|
ปาฐกถาพิเศษเกี่ยวกับทิศทางการศึกษาไทยในอนาคต ของ นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี คนที่ 18 ของประเทศไทย เนื่องในโอกาสครบรอบ "๕๐ ปี โรงเรียนศรีวิกรม์" ใจความตอนหนึ่งว่า ประเทศไทยน่าสงสารมาก การศึกษาของไทยก็น่าสงสารมาก เรามีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ มีความโชคดีด้วยภูมิศาสตร์ แต่เป็นความโชคดีอย่างประหลาด ที่ประเทศไทยไม่มีภัยพิบัติร้ายแรง เหมือนหลายประเทศในโลก ไม่มีพายุทอร์นาโด ไม่มีแผ่นดินไหว อย่างมากก็น้ำท่วม แต่มองลึกๆ แล้วประเทศไทยมีกรรม เพราะ 70-80 ปีที่ผ่านมาไทยเผชิญกับภัยพิบัติที่มาจากคนไทยด้วยกันเอง
"ประเทศไทยเผชิญกับภัยพิบัติที่เกิดจากคนไทย มานานถึง 70-80 ปี คนไทยสร้างสึนามิทุกๆ วัน เพราะคนไทยไม่สนใจความจริง เชื่อข่าวลือ เล่นพระเครื่อง ไม่ว่าจะจับต้องอะไรก็ผิวเผิน ไม่มีความรู้ลึกลงไปถึงแก่สาร สาระที่สำคัญจริงๆ ส่วนหนึ่งที่คนไทยเป็นเช่นนี้ มาจากพ่อแม่ไม่ส่งเสริมสนับสนุนให้ลูกพูดความจริง พ่อแม่ไม่มีเวลาอบรมสั่งสอนลูก พ่อแม่บางคนก็ทำร้ายลูก ตบตีลูก
โดย ดร.ปัญญา เปรมปรีด์ิ
ในขณะที่ท่านนายกทักษิณพยายามขอให้ผู้บริหารของไทย ได้หันมาใช้นโยบาย "คิดใหม่ทำใหม่" ผมก็พบว่าหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจได้คิดตามสั่งจริง แต่ผลที่ได้คือ ของบประมาณเพิ่มขึ้น แต่เอาไปทำเรื่องเก่าๆ ที่เป็นอยู่ เรื่องนี้นอกจากจะเสียเวลาแล้ว มันยังจะทำให้สิ้นเปลืองยิ่งขึ้น ซึ่งทำให้ผมรู้สึกสงสารท่านนายกจริงๆ นโยบายที่ง่ายๆ ปฏิบัติกันได้ไม่ยาก แต่กลับถูกตีความไปในทางตรงกันข้าม แล้วชาติบ้านเมืองจะคืนสู่ความปรกติสุขได้อย่างไร วันนี้ผมจะขอเอาตัวอย่างมาให้ท่านดูสัก 2 เรื่อง แล้วเรามาดูกันว่าเราควรจะแก้ไขกันอย่างไร?
เรามาเริ่มกันที่ตัวอย่างอันแรกกันเสียก่อน หน่วยงานนี้เป็น รัฐวิสาหกิจที่จะต้องแปรรูปในเร็วๆ นี้ ดังนั้น ไม่ว่าท่านนายกจะสั่งมาหรือไม่สั่งมา เขาก็ต้องคิดที่จะทำอะไรบางอย่างอยู่แล้ว
ผลของการคิดใหม่ของเขาก็คือ ต้องการเปลี่ยนระบบงานคอมพิวเตอร์ทั้งหมดที่มีอยู่ เขาเริ่มด้วยการขอเปลี่ยน ซอฟท์แวร์ที่ทำงานด้านบัญชีและการบริหารทรัพยากร ซึ่งเป็นเงินประมาณ 215 ล้านบาท นี่เป็นค่าซอฟท์แวร์แต่เพียงอย่างเดียวนะครับ มันทำให้คนที่ต้องพิจารณาความเหมาะสมต้องสะดุ้ง ทั้งนี้เพราะไม่เคยมีซอฟท์แวร์อะไรที่แพงอย่างนี้ แต่ข้ออ้างของเขาก็ทำให้คณะกรรมการต้องยอมแพ้ คือมันเป็นการเปลี่ยนเวอร์ชั่น ซอฟท์แวร์เวอร์ชั่นเก่านั้นบริษัทบอกเลิกการให้การสนับสนุนแล้ว และถ้าไม่เปลี่ยนก็อาจเสียหายต่อหน่วยงานเป็นพันล้านบาทต่อปี ….ฯลฯ
โดย ดร.ปัญญา เปรมปรีดิ์
เมื่อเช้านี้ (ประมาณเดือนกันยายน 2544) ผมอ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง เขาบอกว่า มีคุณแม่ของเด็กคนหนึ่งได้ร้องเรียนถึงหนังสือพิมพ์ว่า ต้องเอาบุตรชายอายุ 6 ขวบ ออกจากโรงเรียนชนิด "e-School " โรงเรียนดังกล่าวนี้เป็นโรงเรียนนำร่อง ซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มูลนิธิไทยคม มูลนิธิศึกษาพัฒน์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสสาชูเซส (MIT)
เหตุผลของเธอคือ ครูที่สอนนั้นเป็นบัณฑิตใหม่ ไม่ได้จบครู จึงไม่เข้าใจการสอนเด็ก ปล่อยให้เด็กเล่มคอมพิวเตอร์อย่างเดียว นอกจากนี้ก็ยังชี้อีกว่า มีเรื่องไม่ชอบมาพากล คือโรงเรียนใช้ซอฟแวร์ของสถาบันเอ็มไอที ซึ่งมีราคาแพง หากนำไปใช้ทั่วประเทศก็จะเสียเงินมหาศาล เรื่องนี้ทาง ผู้ช่วยอธิการบดีของพระจอมเกล้าธนบุรี ออกมาชี้แจงว่า อีสกูลดังกล่าวนี้เพิ่งเปิดมาได้ 3 เดือน จึงอยู่ระหว่างการดำเนินการที่จะสร้างครูให้เหมาะสม ในขณะเดียวกันก็แจ้งว่า เด็กคนดังกล่าวนั้นเป็นเด็กมีปัญหา คือชอบใช้ความรุนแรงกับเพื่อน
ครับ ผมอ่านแล้วช็อคไปสามตลบ ผมช็อคในเรื่องใดบ้างเดี๋ยวผมจะเล่าให้ฟัง แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เราน่าจะนำมาถกกัน คือมาถกกันว่า เจ้าอี สกูล (E-school ) หรือ อีเลินนิ่ง (E-learning) นี้มันคืออะไรกันแน่ มันจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติของเราหรือไม่ และเราจะต้องปรับระบบการเรียนการสอนของเราไปในรูปนั้นทั้งหมดหรือไม่ ? เรื่องนี้ เป็นเรื่องใหญ่นะครับ มันไม่ใช่แค่ข่าวการทะเลาะกัน
โอเค, มาดูกันว่าผมตกใจและมึนงงกับเรื่องอะไรบ้าง ?
โดย ดร.ปัญญา เปรมปรีด์
นักการศึกษายุคใหม่กำลังโจมตีนักการศึกยุคเก่าว่าสอน หนังสือเด็กผิดวิธี คือสอนให้เด็กท่องจำ ซึ่งมันทำให้เบื่อ ไม่อยากเรียน แล้วก็เลยทำให้เด็กเรียนรู้ได้น้อย เรียนจบมาแล้วทำงานไม่ได้ ทำให้ผลผลิตของประเทศไม่มีคุณภาพ และหมดโอกาสที่จะแข่งขันในตลาดโลก นักการศึกษายุคใหม่บอกว่าต้องทำให้เด็กสนุกไปกับการเรียน แล้วก็หวังว่าเด็กจะรับรู้เข้าไปได้มาก และจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ
ผมกลับเห็นว่า นักการศึกษายุคใหม่นั่นแหละที่จะพาเด็กลงเหว ทั้งนี้เพราะแนวคิดใหม่ดังกล่าวนี้จะยิ่งทำให้เด็กขาดความรู้ เหตุผลของผมมีดังนี้
ในการเรียนการสอนนี้เราต้องดูที่เป้าหมายกันเสียก่อน เป้าหมายที่แท้จริงของการเรียนก็คือ จะได้มีความรู้ไปทำประโยชน์แก่ตนเองและสังคม ความรู้คือสิ่งจำเป็นในการประกอบอาชีพ ถ้าเด็กไม้รู้เป้าหมาย และไม่เห็นประโยชน์ของความรู้ เด็กก็จะไม่เรียน เด็กจะไม่ยอมจำ เด็กจะฟังแล้วปล่อยผ่าน แล้วเด็กก็จะเอาจิตใจไปคิดถึงเรื่องอื่น ระบบการศึกษาแบบเดิมนั้นผู้ใหญ่เป็นผู้จัดหลักสูตร แล้วก็บอกเด็กว่าต้องเรียน ต้องรู้ ต้องจดจำเอาไว้ เด็กรับทราบเป้าหมายโดยไม่เข้าใจ แต่อย่างน้อยก็ยอมรับว่า " มันคงมีประโยชน์ในอนาคต" เด็กยอมเชื่อเพราะเห็นว่าเป็นผู้ใหญ่ และถ้าครูคนไหนใจดีก็จะเชื่อมากขึ้น ดังนั้นจึงมีการเรียนรู้กันอยู่บ้าง เพียงแต่ว่ามันไม่เต็มที่ เมื่อเรียนไปจนถึงระดับสูงๆ แล้วจึงมาเข้าใจในเหตุผลที่ครูเคยพร่ำสอน แต่ก็มักจะสายเกินไปที่จะหวนกลับมาเรียนรู้สิ่งที่ครูเคยสอนไว้
ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)