|
โดย สุทัศน์ เอกา
การระดมสมอง และ ปรึกษาหารือเรียนรู้ร่วมกัน Educational Brainstorming and Collaborative Online ข้อที่ 1.เพื่อนำเสนอ คสช. และรัฐบาล...
เนื่องจาก สสช. และ รัฐบาล นี้ “ได้สัญญาว่า”จะเป็นผู้วางรากฐาน อันมั่นคงในการพัฒนาประเทศชาติ สู่ความเจริญรุ่งเรือง ทันยุคสมัย และนำความอยู่เย็นเป็นสุข แก่ชาติ และประชาชนสืบไป พวกเราจึงเห็นสมควรที่จะ “นำเสนอ” แนวปฏิบัติทางการศึกษา ที่กล่าวไว้ในบทนำ และ ข้อเสนอแนะจาก “กัลยาณมิตรทางการศึกษา” ดังต่อไปนี้
การศึกษา และ การเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 หรือ การเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ของผู้เรียน เรียกว่า Experience Learning ซึ่งได้เป็นที่ยอมรับทั่วโลกแล้วว่า “เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ดีที่สุด” การเรียนรู้แบบนี้ ตั้งอยู่บนฐานความรู้ของทฤษฏีการศึกษา 3.กลุ่มคือ 1. Behaviorist Theory หรือ ทฤษฏีพฤติกรรมศาสตร์ 2. Cognitivist Theory หรือ ทฤษฏีกลุ่มปัญญานิยม และ 3. Constructivist Theory หรือ ทฤษฏีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง...
โดย ดร.สุพักตร์ พิบูลย์
อ่านข่าวไทยรัฐ หน้าการศึกษา ฉบับเช้านี้ 15/09/57 ท่านเลขา สพฐ.ให้สัมภาษณ์ เรื่องให้เร่งรัดยกระดับคะแนนโอเน็ต โดยแจ้งว่า ได้หารือกับ สทศ.แล้ว และเห็นควรให้ปรับกระบวนการสอนให้ตรงกับข้อสอบ และจะหารือกับเขตพื้นที่การศึกษาต่อไป (สาระโดยสรุป จับใจความได้เช่นนี้)
ผมเข้าใจความหวังดี ความมุ่งมั่นของท่านเลขาธิการ สพฐ. แต่ผมคิดว่า เรากำลังวนเวียนอยู่ในวัฏจักรเดิมๆ คือ การสอนแบบติวข้อสอบ ในการนี้ ผมขอวิเคราะห์และเสนอแนวคิดเพื่อ สพฐ. ใช้ประกอบการพิจารณาในการพัฒนากระบวนการจัดการศึกษา ดังต่อไปนี้
(2)
วังวนที่ไม่มีทางออกของการศึกษาไทย เพราะผู้มีบทบาทและอำนาจจัดการต่างก็คิดไม่ออกบอกไม่ถูก เพราะคิดมากคิดไกลเกินไปหรือเปล่า? เราจึงได้เห็นการสั่งการให้ปฏิบัติแบบพิลึกพิลั่นกันอยู่อย่างนี้ เมื่อเกิดสถานการณ์ (มือปืน)รับจ้างทำวิทยานิพนธ์ ทำโครงงานเพื่อจบ ทำแบบฝึกหัด ทำรายงาน ทำการบ้าน ก็แก้ปัญหาด้วยการไม่ต้องทำวิทยานิพนธ์ ไม่ต้องมีโปรเจกต์ ไม่ต้องมีรายงาน หรือสั่งให้ลดการบ้านลง แล้วพัฒนาการศึกษาไทยได้จริงหรือ?
ประเทศนี้มีความเชื่อแปลกๆ และแก้ปัญหามาหลายแบบ ใครมีอำนาจก็สั่งการออกไป นัยว่าจะทำให้ปัญหาการศึกษาของไทยจบได้ ตั้งแต่การเรียกชื่อแปลกๆ โรงเรียนเปลี่ยนเป็นสถานศึกษา (ถึงขั้นทุบป้ายทำใหม่กันก็มี เพื่อเอาใจนาย) ครูใหญ่/อาจารย์ใหญ่ไม่ขลัง ไม่ก้าวหน้า ต้องเปลี่ยนเป็นผู้อำนวยการ ให้ประถมเปิดสอนมัธยมทั้งๆ ที่จบ ป.๖ ยังอ่านภาษาไทยไม่ออก เขียนไม่คล่อง ยุบรวมประถมและมัธยมจะได้เลื่อนไหลตำแหน่งได้มากขึ้น และยังมีข่าวที่มาจากไหนไม่รู้ว่า ครูต้องแต่งเครื่องแบบข้าราชการแบกบั้งใหญ่ๆ ไปสอนทุกวันมันจะได้ขลัง นี่เราแก้ปัญหาเกาถูกที่คันกันหรือยัง?
การศึกษาไทยได้เวลาต้องปฏิวัติได้แล้ว หลังจาก ที่พยายามปฏิรูปกันมานานนับ ๑๐ ปีแล้วไม่เกิดมรรคผลใดๆ นอกจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหาร ตำแหน่งและแย่งเก้าอี้กันจนชุลมุน การศึกษาไทยเข้าสู่ยุคแห่งความตกต่ำ ปรากฏผล จากการประเมินของหน่วยงานทั้งภายในประเทศ และองค์กรนานาชาติเทียบกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก เอาแค่ในกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกัน เมื่อก่อนไทยเราดูเหมือนจะเป็นผู้นำก้าวล้ำกว่าใคร แต่วันนี้กลับไปรั้งท้ายๆ เป็นไปได้อย่างไร?
แล้วเราก็จะได้เห็นเจ้ากระทรวง ผู้บริหารระดับสูงในกระทรวง นักวิชาการจากสำนักต่างๆ ดาหน้าออกมาโทษครู ต้องอบรมพัฒนาครูแบบเข้มข้นเพื่อยกผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ยังไม่เห็นสักคนเลยที่มองว่า ความผิดพลาดล้มเหลวทั้งหลายที่เกิดขึ้น ล้วนมาจากการบริหารงานโดยผู้บริหารที่ทำงานล้มเหลว... จริงหรือเปล่า? โปรดคิดพิจารณา วิเคราะห์ ก่อนตอบนะครับ...
ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)