|
วันนี้ ระหว่างการปรับปรุงเว็บไซต์ที่เกิดอาการงอแงมาหลายวัน โดยไม่ทราบสาเหตุ เปิดไม่ขึ้น เพี้ยน นั่งแคะ แกะเกา เอาคืนมาได้บ้างบางส่วนแล้ว และกำลังจะหาทางป้องกันต่อไปไม่ให้ซ้ำรอยอีก (มืดแปดด้านทั้งคนทำเว็บ และแอดมินที่ดูแลโฮสท์) ใจเย็นๆ ค่อยๆ ทำ ตอนนี้เลยขอปิดส่วนเว็บบอร์ดไป รวมทั้งส่วนสมาชิกด้วย เพราะเดาเอาว่า น่าจะเป็นช่องทางเข้ามาของผู้ไม่หวังดี สมาชิกแฟนคลับก็ไปตามกันทางหน้าแฟนเพจเฟซบุ๊คแล้วกันนะครับ
ระหว่างที่ทำไปก็แอบเปิดดูนั่น ดูนี่ ไปด้วยคลายเครียด เจอสิ่งดีๆ ที่อยากให้เพื่อนครูได้ดูเป็นแบบอย่าง รวมทั้งบรรดาท่านผู้อาศัยบนหอคอยงาช้างได้ตระหนักและสำนึกว่า การปรับโครงสร้าง เล่นเก้าอี้ดนตรีกันบนตึกในรั้วเสมานั้น ไม่ได้ทำให้การศึกษาไทยหลุดพ้นจากลำดับท้ายๆ ไปได้หรอก นอกจากการจัดสรรงบประมาณให้กับ โรงเรียนและครู ได้สร้างกระบวนการเรียนรู้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ครูมีเวลาอยู่ที่โรงเรียนได้สอนนักเรียนอย่างจริงจังเสียที ไม่ใช่ไปอยู่ตามโรงแรมหรู รีสอร์ตบรรยากาศดีๆ อาหารอร่อยๆ ฟังใครก็ไม่รู้มาพล่ามทฤษฎีซ้ำแล้วซ้ำเล่าอยู่นั่น
ชี้แจงต่อ คสช. รัฐบาล ผู้บริหารการศึกษา คุณครู ผู้ปกครอง และประชาชนทุกภาคส่วนของประเทศไทย เพราะเรื่องการศึกษา เป็นเรื่องของประชาชนทุกคนในชาติ.. และผมขอยกตัวอย่าง..ทบทวน “คาบการเรียนการสอน” คาบหนึ่งๆ “คุณครูกับนักเรียน” มีงานที่ต้องทำร่วมกันดังนี้...
งานครูนั้น นอกเหนือจาก การสร้างสิ่งแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ Creation of learning environment เพื่อเร้าใจให้อยากเรียน, การออกแบบการสอน Constructional Design การวางแผนการเรียนรู้ Learning Plan แล้ว.. ตลอดเวลาของคาบการเรียนการสอน แบบ Experience learning หรือ Learning by Doing นั้น คุณครูจะต้องสร้างแรงจูงใจให้เข้าสู่บทเรียน ที่เรียกว่า Motivation เชื่อมโยงความรู้เก่าให้เป็นสะพานไปหาประสบการณ์ ในการสร้างความรู้ใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นจากประสบการณ์การเรียนรู้ “ทั้งด้านวิชาการและอื่นๆ Both academic and other” อย่างง่ายๆ ย่อๆ สั้นๆ แต่ชัดเจน..
(4)
โดย สุทัศน์ เอกา
การระดมสมอง และ ปรึกษาหารือเรียนรู้ร่วมกัน Educational Brainstorming and Collaborative Online ข้อที่ 2 เพื่อนำเสนอ คสช. และรัฐบาล...
เรียน คสช. รัฐบาล และผู้บริหารการศึกษาในกระทรวงศึกษาธิการ กระผมขอทบทวนบทบาทของ “ครู” ที่เปลี่ยนแปลงไปตามความเป็นจริงของโลก Real world เพื่อที่ท่านจะได้ทำความเข้าใจให้แจ่มแจ้งถูกต้องตรงกับความเป็นจริง และให้ความร่วมมือสนับสนุน “การเรียนการสอนที่เป็นรูปธรรม” ในการพัฒนาการศึกษาของชาติสืบไป...
เมื่อก่อนนี้ ครูเป็นผู้ให้ความรู้ เนื่องจาก “เป็นผู้รู้มาก่อน” คุณครูจึงเป็นผู้ยืน “บอก และอธิบายความรู้” ที่หน้าชั้นเรียน หรือ ยืน Lecture บนโพเดี้ยม โดยมีหนังสือเรียน textbooks เป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญที่สุด...
บุคลิกภาพของครู ความเอื้ออาทรต่อศิษย์ ความช่ำชองในเนื้อหาวิชา และกลเม็ดเด็ดพรายในการสอน เป็น Motivation โดยธรรมชาติ.. ผู้เรียนมีหน้าที่รับฟังอย่างตั้งใจ และทำความเข้าใจไปพร้อมๆกับคำสอนของครู และจดบันทึกความจำไว้ในสมุด.. การสอบเป็นการวัดความรู้ว่า ได้ไปจากครูมากน้อยเพียงใด ถ้าได้น้อยต่ำกว่า 50% ต้องไปเรียนซ้ำชั้นในปีการศึกษาถัดไป เรียกว่า “สอบตก” เพื่อฟังคำสอนเรื่องเก่าอีกครั้งหนึ่ง.. และเป็นที่อับอายขายหน้าทั้งตนเอง และวงศ์ตระกูล..
โดย สุทัศน์ เอกา
การระดมสมอง และ ปรึกษาหารือเรียนรู้ร่วมกัน Educational Brainstorming and Collaborative Online ข้อที่ 1.เพื่อนำเสนอ คสช. และรัฐบาล...
เนื่องจาก สสช. และ รัฐบาล นี้ “ได้สัญญาว่า”จะเป็นผู้วางรากฐาน อันมั่นคงในการพัฒนาประเทศชาติ สู่ความเจริญรุ่งเรือง ทันยุคสมัย และนำความอยู่เย็นเป็นสุข แก่ชาติ และประชาชนสืบไป พวกเราจึงเห็นสมควรที่จะ “นำเสนอ” แนวปฏิบัติทางการศึกษา ที่กล่าวไว้ในบทนำ และ ข้อเสนอแนะจาก “กัลยาณมิตรทางการศึกษา” ดังต่อไปนี้
การศึกษา และ การเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 หรือ การเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ของผู้เรียน เรียกว่า Experience Learning ซึ่งได้เป็นที่ยอมรับทั่วโลกแล้วว่า “เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ดีที่สุด” การเรียนรู้แบบนี้ ตั้งอยู่บนฐานความรู้ของทฤษฏีการศึกษา 3.กลุ่มคือ 1. Behaviorist Theory หรือ ทฤษฏีพฤติกรรมศาสตร์ 2. Cognitivist Theory หรือ ทฤษฏีกลุ่มปัญญานิยม และ 3. Constructivist Theory หรือ ทฤษฏีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง...
ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)