|
โกลาหลอลหม่านกันตั้งแต่เช้าตรู่วันแรก 18 พฤษภาคม 2563 กับการเริ่มใช้วิธีการเรียนออนไลน์วันแรก หรือจะเรียกว่า "การเรียนผ่านสื่อครูตู้ ครูคอมพิวเตอร์พีซี ครูโน้ตบุ๊ค ครูแท็ปเล็ต ครูโทรศัพท์สมาร์ทโฟน" ของนักเรียนไทยทั่วประเทศ ในสถานการณ์ระบาดของไวรัสโควิท-19 หรือจะเรียกกันเท่ๆ ว่า "Covid-19-Learning" ก็คงจะได้กระมัง ผมคงไม่ต้องกล่าวซ้ำว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างเพราะมีการรายงานผ่านสื่อโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ และสื่อสังคมออนไลน์ทั้งหลายมากมายเพียงพอแล้ว ที่ต้องเอามาเขียนวันนี้ก็เพื่อนำมาถอดบทเรียนร่วมกัน มาถกปัญหาเพื่อแสวงหาทางออกแห่งอนาคตกันดีกว่า ยังไงเราก็มีโอกาสที่จะต้องใช้ "การเรียนรู้วิถีใหม่ New Normal Learning" นี่ก้นอยู่แล้วในวันข้างหน้านี้
การระบาดของไวรัสโควิด-19 เกิดในจีนช่วงปลายปีที่แล้วในประเทศจีน และลุกลามออกไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งหลายๆ คน หลายๆ ประเทศก็ไม่ได้นึกว่า มันจะรุนแรงจนถึงขนาดที่เกิดการปิดเมือง ปิดประเทศ หยุดการดำเนินการทางเศรษฐกิจ การศึกษา ไปได้มากมายขนาดนี้ ประเทศไทยเรายังนับว่ามีทีมด้านสาธารณสุขที่ดีเด่นของโลก ที่สามารถต่อกรกับโรคนี้ได้ทันท่วงทีที่ทราบข่าวการระบาด และไม่ตกอยู่ในความประมาทดังที่เราทราบกันดี แต่กระนั้นก็ตาม ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับปฏิบัติการต่อสู้กับโรคภัยในครั้งนี้ก็ทำให้เราจำเป็นต้องหยุดกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันที่เคยสะดวกสบายไป รวมทั้งการจัดการศึกษาในโรงเรียนด้วย
จึงต้องคิดหาวิธีการที่จะทำให้การศึกษาของลูกหลายเราได้ดำเนินการไปได้ต่อเนื่อง ในระหว่างที่มีการเลื่อนการเปิดภาคเรียนออกไปเดือนเศษนี้ ด้วยการหาวิธีให้นักเรียนได้เรียนล่วงหน้าไปก่อน โดยใช้ "วิธีการสอนออนไลน์" ซึ่งเราก็รู้อยู่ว่า ประเทศไทยกับการใช้วิธีการเรียนแบบนี้นั้นยังไม่เคยทำเป็นเรื่องจริงจังมาก่อน เราเคยมีการใช้ "โทรทัศน์เพื่อการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม DLTV" มาก่อนก็จริง แต่นั่นเป็นการใช้เพื่อการแก้ปัญหาครูไม่ครบชั้นเรียน ในโรงเรียนชนบทห่างไกล ไม่ใช่การนำมาใช้กับทุกโรงเรียนในประเทศอย่างกรณีนี้
ปกติในทุกปีการศึกษา ช่วงนี้จะเป็นการจัดปฐมนิเทศนักเรียนใหม่ก่อนจะเปิดภาคเรียนกัน แต่ด้วยการระบาดของโรคพิษภัยที่คาดไม่ถึงของวายร้ายที่ชื่อ โควิด-19 (coronavirus disease starting in 2019) วันนี้เรายังไม่มีการรับนักเรียนใหม่กันเลย ซึ่งแน่นอนว่าบรรดาผู้ปกครองที่มีบุตรหลานที่ต้องเปลี่ยนช่วงชั้นเรียน ป. 1, ม. 1, ม. 4 และระดับอุดมศึกษา ย่อมมีความวิตกกังวลกันมากที่สุด ในขณะที่ทางด้านโรงเรียน สถาบันการศึกษาก็วิตกกังวลไม่ต่างกัน ว่าจะรับนักเรียนด้วยวิธีการอย่างไรจึงจะปลอดภัยจากโรคร้ายนี้ ตั้งแต่ขั้นตอนการสมัคร การคัดเลือก การสอบ และได้มาแล้วจะเริ่มต้นการจัดการเรียนการสอนอย่างไรดี? ทางกระทรวงก็มีแต่คำสั่งแนวปฏิบัติให้ทำ ส่วนจะเริ่มอย่างไรไปคิดกันเอาเอง
เอาที่เรื่องการรับนักเรียนก่อน แน่นอนล่ะ "หนทางที่ปลอดภัยคือ ออนไลน์" แต่มันก็ใช้กับทุกคนไม่ได้ ด้วยข้อจำกัดที่แตกต่างกันไปตั้งแต่การเข้าถึงระบบเครือข่าย การไม่เชี่ยวชาญในเทคโนโลยีทำให้สมัครกันไม่ได้ ทำไม่เป็น (เอาง่ายๆ แค่การลงทะเบียนรับสวัสดิการจากรัฐก็ยังด่ากันเอ็ดอึง) โรงเรียนจะทำอย่างไร โรงเรียนใหญ่ๆ มีชื่อเสียง ความต้องการจะเข้าเรียนมีเยอะคงไม่ยากสำหรับผู้ปกครองที่จะดิ้นรนสมัคร แต่คนที่ขาดโอกาสล่ะ ก็ยิ่งซ้ำเติมความขาดยิ่งขึ้นไปอีก โรงเรียนคงต้องหาทางออกแบบผสมผสาน ใช้การสมัครแบบปกติคู่กันไปด้วย เช่น มีใบสมัครให้รับได้ในที่ใดที่หนึ่ง เขียนใบสมัครแล้วส่งผ่านให้โรงเรียนในทางใดทางหนึ่ง ไม่ใช่ยึดแต่ระบบออนไลน์ทางอินเทอร์เน็ตอย่างเดียว
การระบาดของไวรัสโควิด-19 (COVID-19) ไม่ได้มีผลเฉพาะด้านสุขภาพของประชาชน การล่มสลายของเศรษฐกิจทั่วโลกเท่านั้น การศึกษาของประเทศไทยเราก็โดนผลกระทบเช่นเดียวกัน ไม่มีข้อยกเว้น ตั้งแต่การสั่งปิดสถานศึกษา (ก่อนกำหนด) งดการจัดการเรียนการสอนปกติ งดการจัดกิจกรรมการสอบ การรับเอกสารสำคัญในการจบการศึกษา เลื่อนการรับนักเรียนใหม่ออกไป (ยังไม่มีกำหนด) ให้จัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ในสถานศึกษาทุกระดับ ซึ่งบรรดาครู-อาจารย์ส่วนใหญ่ก็ขานรับ และกำลังเตรียมการกันในช่วงประกาศหยุดเรียนเป็นกรณีพิเศษไปถึง 30 มิถุนายน 2563
แต่ก็มีความอึดอัดใจมากที่ได้เห็นข่าว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ) มีความคิดจะแจกแท็ปเล็ตให้กับนักเรียนอีกครั้ง พร้อมย้ำว่า "อย่าเอาความเชื่อเรื่องเดิมในรัฐบาลก่อนมาเป็นประเด็น ย้ำ การแจกแท็ปเล็ตจะไม่ทำให้เกิดปัญหาเหมือนที่ผ่านมา" ตามข่าวว่าจะแจกให้กับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ไม่ใช่กลุ่มเด็กเล็ก พอข่าวนี้ออกมาก็มีเสียงกระหึ่ม "ค้าน" จากครูและนักการศึกษาส่วนใหญ่ของประเทศทันที เพราะอะไร?
การระบาดของไวรัสโควิด-19 (COVID-19) ไม่ได้มีผลเฉพาะด้านสุขภาพของประชาชน การล่มสลายของเศรษฐกิจทั่วโลกเท่านั้น การศึกษาของประเทศไทยเราก็โดนผลกระทบเช่นเดียวกัน ไม่มีข้อยกเว้น ตั้งแต่การสั่งปิดสถานศึกษา (ก่อนกำหนด) งดการจัดการเรียนการสอนปกติ งดการจัดกิจกรรมการสอบ การรับเอกสารสำคัญในการจบการศึกษา เลื่อนการรับนักเรียนใหม่ออกไป (ยังไม่มีกำหนด) ให้จัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ในสถานศึกษาทุกระดับ
เรื่องการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ (e-Learning, Distance Learning etc.) นั้นมีการผลักดันให้ใช้งานกันมานานแล้ว มีครู-อาจารย์ทั้งในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา อุดมศึกษา นำเอามาใช้งานพร้อมกับทำงานวิจัย เพื่อนำผลลัพธ์ที่ได้ไปใช้ในการขอเลื่อนตำแหน่งทางวิชาการ การจบการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นมากมากมาย แต่หลังจากได้ตำแหน่ง หรือรับปริญญาบัตรแล้ว ก็ทอดทิ้งไปไม่ใยดี ทั้งที่ในรายงานนั้นบอกว่ามีผลดีเลิศประเสริฐนักแล ใยจึงเป็นเช่นนั้น? ก็เป็นได้เพียงคำถามของนักเทคโนโลยีทางการศึกษา คนที่คอยผลักดันอย่างผมนี่ก็ชอบถามเสมอ
มาบัดนี้ การปฏิวัติล้างโลกของเจ้าโควิด-19 ก็ส่งผลกระทบให้กับครู-อาจารย์เราในทันทีชนิดตั้งตัวไม่ทัน ทั้งจากคำสั่งของผู้บังคับบัญชาให้ทำ (ทั้งในระดับมหาวิทยาลัย และมัธยม-ประถมศึกษา) ทั้งโอกาสในการจัดการเรียนการสอนแบบกลุ่มใหญ่ๆ ที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อด้วย การศึกษาจึงถูกผลกระทบทำให้หยุด (disrupt) รูปแบบการสอนเดิมๆ อย่างทันที โดยไม่ใช่เพราะเทคโนโลยี 5G หรือ 6G แต่อย่างใด เพราะ COVID-19 ล้วนๆ
ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)