมัธยมศึกษา "มัธยมต้นค้นหาตนเอง 前期中等教育(中学)" นี่เป็นสิ่งที่แตกต่างจากการเรียนในเมืองไทย ที่พ่อแม่ช่างเอาอกเอาใจ ไม่ต้องทำอะไรนอกจากเรียนหนังสือ (แต่จริงๆ แล้วจะเรียนหรือไม่ก็ไม่รู้ล่ะ) ในขณะที่ญี่ปุ่นทั้งผู้ปกครองและครู ต่างก็เข้ามาช่วยสนับสนุนในการจัดกิจกรรม ไม่ใช่ด้วยเงินหรือทรัพย์สิน แต่ด้วยใจและแรงกายเป็นหนึ่งเดียว (ในขณะที่บ้านเรา สมาคมครูและผู้ปกครอง คือแหล่งหาเงินเข้าโรงเรียนเท่านั้น ประชุมทีก็ขอบริจาคที แต่ไม่มีคำตอบที่ชัดเจนว่าเงินที่ขอไปนั้น ได้ออกดอกผลทางพุทธิปัญญาบ้างหรือไม่
ช่วงนี้ข่าวในวงการครูก็ไม่มีอะไรมากมาย ส่วนใหญ่ก็เป็นนโยบายรายวันที่ออกมาจากเหล่าเสนาบดี เพื่อแสดงกึ๋น หรือแสดงการงับนโยบายจากฝ่ายการเมือง เพื่อคงไว้ซึ่งสถานะของเก้าอี้รองนั่ง ไม่ได้มีการใช้พุทธิปัญญาอะไรหรอก เรื่องดีๆ ก็ไม่กล้าคิดกล้าทำ กล้ากำหนดเป็นนโยบายไปสู่การปฏิบัติ เพื่อการพัฒนา รู้ทั้งรู้แต่ไม่ทำเพราะกลัวเก้าอี้สั่นคลอน พูดออกมาแต่ละเรื่องมันก็วนอยู่ในอ่างนั่นแหละ ปัญหาของการศึกษาไทยคือ นโยบายรายวันที่ไม่เคยผ่านการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ไม่มองในภาพรวม มีแต่การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า แล้วอยากให้เห็นผลใน 3 วัน 7 วัน ซึ่งมันไม่ใช่
วันนี้เลยขอนำแนวทางการจัดการศึกษาของญี่ปุ่น มาจากกรายการ "Dohiru : ดูให้รู้" ทางช่อง ThaiPBS เอามารวบรวมให้ชมกันเป็นชุดเลย การจัดการศึกษาในประเทศญี่ปุ่นน่าสนใจในแนวคิด การสร้างระเบียบวินัยตั้งแต่วัยเด็ก และน่าจะสามารถนำมาปรับใช้ในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี ถ้าเราคิดจะทำกันจริงจัง ไม่ใช่เอาแต่ยกย่องเด็กเก่งสอบโอเน็ตเต็มร้อย สอบเข้าเรียนที่นั่นที่นี่ได้ ใช่ว่าทุกคนต้องเป็นเช่นนั้น ทำไมเราไม่ยกย่องคนดีมีระเบียบวินัย มีสัมมาอาชีพ ช่วยเหลือผู้อื่นเล่า?
โดย ดร.สุกรี เจริญสุข
การปฏิรูปการศึกษาของไทย เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมานานมาก สำหรับสถาบันการศึกษาไทย ไม่ว่าจะมองในมิติใด ก็กลายเป็นเรื่องที่ล้มเหลว และเหลวไหลในทุกๆ มิติ มองเห็นว่าเป็นเรื่องที่ล้าหลัง เป็นเรื่องของความด้อยพัฒนา เป็นเรื่องของการให้เสมียนบริหารการศึกษา เพราะว่า มีเสมียนเป็นใหญ่ พยายามที่จะทำให้นักวิชาการกลายเป็นเสมียน ความเหลวไหลนำการศึกษาไปผูกกับประเพณีและพิธีกรรม การศึกษาไทยมีรสนิยมต่ำ มิติของการศึกษาที่สร้างคนให้เป็นขอทาน มิติของการวิ่งตามโลก "ตามเขาว่าเก่ง ทำเองว่าโง่" สรุปรวมๆ แล้วเห็นว่าการปฏิรูปศึกษาไทยเป็นเรื่องที่เหลวไหลและเลื่อนลอย
สิ่งสำคัญก็คือ ผู้บริหารการศึกษาไม่รู้จักการศึกษาที่มีคุณภาพ ไม่รู้ว่าคุณภาพที่ดีนั้น จริงๆ แล้วเป็นอย่างไร เมื่อพูดถึงการปฏิรูปการศึกษา คนที่มีอำนาจกลับเป็นบุคคลที่ล้าหลัง อยู่ในโลกอดีต เชย ไม่มีรสนิยม ดังนั้น การปฏิรูปการศึกษาไทย จึงเป็นการสร้างปัญหา สร้างระเบียบมากกว่า เป็นการสร้างภาระต่อทุกคน และเป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลง พูดอีกกี่ครั้ง พูดอีกกี่ปี ก็ไม่สามารถปฏิรูปได้สำเร็จ
ตอนที่ 2.
โทษกันไปมาหลายปีแล้ว พยายามจะหาจำเลยให้ได้แต่ก็ไม่ชัดเจนเสียที ได้ยินแต่ว่าครูไม่มีประสิทธิภาพ ต้องอบรมเข้มข้น นี่ก็จะย่างเข้าสู่เทศกาลฝึกอบรมกันแล้ว อบและรมกันให้เกรียมพร้อมอากาศร้อนๆ ในเดือนเมษายน ผมก็ว่ามันไม่ช่วยให้ดีขึ้นมาสักเท่าไหร่ เพราะปัญหาการศึกษาไทยมันเริ่มมาจากครอบครัว และสังคมรอบข้างโน่น ไม่เคยอบรมสั่งสอนกันมา คิดแต่ว่า ส่งลูกเข้าโรงเรียนไปแล้วเดี๋ยวมันก็ดีเอง จริงหรือครับ?
เหลียวมองรอบตัวดูซิครับ ที่บ้านท่าน เพื่อนบ้านใกล้ๆ กัน ญาติ เพื่อนฝูงของท่าน ได้ดูแล อบรม สั่งสอนลูกหลานกันแบบไหน ใส่ใจ หรือแค่ไม่ปล่อยให้อดอยากเท่านั้น เด็กดีต้องเริ่มจากที่บ้าน จากชุมชน ก่อนส่งไปขัดเกลา เจียรนัยเพิ่มเติมที่โรงเรียน ก่อนส่งต่อเข้ามหาวิทยาลัย ทุกคนทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันให้มากกว่านี้
ตัวผมเองได้สอนนักเรียนมาก็หลายสิบรุ่น เท่าที่พบและสังเกตุเด็กในห้องที่ปรึกษา เด็กที่สอนในรายวิชาต่างๆ ในโรงเรียน และจากการไปเยี่ยมเยือนโรงเรียนอื่นๆ พอจะแยกเด็กนักเรียนให้ชัดๆ ได้อยู่ 3 แบบ
ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)