99/169 Sarin7 UBN 34190 081 878 3521 This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. Everyday : 09:00am-05:00pm
"ครูที่ดีย่อมไม่ฆ่าเวลาศิษย์  สำนึกผิดทิ้งเด็กไว้มิได้สอน  หนึ่งนาทีนั้นมีค่าอย่าตัดรอน  เมื่อศิษย์อ่อนจะโทษใครให้คิดดู"   มล.ปิ่น มาลากุล

จี้รัฐจัดมาตรฐานหลักสูตรท้องถิ่น

webmaster talk

ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน จี้รัฐจัดมาตรฐานหลักสูตรท้องถิ่น

ามที่กรมวิชาการได้ติดตามและประเมินผลการทดลองใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในโรงเรียนนำร่องและโรงเรียนเครือข่าย จำนวน 2,182 โรง ในปีการศึกษา 2545 พบว่า โรงเรียนที่มีความพร้อมในการใช้หลักสูตรใหม่ในระดับน้อย เพราะมีการเตรียมความพร้อมในการจัดทำหลักสูตรน้อย มีบุคลากรน้อย และยังมีความรู้ในเรื่องหลักสูตรไม่ชัดเจน ขณะเดียวกันครูก็ยังไม่มั่นใจในความถูกต้องของหลักสูตร ประกอบกับในปีการศึกษา 2546 นี้ กระทรวงศึกษาธิการจะขยายผลการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานในชั้น ป. 1, ป. 4, ม. 1 และ ม. 4 ในสถานศึกษาทั่วประเทศนั้น

ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ที่ผ่านมาตนเคยพูดเสมอว่า การให้แต่ละโรงเรียนจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นหรือหลักสูตรสถานศึกษาเองนั้น โรงเรียนยังไม่พร้อม โดยเฉพาะโรงเรียนขนาดเล็กที่มีครูไม่พอ ครูขาดประสบการณ์ในการสร้างหลักสูตร ขณะเดียวกันครูก็มีภารกิจประจำที่ต้องทำการสอนตามหน้าที่ ซึ่งแนวทางในการแก้ไขปัญหานั้น ตนได้เสนอในที่ประชุมสภาการศึกษาแห่งชาติ (กกศ.) ไปว่า การจัดทำหลักสูตรแกนกลาง 70% ที่ใช้ร่วมกันทั่วประเทศนั้น กระทรวงศึกษาธิการต้องจัดทำมาตรฐานและสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มวิชา ให้มีมาตรฐานขั้นต่ำที่ชัดเจนเพื่อให้มีการพัฒนาต่อยอดได้

ส่วนหลักสูตรท้องถิ่น 30% ที่ยังมีปัญหาอยู่นั้น ไม่ควรให้สถานศึกษาแต่ละแห่งทำเอง เพราะหลักสูตรท้องถิ่นไม่ได้หมายถึงสถานศึกษาแต่ละแห่ง แต่หลักสูตรท้องถิ่นต้องครอบคลุมสาระความเป็นท้องถิ่นทุกเรื่อง ที่มีอยู่ทั้งในอำเภอ จังหวัด และเขตพื้นที่การศึกษา ขณะเดียวกัน การแบ่งเขตพื้นที่การศึกษาก็ควรใช้หลักเกณฑ์ประชากร จำนวนโรงเรียน การเดินทางและวัฒนธรรมของคนในพื้นที่ มาจัดกลุ่มเป็นเขตพื้นที่การศึกษา

"ขณะนี้ชัดเจนแล้วว่า การให้สถานศึกษาจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นของแต่ละโรงเรียนเป็นไปไม่ได้ และหากให้ทำต่อไปเราจะมีหลักสูตรท้องถิ่นใช้ถึง 30,000 หลักสูตร ตามจำนวนสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีอยู่ ในขณะเดียวกันเมื่อครูทำไม่ได้ต้องไปลอกหลักสูตรของโรงเรียนนำร่อง หรือซื้อหลักสูตรที่มีผู้ผลิตเร่ขายตามพื้นที่ต่างๆ ที่ขายอยู่ ในราคาวิชาละประมาณ 500 บาทไปใช้ นอกจากจะไม่ส่งผลดีต่อการปฏิรูปการศึกษาแล้ว ยังไม่ตรงตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ด้วย" ศ.ดร.วิจิตร กล่าว.

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับประจำวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2546

นี่คือความเห็นของนักการศึกษาไทยผู้หนึ่งที่เป็นที่ยอมรับกันในแวดวงวิชาการ และยังสอดคล้องกับนักวิชาเกินพอดีอย่างผมเข้าด้วยเต็มๆ ไม่ทราบจะตั้งหลักกันทันเดือนพฤษภาคมนี้หรือเปล่า ขอเอาใจช่วยทุกโรงเรียนครับ... ที่ส่งอีเมล์มาถามผมว่าจะหาดูหลักสูตรมาตรฐานกลางได้ที่ไหน หามาให้ดาวน์โหลดกันหน่อย ต้องกราบอภัยงามๆ นะครับ หาไม่เจอ นำเสนอไม่ได้เลยครับ ดูที่เว็บไซต์กรมวิชาการก็เงียบอยู่ครับ ใครมีช่วยบอกผมด้วย (เล่มสาระหลักสูตรไม่เอาครับ มีเยอะแล้ว)

No module Published on Offcanvas position
นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)

Our Policy