สงครามภาษีการค้าลุกลามถึงอุตสาหกรรมการบิน

ลังจากการเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐอเมริกาในสมัยที่ 2 ก็ได้ก่อสงครามภาษีการค้ากับทุกประเทศในโลก แต่เน้นหนักไปที่ประเทศจีนด้วยการตั้งภาษีกีดกันทางการค้ามหาศาลในทันที การค้าในโลกนี้ก็ปั่นป่วนวุ่นวายขึ้นในทันที

เบื้องหลังสงครามภาษี

ทรัมป์เชื่อว่าสหรัฐอเมริกา ถูกเอาเปรียบจากประเทศคู่ค้าผ่านการขาดดุลการค้าที่สูง และการที่อุตสาหกรรมการผลิตย้ายออกนอกประเทศ โดยเขามองว่าเป็นผลจากข้อตกลงการค้าที่ไม่เป็นธรรม รวมถึงสินค้าราคาถูกจากจีนและเยอรมนี

อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ เพราะการขาดดุลการค้าเกิดจากโครงสร้างของการออมและการลงทุน รวมถึงการขาดดุลงบประมาณที่สูงถึง 5.5% ของ GDP ซึ่งหากทรัมป์ต้องการลดการขาดดุลการค้าอย่างจริงจัง เขาจำเป็นต้องปรับนโยบายการคลัง ไม่ใช่แค่เพิ่มภาษีศุลกากร

สงครามที่ไม่มีผู้ชนะ

การขึ้นภาษีนำเข้าของทรัมป์กำลังสร้างแรงกระเพื่อมครั้งใหญ่ต่อเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเมื่อเขาตั้งภาษีขั้นต่ำ 10% (ตั้งแต่ 9 เมษายนที่ผ่านมา) และยังเก็บภาษีสูงกว่านั้นกับประเทศคู่ค้าใหญ่อย่างจีนและสหภาพยุโรป โดยผลกระทบดังกล่าวไม่ได้จำกัดแค่เรื่องการซื้อขายสินค้าเท่านั้น แต่ยังส่งผลถึงโครงสร้างเศรษฐกิจและหนี้สินทั่วโลกอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

ธุรกิจการบินกระทบทันที

สำนักข่าวรอยเตอร์สและบลูมเบิร์กรายงานว่า บริษัท “โบอิ้ง โค” (Boeing Co.) ได้นำเครื่องบินใหม่ Boeing 737 Max ที่กำลังจะส่งมอบในจีน บินกลับไปที่สหรัฐแล้วเมื่อวันศุกร์ที่ 18 เมษายน ที่ผ่านมา หลังจากที่ถูกลูกค้า “สายการบินจีน” ปฏิเสธการรับมอบเครื่องบิน ท่ามกลางสงครามภาษีการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนที่ทวีความรุนแรงขึ้น

รายงานระบุว่า เครื่องบินลำดังกล่าวเป็นหนึ่งในฝูงบิน  Boeing 737 Max ซึ่งจอดอยู่ที่ศูนย์ประกอบเครื่องบินของโบอิ้งในเมืองโจวซาน มณฑลเจ้อเจียง โดยมีกำหนดส่งมอบให้กับสายการบิน “เซียะเหมินแอร์” (Xiamen Air) แต่สุดท้ายต้องบินจากเมืองโจวซาน ประเทศจีน ไปยังเกาะกวม ของสหรัฐ ซึ่งเป็นเที่ยวบินแรกข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกตามข้อมูลจาก FlightRadar24 และคาดว่าจะมุ่งหน้ากลับไปยังซีแอตเทิลต่อไป

จีนคือตลาดใหญ่ในโลกที่ธุรกิจการบินขยายตัวมาก และต้องมีการขยายฝูงบินปีละหลายร้อยลำ เมื่อเกิดสงครามการค้าขึ้น จีนจึงพยายามเร่งการผลิตเครื่องบินพานิชย์ใช้เองภายในประเทศ ขณะนี้มีอยู่ 2 รุ่นชนิดลำตัวแคบจาก COMAC (Commercial Aircraft Corporation of China) คือ C909 (เดิมใช้ชื่อ ARJ21) และ C919 และกำลังพัฒนารุ่นลำตัวกว้างสำหรับการบินระยะไกลคือ C929 และ C939 แต่ปัญหาใหญ่คือ กำลังการผลิตที่ไม่ทันกับความต้องการ ชิ้นส่วนอะไหล่สำคัญหลายอย่างต้องนำเข้ามาจากประเทศอื่น รวมทั้งยังไม่ได้รับการรับรองการเดินอากาศ ความปลอดภัยจากสหภาพยุโรป และอเมริกา

ในปี 2566 GallopAir สายการบินสตาร์ทอัพในบรูไนได้สั่งซื้อเครื่องบิน C909 จำนวน 15 ลำ และเครื่องบิน C919 จำนวน 15 ลำ ที่ถือเป็นคำสั่งซื้อเครื่องบิน C919 ที่ไม่ใช่จีนรายแรก แต่ทั้งนี้สายการบินยังไม่ได้รับการอนุมัติให้ใช้เครื่องบิน C909 จากหน่วยงานกำกับดูแลการบินของประเทศ ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา สายการบินได้เช่าเครื่องบิน C909 ของสายการบิน China Southern Airlines มายังบรูไนเพื่อทดลองใช้งาน

“การรับรองความปลอดภัย” เป็นประเด็นปัญหาหลักที่จะทำให้อุตสาหกรรมการบินของจีน สามารถแข่งขันกับผู้ผลิตจากอเมริกา (Boeing) และยุโรป (Airbus) ได้ เพราะในปัจจุบันมีสายการบินต่างประเทศที่เลือกใช้เครื่องบินจีนแล้ว 3 ประเทศคือ TransNusa จากอินโดนีเซียที่ใช้ C909 สายการบิน VietJet ของเวียดนาม ตกลงที่จะเช่าเครื่องบิน C909 จำนวน 2 ลำจากสายการบินเฉิงตู ของจีน และกำลังรอหน่วยงานกำกับดูแลของเวียดนามอนุมัติการใช้เครื่องบินที่ผลิตในจีนในประเทศ และล่าสุด Laos Airlines เพิ่งได้รับ C909 จำนวน 1 ลำมาใช้งาน

โดยสายการบินลาวนำมาใช้ในเส้นทางเวียงจันทน์-ปากเซ ซึ่งสังเกตได้ว่ามีการใช้เครื่องบิน 2 แบบ  หากเป็นเครื่องบินรุ่นอื่นๆ ที่ผ่านการรับรองจากนานาชาติจะบินผ่านน่านฟ้าไทยได้ ส่วนรุ่น C909 จะบินอ้อมเป็นแนวโค้งเหนือน่านฟ้าลาวเท่านั้น ซึ่งต้องใช้เวลาบินเพิ่มขึ้นมากกว่า 30 นาที แต่เมื่อดูจาก FlightRadar 24 ปัจจุบันเห็นบินผ่านน่านฟ้าไทยได้แล้ว

ก่อนหน้านี้จากเวียงจันทน์ บินไปปากเซ หรือสะหวันนะเขต จะบินอ้อมแบบรูปข้างล่าง แต่วันนี้ตัดตรงเข้าไทยเลย เคยมีข้อสังเกตว่า เป็นเพราะไทยยังไม่ได้รับรองเครื่องรุ่นนี้หรือไม่ แต่ไม่แน่ใจว่าตอนนี้รับรองหรืออนุญาตยังไงไม่รู้นะ

บล็อกนี้ท่านจะได้พบกับ

  • My Experience : ประสบการณ์ในการเตรียมตัวเข้าสู่อาชีพ  การฝึกงาน การไปสมัครงานกับสายการบิน การเข้ารับการฝึกเข้าเป็นลูกเรือ ครั้งแรกกับการทำงานบนเครื่องบิน และอื่นๆ
  • Knowledge : ความรู้ในสายอาชีพบริการบนเครื่อง แอร์โฮสเทส สจ๊วต นักบิน และความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับเครื่องบิน สายการบิน และการเดินทางด้วยเครื่องบิน
  • Lifestyle : Review ประสบการณ์สมัครงานลูกเรือของสายการบินต่างๆ รวมทั้งชีวิตสนุกๆ ขำๆ น่าตื่นเต้น ตกใจ ผิดหวังไม่สวยงามดังคิด ก็มี รวมทั้งความหวานๆ ในชีวิตลูกเรือต่างแดน
  • Find Jobs : งานและประกาศรับสมัครงานของสายการบินต่างๆ รวมทั้งวิธีการเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่อาชีพนี้
  • Gallery : ภาพชีวิตของผมในช่วงเวลาต่างๆ เผื่อได้มีโอกาสพบเจอจะได้ทักทายกันนะครับ
  • Video : สำหรับกิจกรรมการเตรียมตัว การฝึกอบรมของลูกเรือ และอื่นๆ ที่น่าสนใจครับ

ถ้าสนใจในอาชีพเดียวกับผมก็ติดตามได้ที่นี่ จะมีข่าวมาบอกสม่ำเสมอ ตามเวลาว่างที่ผมพอมี และก็อย่าได้หลงเชื่อเว็บข่าวหลายๆ แห่ง ที่พาดหัวซะเว่อวังชวนให้ไปดูเพื่อเรียกยอดไลค์ ยอดแชร์ อย่าง “ไม่กำหนดความสูง ไม่ต้องสอบ TOIEC สมัครเลย!” เชื่อได้หรือครับ? พออ่านรายละเอียดไปเจอ “ต้องเอื้อมแตะที่ระยะ 212 เซนติเมตร” แต่คุณสูงเพียงแค่ 150 เซนติเมตร ถ้าไม่ใช่สวมวิญญาณแม่นาคพระโขนงไปด้วย ยังไงๆ ก็เอื้อมไม่ถึงล่ะครับ ไม่บอกว่าเอาผลสอบโทอิกแต่ใช้คำว่า Fluency in written and spoken English ถ้าขนาดนี้สอบ TOIEC ได้ 650 ยังเสียวๆ เลยว่าจะผ่านไหม?

ชีวิตคือการเดินทางท่องเที่ยว มีความสุขกับครอบครัวครับ

News! ข่าวการรับสมัครลูกเรือใหม่ในช่วงนี้

ข่าวการรับสมัครทั้งลูกเรือใหม่และลูกเรือมีประสบการณ์ ผมจะให้ลิงก์ไปยังสายการบินนั้นๆ โดยตรงนะครับ พร้อมบอกวันปิดรับสมัครไว้ (ถ้ามี) ส่วนการสมัครจะเป็นการสมัครออนไลน์ พร้อมอัพโหลดรูปภาพ/คลิป/เรซูเม่ CV ไปให้ทางสายการบินทำการคัดเลือกเบื้องต้นก่อน โดยทางสายการบินจะให้เราสมัครสมาชิกกับเว็บไซต์นั้นๆ เพื่อทำการลงทะเบียนความสนใจในงาน/อาชีพนั้น ให้ใช้อีเมล์ที่เราใช้และเช็กเป็นประจำสมัครด้วยนะ แล้วทางสายการบินจะแจ้งขั้นตอนต่อไปว่า มีขั้นตอนดำเนินการอย่างไรต่อไปทางอีเมล์

Loading